20 likes | 173 Views
กระเจี๊ยบเขียว. ที่มา : กรมศุลกากร. แหล่งปลูกสำคัญ - กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี - นครปฐม - ราชบุรี. ต้นทุนการผลิต (บาท / ไร่) 16,900 บาท / ไร่. จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมการผลิตผัก 8 เม.ย. 51. ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระเจี๊ยบเขียว. ข้อมูลวิชาการที่สำคัญ
E N D
กระเจี๊ยบเขียว ที่มา : กรมศุลกากร แหล่งปลูกสำคัญ - กาญจนบุรี - สุพรรณบุรี - นครปฐม - ราชบุรี ต้นทุนการผลิต (บาท/ ไร่) 16,900 บาท/ไร่ จัดทำโดย : กลุ่มส่งเสริมการผลิตผัก 8 เม.ย. 51 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระเจี๊ยบเขียว ข้อมูลวิชาการที่สำคัญ ชื่อสามัญ : Okra, Gumbo, Lady’s finger, Quimbamto ชื่อวิทยาศาสตร์: AbelmochusesculentusL. Moench พันธุ์ :1. พันธุ์ลูกผสมชั่วที่หนึ่ง จากประเทศญี่ปุ่น และประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ที่มีคุณสมบัติของฝักอ่อนเป็นที่นิยมของตลาดส่งออก 2. พันธุ์ผสมเปิดจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์เคลมสัน สปายน์เลสพันธุ์ดวอร์ฟกรีนสปายน์ นิยมใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง 3. พันธุ์ที่เกษตรกรเก็บพันธุ์เอง ช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด ตลอดทั้งปี แต่จะมากสุดในช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเมษายน โดยจะเริ่มปลูกระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากเน้นเพื่อการส่งออก เพราะประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนนี้ ตลาดหลัก: ประเทศญี่ปุ่น (ทั้งในรูปสดและแช่แข็ง) ตลาดคู่แข่ง: ประเทศฟิลิปปินส์ คุณภาพของกระเจี๊ยบเขียวฝักสดส่งออก : สด มีเส้นใยน้อย ปราศจากโรค แมลง หรือตำหนิจากโรคแมลง รูปร่างฝักเป็น 5 เหลี่ยม ตรง ไม่คดงอ มีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งฝัก ความยาวฝัก 5-12 ซม. คุณภาพของกระเจี๊ยบเขียวแช่แข็งส่งออก : ฝักอ่อนสด มีเส้นใยน้อย ปราศจากโรคแมลงหรือตำหนิจากโรคแมลง ฝักเป็น 5 เหลี่ยม สีเขียว ความยาวฝัก 5-9 ซม. คุณภาพกระเจี๊ยบเขียวสำหรับแปรรูป : ฝักอ่อนสด อายุ 2-3 วัน หลังจากผสมเกสร ปราศจากโรคแมลง หรือตำหนิจากโรคแมลง มีสีเขียว ความยาวฝัก 2.5-5 ซม. รูปร่างฝักมีจำนวน 8 เหลี่ยม • ปัญหา • สารเคมีต้องค้างในผลผลิต โดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น นับตั้งแต่ประกาศใช้ Positive list ทำให้ตรวจพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานบ่อยครั้ง • ปริมาณผลผลิตในเกรดน้อย • ต้นทุนการผลิตสูง • แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ • แนวทางแก้ปัญหาในอนาคต • รณรงค์ให้เกษตรกรเว้นระยะการฉีดพ่นสารก่อนการเก็บเกี่ยว • ส่งเสริมให้มีการจดบันทึกการปฏิบัติของเกษตรกร • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการ- ลดต้นทุนการผลิต- ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต