400 likes | 973 Views
บัญชีรายได้ประชาชาติ. กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ. หน่วยเศรษฐกิจ ( Economic unit ) คือ ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาคเศรษฐกิจ ( Economic Sector ) คือ การรวมหน่วยเศรษฐกิจที่มีบทบาท หน้าที่ และเป้าหมายเหมือนกันเข้าด้วยกัน. ภาคเศรษฐกิจ. ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล
E N D
กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ • หน่วยเศรษฐกิจ ( Economic unit ) คือ ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • ภาคเศรษฐกิจ ( Economic Sector ) คือ การรวมหน่วยเศรษฐกิจที่มีบทบาท หน้าที่ และเป้าหมายเหมือนกันเข้าด้วยกัน
ภาคเศรษฐกิจ • ภาคครัวเรือน • ภาคธุรกิจ • ภาครัฐบาล • ภาคการติดต่อกับต่างประเทศ
ภาคครัวเรือน ( Household Sector ) • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต • ปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ • ภาคครัวเรือนขายปัจจัยการผลิตให้กับภาครัฐบาลกับภาคธุรกิจ • ได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า ค่าแรง ดอกเบี้ย และกำไร • ภาคครัวเรือน ( ในฐานะผู้บริโภค ) ก็จะนำรายได้ไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ
ภาคธุรกิจ ( Business Sector ) • ซื้อปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน • ผลิตสินค้าและบริการ • ขายสินค้าให้กับภาคครัวเรือนและภาครัฐบาล
ภาครัฐบาล ( Public Sector ) • รัฐเก็บค่าธรรมเนียม ( ส่วนใหญ่คือ ภาษี ) จากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เป็นรายได้ของรัฐ • รัฐต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจหรือปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน หรือจ่ายเป็นสินค้าสาธารณะ
ภาคต่างประเทศ ( Foreign Sector ) • เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ • การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเกิดจาก ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ( Comparative Advantage ) • ซึ่ง Comparative Advantage คือ การที่ประเทศใดมีความชำนาญในการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งให้มีคุณภาพดี และต้นทุนต่ำ ซึ่งโยงถึงทรัพยากรที่แต่ละประเทศมีอยู่
รายได้จากการส่งออก รายได้จากการส่งออก ต่างประเทศ สินค้านำเข้า สินค้านำเข้า รายได้ปัจจัยการผลิต สถาบันการเงิน ครัวเรือน ธุรกิจ ลงทุน ออม ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการ ภาษี รัฐบาล ภาษี ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ
ส่วนรั่วไหล ( Leakage, Withdrawal ) • รายได้ส่วนที่รั่วไหลออกนอกกระแสการหมุนเวียน เกิดจากการที่ครัวเรือนไม่ได้นำรายได้ทั้งหมดไปซื้อสินค้า และธุรกิจก็ไม่ได้นำทั้งหมดไปซื้อปัจจัยการผลิต • ได้แก่ การออมจากภาคครัวเรือน ภาษีที่เก็บจากทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจและครัวเรือนนำเข้า
ส่วนอัดฉีด ( Injection ) • รายได้ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาในกระแสการหมุนเวียน • ได้แก่ การลงทุนของภาคธุรกิจ ภาครัฐบาลซื้อสินค้าจากธุรกิจ รัฐบาลจ่ายเงินโอน และเงินไหลเข้าจากต่างประเทศซึ่งก็คือ ครัวเรือนส่งออกปัจจัยการผลิตและภาคธุรกิจส่งออก
รายได้จากการส่งออก รายได้จากการส่งออก ต่างประเทศ สินค้านำเข้า สินค้านำเข้า รายได้ปัจจัยการผลิต สถาบันการเงิน ครัวเรือน ลงทุน ธุรกิจ ออม ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการ ภาษี ภาษี รัฐบาล ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ
นิยามตัวแปร • เงินออม ( Saving ) --------- S • การลงทุน ( Investment ) --------- I • ภาษี ( Tax ) --------- T • การใช้จ่ายภาครัฐ ( Government Expenditure ) -- G • นำเข้า ( Import ) -------- M • ส่งออก ( Export ) -------- X
ส่วนอัดฉีด = ส่วนรั่วไหล ส่วนรั่วไหล ได้แก่ S + T + M ส่วนอัดฉีด ได้แก่ I + G + X S + T + M = I + G + X ( X - M ) = ( S - I ) + ( T - G ) ตีความได้ว่า ??????
ความหมายและการคำนวณรายได้ประชาชาติความหมายและการคำนวณรายได้ประชาชาติ • รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศไดใช้เวลาหนึ่ง โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี • การคำนวณทำได้ 3 วิธีคือ • การคำนวณด้านผลผลิต ( Product Approach ) • การคำนวณด้านรายจ่าย ( Expenditure Approach ) • การคำนวณด้านรายได้ ( Income Approach )
การคำนวณด้านผลผลิต ( Product Approach ) • คิดเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ( Final Goods and Service ) รวมถึงส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ ซึ่งนับเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย • คิดแบบมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Method ) เพื่อป้องกันการนับซ้ำ
ตัวอย่าง ขั้นการผลิต มูลค่าขาย มูลค่าขั้นกลาง มูลค่าเพิ่ม ข้าว 4 0 4 แป้ง 6 4 2 ขนมปัง 20 6 14 แซนวิซ 25 20 5 รวม 55 30 25
การคำนวณด้านรายจ่าย( Expenditure Approach ) • เป็นการคิดจากรายจ่ายที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อนำมาซื้อสินค้าและบริการในระยะเวลาเดียวกัน แยกเป็น 4 ประเภท • รายจ่ายเพื่อการอุปโภคภาคเอกชน ( Consumption ; C ) • รายจ่ายเพื่อการลงทุน ( Investment ; I ) • รายจ่ายเพื่อการซื้อสินค้าบริการภาครัฐ ( government Expenditure ; G ) • การส่งออกสุทธิ ( Net Export ; X - M )
รายได้ประชาชาติ= C + I + G + ( X - M ) รายจ่ายเพื่อการอุปโภคภาคเอกชน( C ) คือ ค่าใช้จ่ายของฝ่ายครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งอาจเป็นสินค้าถาวรหรือสินค้าไม่ถาวร และอาจเป็นค่าบริการ รายจ่ายเพื่อการซื้อสินค้าบริการภาครัฐ ( G ) คือ ค่าใช้จ่ายของฝ่ายรัฐบาลในการซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ ค่าจ้างและเงินเดือนของข้าราชการ
รายจ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน( I ) คือ รายจ่ายภาคธุรกิจเพื่อการลงทุน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. รายจ่ายเพื่อการก่อสร้างใหม่ 2. รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ เพื่อผลิตสินค้า บริการ 3. ส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ จำนวนผลิต = จำนวนขาย + ( สินค้าปลายงวด - สินค้าต้นงวด )
การส่งออกสุทธิ ( X - M ) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ประเทศส่งออกหักด้วยมูลค่าของสินค้าและบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศ ท่านคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่กำหนดตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆเหล่านี้ ????
การคำนวณด้านรายได้ ( Income Approach ) • การคำนวณด้านรายได้จะประกอบด้วย การคำนวณรายได้ทั้งหมดจากเจ้าของปัจจัยการผลิต( ผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิต ) ที่ได้มีการขายปัจจัยการผลิตให้กับผู้ซื้อ • รายได้ต้องไม่มีการรวมเงินโอน ( Transfer Payment ) ที่รัฐมีการจ่ายให้กับครัวเรือน
รายการต่างๆ ประกอบด้วย • ค่าจ้างเงินเดือนและเงินทดแทนอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง • รายได้ที่เอกชนรับในรูปค่าเช่า • ดอกเบี้ยสุทธิ • รายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปบริษัท • ค่าเสื่อมราคา • กำไรของบริษัทก่อนหักภาษี • ภาษีทางอ้อมของธุรกิจ ( ต่างจากภาษีทางตรง คือ ??? )
รายได้ประชาชาติ สามารถแยกรายละเอียดได้เป็น GDP GNP NDP NNP NI PI DI
1. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น ( Gross Domestic Product : GDP ) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศ โดยยึดอาณาเขตทางการเมืองเป็นสำคัญ โดยไม่ยึดว่าทรัพยากรนั้นเป็นของคนชาติใด เช่น ชาวไทยไปทำงานที่ซาอุ รายได้ในซาอุนับเป็น GDP ของประเทศซาอุ และหากมารายน์ มาร้องเพลงในไทยรายได้ที่เกิดขึ้นก็นับว่าเป็น GDP ของไทยด้วย
2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น ( Gross National Product : GNP ) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น ระหว่าง GDP และ GNP จะต่างกันตรงเรื่องของการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศ โดยมีความสัมพันธ์กันว่า GNP = GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
ตัวอย่าง • ในปี 2000 ไทยมี GDP อยู่ 1 แสนล้าน ในขณะที่ลาวมี GDP อยู่ 5 หมื่นล้าน สำหรับในไทยมีชาวต่างชาติ ( ไม่รวมลาว ) มีรายได้อยู่ 1 พันล้าน และรายได้ของชาวลาวอยู่ 2 พันล้าน ในทางกลับกัน ที่ประเทศลาวมีคนไทยมีรายได้ 1.5 พันล้าน และคนต่างชาติ ( ไม่รวมไทย ) มีรายได้ 0.5 พันล้าน และสมมติว่าไม่มีคนไทยและคนลาวไปอยู่ในประเทศอื่นๆเลย จงคำนวณหา GNP ของทั้งสองประเทศ
3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศสุทธิ ( National Domestic Product: NDP ) คือ GDP หักด้วยค่าเสื่อมราคา ( Depreciation or Capital Consumption Allowance ) 4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ( Net National Product: NNP ) คือ GNP หักด้วยค่าเสื่อมราคา • ทำไมต้องหักค่าเสื่อมราคา ?????
5. รายได้ประชาชาติ ( Net Income : NI ) หมายถึง NNP นั่นเอง แต่มีความแตกต่างที่การคำนวณมูลค่าว่าใช้ราคาปัจจัยการผลิตหรือราคาตลาด • ราคาปัจจัยการผลิตหมายถึงค่าตอบแทนที่ให้แก่ปัจจัยการผลิตโดยตรง แต่ราคาตลาดมีการรวมภาษีทางอ้อมธุรกิจไว้ด้วย ( ราคาตลาด เท่ากับ ต้นทุนค่าปัจจัย + ภาษีทางอ้อม ) • NI = NNP - ภาษีทางอ้อมธุรกิจ
6. รายได้ส่วนบุคคล( Personal Income : PI ) รายได้ที่ได้รับจริงก่อนหักภาษีเงินได้ที่ครัวเรือนต้องจ่าย • มีความแตกต่างจากรายได้ประชาชาติในส่วนที่หน่วยผลิตไม่ได้มีการจัดสรรให้กับครัวเรือน • PI = NI - ภาษีประกันสังคม - ภาษีรายได้บริษัท - กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร + ( เงินโอน + ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากรัฐบาล )
7. รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง( Disposable Income : DI ) คือ รายได้ที่ครัวเรือนใช้จ่ายได้จริง • นั่นคือ รายได้ที่ครัวเรือนได้รับ ( PI ) ที่มีการหักภาษีเงินได้ ไปแล้ว • DI =PI - ภาษีเงินได้
รายได้ต่อบุคคล = ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นปีที่ n จำนวนประชากรปีที่ n 8. รายได้เฉลี่ยส่วนบุคคล ( Per Capita Income ) เป็นการถัวเฉลี่ยของบุคคลในประเทศ โดยสามารถคำนวณจาก
รายได้ประชาชาติตามราคาตลาด และตามราคาคงที่ • GNP พิจารณาโดยใช้ราคาในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อเวลามีการเปลี่ยนแปลงไปราคาของสินค้าก็จะเปลี่ยน การคำนวณมูลค่าเพื่อเปรียบเทียบก็อาจไม่เห็นภาพที่แท้จริง เพราะมูลค่าคือ ราคาคูณปริมาณ ดังนั้นอาจมีผลเปลี่ยนแปลงที่มาจากราคา หรือปริมาณ • ดังนั้นจึงมีการเลือกใช้ Real GDP เป็นการแก้ปัญหา โดยใช้ ดัชนีราคาเป็นตัวปรับ ซึ่งดัชนีราคาตัวนั้นเรียกว่า ดันีผลิตภัณฑ์ประชาชาติภายในประเทศ ( GDP Deflator )
“การที่ Money GNP มีการเพิ่มขึ้นอาจไม่ได้หมายความว่าปริมาณผลผลิตรวมในประเทศสูงขึ้น” ท่านเข้าใจคำกล่าวนี้อย่างไร จงอธิบาย ????
ความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติ • ข้อพึงระวังในการใช้เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจ