590 likes | 1.07k Views
ความสำคัญของการทำ สัญญา. โดย นายสมัคร เชาวภานันท์. 6 มกราคม 2555. ความสำคัญของการทำสัญญา. เกือบจะทุกคนต้องเกี่ยวข้องและประสบพบเห็นต้องทำสัญญา เนื่องจากมีการติดต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป หรือเรื่องการทำมาหากิน ฯลฯ พบว่าผู้เข้าทำสัญญาต้องเสียเปรียบ หรือ
E N D
ความสำคัญของการทำสัญญาความสำคัญของการทำสัญญา โดย นายสมัคร เชาวภานันท์ 6 มกราคม 2555
ความสำคัญของการทำสัญญาความสำคัญของการทำสัญญา • เกือบจะทุกคนต้องเกี่ยวข้องและประสบพบเห็นต้องทำสัญญา เนื่องจากมีการติดต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป หรือเรื่องการทำมาหากิน ฯลฯ • พบว่าผู้เข้าทำสัญญาต้องเสียเปรียบ หรือ • มีการไม่ปฏิบัติตามสัญญา มีการฟ้องร้องกันที่ศาลเสมอ นับวันจะมากขึ้น • ในอนาคตประชาชนมากขึ้น มีการติดต่อค้าขาย หรือทำธุรกิจมากขึ้น มีการทำสัญญาต่างๆ มากขึ้น มีการผิดสัญญามากขึ้น
5.การรู้เรื่องการทำสัญญา จึง • ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ในเรื่อง ไม่เพลี่ยงพล้ำ ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลา เสียความรู้สึก ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกโกง • ช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ อันเกิดจากการทำสัญญาไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ • ช่วยป้องกันการเขียนสัญญาที่ทำให้ตนเองเสียเปรียบ ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ร่างสัญญาหรือผู้ทำสัญญา ตัวอย่าง • ร่างสัญญาว่า ผู้ซื้อสามารถคืนที่ดินได้หากไม่เป็นไปตามความประสงค์ • ร่างสัญญาว่า แบ่งแยกโฉนดและโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งที่ที่ดินเป็น นส.3 ก
เรื่องสัญญาที่ต้องรู้ คือ • ความศักดิ์สิทธิของการแสดงเจตนาทำสัญญา • ความหมายของสัญญา • หลักสำคัญที่ต้องคำนึงในการทำสัญญา • การร่างสัญญา • ข้อคำนึงในการร่างสัญญา • ข้อควรสังเกตของสัญญาต่าง ๆ
(1) ความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาทำสัญญา • หลักกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรม หรือสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ มีพื้นฐานมาจากเสรีภาพของบุคคล คือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงเจตนาทำ นิติกรรม หรือสัญญาต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดผลในทางกฎหมายได้ • ไม่จำกัดว่าการแสดงเจตนาทำนิติกรรมหรือสัญญานั้นต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ที่เรียกว่า“เอกเทศสัญญา” • แต่ยังสามารถทำนิติกรรมในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก แม้ว่ากฎหมายจะมิได้กำหนดรูปแบบไว้ • ดังนั้น การทำสัญญา นิติกรรม จึงเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป มีคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
ความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาทำสัญญา(ต่อ 1) • แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำนิติกรรมสัญญานั้นนั้น • ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือของประชาชนเป็นส่วนรวม • ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงสงบเรียบร้อยหรือเศรษฐกิจของประเทศชาติ • ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน • กรณีเช่นนี้กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง นิติกรรมสัญญาดังกล่าวอาจตกเป็นโมฆะ หรือ โมฆียะ หรือไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
ความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาทำสัญญา(ต่อ 2) • แต่ขณะหากการทำสัญญาหรือนิติกรรมนั้น ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความไม่สงบสุข ขณะนี้รัฐก็ได้ออก พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาใช้บังคับแล้ว โดยมุ่งที่จะให้ศาลเป็นผู้ตรวจสอบสัญญาที่อยู่ในขอบเขต พ.ร.บ.ดังกล่าว หากเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบกัน ก็ให้ศาลมีอำนาจที่จะพิจารณาให้มีผลบังคับกันได้ เพียงเท่าที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณี
ความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนาทำสัญญา(ต่อ 3) • นอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522ออกมาบังคับใช้อีก ซึ่งได้กำหนดแบบของสัญญาให้ผู้ประกอบการต้องใช้สัญญาต่างๆ ตามที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนด เช่น ธุรกิจซื้อขายบ้านและที่ดินที่มีการจัดสรรขาย ธุรกิจบัตรเครดิต ให้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ ธุรกิจการขายห้องชุด ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฯลฯ • อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ก็มิได้บังคับว่าต้องทำตามแบบที่กำหนดอย่างเดียว แต่คู่สัญญาก็อาจเพิ่มเติมข้อสัญญาข้ออื่นลงไปได้อีก แต่ต้องไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือเกิดความไม่เป็นธรรมต่ออีกฝ่ายหนึ่ง • แต่ในครั้งนี้จะไม่กล่าวถึง 2 พ.ร.บ. ดังกล่าว
(2) ความหมายของสัญญา • ความหมายของสัญญา • การเกิดของสัญญา • ผลของสัญญา • ประโยชน์ของการทำสัญญา • การสิ้นสุดของสัญญา
ความหมายของสัญญา(ต่อ 1) • ความหมายของสัญญา หมายถึง การตกลงกันไม่ว่าจะมีการตกลงโดยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร ระหว่างคู่กรณี 2ฝ่าย เพื่อมุ่งผูกนิติสัมพันธ์ อันก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย หรือชาวบ้าน หมายถึง • การทำความตกลงโดยลายลักษณ์อักษร • หรือเขียนลงบนกระดาษโดยมีการกำหนดข้อตกลงหรือความประสงค์ของทั้ง2ฝ่าย ลงในกระดาษนั้น
ความหมายของสัญญา(ต่อ 2) • การเกิดของสัญญา สัญญาจะเกิดขึ้นหรือมีผลผูกพันทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาต่อกัน จนเกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน โดยมีการเสนอ คำเสนอไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง โดยทางกิริยา ท่าทาง หรือคำพูด หรือทำเป็นหนังสือก็ได้ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบความประสงค์ ซึ่งเรียกว่า “คำเสนอ” แล้วบุคคลอีกฝ่ายยอมรับหรือตกลงโดยแสดงความประสงค์ตอบรับ ซึ่งเรียกว่า “คำสนอง” ไปยังบุคคลฝ่ายแรก สัญญาก็จะเกิดขึ้นทันที • แต่การทำสัญญาหรือนิติกรรม หากมีกฎหมายบัญญัติ ให้การทำสัญญาประเภทนั้นๆต้องทำเป็นสัญญา หรือทำเป็นหลักฐานลงลายมือชื่อฝ่ายที่รับผิดเป็นสำคัญ หรือต้องทำเป็นสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ต้องทำตามนั้น
ความหมายของสัญญา(ต่อ 3) • ผลของสัญญา (ก่อให้เกิดหนี้) แบ่งเป็น 3 ลักษณะ (1) ก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องมีการกระทำให้แก่กัน (2) บางสัญญาก่อให้เกิดหนี้ที่จะต้อง งดเว้นไม่กระทำ (3) และบางสัญญาก่อให้เกิดหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง • เมื่อมีหนี้แล้ว เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้อง ลูกหนี้จะปฏิเสธไม่ได้ นอกจากเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ความหมายของสัญญา(ต่อ 4) • ประโยชน์ของการทำสัญญา (1)เพื่อให้ทราบถึงทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ หรือวัตถุประสงค์ในการทำสัญญา (การกระทำการ งดเว้น หรือส่งมอบนั้น) (2)เพื่อให้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา (ระบุในสัญญา ย่อมทำให้เกิดความมั่นคง ไม่ลืม ไม่เกิดปัญหาถกเถียง ) (3) เพื่อให้สัญญานั้นมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ( ทำตามแบบ ไม่ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 ) (4) เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดี (เช่น การเช่า , การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท, ค้ำประกัน)
