1 / 16

ลุ่มน้ำเพชรบุรี ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำเพชรบุรี ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ ปัญหาของลุ่มน้ำ

Download Presentation

ลุ่มน้ำเพชรบุรี ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำเพชรบุรี • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล

  2. 19. ลุ่มน้ำเพชรบุรี ที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำเพชรบุรี อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดราชบุรี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า วางตั้งในแนวตะวันตก - ตะวันออก โดยมีทิศเหนือติดกับแม่น้ำแม่กลอง ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำชายฝั่งทะเล - ตะวันตก ทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า ทิศตะวันตกติดกับอ่าวไทย (ตามรูปที่ 19.1) รูปที่ 19-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำเพชรบุรี

  3. ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 19-2 ลักษณะภูมิประเทศของลุ่มน้ำนี้ พื้นที่ทางตะวันตกจะค่อย ๆ ลาดเทเข้ามาทางทิศตะวันออก และมีเทือกเขาเตี้ย ๆ ที่ทำให้เกิดที่ราบ ทางตะวันตกของลุ่มน้ำจะเป็นเทือกเขาสูง ซึ่งจะเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ทางตอนกลางของลุ่มน้ำเป็นที่ราบลุ่ม แม่น้ำเพชรบุรีจะไหลผ่านอ่างเก็บน้ำเขื่อนแกงกระจาน และเขื่อนเพชรบุรี พื้นที่ตอนล่างด้านตะวันออกของลุ่มน้ำ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล รูปที่ 19-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี

  4. พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเพชรบุรี มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 5,603 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 19-1 และรูปที่ 19-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 19-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย 19.04 19.03 19.02 รูปที่ 19-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี

  5. ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 19-2 ซึ่งแต่ละรายการเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 19-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ

  6. ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำเพชรบุรีมีปริมาณฝนผันแปรตั้งแต่ 900 มิลลิเมตร จนถึง 1,400 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ1,063.8 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณน้ำฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้แล้ว ตามตารางที่ 19-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ตามรูปที่ 19-4 ตารางที่ 19-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 19-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 19-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำเพชรบุรีมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 5,603 ตารางกิโลเมตร และปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติเฉลี่ย 1,384.7 ล้านุลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 19-3 หรือมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 7.84 ลิตร/วินาที่/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 11-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย

  7. ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า

  8. ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดินตามรูปที่ 19-6 และแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 19-4 ตารางที่ 1--4 รูปที่ 19-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช

  9. การใช้ประโยชน์จากที่ดินการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร.....................37.12 % พืชไร่.......................... 33.59 % ไม้ผล-ไม้ยืนต้น............ 14.46 % ข้าว............................ 50.99 % พืชผัก......................... 0.96 % รูปที่ 19-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้..................................... 52.24 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า...... 0.08 % อุทยานแห่งชาติ................... 58.03 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์..................... 41.89 % รูปที่ 19-8 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย......................... 1.51 % 4) แหล่งน้ำ.................................. 0.80 % 5) อื่นๆ.................................... 8.33 % รูปที่ 19-9 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน

  10. พื้นที่ทำการเกษตร ลุ่มน้ำเพชรบุรีมีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 2,079.74 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆ 1,409.59 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 67.78 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 1,060.52 ตารางกิโลเมตร (63.61%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 4.16 ตารางกิโลเมตร ( 0.02%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 698.55 ตารางกิโลเมตร (25.28%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 300.75 ตารางกิโลเมตร (11.11%) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณ ฝั่งตะวันออกของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำเพชรบุรีตอนล่าง ซึ่งรวมกันแล้วประมาณ ร้อยละ 25.16 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ในการทำการเกษตร พบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืช ส่วนใหญ่การปลูกข้าวได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว แต่การปลูกพืชไร่และไม้ผล-ไม้ยืนต้นบางส่วนยังปลูกบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม รูปที่ 19-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร

  11. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง โดยมีพื้นที่ ประมาณ 1,026.55 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 72.83 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 49.23 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 19-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ทีมีศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน

  12. การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 19-11 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม อุปโภค - บริโภค รูปที่ 19-11 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท

  13. ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดบริเวณพื้นทีลุ่มน้ำตอนบน เกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทันประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) อุทกภัยที่เกิดบริเวณที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด และอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

  14. ด้านภัยแล้ง ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคและทำการเกษตร รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมอื่น ๆ ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ในลุ่มน้ำเพชรบุรีมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 682 หมู่บ้าน พบว่า มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง จำนวน 482 หมู่บ้าน(ร้อยละ70.67) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดน้ำเพื่อการเกษตร 162 หมู่บ้าน (ร้อยละ 23.75 และหมู่บ้านที่ขาดแคลนทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-อุปโภคและการเกษตร 320 หมู่บ้าน (ร้อยละ 46.96) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรึถึง 442 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.70 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 19-12 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

  15. แนวทางแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำเพชรบุรี มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ห้วยน้ำผาก เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากในฤดูฝนและส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำสาขานั้นๆ 2) การขุดลอกลำน้ำสายหลักในช่วงที่ตื้นเขินเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ 3) การขุดลำน้ำสายหลักในช่วงที่ตื้นเขิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) เพิ่มประสิทธิภาพ หรือขีดความสามารถกระจายน้ำให้ทั่วถึง 5) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 6) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตั้งเมือง และพื้นที่โดยรอบมิให้ลุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 7) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำ ประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่ _________________________

More Related