1 / 15

ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์. ง31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1. ความหมาย.

maylin
Download Presentation

ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบสื่อสารข้อมูล สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ง31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1

  2. ความหมาย • ระบบสื่อสารข้อมูลหมายถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงหรือวีดีทัศน์ระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้ และมีกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่แน่นอนในการควบคุมการสื่อสาร

  3. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล • องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่ ผู้ส่ง(sender) ผู้รับ(receiver) ข่าวสาร(message) สื่อกลาง(media) และโพรโทคอล(protocol)

  4. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล • ข่าวสาร(Message)ข่าวสารประกอบด้วยข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้ส่งมอบระหว่างกัน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือมัลติมีเดีย • ผู้ส่ง(Sender)ผู้ส่งในที่นี้หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น • ผู้รับ(Receiver)ผู้รับ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่ง เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

  5. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล • สื่อกลาง (Media)หมายถึงสื่อกลางส่งข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสาร (Transmission media) เช่น สายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสื่อกลางประเภทไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ซึ่งสื่อกลางดังกล่าวทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลสามารถเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางได้ • โปรโตคอล (Protocol)โปรโตคอล เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั้นมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันและสามารถสื่อสารกันได้ หากไม่มีโปรโตคอลแล้วอุปกรณ์ทั้งสองอาจจะติดต่อกันได้แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้

  6. วิธีการถ่ายโอนข้อมูล • วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นวิธีการส่งสัญญาณออกจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลและการรับสัญญาณด้วยอุปกรณ์รับข้อมูล วิธีการถ่ายโอนข้อมูล มี ๒ วิธี ดังนี้ • ๑) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน • ๒) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม

  7. ๑) การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน • เป็นการส่งข้อมูลออกทีละ ๑ ไบต์ หรือ ๘ บิต จากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนั้น สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทาวให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย ๘ ช่องทางขนานกัน เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าผ่านไปได้

  8. ๒) การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม • เป็น การส่งข้อมูลออกทีละ ๑ บิต ระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล ดังนั้น สื่อกลางหรือสายสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ส่งข้อมูลและอุปกรณ์รับข้อมูล จึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางเพียง ๑ ช่องทาง หรือสายตีเกลียวคู่เพียงคู่เดียว ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแบบขนาน สำหรับการส่งระยะทางไกลๆ ความเร็วในการส่งแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน

  9. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม • การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม อาจจะแบ่งตามทิศทางในการรับและส่งช้อมูลได้ ๓ แบบ ดังนี้ 1) สื่อสารทางเดียว (simplex) การติดต่อสื่อสารทางเดียวมีลักษณะการส่งข้อมูลไปยังผู้รับในทิศทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ บอร์ด ประกาศ ภาพ เป็นต้น

  10. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม 2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) • การติดต่อสื่อสารแบบกึ่งคู่ มีลักษณะการส่งข้อมูลได้สองทิศทางแบบสลับ แต่ละสถานีสามารถทำหน้าที่ได้ทั้งรับและส่งข้อมูล แต่จะผลัดกันส่งและผลักกันรับ จะส่งและรับข้อมูลในเวลาเดียวกันไม่ไ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ วิทยุสื่อสารของระบบขนส่ง การรับส่งโทรสาร (Fax) เป็นต้น

  11. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม 3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) การ ติดต่อสื่อสารแบบทางคู่มีลักษณะการส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน กล่าวคือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องเสียเวลารอ เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์ การสนทนาอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

  12. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • 1) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากสถานีเชื่อมโยง (node) หนึ่งไปยังอีกสถานีเชื่อมโยงหนึ่ง โดยเครื่องหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันทางด้านข้างทั้ง ๑ ด้าน จนเกิดเป็นวงกลมหรือลูป (loop) การส่งสัญญาณจะมีการรับและส่งข้อมูลต่อกันไปในทิศทางเดียวกัน จนกระทั่งถึงสถานีปลายทาง จากนั้น สถานีปลายทางจะส่งสัญญาณตอบรับว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

  13. 2) การเชื่อมต่อแบบบัส (bus topology) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือ ข่าย จะเชื่อมต่อเข้ากับสายหลักเพียงเส้นเดียว เรียกว่าสาย แบ็กโบน (backbone) • * การเชื่อมต่อแบบบัส นิยมต่อด้วยสายโคแอกเชียล

  14. 3) การเชื่อมต่อแบบดาว (star topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับจุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) • * การเชื่อมต่อแบบดาว ได้รับความนิยมในการเชื่อมต่อชุดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

  15. 4) การเชื่อมต่อแบบผสม (hybrid topology) เป็นการผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบบัส หรือ การเชื่อมต่อแบบดาว โดยออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง • * การเชื่อมต่อแบบผสม เป็นการรวมรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่

More Related