ความหมายของสัญญา(ต่อ 5) • การสิ้นสุดของสัญญา 1. โดยการเลิกสัญญา (มีกฎหมายอนุญาตให้ทำ, มีข้อตกลงให้เลิกได้ ไม่ว่าตกลงล่วงหน้าหรือภายหลัง) 2. โดยการปฏิบัติตามสัญญาเสร็จสิ้น ( เช่น สร้างบ้านเสร็จ ) 3. สิ้นสุดโดยอายุสัญญา (มีข้อตกลง) 4. สิ้นสุดโดยการปฏิบัติตามสัญญาเป็นไปไม่ได้ในภายหลัง ( มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นระหว่างสัญญา จนไม่อาจมีการปฏิบัติตามสัญญา ) 5. สิ้นสุดโดยการตายของคู่สัญญา ( คุณสมบัติเฉพาะตัวของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ เช่น ดาราผู้รับจ้างหรือผู้เช่าตาย ส่วนเรื่องค่าเสียหาย ค่าใช้จ่ายต่างๆ จะคืนกันหรือไม่เท่าไร ก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายต่อไป )
(3)หลักสำคัญที่ต้องคำนึงในการทำสัญญา(3)หลักสำคัญที่ต้องคำนึงในการทำสัญญา • เมื่อทราบถึง • ความหมายของสัญญา • การเกิดของสัญญา • ผลของสัญญา • ประโยชน์ของการทำสัญญา • การสิ้นสุดของสัญญา • จึงต้องรู้หลักสำคัญที่ควรคำนึงในการทำสัญญา • วัตถุประสงค์ของสัญญา • แบบหรือหลักฐานของนิติกรรมสัญญา • ความสามารถของบุคคล • เจตนาของสัญญา • อากรแสตมป์
(3)หลักสำคัญที่ควรคำนึงในการทำสัญญา(3)หลักสำคัญที่ควรคำนึงในการทำสัญญา • วัตถุประสงค์ของสัญญา คือจุดประสงค์ หรือความมุ่งหมายในการทำนิติกรรมสัญญา โดยต้องไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อความสงบเรียบหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.ม.150 • แต่การจะตกเป็นโมฆะ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งต้องทราบด้วยว่าวัตถุประสงค์นั้นขัดกับ ป.พ.พ.มาตรา150 ด้วย (เช่น การซื้อขายเฮโรอีน, ขณะทำสัญญาซื้อขายบ้าน บ้านถูกไฟไหม้) • วัตถุประสงค์อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องรู้ร่วมกันถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้เห็น ก็ไม่ถือว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้าม โดยชัดแจ้งโดยกฎหมาย (เช่น (ต่อ)
(ต่อ) • กู้เงินไปยิงคน ผู้ให้กู้ต้องรู้ว่าจะเอาเงินไปยิงคนด้วยจึงเป็นโมฆะ • ตกลงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน โดยทราบว่าชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว • กู้เงินตกลงชำระ 10 กันยายน 2553 แต่ยินยอมให้ผู้ให้กู้เรียกเงินคืนก่อนกำหนดได้ • ทำสัญญายอมชดใช้ค่าเสียหายโจทก์เท่าไรก็บังคับได้ ต่างกับการเรียกค่าว่าความตามเปอร์เซ็นต์ของเงินที่ศาลได้พิพากษา • แต่อย่างไรก็ตาม จะทำการใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายใด ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น ไม่เป็นโมฆะ (ตามป.พ.พ.มาตรา 151) เช่น สัญญาเช่า ผู้เช่าผิดสัญญายินยอมให้ผู้ให้เช่ายึดครองที่เช่าได้โดยพลันและมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าทันที
2. แบบหรือหลักฐานของนิติกรรมสัญญา (1)กรณีทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาฯ สัญญาจำนอง สัญญาขายฝาก การได้มาซึ่งทรัพย์สิน (ไม่บริบูรณ์ในฐานะเป็นทรัพยสิทธิ คือ จะใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ แต่สมบูรณ์ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ตามมาตรา 1299) (2) กรณีต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัท,ทะเบียนสมรส, จดทะเบียนหย่า) (3) กรณีที่ต้องทำเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ (พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง, แบบเอกสารลับ, การคัดค้านตั๋วแลกเงิน) (4)แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือ (สัญญาเช่าซื้อ, ข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้น, สัญญาก่อนสมรส, ทำพินัยกรรมแบบธรรมดา, แบบเขียนเอง, ตั้งตัวแทนในกิจการที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ)
การไม่ทำตามแบบตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.152 ยกเว้น ป.พ.พ.มาตรา 1299 • กรณีกฎหมายบัญญัติให้ต้องมีหลักฐานแห่งการฟ้องร้องคดี(ลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด) หากไม่มี ไม่ทำให้เป็นโมฆะ แต่จะนำสัญญามาฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ เช่น การกู้เงินเกิน 2,000 บาท, เช่าอสังหาฯไม่เกิน 3 ปี, สัญญาประนีประนอมยอมความ, สัญญาประกันภัย, สัญญาค้ำประกัน
