1 / 30

1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ ( The Endocrine System )

1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ ( The Endocrine System ). คลิกเพื่อไปยัง. ระบบต่อมไร้ท่อ. การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ. ต่อมเพศ. ต่อมใต้สมอง. ต่อมหมวกไต. ต่อม ไทมัส. ต่อมไทรอยด์. ต่อมพาราไทรอยด์. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน. 1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine System).

mauricek
Download Presentation

1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ ( The Endocrine System )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ (The Endocrine System)

  2. คลิกเพื่อไปยัง ระบบต่อมไร้ท่อ การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ

  3. ต่อมเพศ ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต ต่อมไทมัส ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน

  4. 1.4 ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine System) ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่ผลิตสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อหรือรูเปิด จึงลำเลียงสารเหล่านั้นไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมาย เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ฮอร์โมนจะทำงานโดยประสานกับระบบประสาท เราจึงเรียกระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทนี้ว่า ระบบประสานงาน

  5. ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อจะต้องมีปริมาณพอดีกับร่างกาย และมีฤทธิ์มากพอที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ถ้าปริมาณฮอร์โมนมีมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคคอพอก หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น

  6. 1. ต่อมไร้ท่อในร่างกาย

  7. 1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland)

  8. 1. ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กรูปร่างกลม อยู่ใต้สมองแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary หรือ neurohypophysis) เป็นศูนย์ควบคุมใหญ่ของร่างกาย

  9. มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูก และสร้างฮอร์โมนที่ทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ทำให้ปัสสาวะเป็นปกติ และการบีบตัวของมดลูกในเพศหญิงขณะคลอดบุตรด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รวมไปถึงควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของคนเรา

  10. 2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland)

  11. 2. ต่อมหมวกไต (adrenal gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างค่อนข้างแบนคล้ายหมวดครอบอยู่ส่วนบนของไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นในสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลิน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสารที่หลั่งจากปลายประสาทอัตโนมัติ โดยจะกระตุ้นร่างกายทุกส่วนให้เตรียมพร้อม หลอดเลือดทั่วไปหดตัวและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ส่วนชั้นนอกสร้างฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร(cortisol) ตลอดจนฮอร์โมนควบคุมการดูดซึมเหลือที่ไต (aldosterone)

  12. 3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)

  13. 3. ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมที่มีลักษณะเป็นพู 2 พูเชื่อมต่อกัน เป็นต่อมที่อยู่ติดกับกล่องเสียงและหลอดลม ต่อมนี้จะมีขนาดโตขึ้นตามอายุ เพศ และภาวะโภชนาการ ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (thyroxin) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้ดำเนินไปได้อย่างเหมาะสม

  14. 4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)

  15. 4. ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็ก มี 2 คู่ อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนพาราฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียมในเลือดและรักษาความเป็นกรดเป็นด่างในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

  16. 5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans)

  17. 5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน (islets of langerhans) เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เป็นโรคเบาหวาน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บไว้ในกล้ามเนื้อหรือในตับได้

  18. 6. ต่อมเพศ (Gonads)

  19. 6. ต่อมเพศ (Gonads) คือ รังไข่ (ovary) ในเพศหญิง และอัณฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนกับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงเล็กแหลม สะโพกผาย การขยายใหญ่ของอวัยวะเพศ และเต้านม เป็นต้น ส่วนอัณฑะทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน เพื่อควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของเพศชาย เช่น เสียงแตกห้าว ลูกกระเดือกแหลม มีขนขึ้น บริเวณหน้าแข้ง รักแร้ และอวัยวะ เป็นต้น

  20. 7. ต่อมไทมัส (thymus gland)

  21. 7. ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายพีระมิดแบนทางข้าง มี 2 กลีบขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไปตามอายุ มีขนาดใหญ่ในทารกแรกเกิด และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายการควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกตินั้น เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อที่ทำงานร่วมกัน

  22. การทำงานของระบบประสาทนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเส้นประสาทที่เชื่อมโยงต่อเนื่องตลอดร่างกาย จึงทำให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เพราะต่อมไร้ท่อไม่มีทางขนส่งสำเลียงฮอร์โมนไปยังเป้าหมายโดยตรงต้องอาศัยไปกับกระแสหมุนเวียนของโลหิต ซึ่งต้องผ่านอวัยวะอื่น ๆ ก่อนจะถึงเป้าหมาย ซึ่งการทำงานของร่างกายจะมีข้อดีที่ว่า ถ้าไม่ใช่อวัยวะซึ่งเป็นเป้าหมายของฮอร์โมนแล้วอวัยวะนั้น ๆ จะไม่ถูกกระตุ้น ดังนั้นการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก ขบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย เป็นต้น

  23. การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อการบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ

  24. 2. การบำรุงรักษาระบบต่อมไร้ท่อ ความเจริญเติบโตและกิจกรรมอื่น ๆ ภายในร่างกายของเรา อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปกติสุขของร่างกายและจิตใจมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้การทำงายของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ประสานกันกับระบบประสาทดำเนินไปได้ตามปกติ เราจึงควรบำรุงร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนี้

  25. 1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดโทษกับร่างกาย ลดอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ รับประทานอาหารทะเลหรือเกลือที่มีธาตุไอโอดีน เพื่อป้องกันโรคคอพอก

  26. 2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน เพราะน้ำช่วยในการผลิตฮอร์โมน

  27. 3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังทำให้ระบบต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติทำงานได้อย่างสมดุล

  28. 4. ลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อบางต่อมให้ด้วยประสิทธิภาพลง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่และอัณฑะด้วย

  29. 5.หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม ที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น แหล่งโรงงานอุตสาหกรรมยาอุตสาหกรรมหลอมโลหะโรงงานถลุงแร่ เป็นต้น

  30. 6. พักผ่อนให้เพียงพอ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดในเชิงบวกมาก ๆ จะส่งผลไปที่ต่อมใต้สมองทำให้หลั่งฮอร์โมนที่ดีมีผลทำให้สุขภาพและสุขภาพจิตดี

More Related