240 likes | 433 Views
ข้อแนะนำในการใช้ ระบบการจัดการคุณภาพขององค์กร ในการรับรองผลิตภัณฑ์. มอก.50 53 -2549. วิทยากร อรัญญา คชชาญ นักวิชาการมาตรฐาน 8 ว. รับมาตรฐานระหว่างประเทศมาใช้Adoption. ISO/IEC Guide 53:2005 Conformity assessment- Guidance on the use of an organization’s QMS in product certification
E N D
ข้อแนะนำในการใช้ ระบบการจัดการคุณภาพขององค์กร ในการรับรองผลิตภัณฑ์ มอก.5053-2549 วิทยากร อรัญญา คชชาญ นักวิชาการมาตรฐาน 8 ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
รับมาตรฐานระหว่างประเทศมาใช้Adoptionรับมาตรฐานระหว่างประเทศมาใช้Adoption • ISO/IEC Guide 53:2005 • Conformity assessment- • Guidance on the use of an organization’s QMS in product certification • ระดับเหมือนกันทุกประการ (identical) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
คำนำ Introduction • @ แผนการรับรองผลิตภัณฑ์ (product certification scheme) ที่รวม QMS นำมาใช้ประโยชน์ เพื่อ • พิจารณาว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ • ประกันว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง • @มาตรฐานนี้ ไม่ได้แสดงว่า scheme ที่รวม QMS กับ scheme ที่ไม่รวม QMS แบบไหนจะดีกว่ากัน • @ มาตรฐานนี้ เป็นข้อแนะนำ เพื่อพัฒนา scheme ที่ใช้ QMS ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
ข้อกำหนดในมาตรฐาน • 0. บทนำ • 1. ขอบข่าย • 2. เอกสารอ้างอิง • 3. คำศัพท์และบทนิยาม • 4. ขั้นตอนของแผนการรับรองผลิตภัณฑ์ (Step in the scheme) • 5. การคัดเลือก (Selection) • 6. การพิจารณา (Determination) • 7. การทบทวนและการยืนยัน (Review & attestation) • 8. การตรวจติดตามผล (surveillance) • 9. เครื่องหมายรับรอง ( Mark of Conformity) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
1. ขอบข่าย มาตรฐานนี้ได้สรุปวิธีการนำไปใช้โดยทั่วไป เพื่อให้หน่วยตรวจสอบรับรองสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ scheme ที่นำข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพ QMS ขององค์กรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ♥ไม่ได้เป็นข้อกำหนดสำหรับการรับรองระบบงานของหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ ♥ไม่ได้ใช้แทนที่ข้อกำหนด ของมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
1. ขอบข่าย แผนการรับรองผลิตภัณฑ์ (Scheme) ในมาตรฐานนี้ใช้สำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์เท่านั้น และใช้ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับหลักการ ดังนี้ ♥ การประเมินระบบการจัดการคุณภาพขององค์กร และความ สามารถขององค์กรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างสม่ำเสมอ ♥ การทดสอบ การตรวจ หรือการทวนสอบ เปรียบเทียบความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่ระบุ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
1. ขอบข่าย ♥ การใช้แผนการตรวจติดตามผลที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรยังคงส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างต่อเนื่อง ♥ การควบคุมการแสดงเครื่องหมายรับรองหรือสัญลักษณ์ของ หน่วยรับรอง แผนการรับรองผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ♦หน่วยรับรองยังคงมีอำนาจที่จะให้การรับรองหรือไม่ก็ได้ ♦หน่วยรับรองสามารถสงวนสิทธิ์ในการกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมจากที่อธิบายในมาตรฐานนี้ได้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
2. เอกสารอ้างอิง ISO 9000:2000 Quality management systems – Fundamentals and vocabulary ISO/IEC 17000:2004 Conformity assessment – Vocabulary and general principles โดยใช้ฉบับปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
