1 / 71

แผนกลยุทธ์ 2549-2553 การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

แผนกลยุทธ์ 2549-2553 การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. บทสรุปผู้บริหาร แผนกลยุทธ์ 2549-2553 การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. บทสรุป ผู้บริหาร. อ.อ.ป. ยังมีศักยภาพดำรงความเป็นองค์กรอยู่ได้ เนื่องจาก.

mayes
Download Presentation

แผนกลยุทธ์ 2549-2553 การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนกลยุทธ์ 2549-2553การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

  2. บทสรุปผู้บริหาร แผนกลยุทธ์ 2549-2553การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

  3. บทสรุปผู้บริหาร อ.อ.ป. ยังมีศักยภาพดำรงความเป็นองค์กรอยู่ได้ เนื่องจาก • มีสินทรัพย์และวัตถุดิบไม้เศรษฐกิจที่พร้อมจะเปลี่ยนเป็นสินค้าสร้างรายได้อย่างพอเพียง (พื้นที่สวนป่าประมาณ 1.12 ล้านไร่/ที่ดินเอกสารสิทธิ์ 3,257 ไร่) • สามารถขยายการลงทุนเพื่อสร้างป่าเศรษฐกิจให้กับประเทศได้อย่างต่อเนื่อง • ตลาดสินค้าไม้เศรษฐกิจมีความยั่งยืน มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ • ความจำเป็นทางด้านสังคมในการเป็นหน่วยงานของรัฐที่จะสนองนโยบายของรัฐด้านไม้เศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างเป็นธรรม สถานการณ์ที่สำคัญปัจจุบัน • อ.อ.ป. สามารถสร้างกำไรได้ต่อเนื่องทุกปีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น • แต่ อ.อ.ป. ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการความคล่องตัวด้านเงินลงทุน ในระยะปี 2549-2553 เพื่อขยายกิจการ และพัฒนาแหล่งวัตถุดิบเพิ่มเติม • อ.อ.ป. ขาดประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ต้องการความเปลี่ยนแปลงให้เป็นหน่วยงาน ที่มีการบริหารจัดการเชิงรุก

  4. บทสรุปผู้บริหาร แนวทางการดำเนินงาน 2549-2553 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน : เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและการลงทุน

  5. บทสรุปผู้บริหาร แนวทางการดำเนินงาน 2549-2553 (ต่อ) 2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ : เพื่อปรับข้อมูลพื้นฐาน, เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

  6. บทสรุปผู้บริหาร แนวทางการดำเนินงาน 2549-2553 (ต่อ) 3. แผนเพิ่มผลผลิตไม้เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน : เพื่อความมั่นคงด้านวัตถุดิบไม้เศรษฐกิจของประเทศ

  7. บทสรุปผู้บริหาร ประมาณการเงินสดรับเพิ่ม : ตามแผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน หน่วย : ล้านบาท หน่วย : ล้านบาท เป้าหมายการใช้จ่ายเงินจากการระดมทุน • พัฒนาสวนป่า • พัฒนาธุรกิจ • ปรับปรุงงานด้านอุตสาหกรรมไม้ • ชำระหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระ

  8. บทสรุปผู้บริหาร งบประมาณทางการเงินเบื้องต้น ตามแผนกลยุทธ์ 2549-53 * ข้อมูลจากสำนักงานบัญชีและการเงิน ** เป็นตัวเลขประมาณการ

  9. บทสรุปผู้บริหาร สรุปกรอบเวลาตามกลยุทธ์

  10. บทสรุปผู้บริหาร ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ ระยะสั้น • อ.อ.ป. มีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น และมีความมั่นคง • ฐานข้อมูลพื้นฐานทั่วไปดีขึ้น น่าเชื่อถือ ทันสมัย • โครงสร้างองค์กรชัดเจนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม ระยะยาว • อ.อ.ป. มีสเถียรภาพทางการเงิน มีการลงทุนต่อเนื่อง • ผลประกอบการกำไรสุทธิทุกปี ปีละ 120-220 ล้านบาท • บทบาทด้านการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจของ อ.อ.ป. ได้รับการยอมรับ ผลงานปรากฏชัดเป็นรูปธรรม

