260 likes | 656 Views
รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมประพฤติไม่ครบตามคำสั่งศาล นางสาวซารีฟะห์ฟาตีฮะห์ อดุลรัส 5120710030 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส เลขที่ 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. คืนคนดีสู่สังคม.
E N D
รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมประพฤติไม่ครบตามคำสั่งศาล นางสาวซารีฟะห์ฟาตีฮะห์ อดุลรัส 5120710030 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส เลขที่ 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
เครื่องหมายราชการของกรมคุมประพฤติ ความหมาย ภาพดุลพาน หมายถึง ความเป็นธรรมจากศาลสถิตยุติธรรม รูปบุคคล 3 คน เป็นตัวแทนของผู้กระทำผิดพนักงานคุมประพฤติ และประชาชนที่เข้ามาร่วมกับงานคุมประพฤติ เป็นการสื่อความหมายถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้ง 3 ในกระบวนการแก้ไขผู้กระทำผิด หากมองรูปบุคคลเฉพาะคนกลาง (โดยปิดศีรษะของบุคคลที่อยู่ทั้ง 2 ข้าง) จะเป็นรูปคนยืนกางแขนสัมผัสจานของดุลพาห หมายถึงการทำงานของพนักงานคุมประพฤติ ผู้ซึ่งมาช่วยงานของศาลในอันที่จะผดุงความเป็นธรรมต่อสังคม
ประวัติความเป็นมา ประเทศไทยเริ่มมีการนำระบบคุมประพฤติมาใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยมาใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนก่อน ส่วนผู้กระทำผิดผู้ใหญ่นั้น แม้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 56,57 และ 58 จะได้บัญญัติถึงวิธีการเกี่ยวกับการคุมประพฤติไว้ แต่ศาลคงใช้มาตรการรอการกำหนดโทษ หรือการรอลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้วิธีการคุมประพฤติ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดำเนินงานการตามคำพิพากษาของศาลได้ จนกระทั่งรัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานส่งเสริมตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522
โดยดำเนินการในกรุงเทพมหานครก่อน จนปรากฏผลเป็นที่น่าพึงพอใจ และเพื่อเป็นโอกาสให้แก่ประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ให้ได้รับประโยชน์จากวิธีการคุมประพฤติ จึงได้มีการเปิดดำเนินการสำนักงานคุมประพฤติในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ และจากการขยายงานออกสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น จึงทำให้สำนักงานคุมประพฤติกลางมีงบประมาณ ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานสำนักงานคุมประพฤติกลางจึงได้รับการยกฐานะเป็น “การคุมประพฤติ” เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2535 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วนของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ไปเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2535 ดังนั้นวันที่ 15 ของทุกปี จึงถือเป็น “วันก่อตั้งคุมประพฤติ” ปัจจุบันมีสำนักงานคุมประพฤติอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 106 แห่ง
วิสัยทัศน์ “เป็นเลิศในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนเพื่อคืนคนดีสู่สังคม”
พันธกิจ 1.แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด และติดตามช่วยเหลือภายหลังปล่อย 2.เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และภาคีเครือข่าย ในการดูแล แก้ไข บำบัด ฟื้นฟูผู้กระทำผิด
ค่านิยมร่วม ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความศรัทธา ภาคภูมิใจในวิชาชีพและรักการให้บริการ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานเป็นทีม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักการเรียนและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ภารกิจคืนคนดีสู่สังคมภารกิจคืนคนดีสู่สังคม กรมคุมประพฤติมีภารกิจหลัก ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีพนักงานคุมประพฤติคอยดูแล ภายใต้ความช่วยเหลือของชุมชนที่จะเข้าร่วมรับผิดชอบในการป้องกันอาชยากรรมและการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด เพื่อคืนคนดีสู่สังคมดังนี้ งานสืบเสาะและพินิจ เป็นกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิด แล้วนำมาประมวลผล วิเคราะห์ จัดทำรายงานเพื่อประกอบดุลพินิจในการใช้มาตรการลงโทษที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งเป็น 2ขั้นตอนคือ ก่อนการพิจารณาคดีของศาล และหลังจากพิจารณาคดีของศาล
งานควบคุมและสอดส่องเป็นกระบวนการติดตาม ควบคุมสอดส่อง ดูแลให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้กระทำผิด ภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำผิดปรับปรุงแก้ไขนิสัยความประพฤติจนกระทั่งกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ และไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ รวมถึงการสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ งานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด วัตถุประสงค์หลักของการคุมประพฤติ คือการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไข ปรับปรุง และส่งเสริมให้ผู้ถูกคุมความประพฤติได้กลับตนเป็นพลเมืองดี โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก ซึ่งผู้ถูกคุมความประพฤตินั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งด้านสถานะสังคม ประวัติส่วนตัว สภาวะอารมณ์ และฐานความผิด
