220 likes | 464 Views
การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง. จัดทำโดย : นางสาวรัตนา เต็มทับ 542132038. บทที่ 1. สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ.
E N D
การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง จัดทำโดย : นางสาวรัตนา เต็มทับ 542132038
บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ วิทยุเป็นเครื่องมือการสื่อสารมวลชนชนิดแรกที่มีบทบาทต่อผู้ฟังและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้ ดังที่ กาญจนา แก้วเทพ ได้บรรยายไว้ในหนังสือ ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมการศึกษา (2544) ว่า สถานะพิเศษของวิทยุ คือ อาจถือได้ว่าเป็นการสื่อสารมวลชนด้านข่าวสารและความบันเทิงชนิดแรกที่นำมาติดตั้งไว้ในบ้าน เนื้อหาวิทยุนั้นมีความหลากหลาย การสร้างสรรค์รายการจะเกิดขึ้นไม่ได้หากนักจัดรายการไม่มีเทคนิค ไม่มีคุณภาพพอการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักจัดรายการ ถือเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระผ่านสื่อวิทยุ เทคนิคของนักจัดรายการจึงเป็นปัจจัยหลักของการสื่อสารระหว่างผู้ฟังกับนักจัดรายการ
บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ การบริหารจัดการในกิจการสื่อวิทยุกระจายเสียงจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับผู้ฟัง และตอบสนองพันธกิจ เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุมที่ได้มีนโยบายให้ศูนย์มีเดียจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุมขึ้น โดยได้เริ่มดำเนินการออกอากาศด้วยความถี่ FM 88.25 MHz. ( SPU RADIO ) ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2547 เป็นต้นมา ซึ่งนอกจากจะเผยแพร่สาระและความรู้ไปสู่ผู้ฟังที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยศรีปทุมทางวิทยุแล้ว ยังมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เนต และเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัยด้วยตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2549 จวบจนปัจจุบัน
บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ จากแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการรับฟังรายการทาง FM. 88.25 MHz ( SPU RADIO ) ประจำปีการศึกษา 1/2553 พบว่าส่วนใหญ่รับฟังคลื่นหลักอย่าง Seed , Fat Radio , Virgin , Greenwave ตามลำดับ ส่วน FM. 88.25 MHz ( SPU RADIO ) มีผู้ฟังรายการน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่รับฟังคลื่นหลัก เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น ความถี่ ช่องทางในการรับฟัง บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค นักจัดรายการวิทยุ รูปแบบรายการ และปัญหาด้านการจัดรายการวิทยุนั้น ผู้จัดขาดข้อมูลใหม่ๆและขาดการสร้างสรรค์รายการเพื่อดึงดูดและสร้างความสนใจแก่ผู้ฟัง
บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ ตัวบ่งชี้ที่สามารถบอกได้ว่านักจัดรายการวิทยุที่นี่ยังขาดทักษะคือ FM 88.25 MHz มีนักจัดรายการทั้งหมด 12 คน ซึ่งนักจัดรายการทุกคนมาจากการคัดเลือกนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการและมีความสนใจทางด้านสายงานวิทยุ จากนักศึกษาทั้งหมดที่คัดเลือกมานั้นมีเพียง 2 คนที่เคยผ่านงานด้านการจัดรายการวิทยุมาก่อน ที่เหลืออีก 10 คน ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการจัดรายการวิทยุเลย ทุกคนเริ่มสะสมประสบการณ์จากการเริ่มต้นจัดรายการที่นี่นั้นเอง ทำให้การดำเนินรายการของนักจัดรายการยังขาดเทคนิคไม่มีรูปแบบและคุณภาพที่สามารถดึงดูดกลุ่มผู้ฟังได้
บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้นักจัดรายการวิทยุของ FM. 88.25 MHz ( SPU RADIO ) ได้มีทักษะหรือความรูในทางเทคนิคการปฏิบัติงานการจัดรายการวิทยุ จึงได้ทำการศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการวิทยุ เพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนแห่งนี้ เข้าถึงกลุ่มคนฟังได้มากยิ่งขึ้น โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้(Center of Excellence-CoE) แหล่งผู้รู้ในองค์กร ที่เป็นการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence) ให้ทราบว่าจะสามารถติดต่อสอบถามผู้รู้ได้ที่ไหน อย่างไร โดยการรวมรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทักษะของนักจัดรายการวิทยุ ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้นักจัดรายการและเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรในสายอาชีพนักจัดรายการวิทยุต่อไป
บทที่ 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการทางวิทยุกระจายเสียง 2.เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการให้มีคุณภาพดึงดูดความสนใจกลุ่มคนฟัง 3. เพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหารายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อกลุ่มผู้ฟังในการจัดรายการวิทยุ
บทที่ 1 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. มีเทคนิคการจัดรายการวิทยุที่ชัดเจนในการตอบสนองความต้องการของผู้ฟัง 2.สร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมได้ตรงตามความคาดหวังของกลุ่มคนฟัง 3.มีการจัดรายการวิทยุอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาทักษะและประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นนักจัดรายการวิทยุ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการให้มีคุณภาพดึงดูดความสนใจกลุ่มคนฟังและเพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหารายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อกลุ่มผู้ฟังในการจัดรายการวิทยุภายใต้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 1.ปรัชญา แนวคิด และหลักการของวิทยุชุมชน 2.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุ 3.จรรณยาบรรณในการจัดรายการวิทยุ 4.เทคนิคในการจัดรายการวิทยุ
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง 2.เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการให้มีคุณภาพดึงดูดความสนใจกลุ่มคนฟัง 3. เพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหารายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อกลุ่มผู้ฟังในการจัดรายการวิทยุ
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.2 ประโยชน์ที่ได้รับทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์ 1. มีเทคนิคการจัดรายการวิทยุที่ชัดเจนในการตอบสนองความต้องการของผู้ฟังมากยิ่งขึ้น 2.สามารถสร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมได้ตรงตามความคาดหวังของกลุ่มคนฟัง 3.มีการจัดรายการวิทยุอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาทักษะและประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นนักจัดรายการวิทยุ
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เทคนิคทางด้านการจัดรายการวิทยุ เพื่อพัฒนาเทคนิคและพัฒนาบุคคลที่เป็นนักจัดรายการวิทยุให้มีคุณภาพในการดำเนินรายการมากยิ่งขึ้นโดยมีขอบเขตทางด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง ทีมงานด้านวิทยุชุมชน ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเชียวชาญด้านเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยุชุมชนที่จะให้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้จัดรายการที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก หรืออาจจะเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาในการดำเนินการการจัดรายการ
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และคัดเลือก ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานี , ที่ปรึกษาสถานี, หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ และบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดรายการวิทยุในสถานีวิทยุ FM 88.25 MHz SPU RADIO
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย วิธีการวิจัย ใช้วิธีการศึกษาในลักษณะผสมผสาน ด้วยวิธีการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการอภิปรายกลุ่มแบบเจาะลึก กับผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยุชุมชน ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการจัดการวิทยุชุมชน โดยดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.4 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ชุด คือ เป็นแบบสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้เชี่ยวชาญนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง ทีมงานด้านวิทยุชุมชน และแบบสอบถามกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายในพื้นที่
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.4 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้เชี่ยวชาญนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง ทีมงานด้านวิทยุชุมชน ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ การอัดเทปเสียงสัมภาษณ์เพื่อช่วยให้รายละเอียดมีความถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น การจดบันทึกเพื่อใช้จดบันทึกเนื้อหาจากการสังเกต แนวคำถามใช้ประกอบการสัมภาษณ์พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ แบบสอบถามสำหรับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มผู้ฟังภายในมหาวิทยาลัยศรีปทุม และกลุ่มผู้ฟังย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากผลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth Interview) โดยการบรรยายเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้ฟังที่รับฟังรายการวิทยุชุมชนแห่งนี้ โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.6 สถานที่ที่ใช้ในการรวบรวมการวิจัย ผู้ค้นคว้าจะทำการศึกษาสร้างระบบการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานของนักจัดรายการวิทยุของ FM 88.25 MHz SPU RADIO ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญในการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งมีผลต่อการประเมินผลของรายการและของสถานี โดยได้ดำเนินการวางแผนจัดเก็บข้อมูล ดังนี้
บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.6 สถานที่ที่ใช้ในการรวบรวมการวิจัย 1.หน่วยงาน สถานีวิทยุ FM 88.25 MHz SPU RADIO สถานีวิทยุชุมชนย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุม 2.ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสถานี, ที่ปรึกษาสถานี, หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ FM 88.25 MHz SPU RADIO 3.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้และเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ, นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง 4.ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้ใช้ความรู้ บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดรายการวิทยุในสถานีวิทยุ FM 88.25 MHz SPU RADIO