  11. แผนกลยุทธ์ 2549-2553การปรับโครงสร้างการดำเนินงาน ของ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

  12. วิสัยทัศน์ “เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาป่าเศรษฐกิจให้มีศักยภาพ เป็นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” พันธกิจ • พัฒนาที่ดินสวนป่าให้เป็นสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน • ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่นอย่างครบวงจร • ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ การเพิ่มมูลค่าไม้ ธุรกิจบริการที่มีป่าไม้เป็นพื้นฐาน • พัฒนาระบบและสร้างกลไกการตลาดไม้เศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม • สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการปลูกและใช้ประโยชน์ไม้เศรษฐกิจ • พัฒนาสินทรัพย์เพื่อสนับสนุนภารกิจขององค์กร • พัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยใช้สวนป่าเป็นฐานในการดำเนินงาน • สงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับประเทศ และเพิ่มบทบาทในระดับโลก

  13. วัตถุประสงค์ของแผน • เพื่อให้องค์กรสามารถพลิกฟื้นสถานะทางการเงินและสามารถดำเนินการต่อไป ได้อย่างมั่นคงด้วยตนเอง • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ • เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์องค์การ • เพื่อให้องค์กรเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ โดยเพิ่ม GDP ภาคป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาดำเนินการ • เสนอแผนกลยุทธ์ต่อคณะกรรมการบริหาร อ.อ.ป. ภายในเดือนมิถุนายน 2549 • ดำเนินการตามแผนตั้งแต่ปี 2549-2553

  14. การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์ (SWOT)

  15. การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์ (SWOT) ต่อ

  16. การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์ (SWOT) ต่อ

  17. การวิเคราะห์ศักยภาพขององค์ (SWOT) ต่อ

  18. สถานการณ์ปัจจุบัน • รายได้จากการดำเนินงาน • ปีละประมาณ 950- 1,300 ล้านบาท • ผลผลิตจากสวนป่า 60–70 % สัดส่วนแนวโน้มเพิ่มขึ้น • ผลผลิตจากป่าธรรมชาติ10-20 %สัดส่วนแนวโน้มลดลง • อุตสาหกรรมไม้5-10 % สัดส่วนแนวโน้มคงที่ • รายได้อื่นๆ 10–15 % สัดส่วนแนวโน้มคงที่ แหล่งรายได้จำกัดอยู่เฉพาะสวนป่าปลูก จะเพิ่มขึ้นได้จากการลงทุนปลูก เท่านั้นและต้องใช้ระยะเวลายาวนานหลายปีกว่าจะให้ผลผลิต

  19. สัดส่วนรายได้ของ อ.อ.ป. หน่วย : ล้านบาท *ธุรกิจบริการ ตั้งแต่ปี 2545 สูงขึ้นเนื่องมีบริการซื้อมา – ขายไป ไม้แปรรูป

  20. สถานการณ์ปัจจุบัน (ต่อ) 2. สินทรัพย์ - หนี้สิน หน่วย : ล้านบาท • สินทรัพย์เพิ่มขึ้นส่วนมากมาจากเงินลงทุนปลูกสร้างสวนป่า ซึ่งมีการลงทุนปลูก/บำรุงรักษาทุกปี • ในขณะเดียวกัน ก็มีการตัดจ่ายต้นทุนปลูกป่าจากการทำไม้สวนป่าด้วยเช่นกัน • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อยู่ในระดับ 0.5-0.65 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ต่ำแสดงถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงิน

  21. สถานการณ์ปัจจุบัน (ต่อ) 3. ความสามารถในการทำกำไร หน่วย : ล้านบาท ความสามารถในการลดการขาดทุนและทำกำไรได้ต่อเนื่องแต่ไม่มีความสม่ำเสมอ อัตราการเพิ่มขึ้นและลดลงไม่แน่นอน ยังมีความผันผวน

  22. สรุปประเด็นปัญหา 1. รายได้จากการขายสินค้าและบริการเพิ่มในอัตราคงตัว ในระหว่างปี 2545-2548 มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการอยู่ระหว่าง 850-1,158 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้นระหว่าง 344-558 ล้านบาท เพิ่มในอัตราคงตัวไม่เด่นชัด รายได้อื่นๆ ไม่แน่นอน 2. ต้นทุนการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หน่วย : ล้านบาท • ปี 2545 สูงมากเนื่องจากมีการทำโครงการ Early Retirementประมาณ 330 คน ขณะเดียวกันก็รับคนเข้ามาใหม่ • เกือบเท่ากับคนที่ออก เนื่องจากการขยายโครงสร้าง • ค่าใช้จ่ายที่สูงส่วนใหญ่มาจากบุคลากรและค่าใช้จ่ายสำนักงาน

  23. สรุปประเด็นปัญหา (ต่อ) 3. มีธุรกิจที่ขาดทุนและเป็นตัวถ่วงในการทำกำไร - ธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ เนื่องจากขาดวัตถุดิบไม้, ไม่มีแผนการตลาดเพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า, รูปแบบผลิตภัณฑ์ไม่ทันสมัย ต้นทุนผลิตสูง, รวมทั้งขาดการบริหารจัดการที่ดี - สถาบันคชบาลแห่งชาติฯ มีค่าใช้จ่ายเชิงบริการสังคมสูง มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเพื่อชดเชยรายได้ แต่ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี และขาดประสบการณ์ - ธุรกิจท่องเที่ยวในสวนป่า มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ แต่ขาดประสบการณ์ในเชิงธุรกิจ ขาดการบริหารจัดการที่ดี

  24. สรุปประเด็นปัญหา (ต่อ) 4. การลงทุนพัฒนาสวนป่าขาดความต่อเนื่อง สวนป่าเป็นรายได้หลักขององค์กร มีสัดส่วนสูงถึง 70 % และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่การลงทุนปลูกและบำรุงรักษา กลับไม่มีความต่อเนื่อง และขาดความแน่นอน/เชื่องช้า เนื่องจากขาดเงินสด และต้องใช้เงินรายได้ประจำปีมาดำเนินงาน องค์กรรับมอบสวนป่าเพิ่มขึ้นจนมีพื้นที่รวม 1.12 ล้านไร่ หากไม่มีการลงทุนเพิ่มในอนาคต องค์กรจะขาดแหล่งวัตถุดิบ 5. ภารกิจการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ องค์กรได้รับมอบนโยบายจากรัฐ ให้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้เป็นหน่วยงานที่มีนวัตกรรม ตอบสนองการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในเชิงรุก และส่งเสริมการปลูกป่าเชิงเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ และช่วยเหลือราษฎรท้องถิ่นสร้างอาชีพและแก้ปัญหาความยากจน องค์กรต้องเร่งดำเนินการให้มีการปรับปรุงโครงสร้างบริหารให้เป็นองค์กรไม้เศรษฐกิจ เพื่อสนองภารกิจและเป็นบทบาทใหม่ขององค์กร รวมถึงต้องแสวงหาแนวทาง/เงินทุนในการส่งเสริมเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ ในอนาคต อ.อ.ป. ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยลำพังเพื่อประโยชน์ขององค์กรเพียงอย่างเดียว ต้องมีส่วนช่วยเหลือสังคมส่วนรวมของประเทศให้มากขึ้น กระจายรายได้สู่ชุมชนมากขึ้น มิฉะนั้น มวลชนจะเข้ามามีบทบาทแทน อ.อ.ป.

  25. สรุปประเด็นปัญหา (ต่อ) 6. องค์กรขาดสภาพคล่องทางการเงิน แม้ผลประกอบการแนวโน้มมีกำไรอย่างต่อเนื่อง แต่องค์กรกลับขาดเงินสดหมุนเวียน เนื่องจากมีภาระดอกเบี้ย/การใช้คืนเงินกู้ การใช้เงินสดลงทุนในสวนป่าระยะยาว การจ่ายเงิน Early Retirement (ER) ทำให้เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้ และขาดการพัฒนาสวนป่าอย่างต่อเนื่อง 7. องค์กรมีสินทรัพย์ที่สำคัญๆ ที่มีโอกาสสร้างรายได้ แต่ อ.อ.ป. กลับเสียโอกาสนี้ เนื่องจากขาดข้อมูลพื้นฐานที่เป็นปัจจุบันของสินทรัพย์ต่างๆ เช่น - สวนป่าพื้นที่ 1.12 ล้านไร่ / ที่ดินกรรมสิทธิ์ 3,257 ไร่ อยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ - โรงเลื่อย/โรงงาน ยานพาหนะ เครื่องจักรกล ช้าง - เงินลงทุนในบริษัทไม้อัดไทย จำกัด ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สิน/โรงงาน ที่ดินราคาประเมิน ประมาณ 6,000 ล้านบาท สินทรัพย์ดังกล่าวสามารถพัฒนา จัดการเพื่อเพิ่มกระแสเงินสด จากการพัฒนาที่ดินที่ใช้ประโยชน์ ไม่คุ้มค่า นำมาใช้จ่ายและลงทุนในกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดรายได้

  26. สรุปประเด็นปัญหา (ต่อ) 8. องค์กรขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ - เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ทันสมัย ข้อมูลไม่เพียงพอและไม่เป็นปัจจุบัน - ระบบบัญชีการเงินไม่ทันสมัย ข้อมูลทางการเงินขาดความน่าเชื่อถือ และไม่เป็น ปัจจุบัน การคิดต้นทุนยังไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับระบบบัญชี - ขาดการวางแผนการตลาดสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ และธุรกิจการท่องเที่ยว และในอนาคตธุรกิจไม้จากสวนป่าต้องมีการวางแผนการตลาดเชิงรุก - โครงสร้างการบริหารจัดการ ขาดความชัดเจนยังไม่สอดคล้องบทบาทและภารกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินงาน ส่งผลถึงขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติงานของพนักงาน

  27. ศักยภาพขององค์กร • อ.อ.ป. มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับไม้เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไม้อย่างครบวงจร • การผลิตวัตถุดิบ • สวนป่าซึ่งประกอบด้วยไม้เศรษฐกิจจำนวนประมาณ 1.12 ล้าน ไร่ ประมาณการมูลค่าสูง +/- 80,000 ล้านบาท • การเร่งระดมส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจแก่ภาคเอกชนและเกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ • ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมในการปลูกไม้เศรษฐกิจได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น ไม้เจริญเติบโตดี • การเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ • โรงงานแปรรูปประกอบด้วย โรงเลื่อย โรงงานอบ อัด ไสไม้ แปรรูปไม้ และทำผลิตภัณฑ์ไม้ • ธุรกิจเสริมในด้านป่าไม้ คือการท่องเที่ยว • สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในสวนป่าและสถาบันคชบาลแห่งชาติ • ความต้องการใช้ไม้ในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะไม้จากป่าปลูกตามกระแสโลก • แต่ศักยภาพดังกล่าวไม่สามารถให้ประสิทธิผลได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากประเด็นสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ • การขาดสภาพคล่องทางด้านเงินลงทุน • ความต้องการการเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการบริหารจัดการ

  28. สรุปแผนกลยุทธ์ • แผนกลยุทธ์ (การปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานขององค์กรไม้เศรษฐกิจ) มีเป้าหมายเพื่อ • ฟื้นฟูฐานะทางการเงิน • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ • สร้างความยั่งยืนของผลผลิตไม้เศรษฐกิจ

  29. สรุปแผนกลยุทธ์ (ต่อ) • 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน • 1.1 การสร้างรายได้จากที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในกิจกรรมหลัก 1.2 การขายสินค้าล่วงหน้า 1.2.1 การขายไม้ล่วงหน้าจากการลงทุนปลูกไม้โตเร็ว 1.2.2 การขายน้ำยางล่วงหน้าต่อเนื่องรายปี 1.2.3 การขายไม้สักสวนป่าล่วงหน้าต่อเนื่องรายปี 1.3 การแปลงสินทรัพย์บนที่ดินสวนป่าเป็นหลักทรัพย์ • 1.4 การปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารกรุงไทย • 1.5 การปรับปรุงงานด้านอุตสาหกรรมไม้ • 1.6 การปรับปรุงงานศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ • 1.7 การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายบริหาร

  30. สรุปแผนกลยุทธ์ (ต่อ) 2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 2.1 การประเมินมูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สิน 2.2 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่างๆ 2.3 การแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง 2.4 การจัดโครงสร้างองค์กรเป็นองค์กรไม้เศรษฐกิจตามนโยบายรัฐ 3. แผนเพิ่มผลผลิตไม้เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน 3.1 โครงการนำร่องส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด) 3.2 การขยายการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ

  31. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน 1.1 การสร้างรายได้จากที่ดินที่ไม่ใช้ในกิจกรรมหลัก • ปัจจุบัน อ.อ.ป.มีพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่ใช้ในกิจกรรมหลักหลายแปลงและมีศักยภาพ ในการพัฒนา • จำหน่ายที่ดินหรือให้เอกชนเช่า - พัฒนาระยะยาว ปีละ 1-2 แปลง ดำเนินการต่อเนื่องรวม 4 ปี วงเงินรายได้เบื้องต้นเป็นรายปี รวมประมาณ 111 ล้านบาท • วัตถุประสงค์ในการใช้เงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในการลงทุนสวนป่าและพัฒนาธุรกิจ • แนวทางการดำเนินงาน - ขออนุมัติคณะกรรมการ ฯ อ.อ.ป. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาที่ดินกรรมสิทธิ์ - จัดทำแผนพัฒนาเสนอคณะกรรมการ ฯ อ.อ.ป. ในเดือนกรกฎาคม 2549 - จัดทำ TOR และประกาศให้ผู้สนใจเข้ามาเสนอแนวทางในการพัฒนาที่ดิน อ.อ.ป. เดือน ส.ค.-ก.ย. 49 - คัดเลือกผู้เสนอโครงการและให้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมเสนอคณะกรรมการ อ.อ.ป. ให้ความเห็นชอบในเดือน ต.ค. – พ.ย. 2549 - อ.อ.ป. ได้รับเงินรายได้จากการพัฒนาที่ดินตั้งแต่เดือนมกราคม 2550

  32. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน (ต่อ) 1.2 การขายสินค้าล่วงหน้า 1.2.1 การขายไม้ล่วงหน้าเพื่อการลงทุนปลูกไม้โตเร็ว • อ.อ.ป. มีพื้นที่สวนป่าไม้โตเร็ว (ยูคาลิปตัส) ที่ต้องลงทุนรื้อพัฒนาปลูกใหม่ประมาณ 40,000 ไร่ สามารถให้ผลตอบแทน 2 รอบ ในระยะเวลารอบละ 5 ปี • ไม้ยูคาลิปตัสเป็นที่ต้องการของตลาดและอยู่ในภาวะตลาดมีความต้องการสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและไม้ชิ้นสับ • ประกาศเชิญชวนเอกชนชื้อขายผลผลิตล่วงหน้า โดยแบ่งชำระเป็นรายปีตามข้อตกลง ปีละ 5,000-10,000 ไร่ ดำเนินการระยะละ 5 ปี วงเงินรายได้เบื้องต้นเป็นรายปีรวม 150 ล้านบาท • วัตถุประสงค์ในการใช้เงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในการลงทุนรื้อปลูกสวนป่าไม้ยูคาลิปตัสตามข้อตกลง 1.2.2 การขายไม้สักสวนป่าล่วงหน้าอย่างต่อเนื่องรายปี เพื่อการลงทุนปลูกไม้สัก • อ.อ.ป. มีเป้าหมายทำไม้สักปีละ 40,000 – 50,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ 100,000 ลูกบาศก์เมตร รายได้ประมาณ 600 ล้านบาท ต่อปี • ประกาศเชิญชวนเอกชนซื้อขายผลิตผลล่วงหน้า ต่อเนื่อง วงเงิน 50 ล้านบาท • วัตถุประสงค์ในการใช้เงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในการลงทุนรื้อปลูกสวนป่าไม้สัก

  33. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน (ต่อ) 1.2 การขายสินค้าล่วงหน้า (ต่อ) 1.2.3 การขายน้ำยางล่วงหน้าอย่างต่อเนื่องรายปีจากผลผลิตยางพารา • อ.อ.ป. มีสวนป่ายางพาราที่เปิดกรีดแล้ว 27,500 ไร่ • รายได้ประมาณ 400 ล้านบาท/ปี • ประมูลขายล่วงหน้าทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่องรับเงินล่วงหน้าปีละ 50 ล้านบาท • วัตถุประสงค์กรใช้เงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในการลงทุนสวนป่าโดยเฉพาะยางพาราและพัฒนาธุรกิจ แนวทางการขายสินค้าล่วงหน้า - จัดทำแผนการประมูลขายล่วงหน้าภายในเดือนสิงหาคม 2549 - ขออนุมัติหลักการจาก Board ภายในเดือนกันยายน 2549 - ประกาศประมูลขายสินค้าล่วงหน้าให้ผู้สนใจภายในเดือนตุลาคม 2549 - ได้รับเงินจากการขายในเดือนธันวาคม 2549 - ส่งมอบสินค้าภายในปีถัดไปหรือตามข้อตกลง

  34. ขั้นตอนการขายผลผลิตสวนป่าล่วงหน้าขั้นตอนการขายผลผลิตสวนป่าล่วงหน้า

  35. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน (ต่อ) 1.3 การแปลงสินทรัพย์ที่ดินสวนป่าเป็นหลักทรัพย์ • อ.อ.ป. มีพื้นที่สวนป่ายางพาราที่ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 27,500 ไร่ รายได้ปีละ 400 ล้านบาท • จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อขายสิทธิ์การจัดการรายได้บนพื้นที่สวนยางพาราที่ให้ผลผลิตแล้ว ในภาคใต้ ประมาณ 13,700 ไร่ ดำเนินการระยะละ 5 ปี • ประมาณการรายรับสุทธิล่วงหน้า ระยะแรก ประมาณ 350 - 400 ล้านบาท • กองทุนรวมอาจจ้าง อ.อ.ป. บริหารจัดการสวนป่ายางพารา ซึ่งจะมีรายได้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก • วัตถุประสงค์ในการใช้เงิน เพื่อนำไปใช้จ่ายในการลงทุนสวนป่าโดยเฉพาะการปลูกสวนป่ายางพารา และพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติม แนวทางการดำเนินงาน - จัดทำแผนการตั้งกองทุนรวมเสนอคณะกรรมการ ฯ อ.อ.ป.ภายในเดือนกันยายน 2549 - ขออนุมัติหลักการจากคณะรัฐมนตรี ตามขั้นตอน - คัดเลือกบริษัทจัดการกองทุนรวมเพื่อขอจัดตั้งกองทุนรวมต่อ กลต. - ได้รับเงินจากการระดมทุนระยะที่ 1 จากสวนยางพาราที่ให้ผลผลิตและภายในปี 2550 - ได้รับเงินจากการระดมทุนระยะที่ 2 จากสวนยางพาราที่ปลูกใหม่ภายในปี 2551

  36. ขั้นตอนในการยื่นขออนุมัติให้ อ.อ.ป. จัดตั้งกองทุนรวม

  37. 1. ขออนุมัติโครงการต่อ ครม. อ.อ.ป. 5. อ.อ.ป. ได้รับเงิน ค่าขายสิทธิ์ ผู้ดูแลผลประโยชน์ (สถาบันการเงิน) 2. เลือกบริษัทจัดการ รักษาทรัพย์สิน/ดูแลผลประโยชน์ บริษัทจัดการ 3. จัดทำโครงการลงทุนเสนอ กลต. จัดตั้งกองทุนรวม 4. ขายหน่วยลงทุน นักลงทุน เงินลงทุน สวนป่ายางพารา อ.อ.ป. ขายสิทธิ์ การจัดการรายได้ เงินลงทุน กองทุนรวม ผลประโยชน์ ผลประโยชน์ 7. จ่ายผลประโยชน์ ที่คืนให้นักลงทุน 6. บริษัทจัดการนำสิทธิ์ ไปหาผลประโยชน์ ผู้สอบบัญชี นายทะเบียน กลต.

  38. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน(ต่อ) 1.4 การปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารกรุงไทย • อ.อ.ป. ได้ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารกรุงไทย และกู้เพิ่มเติมในปี 2545 รวมวงเงิน หนี้คงเหลือ 610 ล้านบาท กำหนดผ่อนชำระตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2554 • ในปี 2550 อ.อ.ป. จะคงเหลือหนี้สินกับธนาคารกรุงไทย 490 ล้านบาท ภาระ ส่งคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยถึงปี 2554 ปีละมากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระที่สูงมาก • เพื่อลดภาระส่งคืนเงินกู้ในขณะที่ อ.อ.ป. ขาดสภาพคล่อง อ.อ.ป. จะเจรจาขอปรับ โครงสร้างหนี้อีกครั้งหนึ่ง วงเงินหนี้เดิม 490 ล้านบาท • ขยายระยะส่งคืนหนี้ภายใน 10 ปี (2549-2559) โดยขอพักการชำระหนี้ ปลอดชำระ เงินต้น 3 ปี (2549-2552) เริ่มผ่อนชำระรายปีพร้อมดอกเบี้ยให้เสร็จสิ้นภายใน 7 ปี (2552-2559) • วัตถุประสงค์ของการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระการชำระเงิน และทำให้ กระแสเงินสดของ อ.อ.ป. ดีขึ้น มีเป้าหมายลดรายจ่าย 3 ปี แรกปีละ 80 ล้านบาท

  39. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน(ต่อ) 1.5 การปรับปรุงงานด้านอุตสาหกรรมไม้ • อ.อ.ป. มีโรงเลื่อยโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้ 5 โรง ในเขต กทม. และปริมณฑล ปริมาณการผลิตไม่เต็มกำลังผลิต ขาดวัตถุดิบมาต่อเนื่องยาวนาน ผลการ ดำเนินงานไม่ถึง 50 % ของเป้าหมาย ขาดทุนโดยตลอด เป็นภาระค่าใช้จ่าย ด้านการดำเนินการและการบริหารมาตลอดหลายสิบปี ไม่อาจแก้ไข และไม่สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้ • ยุบรวมโรงเลื่อยโรงงานในเขตกรุงเทพฯ - ยุบโรงงานอัดน้ำยาไม้ โรงเลื่อยคลองสาน โรงงานบางโพ โรงเลื่อยเกียกกาย - ย้ายไปรวมและดำเนินการเพียงแห่งเดียวที่อู่บกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา • จัดทำแผนการยุบรวมภายในเดือนธันวาคม 2549 • ย้ายโรงงานไปดำเนินการที่ จ. พระนครศรีอยุธยา อย่างช้าในปี 2551

  40. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน(ต่อ) 1.6 การปรับปรุงงานด้านอุตสาหกรรมไม้ (ต่อ) • โรงงานที่บางโพปรับปรุงการดำเนินงานจัดตั้งตลาดกลางผลิตภัณฑ์ไม้โดยร่วมงานกับภาคเอกชน ได้ภายในปี 2549 เริ่มดำเนินงานปี 2550 • อู่บกพหลโยธิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดตั้งตลาดกลางค้าไม้เศรษฐกิจเพื่อรองรับผลผลิตจากสวนป่า ทั้งของรัฐและเอกชน และเป็นศูนย์กลางข้อมูลการซื้อขายผลผลิตจากสวนป่าได้ในปี 2550 • โรงเลื่อยแม่เมาะที่ จ. ลำปาง ให้ประกาศหาเอกชนเช่าดำเนินงานโดยกำหนดค่าตอบแทนตามข้อตกลง ภายในเดือนธันวาคม 2549 • จัดตั้งศูนย์หัตถกรรมไม้ในส่วนภูมิภาคเพื่อเป็นต้นแบบการดำเนินงานให้กับชุมชนท้องถิ่น ที่จังหวัดแพร่ ภายในปี 2550 เริ่มดำเนินงานปี 2551

  41. ขั้นตอนการปรับปรุงงานด้านอุตสาหกรรมไม้ขั้นตอนการปรับปรุงงานด้านอุตสาหกรรมไม้

  42. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน(ต่อ) 1.6 การปรับปรุงงานของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยและการพัฒนาการท่องเที่ยวในสวนป่า • สถาบันคชบาลแห่งชาติ แยกกิจกรรมของสวนป่าทุ่งเกวียนออกเหลือเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยวและ เรื่องเกี่ยวกับช้าง • กิจกรรมของช้างแยกค่าใช้จ่ายเชิงบริการสังคมให้ชัดเจนและดำเนินการเป็นสถาบันการศึกษา • กิจกรรมการท่องเที่ยวในสวนป่าที่มีศักยภาพและศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ที่ชำนาญ และมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง • ร่วมงานกับเอกชนได้ในปี 2549 เริ่มดำเนินการได้ปี 2550

  43. ขั้นตอนการพัฒนาด้านท่องเที่ยวขั้นตอนการพัฒนาด้านท่องเที่ยว

  44. 1. แผนฟื้นฟูฐานะทางการเงิน (ต่อ) 1.7 การควบคุมต้นทุนขายและค่าใช้จ่าย • ค่าใช้จ่ายต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายบริหารสูงมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี ในขณะที่รายได้ค่อนข้างคงที่หรือเพิ่มไม่มาก หากปล่อยไว้จะเป็นภาระกับ ผลการดำเนินงานขององค์กร • ทั้งองค์กร • อ.อ.ป. ควรควบคุมสัดส่วน ค่าใช้จ่ายต้นทุนและค่าใช้จ่ายบริหารจากการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานที่ระดับไม่เกิน 80 %ภายในปี 2549 • ค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่เป็นเป้าหมายเบื้องต้นในการควบคุม และลด คือ ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเชื้อเพลิง และหล่อลื่น ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายสำนักงาน • ธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ • อ.อ.ป. ควบคุมต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ให้อยู่ในระดับเฉลี่ย 98 % ในปีแรกเทียบกับรายได้จากการขายของอุตสาหกรรมไม้ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ไม่ขาดทุนโดยมีกำไรอยู่ที่ 2 % และภายใน 3 ปี (ปี 2551) หลังจากปรับปรุงการบริหารจัดการควบคุมค่าใช้จ่าย ให้อยู่ในระดับไม่เกิน 80 %

  45. แผนการใช้จ่ายเงินจากการระดมทุนแผนการใช้จ่ายเงินจากการระดมทุน - เพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงานลงทุน หน่วย : ล้านบาท

  46. 2. แผนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 2.1 การประเมินมูลค่าปัจจุบันของสินทรัพย์ • ที่ดิน • สำรวจและแยกประเภทที่ดิน • จัดจ้างผู้ประเมินราคาที่ดินอิสระเพื่อตรวจสอบราคาตลาดอย่างสม่ำเสมอ • จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาที่ดิน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด • เครื่องจักร อาคารและโรงงาน • จัดจ้างผู้ประเมินราคาอิสระเพื่อทราบราคาปัจจุบัน • ที่ดินสวนป่า • จัดจ้างผู้ประเมินราคาอิสระเพื่อทราบมูลค่าสต็อกไม้ปัจจุบัน • วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้บริหารทราบมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่มีอยู่ สามารถวางแผนระยะยาวแม่นยำในการจำหน่ายหรือกำหนดอัตราค่าเช่าที่ • ทราบข้อมูลค่าสต๊อกไม้เพื่อประโยชน์ในการกู้เงิน/ระดมทุน

More Related