1 / 128

การเบิกค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของ ส่วนราชการ

การเบิกค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของ ส่วนราชการ. กฎหมายและระเบียบการคลัง. 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. 2. กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง. 3. กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ. 4. กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย. 5. กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ. 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง.

mei
Download Presentation

การเบิกค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของ ส่วนราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเบิกค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของ ส่วนราชการ

  2. กฎหมายและระเบียบการคลังกฎหมายและระเบียบการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง 3. กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 4. กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย 5. กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลัง 7. ระเบียบการบริหารงบประมาณ

  3. 1. หลักการจำแนกงบประมาณรายจ่ายตามงบประมาณ 2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553 และ รายการค่าใช้สอย ข้อ 12 ของระเบียบฯ (ที่ กค 0406.4/ว96 ลงวันที่ 16 กันยายน 2553) 3. ค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนดำเนินงาน ขอบเขตการบรรยาย

  4. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ * เมื่อ พรบ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีมีผลบังคับ เป็นกฎหมายแล้ว จะเบิกจ่ายได้ต่อเมื่อ - ได้รับอนุมัติวงเงินประจำงวด -มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงิน ให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิ หลักเกณฑ์การเบิกเงิน ให้ระบุวัตถุประสงค์ที่จะจ่าย และห้ามมิให้เบิกเงินจนกว่าจะถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดจ่ายเงิน และเงินที่ขอเบิกจากคลังเพื่อการใด ให้นำไปจ่ายได้เฉพาะเพื่อการนั้นเท่านั้น จะนำไปจ่ายเพื่อการอื่นมิได้ (ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง ฯ ข้อ 15)

  5. รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้ กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง

  6. รายจ่ายตามงบประมาณ จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ก. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ข. รายจ่ายงบกลาง หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ

  7. จำแนกออกเป็น 5 ประเภทงบรายจ่าย ได้แก่ 1 งบบุคลากร 2 งบดำเนินงาน 3 งบลงทุน 4 งบเงินอุดหนุน 5 งบรายจ่ายอื่น ก.รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

  8. งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่าย เพื่อการบริหารงานบุคคล ภาครัฐ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายใน ลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว และ ค่าตอบแทนพนักงานราชการ รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้ จ่ายจากงบอื่นใด ในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว 1 งบบุคลากร

  9. เงินเดือน หมายถึง เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการและพนักงานของรัฐ ทุกประเภทเป็นรายเดือน รวมถึงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนดให้ จ่ายในลักษณะเงินเดือนและเงินเพิ่มอื่นที่จ่ายควบกับเงินเดือน เช่น • เงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการ • เงินค่าตอบแทนเป็นรายเดือนของข้าราชการ • เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ 1.1 งบบุคลากร ... เงินเดือน

  10. ค่าจ้างประจำ หมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างประจำให้แก่ลูกจ้างประจำ ของส่วนราชการ รวมถึงเงินที่กระทรวงการคลัง กำหนดให้จ่ายใน ลักษณะค่าจ้างประจำ เช่น • เงินค่าตอบแทนเป็น รายเดือนลูกจ้างประจำ • เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว 1.2 งบบุคลากร ... ค่าจ้างประจำ

  11. ค่าจ้างชั่วคราว หมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างสำหรับการทำงาน ปกติแก่ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ รวมถึงเงินเพิ่มอื่นที่จ่าย ควบกับค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนพนักงานราชการหมายถึง เงินที่จ่ายเป็นค่าตอบแทน การปฏิบัติงานให้แก่พนักงานราชการ ตามอัตราที่คณะกรรมการ บริหารพนักงานราชการกำหนด รวมถึงเงินเพิ่มอื่นที่จ่ายควบกับ ค่าตอบแทนพนักงานราชการ เช่น เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว 1.3 งบบุคลากร ... ค่าจ้างชั่วคราว

  12. งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงาน ประจำ ได้แก่ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจาก งบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะ ดังกล่าว 2 งบดำเนินงาน

  13. ค่าตอบแทนหมายถึง เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติงานให้ทาง ราชการ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าตอนแทน กรรมการตรวจการจ้างและควบคุมงานก่อสร้างที่มีคำสั่งแต่งตั้งจาก ทางราชการ เงินสมนาคุณวิทยากร เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอก เวลาราชการ ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ เงินตอบแทนพิเศษของ ข้าราชการผู้ได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับ เป็นต้น 2.1 งบดำเนินงาน ... ค่าตอบแทน

  14. ค่าใช้สอย หมายถึงรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ (ยกเว้น บริการสาธารณูปโภค สื่อสารและโทรคมนาคม) รายจ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ และ รายจ่ายที่ เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่าย อื่น ๆ 2.2 งบดำเนินงาน ... ค่าใช้สอย

  15. ตัวอย่าง เช่น 1. ค่าปักเสาพาดสายไฟฟ้านอกสถานที่ราชการเพื่อให้ ราชการได้ใช้บริการไฟฟ้า 2. ค่าจ้างเหมาเดินสายไฟฟ้า 3. ค่าวางท่อประปาภายนอกอาคารสถานที่ราชการเพื่อให้ ราชการได้ใช้น้ำประปา 4. ค่าติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน 5. ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้ใช้งานได้ตามปกติ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ

  16. - ถ้าเป็นการจ้างเหมาเอกชนหรือบุคคลภายนอก โดยจ้างเหมาทั้งค่าสิ่งของและค่าแรงงานให้จ่ายจากค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างซ่อมคอมพิวเตอร์ ค่าซ่อมรถยนต์ (ค่าแรง + อะไหล่) - ถ้าเป็นกรณีที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินเอง ให้แยกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ค่าจ้างเหมาแรงงานของบุคคลภายนอก ให้จ่ายจากค่าใช้สอย 2. ค่าสิ่งของที่ส่วนราชการซื้อมาใช้ในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน ให้จ่ายจากค่าวัสดุ กรณีเป็นการจ้างเหมาทั้งค่าสิ่งของและค่าแรงงาน

  17. ตัวอย่าง เช่น 1. รายจ่ายในการเลี้ยงรับรองของทางราชการ 2. ค่ารับรองประเภทเครื่องดื่ม 3. ค่าใช้จ่ายในทางพิธีทางศาสนา รายจ่ายเกี่ยวกับการรับรองและพิธีการ

  18. ตัวอย่าง เช่น 1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ในประเทศ) 2. ค่าของขวัญ ของรางวัล หรือเงินรางวัล 3. เงินประกันสังคม (ในฐานะนายจ้าง) รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่น ๆ

  19. ค่าวัสดุ หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของ โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม 2.3 งบดำเนินงาน ... ค่าวัสดุ

  20. รายจ่ายต่อไปนี้ ให้จัดอยู่ในค่าวัสดุ 1. สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรที่มีราคาต่อหน่วยหรือ ต่อชุดไม่เกิน 5,000 บาท 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด ไม่เกิน 20,000 บาท 3. การประกอบขึ้นใหม่ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ครุภัณฑ์ที่มีเงินไม่เกิน 5,000 บาท 2.3 งบดำเนินงาน ... ค่าวัสดุ ...(ต่อ)...

  21. 4. การประกอบขึ้นใหม่ ดัดแปลง ต่อเติม หรือ ปรับปรุงที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินไม่เกิน 50,000 บาท 5. การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้ งานได้ตามปกติ ยกเว้นการจัดหาเครื่องยนต์ใหม่ เพื่อใช้ ในการซ่อมแซมรถยนต์ 2.3 งบดำเนินงาน ... ค่าวัสดุ ...(ต่อ)...

  22. - ค่าสาธารณูปโภค หมายถึง รายจ่ายค่าบริการ สาธารณูปโภค สื่อสาร และโทรคมนาคม รวมถึงค่าใช้จ่าย ที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าบริการ ค่าภาษี เป็นต้น ตาม รายการดังนี้ 1. ค่าไฟฟ้า 2. ค่า น้ำประปา ค่า น้ำบาดาล 2.4 งบดำเนินงาน ... ค่าสาธารณูปโภค

  23. 3. ค่าบริการโทรศัพท์ เช่น ค่าโทรศัพท์พื้นฐาน ค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ ***หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ (ฉบับปรับปรุง) ตามหนังสือ ที่ นร 0704/ว33 ลงวันที่ 18 ม.ค. 53 สำนักงบประมาณ ได้ตัดตัวอย่างบัตรโทรศัพท์ บัตรเติมเงินโทรศัพท์ออก เนื่องจากไม่มี ระเบียบรองรับ 4. ค่าบริการไปรษณีย์ เช่น ค่าไปรษณีย์ ค่าธนาณัติ ค่าแสตมป์ ค่าเช่า ตู้ไปรษณีย์ ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 5. ค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าโทรสารค่าวิทยุติดตามตัว 2.4 งบดำเนินงาน ... ค่าสาธารณูปโภค ...(ต่อ)...

  24. งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการ ลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบ รายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว 3 งบลงทุน

  25. ค่าครุภัณฑ์ หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ ได้มาซึ่งสิ่งของ โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวรที่มีราคาต่อหน่วยหรือ ต่อชุดเกินกว่า 5,000 บาท 3.1 งบลงทุน ... ค่าครุภัณฑ์

  26. ค่าครุภัณฑ์ ให้หมายความรวมถึงรายจ่ายต่อไปนี้ด้วย ได้แก่ 1. รายจ่ายเพื่อประกอบขึ้นใหม่ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ครุภัณฑ์ที่มีวงเงินเกินกว่า 5,000 บาท 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า 20,000 บาท 3. รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงสร้างของครุภัณฑ์ ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องบิน ซึ่งไม่รวมถึงค่าซ่อมแซมบำรุงปกติ หรือ ค่าซ่อมกลาง 4. จ่ายเพื่อจ้างให้ปรึกษาในการจัดหาหรือปรับปรุงครุภัณฑ์ 3.1 งบลงทุน ... ค่าครุภัณฑ์ ...(ต่อ)...

  27. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมายถึง รายจ่ายเพื่อให้ ได้มา ซึ่งที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ติดตรึงกับที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 3.2 งบลงทุน ... ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

  28. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ให้หมายถึงรายจ่ายที่มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1. รายจ่ายเพื่อจัดหาที่ดิน 2. รายจ่ายเพื่อปรับปรุงที่ดินให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและมี วงเงินเกินกว่า 50,000 บาท 3. รายจ่ายเพื่อประกอบขึ้นใหม่ ดัดแปลง ต่อเติม หรือ ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น และมีวงเงินเกินกว่า 50 000 บาท 3.2 งบลงทุน ... ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ...(ต่อ)...

  29. 4. รายจ่ายเพื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าหรือระบบประปา รวมถึงอุปกรณ์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการติดตั้งครั้งแรกในอาคารทั้งที่เป็นการดำเนินการพร้อมกัน หรือภายหลังการก่อสร้างอาคาร รวมถึงการติดตั้งครั้งแรกในสถานที่ ราชการ 5. รายจ่ายเพื่อจ้างออกแบบ จ้างควบคุมงานที่จ่ายให้แก่เอกชน หรือ นิติบุคคล 6. รายจ่ายเพื่อจ้างที่ปรึกษาในการจัดหาหรือปรับปรุงที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 7. รายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง เช่น ค่าเวนคืน ที่ดิน ค่าชดเชยกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าชดเชยผลอาสิน 3.2 งบลงทุน ... ค่าทุนที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ...(ต่อ)...

  30. งบเงินอุดหนุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็น ค่าบำรุง หรือเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานหน่วยงานองค์กรตาม รัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมิใช่ราชการส่วนกลางตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หน่วยงานในกำกับ ของรัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาตำบล องค์การระหว่างประเทศ นิติบุคคล เอกชนหรือกิจการ อันเป็นสาธารณประโยชน์ รวมถึงเงินอุดหนุนงบพระมหากษัตริย์ เงินอุดหนุนการศาสนา และรายจ่าย ที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้ 4 งบเงินอุดหนุน

  31. งบเงินอุดหนุน มี 2 ประเภท ได้แก่ 4.1 เงินอุดหนุนทั่วไป หมายถึง เงินที่กำหนดให้จ่ายตาม วัตถุประสงค์ ของราชการ เช่น ค่าบำรุงสมาชิกองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก เงินอุดหนุนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด 4.2 เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ หมายถึง เงินที่กำหนดให้จ่ายตาม วัตถุประสงค์ของรายการและรายละเอียดที่สำนักงบประมาณกำหนด เช่น ค่าอาหารผู้ป่วยโรคเรื้อน เงินสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน สำนักงบประมาณเป็นผู้กำหนดว่ารายจ่ายงบเงินอุดหนุนรายการ ใดจะเป็นรายจ่ายประเภทเงินอุดหนุนทั่วไปหรือเงินเฉพาะกิจ 4 งบเงินอุดหนุน ...(ต่อ)...

  32. หมายถึงรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดหมายถึงรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใด งบรายจ่ายหนึ่ง หรือรายจ่ายที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ใช้ใน งบรายจ่ายนี้ เช่น 1. เงินราชการลับ 2. เงินค่าปรับที่จ่ายคืนให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 3. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว 4. รายจ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้ 5. ค่าใช้จ่ายโครงการวิจัย 5 งบรายจ่ายอื่น

  33. รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรร ให้ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปใช้จ่ายตามรายการ ดังนี้ 1. เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ 2. เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือบุตร และเงินพิเศษ ในกรณีตายในระหว่างรับราชการ ข. รายจ่ายงบกลาง

  34. 3. เงินเลื่อนเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ 4. เงินสำรองเงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ 5. เงินสมทบของลูกจ้างประจำที่นำส่งเข้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพลูกจ้างประจำ ข. รายจ่ายงบกลาง ...(ต่อ)...

  35. 6. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 7. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 8. ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 9. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ ข.รายจ่ายงบกลาง ...(ต่อ)...

  36. รายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หากส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องใช้ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ โดยต้องจัดทำรายละเอียดงบประมาณที่จะขอนำไปใช้ พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นในการใช้งบกลางรายการดังกล่าว ข. รายจ่ายงบกลาง ...(ต่อ)..

  37. เมื่อส่วนราชการได้รับจัดสรรงบกลางรายการเงินเมื่อส่วนราชการได้รับจัดสรรงบกลางรายการเงิน สำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นแล้ว และได้นำไปใช้ จ่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย ผลผลิต โครงการ หรือรายการแล้ว หากมีเงินเหลือจ่ายให้นำส่งคืนคลัง เว้นแต่กรณีใดที่มีความจำเป็นจะต้องนำไปใช้จ่ายใน รายการอื่น ๆ ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อน ข. รายจ่ายงบกลาง ...(ต่อ)...

  38. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553

  39. เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ ในลักษณะงบดำเนินงานให้มี ความชัดเจน และสอดคล้องกับการปฏิบัติราชการของแต่ละส่วนราชการมากยิ่งขึ้น โดยมีการจัดหมวดหมู่ของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ในการบริหารงานของส่วนราชการ และเพื่อให้เกิดวินัย ทางการคลัง เจตนารมณ์

  40. “ส่วนราชการ” หมายความว่า สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ เป็น หรือเทียบเท่า กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งไม่มี ฐานะเป็นกรม แต่มีหัวหน้า ส่วนราชการเป็นอธิบดี หรือตำแหน่ง ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี และราชการบริหารส่วนภูมิภาค “หัวหน้าส่วนราชการ” หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย (หากต้องมอบหมาย ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 คำนิยาม (ข้อ 4)

  41. “ค่าใช้จ่าย ” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายที่กำหนดให้จ่าย ในการบริหารงานประจำตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หรือรายจ่ายที่เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าว ตามที่กำหนดไว้ในแผนงบประมาณ ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายจาก งบดำเนินงาน ลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และ ค่าสาธารณูปโภค หรืองบรายจ่ายอื่นใดที่เบิกจ่ายในลักษณะ เดียวกัน และให้หมายความรวมถึงรายจ่ายเกิดจากภารกิจ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีด้วย คำนิยาม (ข้อ 4) ...(ต่อ)...

  42. - การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้ ส่วนราชการต้องดำเนินการเบิกจ่ายให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี (ข้อ 5) - ในกรณีที่การเบิกจ่ายค่า ใช้จ่ายใดไม่เป็นไปตามระเบียบนี้อันเป็น เหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยเร็ว (ข้อ 8) บททั่วไป

  43. หลักฐานการเบิกจ่ายให้ถือปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง (ข้อ 7) บททั่วไป ...(ต่อ)...

  44. - ค่าใช้จ่ายใดที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หรือหนังสือเวียนของกระทรวงการคลัง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือที่ได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายดังกล่าวตามรายการและอัตราที่กำหนดไว้ (ข้อ 6) บททั่วไป ...(ต่อ)...

  45. เพื่อให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานในงบดำเนินงานเพื่อให้การเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานในงบดำเนินงาน ของส่วนราชการมีความชัดเจนและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ระเบียบฯ ได้กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกค่าใช้จ่าย ได้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของ ทางราชการ ได้แก่ ข้อ 11 ค่าตอบแทน ข้อ 12 ค่าใช้สอย ข้อ 17 ค่าวัสดุ และข้อ 18 ค่าสาธารณูโภค นัยสำคัญของระเบียบฯ

  46. จากที่มาของระเบียบ ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 17 และข้อ 18 ส.ป.ก. จึงมีคำสั่ง ส.ป.ก. • ที่ 536/2553 สั่ง ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง มอบอำนาจการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ • ลธก.มอบอำนาจให้ ผอ.สำนัก/กอง/โครงการ/ศูนย์/กลุ่ม ปฏิบัติราชการแทน • ที่ 537/2553 สั่ง ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เรื่องมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ • ลธก.มอบอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน คำสั่งมอบอำนาจ

  47. หมวด 1ค่าตอบแทน

  48. ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้ส่วนราชการค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้ส่วนราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายเป็นค่าตอบแทนได้ตามที่ กระทรวงการคลังกำหนด (ข้อ 10) หมายถึง ค่าตอบแทนที่กระทรวงการคลังอาจจะกำหนด ขึ้นมาให้ส่วนราชการเบิกจ่าย ได้แต่ปัจจุบันกระทรวงการคลังยังไม่ได้กำหนด ระเบียบฯ ข้อ 10

  49. หรือ ค่าตอบแทนที่ส่วนราชการขอตกลงกับกระทรวงการคลัง เป็นกรณี ๆ ไป เช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ขอตกลงกระทรวงการคลัง เรื่อง - ค่าตอบแทนที่ปรึกษาครั้งละ 1,000.- บาท - ค่าตอบแทน Reviewer ผู้อ่านโครงร่างการวิจัย เพื่อเสนอ ข้อคิดเห็นให้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (Ethic) พิจารณาในการประชุมฯ เรื่องละ 300.- บาท - ค่าตอบแทนนักวิจัย ร้อยละ 10 ของโครงการ เป็นต้น ระเบียบฯ ข้อ 10

  50. ค่าใช้จ่ายดังต่อนี้ ให้หัวหน้าส่วนราชการเบิกจ่ายได้ ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และเพื่อประโยชน์ของ ทางราชการ (1) ค่าตอบแทนล่ามในการแปลภาษาท้องถิ่น ภาษาต่างประเทศ หรือภาษามือ (2) ค่าตอบแทนในการแปลหนังสือหรือเอกสาร ระเบียบฯ ข้อ 11

More Related