410 likes | 658 Views
ทุจริตธนาคาร. คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านทั่วไป ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน Bank and Financial Institution Internal Auditors Club กันยายน 2547. ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์. ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (2528) ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (2533) IIA’s Endorsed Internal Auditing Program (2546)
E N D
ทุจริตธนาคาร คณะอนุกรรมการตรวจสอบด้านทั่วไป ชมรมผู้ตรวจสอบภายในธนาคารและสถาบันการเงิน Bank and Financial Institution Internal Auditors Club กันยายน 2547 ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์ • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (2528) • ปริญญาโทบริหารธุรกิจ (2533) • IIA’s Endorsed Internal Auditing Program (2546) • ประสบการณ์ด้านวิศวกรรม 5 ปี • ประสบการณ์ด้านการเงิน 15 ปี • หัวหน้าตรวจสอบภายใน บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)(มิ.ย. 2547 - ปัจจุบัน) • ผ่านการสอบ CIA CCSA CISA • วิทยากรและคณะทำงาน สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
ความเสียหายจากอาชญากรรมทางการเงินการธนาคารปี 2536 - 2545 ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
หัวข้อบรรยาย • 1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • 2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • 3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • 4. ทุจริตเกี่ยวกับการขาดการควบคุมบัตรผ่านรายการ • 5. ทุจริตด้านอื่นๆ • 6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • 7. ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับตัวพนักงาน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • ไม่มีการสุ่มตรวจเงินสดคงเหลือในห้องมั่นคงกับยอดทางบัญชีให้ถูกต้องตรงกัน • พนักงาน Cashier ทุจริตนำเงินไปใช้หมุนเวียนโดยแอบยัดไส้แหนบเงินหรือบรรจุเงินในแต่ละแหนบไม่ครบถ้วนทำให้เงินสดขาดหายไป หรือซ่อนยอดไว้ในธนบัตรชำรุดหรือเหรียญกษาปณ์ • ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการและเจ้าหน้าที่อาวุโส ต้องร่วมเป็นกรรมการสุ่มตรวจนับเงินสดคงเหลือในห้องมั่นคงโดยไม่แจ้งพนักงาน Cashier ทราบล่วงหน้า ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • ไม่มีการตรวจสอบเงินสดของสาขาย่อย • ผู้จัดการสาขาแม่ ไม่ได้กำชับให้สาขาย่อย ส่งเงินสดให้สาขาแม่ทั้งที่ในรายงานปรากฏยอดเงินสดในมือสูงมาก เมื่อไปตรวจนับเงินสดจริง พนักงานได้ทุจริตนำเงินไปใช้แล้ว • ผู้จัดการสาขาแม่ ต้องกำชับให้ผู้จัดการสาขาย่อยส่งเงินให้สาขาแม่ทุกวันโดยจะต้องเหลือเงินสดที่สาขาย่อยให้น้อยที่สุด และต้องไปสุ่มตรวจนับเงินสดที่สาขาย่อยอย่างน้อยเดือนละครั้ง ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • การควบคุมภายในด้านเงินสด • ควรติดตามดูแลพฤติกรรมพนักงานด้านการเงินอยู่เสมอ • โต๊ะ Cashier ควรอยู่ห่างจากเคาน์เตอร์ ไม่ควรตั้งเก้าอี้รับแขก และไม่ให้นำถุงหรือกระเป๋าอื่นนอกจากกระเป๋าใส่เงินของธนาคารมาวาง • การรับ/จ่ายเงินของ Cashier ต้องทำผ่านพนักงาน A/T ทุกครั้ง ในการรับส่งเงินต้องตรวจนับซึ่งหน้า บันทึกรายการ และลงนามกำกับทันทีทุกครั้ง • ควบคุมให้พนักงาน A/T นำเงินส่ง Cashier เป็นระยะ และไม่ยอมให้ พนักงาน A/T ยืมเงินกันเองเพื่อจ่ายลูกค้า ต้องเบิกจาก Cashier เท่านั้น • การนำเงินเข้าออกห้องมั่นคงของ Cashier ต้องทำคู่กับผู้รับมอบอำนาจ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • การควบคุมภายในด้านเงินสด • ผู้รับมอบอำนาจสาขาตรวจนับเงินสดที่ Cashier โดยละเอียดและสม่ำเสมอ • เมื่อมีกรณีเงินขาดหรือเกินบัญชีขึ้นในสาขา ต้องพยายามค้นหาสาเหตุทุกครั้ง ถ้าหาสาเหตุไม่ได้ ควรรายงานสำนักงานใหญ่เพื่อพิจารณาสั่งการ • ไม่ควรเก็บเงินสดไว้ที่สาขามากเกินไป ควรหมุนเวียนถ่ายเทเงินในห้องมั่นคงออกมาใช้งาน หรือนำส่งสำนักงานใหญ่หรือ ธปท.อย่างสม่ำเสมอ • การขนส่งเงินระหว่างสาขากับ สนงญ.หรือ ธปท. ต้องมีผู้รับมอบอำนาจควบคุมดูแลทุกครั้ง และจำนวนเงินที่ขนส่งแต่ละเที่ยวต้องไม่เกินวงเงินที่ได้ทำประกันภัยเอาไว้ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • แนวการตรวจสอบด้านเงินสด • - ตรวจสอบกรณีพิเศษ • ควรมีรายงานควบคุมปริมาณเงินสดที่เก็บไว้ที่แต่ละสาขาในแต่ละวัน ถ้าพบสาขาใดเก็บเงินสดปริมาณมากผิดปกติเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะช่วงที่เป็นวันหยุดติดต่อกันหลายวัน และมีการขอเบิกเงินสดจากสำนักงานใหญ่บ่อยครั้ง ต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทันที • ควรส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเงินสดตามสาขาต่างๆ เป็นครั้งคราวโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
1. ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด • แนวการตรวจสอบด้านเงินสด • - ตรวจสอบตามปกติประจำปี • ในการเข้าตรวจสอบเงินสดตามสาขา ควรให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้องของตัวเงินสดทุกจำนวน โดยเฉพาะธนบัตรชำรุด เหรียญกษาปณ์ที่มีปริมาณมากๆ ปึกธนบัตรมูลค่าสูงที่ไม่ถูกนำออกมาใช้งานประจำวัน รายละเอียดของธนบัตรพิเศษ/เงินที่ระลึก • ทดสอบ/สังเกตดูระบบการควบคุมภายในด้านเงินสดจุดที่สำคัญๆ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การแอบอ้างชื่อลูกค้าเปิดบัญชีใหม่เพื่อใช้ในการทุจริต • ผู้ทุจริตใช้อำนาจเปิดบัญชีใหม่ซึ่งเป็นบัญชีปลอมด้วยนามแฝงเพื่อไม่ให้มีพิรุธสำหรับใช้เดินบัญชีหมุนเวียนเพื่อทำการทุจริต • ในแต่ละวันเมื่อมีการเปิดบัญชีใหม่ทุกประเภท ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาขึ้นไป ต้องสุ่มตรวจสอบใบเปิดบัญชีและการ์ดลายเซ็นของลูกค้าแต่ละราย ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • ทุจริตจากสมุดบัญชีที่ลูกค้าฝากไว้ • พนักงานที่ทำการทุจริตปลอมแปลงตัวอย่างลายมือชื่อของลูกค้าที่ฝากสมุดบัญชีไว้ และถอนเงินจากบัญชีลูกค้า หรือปิดบัญชีเงินฝากระยะยาวแล้วนำเงินไปใช้ส่วนตัว รายการเช่นนี้ตรวจพบได้ยากถ้าพนักงานปลอมลายเซ็นลูกค้าและผู้รับมอบอำนาจสาขาได้คล้ายของจริง หรือลอบทำลายสลิปถอนเงินหลังจากผ่านรายการทางบัญชีครบขั้นตอนแล้วก็อาจตรวจไม่พบด้วย • ห้ามพนักงานเก็บรักษาสมุดเงินฝากทุกประเภทของลูกค้าโดยเด็ดขาด ยกเว้น สมุดบัญชีเงินฝากระยะยาวให้รับฝากได้แต่ต้องมีทะเบียนควบคุม โดยต้องมีการตรวจนับความถูกต้องและให้อยู่ในความดูแลของผู้ช่วยผู้จัดการสาขาขึ้นไป ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • ทุจริตจากการโอนเงินจากบัญชีลูกค้าเข้าบัญชีพนักงาน • พนักงานที่เล่นการพนันมักทำรายการฝาก/ถอน/โอนเงินค่อนข้างบ่อยเพื่อชำระหนี้พนัน นานเข้าเมื่อไม่มีเงินในบัญชีเพื่อหมุนเวียนใช้จ่าย ก็จะใช้วิธีทุจริตจากบัญชีลูกค้า เช่นปลอมลายเซ็นถอนเงินจากบัญชีลูกค้าที่ละทิ้งบัญชีไว้นานๆ • ผู้จัดการต้องคอยหมั่นตรวจสอบการทำรายการของบัญชีพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝากหรือถอนเงินจำนวนสูงๆ และมีการโอนเข้าบัญชีอื่นเป็นประจำ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การโอนบัญชีลอย • พนักงานที่ทุจริตสร้าง Pass Slip โดยไม่มีที่มาที่ไป ทำรายการฝากลอยเข้าบัญชีโดยซ่อนยอดเดบิตไว้ในบัญชีหนึ่งบัญชีใด มีทั้งที่ถอนเอาไปหมุนระหว่างวันตอนเย็นเอามาคืน หรือถอนไปใช้เลย อาจทำกับบัญชีตัวเอง บัญชีพรรคพวกหรือบัญชีปลอมที่สร้างขึ้น • ผู้ช่วยผู้จัดการสาขาขึ้นไปควรตรวจสอบรายการโอนบัญชีต่างๆ ที่มีจำนวนเงินสูงๆ โดยการตรวจเลขที่บัญชี ชื่อบัญชี ที่บันทึกผ่านเครื่อง Terminal เทียบกับสลิป และการ์ดลายเซ็น ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • ทุจริตสมุดคู่ฝาก • พนักงานที่ทุจริตขโมยสมุดคู่ฝากเปล่า ไปปลอมแปลงรายการ เพื่อขอวีซ่า มีทั้งทำให้เพื่อนฝูงและรับจ้างกลุ่มมิจฉาชีพ สาเหตุ มาจากความหละหลวมของสาขาในการควบคุมสมุดคู่ฝากที่ยังไม่ได้นำออกใช้งาน • การทุจริตโดยบุคคลภายนอก มักมาในรูปขโมยสมุดคู่ฝากจากลูกค้าแล้วปลอมแปลงลายเซ็นมาเบิกเงิน จะพลาดยาก ถ้าพนักงานสาขาใช้ความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงาน เช่นให้ลูกค้าเซ็นสองครั้งทั้งในฐานะผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน ประกอบกับการพิจารณาลายเซ็นเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ลูกค้าให้ไว้อย่างถี่ถ้วน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การควบคุมภายในด้านเงินฝาก • ควบคุมสมุดคู่ฝากที่ยังไม่ได้นำออกใช้งานให้ปลอดภัยรัดกุม • จัดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบสมุดคู่ฝากที่สาขารับฝากจากลูกค้าเอาไว้ • ต้องควบคุมดูแลบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานเป็นพิเศษ เช่นตั้ง Code เป็นห้ามถอน/ฝาก หรือต้องมีผู้รับมอบอำนาจของสาขาอนุมัติ • ห้ามผ่าน Effect Not Cleared โดยเด็ดขาด อนุโลม เป็นรายกรณีเฉพาะนำC/O หรือ Draft เข้าบัญชีและต้องมีผู้รับมอบอำนาจควบคุมดูแล • ห้ามโอนบัญชีระหว่างกันในสาขาเว้นแต่ลูกค้าจะยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและต้องมีผู้รับมอบอำนาจของสาขาอนุมัติ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • การควบคุมภายในด้านเงินฝาก • ต้องมีระบบควบคุมเกี่ยวกับการ Error รายการบัญชีอย่างเคร่งครัด • เพื่อให้มีการตรวจสอบระบบควบคุมภายในที่สำคัญๆ อยู่เสมอ ควรมีรายงานให้ผู้รับมอบอำนาจสาขาใช้ติดตามดูแลความผิดปกติ หรือสัญญาณเตือนภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น รายงานการปลด Miscellaneous Code รายงานการถอน No Book รายงานการผ่าน Effect Not Cleared และเช็คคืนจากการผ่าน Effect รายงาน Error Correction ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งรายงานเหล่านี้ควรแสดงให้เห็นเฉพาะจุดที่ผิดปกติจริงๆ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
2. ทุจริตจากบัญชีเงินฝาก • แนวการตรวจสอบด้านเงินฝาก • ตรวจนับสมุดคู่ฝากเปล่าที่สาขาเก็บ Stock ไว้ และทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการเบิกสมุดคู่ฝากเปล่าออกใช้งาน • ทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการรับฝากสมุดคู่ฝากจากลูกค้า • ทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวนานๆ • ทดสอบรายการถอน No Book และการผ่าน Effect ให้ลูกค้า • ทดสอบระบบควบคุมภายในเกี่ยวกับการโอนบัญชีระหว่างกันในสาขา • ทดสอบรายการ Error Correction ที่ผิดปกติ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • ประเมินหลักประกันสูงกว่าความเป็นจริง • ผู้จัดการไม่เคยดูหลักประกันที่พนักงานสินเชื่อประเมินมา เปิดโอกาสให้พนักงานสินเชื่อที่รู้เห็นกับลูกค้า ประเมินหลักประกันสูงกว่าความเป็นจริงมาก • ผู้จัดการต้องดูหลักประกันสินเชื่อทุกรายทั้งเก่าและใหม่ เพื่อจะได้ทราบว่า ราคาหลักประกันในปัจจุบันเมื่อเทียบกับที่ประเมินไว้ครั้งแรกแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และเรียกหลักประกันเพิ่มหากมูลค่าหลักประกันไม่คุ้มกับวงเงินสินเชื่อที่ปล่อยไป ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • ขโมยเอกสาร/หลักประกันลูกค้า • พนักงานที่ทุจริต (โดยมากจะเป็นพนักงานสินเชื่อ) ขโมยเอกสารสำคัญ/ เอกสารในซองหลักประกันของลูกค้าเช่นสมุดเงินฝากของลูกค้า ไปทำใบยกเลิกการกันวงเงินและปลอมลายมือชื่อลูกค้าเบิกเงินสดออกไป บางครั้งก็ขโมยโฉนดที่ดินลูกค้าไปโอนจดจำนองใหม่และขายให้กับผู้อื่น • ผู้จัดการต้องเรียกพนักงานที่ไม่ใช่พนักงานสินเชื่อ มาช่วยกันตรวจนับ เอกสารสำคัญ/ เอกสารในซองหลักประกันของลูกค้า เพื่อดูว่า เอกสารสำคัญ ต่างๆ เช่น สมุดเงินฝากของลูกค้า โฉนดที่ดิน ยังจัดเก็บอยู่ในซองครบถ้วนหรือไม่ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
3. ทุจริตเกี่ยวกับสินเชื่อ • รับชำระค่าธรรมเนียมแต่ไม่มีการบันทึกรับเงินผ่านบัญชี • พนักงานสินเชื่อที่ทุจริต เมื่อได้รับชำระค่าธรรมเนียมศาล Letter of Guaranty หรือค่าประกันต่างๆ จากลูกค้า บางครั้งจะเก็บเงินไว้เองและนำส่ง Cashier ภายหลัง เป็นช่องว่างให้เกิดการทุจริตได้ • ผู้จัดการต้องมีทะเบียนควบคุมลูกค้าที่ทำวงเงินค้ำประกัน ลูกค้าที่ค้างค่าธรรมเนียมศาล ว่ามีใครบ้าง รายใดค้างชำระกับธนาคาร และเมื่อใดจะครบกำหนด โดยจะต้องตรวจสอบอยู่เสมอ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
4. ทุจริตเกี่ยวกับการขาดการควบคุมบัตรผ่านรายการ • ถือบัตรผ่านรายการมากกว่าหนึ่งใบไว้คนเดียวตลอดทั้งวัน • ผู้ทุจริตสามารถทำรายการทุกรายการได้ หากถือบัตรผ่านรายการมากกว่าหนึ่งใบไว้คนเดียว เช่น รายการ No Book, Cash Over 100000 การตั้งวงเงินต่างๆ หรือ การ Correct เป็นต้น (หลายสาขาที่เกิดทุจริตเป็นลักษณะนี้) • ต้องแยกการถือบัตรผ่านรายการของแต่ละระดับ (ASC สำหรับพนักงาน Authorized Teller-A/T, SC สำหรับหัวหน้าพนักงาน A/T หรือเจ้าหน้าที่อาวุโส,และ SSC สำหรับผู้จัดการ) หากผู้จัดการสาขาไม่อยู่ ห้ามผู้ช่วยผู้จัดการมอบบัตรSSCให้เจ้าหน้าที่อาวุโสต่อเป็นอันขาด และห้ามพนักงานแต่ละระดับถือบัตรผ่านรายการมากกว่าหนึ่งใบไว้ที่ตัว ยกเว้น ผู้จัดการสาขาเท่านั้น ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
5. ทุจริตด้านอื่นๆ • ไม่มีการเปลี่ยนรหัสลับต่างๆ • พนักงานบางคนไม่ระมัดระวังในการรักษารหัสลับหรือ Password ของตน หรือไม่ปิดเครื่อง Terminal เมื่อลุกจากโต๊ะหรือไปรับประทานอาหาร ทำให้เกิดการลักลอบทำรายการเข้าเครื่อง โดยเกิดทุจริตในลักษณะโอนเงินเข้าบัญชีต่างๆ • ผู้จัดการสาขาต้องกำหนดให้มีการเปลี่ยนรหัสลับหรือ Password ต่างๆ เช่น รหัส Password ของ Teller รหัสห้องมั่นคง รหัสตู้ ATM โดยต้องมีการเปลี่ยนรหัสลับต่างๆ อย่างน้อยทุกหกเดือนหรือตามความเหมาะสมของสาขา ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
5. ทุจริตด้านอื่นๆ • การทุจริตเงินสดในเครื่อง ATM • มีโอกาสเป็นได้ทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานใหญ่ พนักงานสาขาหรือบุคคลภายนอกขึ้นกับรูปแบบการควบคุมภายในของแต่ละธนาคาร • บรรจุเงินสดในกล่องเงินสดเข้าเครื่อง ATM ไม่ครบตามที่แจ้งไว้ ยักยอกเงินสดคงเหลือในกล่อง • ขโมยเงินที่เครื่อง Reject ออก หรือยักยอกซองเงินสดที่ลูกค้านำมาฝากผ่านเครื่อง ATM • ทุจริตจากการแอบทราบรหัสหรือปลอมแปลงกุญแจ • บุคคลภายนอกงัดแงะ • ผู้จัดการสาขาต้องกำหนดให้มีการเปลี่ยนรหัสลับหรือ Password ต่างๆ เช่น รหัส Password ของ Teller รหัสห้องมั่นคง รหัสตู้ ATM โดยต้องมีการเปลี่ยนรหัสลับต่างๆ อย่างน้อยทุกหกเดือนหรือตามความเหมาะสมของสาขา ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
5. ทุจริตด้านอื่นๆ • เงินสดในเครื่อง ATM - การควบคุมภายใน • หมุนเวียนชุดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลเงินสดในเครื่อง • ในหนึ่งชุดเจ้าหน้าที่ ควรมีพนักงานระดับผู้รับมอบอำนาจไม่น้อยกว่าสองคน โดยแยกคนหนึ่งถือรหัสและอีกคนหนึ่งถือกุญแจเปิดปิดเครื่อง และไม่ควรให้มีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่กันระหว่างพนักงานสองคนนี้ • กำหนดให้เปลี่ยนรหัสทุกครั้งที่เปลี่ยนชุดเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล • การเปิดปิดเครื่อง ATM ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเครื่องขัดข้อง หรือเปลี่ยนกล่องเงินสด จะต้องทำโดยเจ้าหน้าที่ครบคณะเสมอ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
5. ทุจริตด้านอื่นๆ • เงินสดในเครื่อง ATM - การควบคุมภายใน • ทุกครั้งที่เปลี่ยนกล่องเงินสดต้องตรวจนับเงิน Reject หรือซองเงินฝากของลูกค้าทันที • การบรรจุเงินสดในกล่องเงินสดเข้าเครื่อง ATM หรือนำเงินออกจากกล่อง ต้องมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบควบคุมดูแล โดยผู้ตรวจนับและผู้ควบคุมต้องไม่เป็นคนเดียวกัน • การตรวจนับเงินสดในซองเงินฝากผ่าน ATM ของลูกค้า ควรทำในรูปคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้รับมอบอำนาจไม่น้อยกว่าสองคน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
5. ทุจริตด้านอื่นๆ • ทุจริตบัตร ATM • ยักยอกบัตรและรหัส ATM ที่ลูกค้ายังไม่มารับไปถอนเงิน • การควบคุมภายใน • ทำลายบัตรและรหัส ATM ที่ลูกค้ายังไม่มารับนานเกินสามเดือน • แยกผู้รับผิดชอบเก็บรักษา และผู้จ่ายบัตรและรหัส ATM • แยกผู้รับผิดชอบเก็บรักษาบัตรและรหัส ATM ไม่เก็บรวมที่เดียวกัน • ตรวจนับบัตรและรหัส ATM เทียบกับทะเบียนการจ่ายออกทุกสัปดาห์ • การอายัดบัตร ATM ของลูกค้าต้องทำทันทีที่ได้รับแจ้ง ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่มีการตรวจรายงาน Daily Debit/Credit Tran Over 100000 • ผู้ทุจริตใช้วิธีการถอนเงินจากลูกค้ารายใหญ่ที่ไม่ค่อยมาติดต่อธนาคาร และผู้จัดการไม่สนใจสอบถามลูกค้าว่าถอนเงินจากบัญชีจำนวนสูงๆ ไปทำอะไร • ผู้ช่วยจัดการสาขาขึ้นไปต้องควบคุมดูแลการฝากถอนที่มีจำนวนเงินสูงๆ โดยต้องตรวจดูรายงาน Daily Debit/Credit Tran Over 100000 ทุกวัน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่มีการตรวจรายงาน Daily Tran Miscellaneous • รายงาน Daily Tran Miscellaneous เป็นรายงานที่สำคัญมากเพราะรวมเอารายการเบ็ดเตล็ดทุกอย่างเอาไว้ เช่น การตั้ง/ยกเลิกวงเงิน การกัน/ยกเลิกเงินฝาก การแก้ไขเมื่อ Key ผิด การใส่ Message ต่างๆ การปรับปรุงดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งหากละเลยไม่มีการตรวจรายการเหล่านี้ ทุกรายการสามารถกระทำการทุจริตได้ • ผู้ช่วยจัดการสาขาขึ้นไปต้องควบคุมดูแล รายการเบ็ดเตล็ด โดยต้องตรวจดูรายงาน Daily Tran Miscellaneous ทุกวัน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่ทำการเย็บสลิปให้เสร็จทันในแต่ละวัน • เพื่อเป็นการ Double Check โดยผู้จัดการสาขา/ผู้ช่วยจัดการสาขาว่า สลิปประจำวันอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ และเป็นการป้องกันสลิปที่แปลกปลอมหรือถูกขโมยออกไปเพื่อทำการทุจริต • ผู้จัดการสาขาต้องให้ความสำคัญในการดูแลการเย็บสลิปให้เสร็จทันในแต่ละวัน และการจัดเก็บรักษา โดยจะต้องเก็บรักษาไว้ในห้องมั่นคงทุกวัน และต้องผ่านการตรวจนับสลิปและลงนามโดยผู้ตรวจนับ โดยผู้จัดการสาขาต้องให้ความสนใจกับสลิปที่มีการฝาก/ถอนเงินจำนวนสูงๆ ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
6. การขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับการตรวจรายงานและสลิป • ไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดรายการคงเหลือของบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีเช็คธนาคาร บัญชีพัก บัญชีภาระต่างๆ • ผู้ทุจริตใช้วิธีการโอนบัญชีลอย โดยการตั้งบัญชีพัก การออกเช็คธนาคาร การ Pass Slip โดยยันกับคู่กรณีปลอม ซึ่งผู้จัดการส่วนใหญ่มักไม่ค่อยให้ความสนใจ อาจเนื่องจากไว้วางใจพนักงานที่กระทำการทุจริต เช่นเห็นว่าเป็นคนขยันทำงานดี • ผู้จัดการสาขาต้องตรวจสอบรายละเอียดรายการคงเหลือ (Outstanding) ในหัวบัญชีสำคัญๆ เช่น บัญชีเช็คธนาคาร บัญชีพัก บัญชีภาระ รายการงบกระทบยอด (Reconcile) รายการค้างนาน และจะต้องตรวจเงินสดคงเหลือให้ตรงกับยอดทางบัญชีอย่างน้อยเดือนละครั้ง ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
7. ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับตัวพนักงาน • มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว ให้เพื่อนร่วมงานกู้ยืมเงินหรือชอบเลี้ยงเพื่อนพนักงานด้วยกันเพื่อสร้างบารมีให้ทุกคนรักใคร่ เกรงใจ • เกิดความเดือดร้อนจากความเจ็บป่วยของครอบครัว และไม่มีเงินสำรองใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ยืมเงินเล็กน้อยจากเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ • ชอบรับโทรศัพท์บ่อยหรือโทรศัพท์หาคนอื่นเป็นประจำ ชอบดูกีฬาที่เล่นพนันได้ ชอบติดตามหุ้น ชอบสังคมเกินตัว • ไม่เคยขาดลามาสาย ไม่ยอมโยกย้ายไปหน่วยงานอื่นหรือทำหน้าที่อื่น ปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่ง • ไม่ยอมให้สมุดบันทึกห่างตัว ทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ และมักคัดลอกบันทึกต่างๆ ใหม่โดยอ้างว่าเพื่อความสวยงาม ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
7. ข้อพึงสังเกตเกี่ยวกับตัวพนักงาน • โอ้อวดความมั่งมี มีเงินฝากหรือซื้อขายหุ้นจำนวนมาก และมักชี้แจงว่าได้เงินจากมรดกหรือการเสี่ยงโชค • แสดงความรำคาญเมื่อได้รับการสอบถาม และมักอธิบายหรือตอบคำถามของผู้ตรวจสอบอย่างไม่มีเหตุผล • วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอย่างขาดความเป็นธรรม หรือมีอคติ เพื่อเบนความสงสัยไปยังผู้อื่น • มีบัตรเครดิตหลายใบและใช้วงเงินสม่ำเสมอ มีการทำรายการ Cash Advance บัตรเครดิตของพนักงานติดต่อกัน • มีการมอบหมายงานให้พนักงานที่ไม่มีอำนาจ หรือให้ทำรายการต่างๆ เสร็จสิ้นทุกกระบวนการได้โดยพนักงานคนเดียว ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
สรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาดสรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาด • การใช้วงเงินและการติดต่อทางการบัญชี • จำนวนรายการและจำนวนเงินเข้าออกบัญชี • ระดับการใช้วงเงิน Over Limit / Over Night พร้อมเหตุผลชี้แจง • การใช้เงิน Effect Not Cleared พร้อมเหตุผลชี้แจง • เบิกเงินสด/หักบัญชี บ่อยครั้งหรือเป็นจำนวนสูงๆ มีเงินโอน/เช็คเข้าบัญชี/ใช้เช็ค มากเกินความจำเป็นหรือผิดลักษณะธุรกิจ • มีเช็คคืนมาก ทั้งของตัวลูกค้าเองและเช็คที่ลูกค้านำมาเข้าบัญชี • นำเช็คที่ไม่เกี่ยวกับการค้ามาขายลด ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
สรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาดสรุปประเด็นที่อาจนำไปสู่การทุจริต/ผิดพลาด • พฤติกรรมของพนักงาน • ให้กู้ยืม/ทำรายการ โดยกระจายวงเงินให้อยู่ในอำนาจของตนเอง • ให้กู้ยืม/เพิ่มวงเงิน โดยประเมินหลักประกันเพิ่มขึ้น/สูง เกินจริง • ปล่อย Effect Not Cleared ให้ลูกค้า ลักษณะหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นประจำ • ปล่อย Over Limit / Over Night จำนวนสูง • ให้สินเชื่อ Packing Stock โดยไม่มีสินค้า • ปลดจำนอง/ไถ่ถอนหลักประกันให้ลูกค้าโดยไม่ชำระหนี้ หรือให้ไถ่ถอน หลักประกันที่มีคุณภาพ/มูลค่าดีไปก่อน ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์
Thank YouQ&A บริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัดบริษัท ทิสโก้ ลีสซิ่ง จำกัด • ยินดีให้นำไปเผยแพร่ต่อโดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ มีข้อสงสัยหรือคำแนะนำเพื่อปรับปรุง กรุณาแจ้งที่ 0.2633.6051 หรือ 0.1903.1457 ไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์