3. คำศัพท์และบทนิยาม • คำศัพท์และบทนิยาม • ตาม ISO 9000 ISO/IEC 17000 และคำดังต่อไปนี้ • ผู้ตรวจประเมิน (assessor) หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถที่ได้รับมอบหมายโดยหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ให้ดำเนินการตรวจประเมินองค์กร ทั้งกรณีดำเนินการเพียงคนเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้ตรวจประเมิน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
4. ขั้นตอนของแผนการรับรองผลิตภัณฑ์Step in the scheme 4.1 การพิจารณาเลือกแผน deciding on the scheme ♦ ระบบ QMS ที่นำมาใช้ใน scheme ควรจัดทำตามมาตรฐาน ISO 9001 หรือมาตรฐานอื่นที่คล้ายกัน เช่น ISO/TS16949 และ ISO/TS 29001 ♦ หน่วยรับรองต้องพิจารณาความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการนำจำนวนข้อกำหนดของระบบ QMS มาประยุกต์ใช้เป็นข้อกำหนดใน scheme ถ้ามีความเสี่ยงสูง หน่วยรับรองควรต้องพิจารณานำข้อกำหนดของ QMS มาใช้จำนวนมากขึ้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
4.2 ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติใน scheme • ทุก scheme ในมาตรฐานนี้ ต้องประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ • 1.การคัดเลือก (Selection) • 2. การพิจารณา (Determination) • 3. การทบทวนและการยืนยัน (Review & attestation) • 4. การตรวจติดตามผล (surveillance) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
5. การคัดเลือก (Selection) 5.1 หน่วยรับรองต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อพิจารณาขอบเขตของความเป็นไปตามข้อกำหนด 5.2 หน่วยรับรองต้องทำการประเมินเอกสารระบบ QMSขององค์กร (ผู้ยื่นคำขอ) และพิจารณาความสามารถและระดับของระบบ QMS ขององค์กรที่ได้จัดทำ 5.3 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการตรวจประเมิน องค์กรอาจต้องกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา เช่น ANNEX A หรือ ANNEX B สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
5. การคัดเลือก (Selection) 5.4 หน่วยรับรองต้องมั่นใจว่า องค์กรนำระบบ QMS มาปฏิบัติแล้วอย่างน้อยขั้นต่ำสุดตามที่กำหนด ก่อนที่ยื่นคำขอรับการรับรองผลิตภัณฑ์ 5.5 หน่วยรับรองควรพิจารณาระบบ QMS ที่องค์กรได้จัดทำ ให้ครอบคลุม ☻ขอบข่ายของผลิตภัณฑ์ที่กำลังพิจารณา ☻สถานประกอบการที่ดำเนินการ โดยอาจพิจารณาถึงความเชื่อมั่นจากหน่วยงานที่ให้รับรองด้วย เช่น การรับรองระบบงาน หรือ peer assessment สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
5. การคัดเลือก (Selection) 5.6 หน่วยรับรองต้องประเมินข้อมูลที่ได้รับ อาจร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมตามความต้องการ 5.7 หน่วยรับรอง กำหนดวันที่จะตรวจเยี่ยมองค์กร และตั้งคณะผู้ตรวจประเมินที่มีความสามารถในด้าน a) ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ b) ขั้นตอนและเทคนิค ในการทดสอบ ตรวจสอบที่เหมาะสม c) กระบวนการตรวจสอบรับรอง d) ข้อกำหนด QMS ที่กำหนดใน scheme e) วิธีการตรวจประเมินตาม ISO 19011 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
6. การพิจารณา determination 6.1 คณะผู้ตรวจประเมินต้องค้นหาสาระต่างๆ ตามข้อกำหนดของระบบ QMS ที่ระบุภายใต้ scheme โดยทั่วไป คณะผู้ตรวจประเมินควรดำเนินการ ดังนี้ • ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับ • ตรวจสอบว่าองค์กรมีเครื่องมือที่จำเป็น พนักงาน และfacilities ต่างๆ ที่จะทำให้การดำเนินการตาม scheme ได้ • สอบถามองค์กรให้แสดงวิธีการเฝ้าระวังและทดสอบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ อาจรวมถึงการทวนสอบผลการทดสอบด้วย • ต้องมั่นใจว่าองค์กรจัดทำระบบ QMS ตามที่ scheme กำหนด และมีการวางแผนที่จะดำเนินการระบบ QMS อย่างมีประสิทธิผลและคงรักษาไว้ได้ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
6. การพิจารณา determination 6.2 หลังการตรวจปะเมิน คณะผู้ตรวจประเมินต้องจัดทำรายงานผลการตรวจประเมินพร้อมข้อเสนอแนะ และนำเสนอรายงานพร้อมกับข้อมูลขององค์กรที่ครบถ้วนให้บุคคลหรือคณะบุคคลพิจารณาตัดสิน โดยมีเงื่อนไขการพิจารณาระบบQMS ภายใต้ scheme ที่กำหนด 6.3 องค์กรอาจเสนอขอเพิ่มขอบข่ายผลิตภัณฑ์ (product categories) ได้ หากหน่วยรับรองได้ยืนยันว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามข้อกำหนด และ ได้มีการตรวจประเมินระบบ QMS ครอบคลุมขอบข่ายผลิตภัณฑ์ใหม่นี้แล้ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
6. การพิจารณา determination 6.4 ถ้า scheme กำหนดว่าทุกองค์กรต้องมีกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แม้เพียงบางส่วน หน่วยรับรองต้องพิจารณากิจกรรมนี้ด้วย 6.5 หน่วยรับรองต้องพิจารณาระยะเวลาในการตรวจประเมินให้เหมาะสม หากองค์กรได้รับการรับรองระบบ QMS จากหน่วยรับรองที่ได้รับการรับรองระบบงานแล้ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
7. การทบทวนและการยืนยัน (review and attestation) 7.1 การยอมรับระบบ QMS ขององค์กรขึ้นอยู่กับข้อกำหนดที่ระบุใน scheme และschemeต้องอธิบายกระบวนการรับรองให้ครบถ้วน และเอกสารการรับรองต้องครอบคลุมการยอมรับระบบ QMS ขององค์กรด้วย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
7. การทบทวนและการยืนยัน (review and attestation) • 7.2 ตัวอย่าง scheme ที่นำระบบ QMSบางข้ออย่างง่ายๆ มาใช้ ANNEX A • scheme นี้เป็นการยอมรับข้อมูลการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบโดย lab ขององค์กร โดยคณะผู้ตรวจประเมินต้องไปที่ LAB เพื่อ • witness ทุกแบบขนาดในการทดสอบ/ตรวจสอบ รวมถึงการสุ่มเก็บตัวอย่าง หรือ • witness บางแบบขนาดในการทดสอบ/ตรวจสอบ หรือ • ทบทวนผลการทดสอบของ lab และถ้าเห็นว่าเชื่อถือได้ ก็ยอมรับผลดังกล่าว Note ISO/IEC 17025มีข้อกำหนดทั้ง ระบบการบริหารและความสามารถทางเทคนิคแต่การรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้ เป็นการตรวจประเมินระบบ QMS จึงไม่ได้นำข้อกำหนด ISO/IEC 17025มาใช้เป็นพื้นฐานในการรับรองระบบคุณภาพของ LAB สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
7. การทบทวนและการยืนยัน (review and attestation) 7.3 ตัวอย่าง scheme ที่นำระบบ QMSหลายข้อมาใช้ ดู ANNEX B หน่วยรับรองจะตรวจประเมินระบบ QMS หลายข้อกำหนด ในกรณีนี้องค์กร จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ ภายใต้กระบวนการตรวจติดตามผล 7.4 ANNEX A และ B เป็นเพียงตัวอย่าง หน่วยรับรองสามารถกำหนดเองได้ตามความต้องการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
8. การตรวจติดตามผล (Surveillance) กิจกรรมนี้ ดำเนินการเพื่อประกันว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุตลอดการส่งมอบ รายละเอียดการตรวจติดตามผลมีได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการและรูปแบบของ scheme ซึ่งโดยทั่วไปดำเนินการ ดังนี้ a) ตรวจติดตามผลที่สถานประกอบการขององค์กร ☼ผู้ตรวจประเมินต้องตรวจประเมินระบบ QMS ตามที่ scheme กำหนด ☼ ตรวจผลิตภัณฑ์ว่ายังคงเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
8. การตรวจติดตามผล (Surveillance) b) ระหว่างการตรวจติดตามผล จะต้องพิจารณาว่ามีผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในหมวดที่ได้รับการรับรองหรือไม่ หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่อาจมีผลกระทบต่อการนำเครื่องหมายรับรองไปใช้ ผู้ตรวจประเมินต้องแจ้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินให้ทราบด้วย c) ต้องระบุความถี่ต่ำสุดของการตรวจติดตามผลให้ชัดเจนใน scheme และต้องตรวจติดตามผลให้ครบถ้วนทุกสถานที่ และทุกข้อกำหนด สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
9. เครื่องหมายรับรอง (Mark of conformity) ข้อกำหนดการออกและใช้เครื่องหมายรับรองโดยบุคคลที่ 3 ให้เป็นไปตาม ISO/IEC 17030 และในอนาคตอาจพบใน ISO/IEC GUIDE 23 และ ISO GUIDE 27 สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550
ขอบคุณ & สวัสดี สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 พฤษภาคม 2550