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขฟื้นฟูให้เหมาะสมตามความต้องการเป็นรายบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรมและอารมณ์ การปรับทัศนคติ การเข้าใจปัญหาและรู้จักการแก้ไขปัญหาด้วยเทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. การจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ถูกคุมความประพฤติตามสภาพปัญหา ความต้องการหรือความจำเป็น 2. การแก้ไขฟื้นฟูโดยใช้หลักธรรมทางศาสนา 3. การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แบบกลุ่ม/รายบุคคล/ครอบครัว
งานสงเคราะห์ผู้กระทำผิด เป็นการช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ โดยมีการบริการให้การสงเคราะห์ เช่น การประกันตัวจำเลยในระหว่างการสืบเสาะและพินิจ การสงเคราะห์ค่าอาหารและค่าพาหนะจำเลย การให้หารศึกษาแก่ผูกคุมประพฤติการอบรมด้านอาชีพและฝึกอาชีพให้แก้ผู้ถูกคุมความประพฤติ งานบริการสังคม คือการที่ศาลกำหนดให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญาต้องทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนภายใต้ความยินยอมหรือคำร้องขอ ทำงานบริการสังคมของผู้กระทำผิด ซึ่งมีทั้งรายบุคคลและแบบกลุ่ม เช่น การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ การดูแลคนพิการ เด็กกำพร้า คนชราในสถานสงเคราะห์
งานบริการสังคมแทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1 เป็นทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 80,000 บาท แต่ไม่มีเงินพอที่จะชำระค่าปรับ โดยที่ผู้ต้องโทษปรับนั้นต้องไม่ใช่นิติบุคคล สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้
งานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติในระบบบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545ถือว่าเสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วยมิใช่อาชญากร ต้องได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทั่งถึง และหากเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพครบขั้นตอนจนเลิกยาเสพติดได้เด็ดขาด จะไม่มีการดำเนินคดี และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ การตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้เสพหรือผู้เสพติดหรือไม่ และฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติด เป็นการบำบัดกาติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
งานอาสาสมัครคุมประพฤติ เกิดจากแนวคิดในการนำประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนแก้ไข้ฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนโดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการพิจารณาคดีของศาล รวมถึงแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในชุมชนนอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของกระทรวงยุติธรรมในการสอดส่อง ดูแลความประพฤติของผู้กระทำผิดด้วย
งานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน เป็นการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนการระงับข้อพิพากษาในชุมชน การร่วมมือในด้านต่างๆ ที่นำไปสู่กระบวนการยุติธรรม การช่วยเหลือสงเคราะห์ และรับผู้กระทำผิดกลับเข้าสู่ชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” ซึ่งเป็นการรวมตัวของภาคประชาชน ที่ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน เสริมสร้างความยุติธรรมและความสงบสุขในชุมชน
ผลที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพผลที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1. มีระเบียบ วินัย ในการอยู่ร่วมกันในสังคมมากขึ้น 2.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น 3. มีความอดทน โอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น 4. ทำให้นักศึกษากล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกมากขึ้น 5. รู้วิธีการทำงานและ กลไกการทำงาน 6. ทำให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงานจริง 7. นำความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินในชีวิตประจำวันได้
ปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไข 1. ขาดความชำนาญการในการใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งบางครั้งอาจทำให้การทำงานลาช้าและไม่สำเร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ 2. ขาดอุปกรณ์ในการทำงานเนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ 3. งานบางอย่างต้องใช้จิตวิทยาในการทำงาน 4. ต้องลงพื้นที่บ่อยๆ 5. งานมีจำนวนมากบางที่ไม่เสร็จตามกำหนด วิธีแก้ไขปัญหา 1. สำนักงานควรมีเครื่องใช้คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่องานให้มากกว่านี้ 2. พยายามเรียนรู้งานที่ได้รับหมอบหมายให้มากที่สุด 3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ
ข้อเสนอแนะต่อทางมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาข้อเสนอแนะต่อทางมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 1. อยากให้อาจารย์สอนวิธีการทำหนังสือราชการให้เข้าใจกว่านี้เพราะมันจำเป็นมากสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2. อยากให้อาจารย์เพิ่มรายวิชาการเรียนคอมพิวเตอร์เพราะจะได้เพิ่มทักษะการใช้คอมในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ 3. อยากให้อาจารย์เพิ่มเวลาในการฝึกงานให้มากกว่านี้ ความคิดเห็นต่อสถานประกอบการ 1. อยากให้เพิ่มอุปกรณ์การทำงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น 2. อยากให้ขยายห้องให้กว้างมากกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการทำงาน
สรุปกระบวนการคุมประพฤติสรุปกระบวนการคุมประพฤติ งานสอดส่อง / งานกิจกรรม ศาล งานสืบเสาะ อัยการ เรือนจำ ปล่อยตัว ตำรวจ
ภาคผนวก คืนคนดีสู่สังคม สำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดนราธิวาส