1.24k likes | 2.41k Views
พยานบุคคล. 11. 11.1 ความหมายของพยานบุคคล (Witness). หมายถึง บุคคลที่มาให้ถ้อยคำต่อศาลและเบิกความเล่าเรื่องด้วยวาจา เพื่อที่ศาลจะได้บันทึกถ้อยคำของพยานผู้นั้นไว้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี ข้อสังเกตเกี่ยวกับถ้อยคำ พยาน = พยานบุคคล = witness พยานหลักฐาน = Evidence.
E N D
พยานบุคคล 11
11.1 ความหมายของพยานบุคคล (Witness) หมายถึง บุคคลที่มาให้ถ้อยคำต่อศาลและเบิกความเล่าเรื่องด้วยวาจา เพื่อที่ศาลจะได้บันทึกถ้อยคำของพยานผู้นั้นไว้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี ข้อสังเกตเกี่ยวกับถ้อยคำ พยาน = พยานบุคคล = witness พยานหลักฐาน = Evidence
การแบ่งประเภทของพยานบุคคลการแบ่งประเภทของพยานบุคคล (1) ประจักษ์พยาน/พยานโดยตรง VS. พยานแวดล้อมกรณี / พยานเหตุผล (2) พยานบุคคลธรรมดาทั่วไป VS.พยานผู้เชี่ยวชาญ (3) ประจักษ์พยาน VS. พยานบอกเล่า พยานบุคคลประเภทใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากัน
ฎ.5462/2539พยานแวดล้อมกรณี คือพยานเหตุผลที่จะทำให้ศาลเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่หรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการใช้เหตุผลอนุมานเอาอีกต่อหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังคำของ ส. เจ้าของบ้านอันเป็นสถานที่ที่มีการเรียกเงิน และเป็นผู้แนะนำผู้กล่าวหาให้หาผู้ถูกกล่าวเป็นทนายความให้ กับคำของ ท. เพื่อนบ้านของผู้กล่าวหา ซึ่งผู้กล่าวหายืมเงิน 40,000 บาท เพื่อนำไปให้ผู้ถูกกล่าวจึงมารู้เห็นเหตุการณ์ อันเป็นพยานแวดล้อมที่มีรายละเอียดประกอบ ชอบด้วยเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่ จึงไม่ขัดต่อวิธีพิจารณาความ
11.2 ความสามารถในการเป็นพยานบุคคล (ป.วิ.พ มาตรา 95) ป.วิ.พ มาตรา 95 วรรคแรก บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่บุคคลนั้น (1) สามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ และ (2) เป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง แต่ความในข้อนี้ให้ใช้ได้ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่น
ป.วิ.พ มาตรา 95 วรรคสอง “ถ้าศาลไม่ยอมรับไว้ซึ่งคำเบิกความของบุคคลใดเพราะเห็นว่าบุคคลนั้นจะเป็นพยานหรือให้การดังกล่าวข้างต้นไม่ได้และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไปให้ศาลจดรายงานระบุนามพยานเหตุผลที่ไม่ยอมรับและข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้นให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน”
กรณีไม่รู้ภาษาไทย เบิกความผ่านล่าม กรณีเป็นคนหูหนวก หรือ เป็นใบ้ หรือทั้งหูหนวกและเป็นใบ้ ป.วิ.พ มาตรา 96 ฎ.81/2531 คำเบิกความของพยานที่หูหนวกและเป็นใบ้ ให้ถือว่าเป็นคำเบิกความของพยานบุคคลส่วนวิธีถามหรือตอบนั้นอาจจะกระทำโดยวิธีเขียนหนังสือ หรือ โดยวิธีอื่นที่สมควรได้ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 96
กรณีเป็นคนวิกลจริต ฎ.1199/2526 ผู้เสียหายอายุ 16 ปี เป็นคนปัญญาอ่อน พูดเรื่องยากๆ ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่เบิกความต่อศาลได้เรื่องได้ราว ดังนี้รับฟังได้
กรณีเป็นผู้เยาว์ ฎ.167/2540 แม้โจทก์ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 8 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวแต่เมื่อเบิกความถึงเหตุการณ์ที่จำเลยกระทำอนาจารได้เป็นขั้นตอนตามลำดับตรงไปตรงมา ปราศจากการปรุงแต่งตามประสาเด็กที่ไร้เดียงสา ทั้งเรื่องราวหลังเกิดเหตุยังสอดคล้องเชื่อมโยงกันดีกับพยานอื่น ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง
กรณีพยานบุคคลที่เป็นญาติกันกรณีพยานบุคคลที่เป็นญาติกัน ฎ.1351/2539ไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำเบิกความของพยานบุคคลที่เป็นญาติกันหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชอบด้วยเหตุผลพอให้รับฟังได้ว่าเป็นความจริง ศาลก็มีอำนาจรับฟังคำเบิกความของพยานดังกล่าวนั้นได้
11.3 ป.วิ.พ. มาตรา 95/1 กับพัฒนาการ ของกฎหมายเรื่องพยานบอกเล่า เดิมแม้ ป.วิ.พ มาตรา 95 (2) จะมิได้กล่าวถึงคำว่า “พยานบอกเล่า” ไว้เลย แต่ ศาลฎีกาก็มักจะวินิจฉัยว่า ป.วิ.พ มาตรา 95 (2) เป็นเรื่องของการห้ามรับฟังพยานบอกเล่า และมีคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนไม่น้อยที่วินิจฉัยว่าคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าที่ศาลใช้ดุลพินิจรับฟังได้ แต่มีน้ำหนักน้อย ทั้งๆ ที่มาตรา 95(2) เป็นเรื่องความสามารถของพยานบุคคล จึงมีปัญหาว่าสถานะของคำให้การชั้นสอบสวนนั้นเป็นพยานเอกสารหรือพยานบอกเล่ากันแน่
พยานบอกเล่าปัจจุบัน ป.วิ.พ. มาตรา 95/1 และ ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 บัญญัติความหมายของพยานบอกเล่าและการรับฟังพยานบอกเล่าไว้ชัดเจน “มาตรา 95/1 ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลก็ดี หรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้อ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลก็ดี หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า
ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็นอันเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด ให้นำความในมาตรา 95 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 “ข้อความซึ่งเป็นการบอกเล่าที่พยานบุคคลใดนำมาเบิกความต่อศาลหรือที่บันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาล หากนำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น ให้ถือเป็นพยานบอกเล่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่า เว้นแต่ (1) ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่า ศาลเห็นว่าพยานบอกเล่านั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ (2) มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรง มาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในกรณีที่ศาลเห็นว่าไม่ควรรับไว้ซึ่งพยานบอกเล่าใด และคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องร้องคัดค้านก่อนที่ศาลจะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลจดรายงานระบุนาม หรือชนิดและลักษณะของพยานบอกเล่า เหตุผลที่ไม่ยอมรับ และข้อคัดค้านของคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ ส่วนเหตุผลที่คู่ความฝ่ายคัดค้านยกขึ้นอ้างนั้น ให้ศาลใช้ดุลพินิจจดลงไว้ในรายงานหรือกำหนดให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นคำแถลงต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน”
ความหมายของพยานบอกเล่า • เขียนไว้เหมือนกันทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาในปวิพ.มาตรา 95/1 และปวิอ. มาตรา 226/3 • องค์ประกอบ • 1.เป็นข้อความซี่งเป็นการบอกเล่าของบุคคลที่ • 1.1 พยานคนอื่นนำมาเบิกความต่อศาล หรือ • 1.2 บันทึกไว้ในเอกสาร/วัตถุอื่นใดซึ่งอ้างเป็นพยานหลักฐาน • 2. นำเสนอเพื่อพิสูจน์ความจริงแห่งข้อความนั้น
ข้อความซึ่งเป็นคำบอกเล่า • - จะต้องเป็นข้อความที่สื่อความหมายโดยคน • - จะต้องไม่ใช่ข้อความของบุคคลที่กำลังเบิกความต่อศาล • - หากข้อความนั้นบันทึกไว้ในเอกสารหรือวัตถุอื่นใด เอกสาร หรือวัตถุนั้นจะต้องมีการเสนอเป็นพยานหลักฐาน • - การเสนอคำบอกเล่าเป็นการเพื่อพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำบอกเล่า • ไม่ใช่การพิสูจน์ว่าได้มีการพูดข้อความซึ่งเป็นคำบอกเล่านั้น
ตัวอย่างปัญหาว่าเป็นพยานบอกเล่าหรือไม่ • 1.พยานเบิกความว่าตามวันเวลาเกิดเหตุได้ยินเสียงสุนัขข้างบ้านเห่า เชื่อว่าจำเลยซึ่งอยู่บ้านข้างๆกลับมาถึงบ้าน • 2. บันทึกจดแจ้งในสูติบัตรเรื่องข้อมูลการเกิดของเด็กหญิงนก • 3. พยานเบิกความว่าไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพบจำเลยกำลังใช้โทรศัพท์มือถือได้ยินเสียงจำเลยเรียกอีกฝ่ายว่าคุณแม่ • 4.ในคดีหมิ่นประมาท พยานเบิกความว่า ได้ยินจำเลยพูดว่า นายก.เป็นนักการเมืองที่กินทุกอย่างแม้กระทั่งถนนหนทาง
ตัวอย่าง(ต่อ) • 5. พยานเบิกความว่า สถานที่เกิดเหตุอยู่ชั้น 5 โดยพยานขึ้นลิฟท์มา เมื่อลิฟท์จอดแล้ว ลิฟท์ส่งเสียงว่าถึงชั้น 5 แล้ว พยานจึงเดินออก • 6. โจทก์อ้างส่งพริ้นท์เอ้าท์ จากเครื่อง เอทีเอ็ม แสดงรายการที่จำเลยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ถอนเงิน • 7. พยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุรถชนกัน ได้ยินเสียงผู้เสียหายหวีดร้องและตะโกนว่า ฉันตายแน่ ไอ้คนขับระยำ • 8. บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่ผู้ต้องหาให้การว่า จำเลยที่2 บอกพยานว่า ซื้อยาเสพติดมาจากจำเลยที่ 3
หลักเกณฑ์การรับฟังพยานบอกเล่าหลักเกณฑ์การรับฟังพยานบอกเล่า • ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าโดยมีข้อยกเว้น 2 ประการคือ • 1. เหตุเพราะความน่าเชื่อถือ คือ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมนั้นน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ • 2. เหตุจำเป็น คือ มีเหตุจำเป็นอันเนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
ปัญหาการตีความข้อยกเว้น • ตามปวิพ.มาตรา 95/1 และปวิอ. มาตรา 226/3 บัญญัติข้อยกเว้นไว้ 2ประการโดยถือว่า เข้าข้อยกเว้นอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้เพราะตัวบทใช้คำว่า หรือ • ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ผ่านมาก่อนมีการแก้ไขกฎหมายต่างรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนในฐานะข้อยกเว้นของพยานบอกเล่า แม้หลังมีการแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนแล้ว ก็ยังปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาจำนวนมากที่รับฟังพยานบอกเล่า แต่ส่วนใหญ่ไม่ให้เหตุผลไว้
แต่มีคำพิพากษาศาลฎีกา 2 เรื่องที่เป็นปัญหา คือ ฎ.925/2552 และฎ.4112/2552 ซึ่งไม่รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนในฐานะพยานบอกเล่า ฎีกาทั้งสองมีหมายเหตุและข้อวิจารณ์จากอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน • อาจารย์มีความเห็นว่าหากศาลจะไม่รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่า ศาลควรให้เหตุผลที่ชัดเจนว่าไม่เข้าข้อยกเว้นทั้ง (1) และ (2) เพราะเหตุใด
สถานะของคำให้การชั้นสอบสวน • คำให้การชั้นสอบสวนแม้จะเป็นพยานบอกเล่า แต่เป็นพยานชนิดที่เกิดจากกระบวนการสอบสวนซึ่งเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานตามปวิอ. ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดวิธีการที่เจ้าพนักงานจะต้องปฏิบัติ หากปฏิบัติไม่ถูกต้องก็เข้าข่ายที่จะห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามมาตรา 134/4 วรรคท้าย หรือมาตรา 226/1 อบ่างแน่นอน • ดังนั้นคำให้การชั้นสอบสวนที่เจ้าพนักงานปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่างแล้ว ก็น่าที่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา226/3(1) • ส่วนน้ำหนักจะเชื่อถือได้เพียงใดเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาต่อไป
การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าการชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า ในคดีแพ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 104 วรรคสอง กำหนดว่า “การชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าว่าจะมีน้ำหนักให้น่าเชื่อเพียงใด ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยคำนึงถึงสภาพ ลักษณะ และแหล่งที่มาของพยานบอกเล่านั้น”
ในคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 บัญญัติว่า “ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า ... ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน พยานหลักฐานประกอบตามวรรคหนึ่ง หมายถึง พยานหลักฐานอื่นที่รับฟังได้และมีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ทั้งจะต้องมีคุณค่าเชิงพิสูจน์ที่สามารถสนับสนุนให้พยานหลักฐานอื่นที่ไปประกอบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย”
สรุป หลักกฎหมายเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่าที่แก้ไขใหม่ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาจึงเป็นการยืนยันหลักตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ผ่านมา
11.4 การอ้างตนเองและคู่ความเป็นพยาน ป.วิ.พ มาตรา 97 ป.วิ.อ มาตรา 232, 233 ≠ • อ้างคู่ความฝ่ายอื่นได้ • อ้างตนเองได้ 1. ห้ามโจทก์อ้างจำเลย 2. จำเลยอ้างตนเองได้
11.4.1. การอ้างตนเองและคู่ความเป็นพยานในคดีแพ่ง ป.วิ.พ มาตรา 97 “คู่ความฝ่ายหนึ่ง จะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตน หรือ จะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้” ข้อพิจารณาและข้อสังเกต 1. การอ้างตนเองเป็นพยานต้องระบุตนเองในบัญชีระบุพยาน ตาม ป.วิ.พ มาตรา 88 ด้วย จะอ้างว่าตนเป็นคู่ความจึงไม่ต้องยื่นบัญชีระบุตนเองเป็นพยานไม่ได้ (ฎ.3130/2523)
2. ป.วิ.พ.มาตรา 97 บัญญัติให้สิทธิแก่คู่ความในการอ้างคู่ความฝ่ายอื่นเป็นพยานของตน หรือจะอ้างตนเองเป็นพยานก็ได้ โจทก์จะอ้างตัวจำเลยเบิกความเป็นพยานฝ่ายโจทก์ และจะนำสืบเมื่อใดก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร แม้จะมิได้เข้าเบิกความเป็นพยานก่อนพยานอื่น ก็ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (ฎ.301/2538)
3. การอ้างบุคคลเป็นพยานในคดีแพ่งไม่ค่อยจะมีข้อจำกัด แต่การอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานนั้น แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ทำได้ แต่ในทางปฏิบัติมักไม่ค่อยทำกันเพราะอาจถามค้านคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามก็ไม่มีกฎหมายบังคับว่าคู่ความในคดีแพ่งจะต้องเบิกความเป็นพยาน (ฎ.869/2509) 4. พยานของอีกฝ่ายหนึ่งอาจถูกอ้างเป็นพยานเป็นพยานร่วมกันด้วยก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 91 5. อ้างผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นเป็นพยานได้หรือไม่?
11.4.2 การอ้างตนเองและคู่ความเป็นพยานในคดีอาญา มาตรา 232 “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน” มาตรา 233 “จำเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้ ในกรณีที่จำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน ศาลจะให้เข้าสืบก่อนพยานอื่นฝ่ายจำเลยก็ได้ ถ้าคำเบิกความของจำเลยนั้นปรักปรำหรือเสียหายแก่จำเลยอื่น จำเลยอื่นนั้นซักค้านได้ ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้”
ข้อพิจารณาและข้อสังเกตข้อพิจารณาและข้อสังเกต 1. ในคดีอาญาหน้าที่ในการพิสูจน์ความผิดเป็นของโจทก์ 2. ป.วิ.อ มาตรา 232 ห้ามโจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน แต่ไม่ห้ามจำเลยเบิกความในฐานะพยาน เพราะจำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ แต่ในคดีที่มีจำเลยหลายคน จำเลยคนหนึ่งอาจเบิกความซัดทอด หรือ เป็นผลร้ายต่อจำเลยคนอื่น เช่นนี้ จำเลยอื่นย่อมมีสิทธิซักค้านได้ ตาม ป.วิ.อ มาตรา 233
3. “จำเลย” ในที่นี้ หมายถึง ผู้ที่ถูกโจทก์ฟ้องในคดีนั้น ถ้าไม่ใช่จำเลยในคดีเดียวกันไม่ต้องห้าม (ฎ.1164/2547) ส่วนผู้ที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยแต่มิได้มีฐานะเป็นจำเลยในขณะเบิกความ เช่น - โจทก์ยังไม่ได้ฟ้อง โจทก์กันไว้เป็นพยาน (ฎ.1769/2509, ฎ.2001/2514, ฎ.1835/2532) - โจทก์ฟ้องแล้วถอนฟ้อง (ฎ.227/2513, ฎ.9300/2539) เหล่านี้ โจทก์ย่อมอ้างเป็นพยานได้ ไม่ต้องห้ามตาม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 232
4. พยานซัดทอดศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง เพราะพยานซัดทอดเพียงอย่างเดียว ไม่อาจรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้ ต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นประกอบเช่น ฎ.401/2496, ฎ.1885/2523, ฎ.153/2528, ฎ.1287/2531, ฎ.1835/2532, ฎ.3154/2533 และ ฎ1014/2540 ซึ่งหลักการชั่งน้ำหนักคำพยานซัดทอดตามมาตรา 227/1 เดินตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเหล่านี้
5. การที่ศาลเอาคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยมาประกอบการวินิจฉัย ถือไม่ได้ว่าเป็นการอ้างจำเลยเป็นพยาน (ฎ.35/2532, ฎ.623/2535) และถือว่าคำให้การในชั้นสอบสวนเป็นพยานบอกเล่าที่ต้องมีการชั่งน้ำหนักตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ด้วย
6. พยานหลักฐานจำเลยรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ เดิม ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาถือว่าพยานหลักฐานที่จะใช้ลงโทษจำเลยต้องเป็นพยานหลักฐานโจทก์เท่านั้น (ฎ.209/2490, ฎ.853/2532 (ประชุมใหญ่)) แต่ ตามมาตรา 233 วรรคสองที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า “ในกรณีที่จำเลยเบิกความเป็นพยาน คำเบิกความของจำเลยย่อมใช้ยันจำเลยนั้นได้ และศาลอาจรับฟังคำเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้” จึงถือว่ามาตรา 233 วรรคสองมีผลเปลี่ยนแปลงหลักตาม ฎ. 853/2532 (ประชุมใหญ่) แล้ว
11.5 สถานที่ในการสืบพยาน หลัก จะสืบพยานในศาลที่มีการพิจารณาคดีนั้น แต่ • ก็อาจมีการสืบพยานในสถานที่อื่นได้ ได้แก่ • (1) การส่งประเด็นในคดีแพ่ง • การส่งประเด็นในคดีอาญา • การเดินเผชิญสืบ • การสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ
11.5.1 การส่งประเด็นในคดีแพ่ง ใช้ในกรณีที่พยานหลักฐานไม่อยู่ในอำนาจของศาลนั้น คดีแพ่ง ป.วิ.พ มาตรา 102 - ศาลที่ส่งประเด็นและศาลที่รับประเด็นจะต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น - คำว่า “แยกประเด็นไปสืบ” คือ ? - คำว่า “นัดฟังประเด็นกลับ” คือ ?
ข้อพิจารณาและข้อสังเกตเรื่องการส่งประเด็นไปสืบข้อพิจารณาและข้อสังเกตเรื่องการส่งประเด็นไปสืบ 1. กรณีที่ศาลได้สั่งให้ส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นแล้วก็อาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ (ฎ.2607/2526 ) ฎ.2607/2526 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 6 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 10 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วต่อมาได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและสั่งให้ตัวจำเลยมาเบิกความที่ศาลแทนการส่งประเด็นนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ว่าสมควรจะให้สืบพยานหลักฐานใดในศาลหรือนอกศาลตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐาน หรือ จะให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนก็ได้หากศาลเห็นเป็นการจำเป็นดังมีบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102ดังนั้น เมื่อศาลเห็นว่ายังไม่จำเป็นที่จะให้ส่งประเด็นไปสืบจำเลย ก็ชอบจะไม่อนุญาตได้ แม้ศาลจะสั่งอนุญาตแล้วก็เพิกถอนได้
2. ดุลพินิจในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการส่งประเด็นไปสืบเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎ.2292-2293/2530 ฎีกาว่าศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ขอส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่มีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มภาคภูมิ และศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไป เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการส่งประเด็นและการกำหนดค่าเสียหาย จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
3. การที่ศาลที่รับประเด็นส่งประเด็นไปสืบพยานประเด็นที่ศาลอื่น เนื่องจากพยานย้ายที่อยู่ คู่ความที่ส่งประเด็นไม่จำต้องแก้บัญชีพยานอีก ฎ.2078/2542 บัญชีระบุพยานโจทก์อ้าง พ.เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขอส่งประเด็นไปสืบ พ.ที่ศาลแพ่ง ทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น ขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วยทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 102 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก
4. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 102 ผู้พิพากษาที่ได้รับมอบหมาย หรือ ศาลที่ได้รับการแต่งตั้งมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับศาลที่พิจารณาคดี หมายถึง มีอำนาจที่จะสืบพยานหลักฐานตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมที่คู่ความยื่นขอระบุเพิ่มเติมต่อศาลนั้นได้
11.5.2 การส่งประเด็นไปสืบในคดีอาญา (ป.วิ.อ. มาตรา 230) “มาตรา 230เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นเป็นการสมควร ศาลอาจเดินเผชิญสืบพยานหลักฐาน หรือเมื่อมีเหตุจำเป็นไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาสืบที่ศาลนั้น และการสืบพยานหลักฐาน โดยวิธีอื่นไม่สามารถกระทำได้ ศาลมีอำนาจส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดังศาลเดิม รวมทั้งมีอำนาจส่งประเด็นต่อไปยังศาลอื่นได้
ภายใต้บังคับมาตรา 172 และมาตรา 172 ทวิ ให้ส่งสำนวนหรือสำเนาฟ้อง สำเนาคำให้การ และเอกสารหรือของกลางเท่าที่จำเป็นให้แก่ศาลที่รับประเด็นเพื่อสืบพยานหลักฐาน หากจำเลยต้องขังอยู่ในระหว่างพิจารณา ให้ผู้คุมขังส่งตัวจำเลยไปยังศาลที่รับประเด็น แต่ถ้าจำเลยในกรณีตามมาตรา 172 ทวิ ไม่ติดใจไปฟังการพิจารณาจะยื่นคำถามพยานหรือคำแถลงขอให้ตรวจพยานหลักฐานก็ได้ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานไปตามนั้น เมื่อสืบพยานหลักฐานตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ให้ส่งถ้อยคำสำนวนพร้อมทั้งเอกสารหรือของกลางคืนศาลเดิม”
ข้อพิจารณาเรื่องการส่งประเด็นไปสืบข้อพิจารณาเรื่องการส่งประเด็นไปสืบ ในคดีอาญา 1. กรณีที่จำเลยขอตามไปฟังการพิจารณา ศาลไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้จำเลยตามประเด็นไปได้เพราะคดีอาญาการพิจารณาคดีต้องกระทำต่อหน้าจำเลยและให้โอกาสจำเลยซักค้านพยานโจทก์ด้วย (ฎ. 377–378/2516) แต่ถ้าจำเลยแถลงว่าจะไม่ตามประเด็นไป ศาลที่รับประเด็นย่อมพิจารณาคดีไปได้ ไม่ถือว่าเป็นการสืบพยานลับหลังจำเลย (ฎ.1066/2526)
2. ผู้พิพากษาที่นั่งสืบประเด็นที่ศาลอื่นไม่มีอำนาจทำความเห็นแย้งให้อุทธรณ์ / ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และ มาตรา 221 (ฎ.3420/2538) 3. มาตรา 230 ที่แก้ไขใหม่ผู้พิพากษาต้องไปเดินเผชิญสืบเองจะมอบให้จ่าศาลไปเดินเผชิญสืบ แทนไม่ได้ (ต่างจากมาตรา 230 เดิมที่ให้จ่าศาลเดินเผชิญสืบแทนได้)
11.5.3 การเดินเผชิญสืบ คือ การที่ศาลไปสืบพยานนอกสถานที่ การเดินเผชิญสืบในคดีแพ่ง อาจจะเนื่องมาจาก 1) คำร้องของคู่ความหรือตามที่ศาลเห็นสมควรตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐาน (ป.วิ.พ. มาตรา 102) หรือ 2) ลักษณะของพยาน เช่น พยานเป็นวัตถุหรืออาคารสถานที่ไม่อาจนำมาศาลได้ (ป.วิ.พ. มาตรา 128) หรือ 3) เพราะความจำเป็นเนื่องจากพยานบุคคลที่ถูกอ้างเจ็บป่วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 108 และกรณีเป็นพระภิกษุตามมาตรา 106/1 (2) ด้วย การเดินเผชิญสืบในคดีอาญา (ตามป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่แก้ไขใหม่) ผู้พิพากษาต้องไปเดินเผชิญสืบเองจะมอบให้จ่าศาลไปเดินเผชิญสืบแทนไม่ได้อีกต่อไป
ข้อสังเกต 1) คดีแพ่งผู้พิพากษาจะต้องไปเดินเผชิญสืบ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 103/1 “มาตรา 103/1 ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน และศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควร ศาลอาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือเจ้าพนักงานอื่นซึ่งคู่ความเห็นชอบให้ทำการสืบพยานหลักฐานส่วนใดส่วนหนึ่งที่จะต้องกระทำนอกศาลแทนได้ ให้เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้นำความในมาตรา 103 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
2. การเดินเผชิญสืบ หรือ การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นเป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาคดีเมื่อเห็นเป็นการจำเป็น (ฎ.3996/2514, ฎ.4549/2540) 3. วันที่มีการเดินเผชิญสืบถือได้ว่าเป็นการสืบพยานในคดี 4. การเดินเผชิญสืบในคดีแพ่ง คู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการตามกฎหมาย ส่วนในคดีอาญาไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม
2. การเดินเผชิญสืบ หรือ การส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นเป็นดุลพินิจของศาลที่พิจารณาคดีเมื่อเห็นเป็นการจำเป็น (ฎ.3996/2514, ฎ.4549/2540) 3. วันที่มีการเดินเผชิญสืบถือได้ว่าเป็นการสืบพยานในคดี (ฎ. 3872/2535) 4. การเดินเผชิญสืบในคดีแพ่ง คู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการตามกฎหมาย ส่วนในคดีอาญาไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม
11.5.4 การสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพ การสืบพยานโดยระบบการประชุมทางจอภาพเป็นบทบัญญัติของกฎหมายใหม่ที่เปิดโอกาสให้มีการสืบพยานบุคคลนอกศาลเพิ่มขึ้นอีกนอกจากการเดินเผชิญสืบและการส่งประเด็นไปสืบ ดังนี้ (ก) คดีแพ่ง (ป.วิ.พ. มาตรา 120/4) (ข) คดีอาญา (ป.วิ.อ. มาตรา 230/1)