2.67k likes | 5.77k Views
MPA 588 การสื่อสารทางการเมือง. P o l i t i c a l C o m m u n i c a t i o n. คำอธิบายรายวิชา.
E N D
MPA 588 การสื่อสารทางการเมือง Political Communication
คำอธิบายรายวิชา การสื่อสารระหว่างองค์กรทางการเมืองกับสาธารณะ บทบาทของการสื่อสารและสื่อมวลชนในทางการเมือง การรณรงค์ทางการเมืองและการเลือกตั้ง นโยบายและการพัฒนา การแสดงความคิดเห็นสาธารณะ กระบวนการของการสื่อสารทางการเมือง ความสัมพันธ์ของการสื่อสารกับประชาธิปไตยปฏิสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมทางการเมือง การสื่อสารและสื่อมวลชน การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญของการสื่อสารกับการเมือง
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. นักศึกษาเกิดความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารทางการเมือง กระบวนการของการสื่อสารทางการเมือง บทบาทหน้าที่ของการสื่อสาร ความสัมพันธ์ของการสื่อสารกับการเมือง 2. นักศึกษาสามารถอธิบาย และวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสำคัญของการสื่อสารกับการเมืองได้
ความหมาย : การเมือง • การศึกษาเกี่ยวกับเมือง • กิจกรรมทุกชนิดที่มีเป้าหมายหลักในการกำหนดนโนบายสาธารณะ กระบวนการของรัฐบาล การแต่งตั้ง จนท รัฐ การจัดกำลังคน การปกครอง การบริหารประเทศ • กิจกรรมเกี่ยวกับอำนาจ การใช้อำนาจที่ให้คุณให้โทษ การแสวงหาอำนาจ
เป็นกระบวนการของการแข่งขัน การเลือกบุคคลมาทำงานทางการเมือง การกระทำที่มีเป้าหมายสูงสุดในการให้ได้เป็นรัฐบาลปกครองประเทศ การดำเนินการเลือกตั้ง การเมืองครอบคลุมกิจกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อการกระทำและการตัดสินใจต่างๆ ซึ่งป็นกิจกรรมของการรวมตัวกันเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์
กรอบการวิเคราะห์ระบบการเมืองกรอบการวิเคราะห์ระบบการเมือง การเมืองดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 1. ระบบ (System)ชีวิตการเมืองเป็นระบบของพฤติกรรม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองด้วยกันเองและสถาบันการเมืองกับสิ่งแวดล้อม 2. สิ่งแวดล้อม (Environment)ระบบนิเวศวิทยา ระบบวัฒนธรรม โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประชากร ระบบการเมือง/ องค์การระหว่างประเทศ
3. การตอบสนอง (Response) สมาชิกภายในระบบพยายามกำกับหรือต้านทานความกดดันที่มาจากสภาพแวดล้อม 4. ผลกระทบ (Impact) สมรรถนะของระบบที่จะต้านทานความกดดัน โดยการส่งข้อมูลกลับไปสู่ผู้กระทำและผู้ตัดสินใจ
สิ่งแวดล้อม ความต้องการ การตัดสินใจ การกระทำ การสนับสนุน ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยนำออก ระบบการเมือง ปฏิกิริยาย้อนกลับ สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของทฤษฎีระบบองค์ประกอบของทฤษฎีระบบ ระบบการเมือง (Political System) คือชุดของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ เพื่อจัดสรรค่านิยมให้สังคม สิ่งแวดล้อม(Environment) สิ่งแวดล้อมภายในได้แก่ ระบบนิเวศวิทยา ระบบสังคม วัฒนธรรม โครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ ประชากร ภายนอกได้แก่ ระบบการเมืองระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ ความต้องการ เช่นความต้องการสินค้าและบริการ ความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง อำนาจ เกียรติยศ เงินตรา พลังทางการเมือง
4. การสนับสนุน(Supports)แบ่งเป็นการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจตัดสินใจ ผู้ปกครอง ประชาชน 5. ปัจจัยนำออก (Outputs) ได้แก่ระบบภาษี กฎหมาย ความเป็นระเบียบของสังคม นโยบาย สินค้า บริการ 6. ปฏิกิริยาย้อนกลับ (Feedback) คือ ปฏิกิริยาย้อนกลับระหว่างปัจจัยนำออกกับระบบการเมืองซึ่งอาจย้อนเป็นเชิงบวกหรือลบก็ได้
สิ่งแฝงเร้นของการเมืองสิ่งแฝงเร้นของการเมือง พฤติกรรมการเมือง วัฒนธรรมการเมือง ค่านิยมการเมือง ความขัดแย้งของผลประโยชน์ ระดับการปกครอง
การเผยแพร่การเมือง การเมืองไม่ใช่สิ่งที่อยู่นิ่ง มีการถ่ายทอดผ่านกระบวนการ Political Socialization คือกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมการเมือง วัฒนธรรมการเมือง ทัศนคติ ความเชื่อเกี่ยวกับระบบการเมือง สถาบันที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดหรือเผยแพร่ ได้แก่...............
สถาบันที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดหรือเผยแพร่การเมืองสถาบันที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดหรือเผยแพร่การเมือง ครอบครัว สถาบันการศึกษา การจ้างงาน เพื่อนร่วมงาน สถาบันศาสนา ชมรม พรรคการเมือง สื่อมวลชน รัฐสภา
ความหมายของการสื่อสารความหมายของการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) มาจากคำภาษาลาตินคือ Communisแปลว่า “ร่วม” ซึ่งแปลว่าการสร้างความร่วมกันหรือความคล้ายคลึงกัน การสื่อสาร จึงหมายความว่า เป็นกิจกรรมที่มุ่งสร้างความร่วมมือกันหรือความคล้ายคลึงกันให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นความพยายามที่มนุษย์ต้องการจะแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือแนวความคิดระหว่างกัน
การสื่อสาร ความหมายโดยตัวของมันเองเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่จะศึกษาให้เข้าใจ ต้องศึกษาสภาพแวดล้อมของการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย บริบทของการสื่อสาร และความเข้าใจที่ตรงกันของการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสารความสำคัญของการสื่อสาร 1. ความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในระดับจุลภาค • ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน • ความสำคัญต่อความเป็นสังคม • ความสำคัญต่อการสร้างความร่วมมือ • ความสำคัญต่อการแสวงหาความรู้ • ความสำคัญต่อการสร้างการรับรู้กับตนเอง • ความสำคัญต่อการสร้างความบันเทิง
1. ความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในระดับมหภาค • ความสำคัญต่อการเมืองการปกครอง • ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ • ความสำคัญต่อการเสริมสร้างประชาธิปไตย • ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ • ความสำคัญต่อการถ่ายทอดวัฒนธรรม • ความสำคัญต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม
สรุป ความสำคัญของการสื่อสารในภาพรวม • ช่วยทำให้บุคคลเข้าใจความหมายตรงกัน • เชื่อมโยงส่วนต่างๆของสังคม เพื่อให้รับรู้และมีประสบการณ์ร่วมกัน • ทำให้ผู้ส่งสาร (รัฐ) สามารถนำนโยบายออกไปปฏิบัติ และรับรู้ feedbackจาก ปชช. ได้ • ช่วยในการส่งเสริมสนับสนุนระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
องค์ประกอบของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร ผู้ส่งสาร (Sender) ข่าวสาร (Message) สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) ผู้รับสาร (Receiver) S M C R
Mข่าวสาร Sผู้ส่งสาร ช่องทางการC สื่อสาร Rผู้รับสาร
องค์ประกอบของการสื่อสาร แหล่งสารในฐานะผู้ส่งสารเป็นใคร องค์กร หรือปัจเจกบุคคล สถาบันใด เพราะภูมิหลังของผู้ส่งสารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รูปแบบของการสื่อสารต่างกัน ข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาสาระที่ส่งออกมาจากแหล่งข่าวเป็นอย่างไร เพราะจะมีความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่ออกมาจากภาครัฐ หรือบุคคล ช่องทางการสื่อสาร แบ่งเป็นสองลักษณะ คือ ช่องทางที่สื่อพาไป กับช่องทางที่ไม่อาศัยสื่อ (ปากต่อปาก) ถ้าออกจากสื่อจะมีอิทธิพลต่อสาธารณะหรือต่อสังคมอย่างกว้างขวางกว่า
4. ผู้รับสาร เป็นได้ทั้งปัจเจกชนไปถึงสถาบัน ภูมิหลังของผู้รับสารที่แตกต่างกันจึงมีส่วนสำคัญ เช่น วัย เพศ ผู้ส่งสารจึงต้องระมัดระวัง 5. ผลกระทบของการสื่อสาร เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญเพราะสะท้อนถึงอิทธิพลและบทบาทของการสื่อสาร เช่น ผลกระทบทางการเมือง วัฒนธรรม 6. เสียงสะท้อนหรือการย้อนกลับ คือปฏิกิริยาหรือท่าทีของผู้รับสารเมื่อมีการส่งสารออกไป 7. สิ่งแวดล้อมของการสื่อสาร เช่น ระบบความเชื่อ อุดมการณ์ กระแสความคิด ที่อาจมีผลทำให้การสื่อสารไม่บรรลุเป้าหมาย หรือชะงักงัน
รูปแบบของการสื่อสาร การแบ่งรูปแบบของการสื่อสารตามเกณฑ์จำนวนคน แบ่งเป็น 5 ประเภท (1) การสื่อสารภายในบุคคล คือการสื่อสารภายในจิตโดยไม่มีการแสดงออกด้วยวัจนภาษาใดๆ ออกมา แต่จะอยู่ในรูปของสัญญาณ หรือสัญลักษณ์ (2) การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารระหว่างตัวผู้ส่งสารและตัวผู้รับสารที่เป็นปัจเจกชน เป็นสารสื่อสารแบบซึ่งหน้าหรือมีอุปกรณ์ช่วย เช่น โทรศัพท์
(3) การสื่อสารกลุ่มเล็ก เป็นการสื่อสารที่มีจำนวนคนมากกว่า 2 คนขึ้นไป เช่น การประชุมกลุ่ม การทำงานกลุ่ม ซึ่งการสื่อสารกลุ่มย่อยจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับภูมิหลังของสมาชิกและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกลุ่ม (4) การสื่อสารกลุ่มใหญ่ จะมีผู้มีส่วนร่วมจำนวนมาก สมาชิกต้องติดต่อกันโดยมีช่องทางการสื่อสารเป็นตัวช่วย แม้ว่าผู้สื่อสารจะไม่รู้จักกัน แต่สมาชิกอาจผูกพันด้วยความรู้สึกต่อสถาบันหรือบรรยากาศที่ตนอยู่ เนื้อหาของการสื่อสารไม่ใช่เป็นการส่วนตัวหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภูมิหลังของผู้สื่อสารอาจแตกต่างกันแต่ไม่มากนัก การสื่อสารกลุ่มใหญ่ต้องใช้การโน้มน้าว ใจค่อนข้างมากในการรักษากลุ่มและเป้าหมายกลุ่ม
ตัวอย่างของการสื่อสารกลุ่มใหญ่ เช่น สหพันธ์กรรมกร การปลุกระดมมวลชน ฯลฯ (5) การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่สำคัญมากเพราะส่งผลกระทบต่อสังคมในแง่ของความผาสุก ความวุ่นวายและระเบียบวินัย กลุ่มเป้าหมายของสื่อสารมวลชนอยู่ที่มวลชนในสังคมซึ่งเป็นระบบเปิด ผู้ส่งสารและรับสารไม่มีความผูกพันกัน แต่บทบาทของสื่อมวลชนก็สามารถปลุกกระแสได้ ฉะนั้น สื่อมวลชนจึงต้องมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะในการนำเสนอข่าวสาร
2. การแบ่งรูปแบบของการสื่อสารตามขอบข่ายวิชา แบ่งเป็น 5 ประเภท (แบบแรกนิยมกว่า) (1) การสื่อสารมวลชน มุ่งศึกษาการสื่อสารในฐานะวิชาการและทฤษฎีว่าด้วยการสื่อสารระหว่างมนุษย์ (2) วารสารศาสตร์ ศึกษาบทบาทสื่อมวลชน การประกอบกิจการด้านสื่อมวลชน และการกำหนดเป้าหมายของสื่อมวลชน (3) การสื่อสารระหว่างประเทศ เป็นการศึกษาบทบาทของสื่อมวลชนในแต่ละประเทศ
(4) การสื่อสารสาธารณะ มุ่งเน้นการนำเสนอการสื่อสารเพื่อการบริการสาธารณชน (5) การสื่อสารทางการเมือง เป็นการนำเสนอการสื่อสารเพื่อไปวิเคราะห์เหตุการณ์ทางการเมือง การสื่อสารเพื่อการพัฒนา การหาเสียงเลือกตั้ง (6) การสื่อสารองค์การ เป็นการสื่อสารเพื่อใช้อธิบายองค์การในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางการบริหารให้ประสบผลสำเร็จ (7) การสื่อสารกลุ่มย่อย เช่น การจัดสัมมนา การระดมสมอง การประชาพิจารณ์ (8) การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการโน้มน้าวจิตใจคู่สนทนา การใช้จิตวิทยาเพื่อการสื่อสาร
บทบาทและหน้าที่ของการสื่อสาร บทบาทและหน้าที่ของการสื่อสาร • เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคล • เป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เพื่อให้ ปชช. ในฐานะผู้รับสารรับทราบ และยอมรับรัฐบาลในฐานะผู้ส่งสาร
บทบาทของสื่อสารมวลชนที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาลบทบาทของสื่อสารมวลชนที่มีความสัมพันธ์กับรัฐบาล การสอดส่องแจ้งข้อเท็จจริงให้กับสังคม เป็นการแจ้งข้อเท็จจริงให้ ปชช. ทราบโดยการนำเสนอข่าวทาง นสพ. และจอโทรทัศน์ การวิพากษ์วิจารณ์สังคม เป็นบทบาทที่ต่อจากข้อ 1 คือ นอกจากนำเสนอข้อเท็จจริง ยังวิเคราะห์ วิจารณ์และประเมินข่าวสารนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้รับข่าวสาร การถ่ายทอดมรดกให้แก่สังคม การนำเสนอข่าวสารโดยชี้ให้เห็นสิ่งดีหรือไม่ดีทั้งทางตรงและทางอ้อม ความบันเทิง นำเสนอในรูปแบบ ละคร นิยาย หรือการแสดงต่างๆ
วิวัฒนาการของข้อมูลข่าวสาร ศตวรรษที่ 21 โลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Age) หรือสังคมแห่งการสื่อสาร (The Communication Society) นับแต่หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม หลายประเทศทั่วโลกมีการปฏิวัติสารสนเทศใหม่ โดยมีการนำเอาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์มาใช้ ดังนั้น การศึกษาการเมืองการปกครองในหลายมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก จึงหันมาสนใจแนวทางการศึกษาใหม่ เรียกว่า “การสื่อสารทางการเมือง” มากขึ้น และถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการศึกษาและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมือง
Lippmann กล่าวว่า “การปฏิวัติที่สำคัญในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่การปฏิวัติด้าน อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ หรือการเมือง แต่เป็นการปฏิวัติ ที่เกิดขึ้นในศิลปะของการทำให้ผู้ถูกปกครองยอมตาม”
จุดเริ่มต้นของการสื่อสารการเมือง หลัง World War Iการเมืองแบบประชาธิปไตยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือ ผู้ปฏิบัติการด้านการเมือง (Political Actors) ได้กำหนดหรือวางกลยุทธ์ในการจูงใจการทางเมืองอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลังจากนั้น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19ปชช.เริ่มมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนมากขึ้น ซึ่งกระแสของสิทธินี้ บวกกับการเติบโตของสื่อมวลชน ทำให้เสียงของ ปชช. หรือมติมหาชน กลายเป็น “เสียงสวรรค์”
มติมหาชน เกิดขึ้นจากประชาชนเอง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมาได้ จากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากมัน จากสองข้อข้างต้น บวกกับการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องแสดงออกให้มวลชนเห็น จึงเกิดมีนักเผยแพร่มืออาชีพ หรือตัวแทนของนัก นสพ.ที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างองค์กรทางการเมืองกับสถาบันสื่อมวลชน ซึ่งหน้าที่ของบุคคลเหล่านี้คือ พยายามที่จะมีอิทธิพลต่อการรายงานข่าวเกี่ยวกับลูกค้าของตนเพื่อประโยชน์ของลูกค้าของตน
อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ด้านการเมือง บทบาทของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นตัวกลางระหว่างนักการเมืองกับ ปชช. มีมากขึ้น บทบาทของนักเผยแพร่มืออาชีพ หรือตัวแทนของ นสพ. ก็มีมากขึ้น ลักษณะทั้งหมดนี้รวมกันเรียกว่า “อุตสาหกรรมการประชา สัมพันธ์ด้านการเมือง” (Political Public Relations Industry) ผู้ปฏิบัติการด้านการเมืองในปัจจุบัน (ปธน., นายกฯ, แม้กระทั่งผู้ก่อการร้าย) จึงตระหนักดีในบทบาทของการสื่อสารทางการเมือง
ความสัมพันธ์ของการสื่อสารกับการเมืองความสัมพันธ์ของการสื่อสารกับการเมือง การสื่อสารทางการเมือง จึงเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ทัศนะ และความคิดเห็น ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ในทางการเมืองระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร รัฐ และสังคม การสื่อสารทางการเมือง จึงเป็นกระบวนการพิเศษที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ไปจนถึงสังคมการเมืองระดับโลก และทำให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมการเมือง
แนวคิดและกระบวนการสื่อสารทางการเมือง แนวคิดและกระบวนการสื่อสารทางการเมือง • การสื่อสารเป็นส่วนสำคัญต่อบทบาททั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และบูรณาการของวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะความก้าวหน้าของการศึกษาการสื่อสารทางการเมือง ทำให้การเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างนิ่ง กลับมามีลักษณะที่เคลื่อนไหวมากขึ้น จนทำให้การศึกษาการเมืองเป็นเรื่องที่น่าติดตามมากยิ่งขึ้น • ฉะนั้น จึงต้องทำความเข้าใจกับภาพรวมของแนวคิดทางการสื่อสาร การสื่อสารกับการเมือง บทบาทของการสื่อสารต่อการเมืองไทย แนวคิดของการสื่อสารในการทำความเข้าใจกับปัจเจกชนและสังคมการเมือง
ความหมายของ การสื่อสารกับการเมือง
ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารทางการเมืองความหมายและความสำคัญของการสื่อสารทางการเมือง การสื่อสารทางการเมือง (Political communicartion) เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ทัศนะ และความคิดเห็นตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ในทางการเมืองระหว่างบุคคล
การสื่อสารทางการเมืองเป็นกระบวนการพิเศษที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองและทำให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมการเมืองการสื่อสารทางการเมืองเป็นกระบวนการพิเศษที่ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองและทำให้บุคคลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมการเมือง การสื่อสารทางการเมืองจะต้อง (1) เกี่ยวข้องกับบุคคลตั้งแต่สอง คนขึ้นไปหรือมากกว่านั้น (2) เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางการเมือง (3) เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันทางการเมือง
ลูเซียน พาย (Lucian W. pye) มีความคิดว่า การสื่อสารเป็นเส้นใยที่ผูกพันมนุษย์เข้าด้วยกันเป็นสังคม เพราะมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันก็ด้วยการสื่อสารเสียโดยมาก ดังนั้นการไหลเวียนของการสื่อสารจึงเป็นตัวกำหนดทิศทางและฉับไวของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พายเห็นว่าในยุคสมัยใหม่ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1960 เป็นยุคสมัยที่การสื่อสารจะทำให้เกิดวัฒนธรรมโลก (World culture)ซึ่งจะได้รับการ
แผ่กระจายไปยังสังคมต่างๆ และก่อให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองการพัฒนาทางการเมือง ในทัศนะของพายเป็นการพัฒนาที่มีกระบวนการจากสังคมดั้งเดิมผ่านระยะแปรเปลี่ยน (transitional stage) ไปสู่การเป็นสังคมสมัยใหม่พายได้แบ่งลักษณะการสื่อสารในสังคม 3 ลักษณะออกเป็นดังนี้
1. ในสังคมดั้งเดิม กระบวนการสื่อสารรวมอยู่ในกระบวนการทางสังคมอื่นๆ ชนชั้นนำจะเป็นตัวกำหนดการไหลเวียน และเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นการสื่อสาร จึงมีแนวโน้มที่เอื้อประโยชน์แก่ชนชั้นนำ นักการสื่อสารวิชาชีพจะไม่มีในสังคมชั้นนี้
2. ในระยะแปรเปลี่ยน การสื่อสารมีการเป็นทวิลักษณ์ ในด้านหนึ่งใช้ระบบเทคโนโลยีสมัยสื่อสารภายในศูนย์กลางของสังคมที่มีความเป็นสมัยใหม่และเป็นเมือง ในอีกด้านหนึ่งเป็นการสื่อสารแบบพบหน้ากัน (face-to-face) และภายในชุมชน การควบคุมการสื่อสารโดยกลไกภายในสังคมเป็นเรื่องยากนอกจากนั้นมีการพึ่งพาวิธีการสื่อสารของระบบระหว่างประเทศมาก
3. ในสังคมใหม่ (เฉพาะที่เป็นประชาธิปไตย) การสื่อสารโดยสื่อมวลชน (Mass media) มีความเป็นวิชาชีพ มีโครงสร้างเฉพาะซึ่งทำหน้าที่นี้และจะมีความเป็นอิสระจากรัฐบาลมากมายโดยเปรียบเทียบ มีจรรยาบรรณของความเป็นกลางกำกับอยู่ แต่จะเชื่อมโยงกับการสื่อสารโดยผู้นำความคิดเห็นที่ไม่เป็นทางการ (informal opinion leaders) ต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อบุคคลต่างๆในสังคมที่เขาพบปะสนทนาอยู่ด้วยเป็นประจำ ระบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งสองนี้ จะมีการไหลเวียนป้อนกลับข่าวสารกันอยู่เป็นประจำ
อัลมอนด์ (G.A. Almond)เห็นว่าการสื่อสารทางการเมืองมีความสำคัญตรงเป็นวิธีการในการช่วยระบบการเมืองที่จะทำหน้าที่อื่นๆ ของมันไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องผลประโยชน์ การรวบรวมผลประโยชน์หรือการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ
การสื่อสารทางการเมืองดูเหมือนจะทำหน้าที่ “ควบคุมผู้ควบคุม”(regulates the regulators) กระบวนการนำเข้าและส่งออกของระบบการเมืองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการที่มันทำหน้าที่นี้มีผลดีต่อการพิทักษ์สิทธิเสรีภาพในระบบการเมืองประชาธิปไตย
คาร์ล ดอยท์ซ (Karl W. Deutsch) ได้เปรียบเทียบการสื่อสารทางการเมืองว่าเป็นเสมือนเส้นประสาทของระบบการเมืองที่มีเครือข่ายครอบคลุมและเชื่อมโยงทุกๆส่วนของระบบการเมือง หลักการพื้นฐานแนวคิดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่า การปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบกับสภาพแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยมีระบบสื่อสารทั้งในระบบและระหว่างระบบกับสภาพแวดล้อมเมื่อเป็นเช่นนี้ในการที่จะทำความเข้าใจต่อระบบใดๆ ก็ตามจะต้องทำความเข้าใจต่อระบบสื่อสารของระบบนั้นๆ โดยทั้งหมด
ดอยท์ซ พยายามที่จะเปรียบเทียบการสื่อสารว่าเป็นกลไกในการชี้นำปั้นแต่ง ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในทำนองที่ระบบร่างกายของมนุษย์มีการทำหน้าที่เหล่านี้โดยระบบความจำและระบบการควบคุมตัวมันเองอย่างอื่นแต่ดอยท์ซยังไม่สามารถที่จะพัฒนาความคิดเรื่องระบบการเมืองที่มีการสื่อสารเป็นแกนกลางนี้ให้เป็นทฤษฎีซึ่งประยุกต์ใช้ในการวิจัยได้เท่าใดนัก
ประเภทของโครงสร้างการสื่อสารทางการเมืองประเภทของโครงสร้างการสื่อสารทางการเมือง อัลมอนด์และเพาเวลล์ (Almond & Powell) แบ่งประเภทของโครงสร้างการสื่อสารออกเป็น 5 ประเภท คือ การสื่อสารแบบพบหน้ากันแบบไม่เป็นทางการ (informal face-to face contacts) การสื่อสารแบบสังคมจารีตประเพณี (traditional social structures) การสื่อสารในปัจจัยนำเข้าของระบบการเมือง(political input structure) การสื่อสารในปัจจัยส่งออกของระบบการเมือง (political output structure) การสื่อสารมวลชน (mass media)
1. การสื่อสารแบบพบหน้ากันอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการสื่อสารผ่านตัวกลาง คือ “ผู้นำความคิดเห็น” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้นำตามธรรมชาติ เช่น พระ ครู หรือผู้ที่มีการศึกษาในท้องถิ่น , ผู้นำท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน บรรดาผู้นำความคิดเห็นจะเป็นผู้กระตือรือร้นและตื่นตัวทางการเมืองสูง จะรับฟังข่าวสารผ่าน วิทยุ ทีวี นสพ. และนำมาถ่ายทอดต่อ ซึ่งผู้นำอาจใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป จึงไม่ควรละเลยการสื่อสารประเภทนี้