ความสามารถของบุคคล • มาตรา 153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ • นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ หมายถึง กรณีที่กฎหมายถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง • เมื่อถูกบอกล้างแล้วถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก (ป.พ.พ.มาตรา 176) • ถ้าหากไม่บอกล้างโมฆียะกรรมภายในกำหนดเวลาบอกล้างหรือมีการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นย่อมสมบูรณ์ตลอดไป (ป.พ.พ.มาตรา 181)
3.ความสามารถของบุคคล (ต่อ 1) • ผู้เยาว์ ทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เช่นไม่ว่าด้วยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษรหรือพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ (ไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆียะ) เว้นแต่ • เพื่อได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งหรือหลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง(ป.พ.พ.มาตรา 22) • ต้องทำเองเฉพาะตัว (ป.พ.พ.มาตรา 23) • เป็นการสมควรแก่ฐานานุรูปแห่งตน อันจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีพตามสมควร (ป.พ.พ.มาตรา 24) • อายุ 15 ปีบริบูรณ์ ทำพินัยกรรมเองได้ (ป.พ.พ.มาตรา 25) • ถ้าไม่ครบ 15 ปี ทำพินัยกรรมเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1730) • ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่อาจทำได้ลำพังต้องขออนุญาตศาลก่อน (ป.พ.พ. มาตรา 1574) เช่น ขาย แลกเปลี่ยน จำนอง ขายฝาก ให้เช่าอสังหาฯเกินสามปี ให้เช่าซื้ออสังหาฯ ให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
ความสามารถของบุคคล(ต่อ 2) (2) ผู้ไร้ความสามารถ (ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ) • ทำนิติกรรมเป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 29) • ทำพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1704) (3) บุคคลวิกลจริตที่ศาลไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ • ทำนิติกรรมเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อคู่กรณีรู้ว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต (ป.พ.พ. มาตรา 30) • ถ้าทำพินัยกรรมจะเสียเปล่าต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าขณะทำวิกลจริต (ป.พ.พ. มาตรา 1704) (4) บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถ • ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ.มาตรา 21) • ในพฤติการณ์อันสมควร ศาลจะสั่งให้บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถ ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนอีกก็ได้
ความสามารถของบุคคล(ต่อ 3) (5) คู่สมรส • สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ (ป.พ.พ. มาตรา 1473) • จัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี (4) ให้กู้ยืมเงิน (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา (6) ประนีประนอมยอมความ (7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย (8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล • (ไม่ร่วมกันหรือไม่ยินยอมฟ้องเพิกถอนได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายให้สัตยาบันหรือบุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน)
ความสามารถของบุคคล(ต่อ 4) (6)การทำนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาล • นิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์บางประการ ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่อาจทำได้โดยลำพังต้องขออนุญาตจากศาลก่อน (ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลตกเป็นโมฆะ) • ทำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแทนผู้เยาว์ การสละมรดกการรับมรดกอันมีภาระติดพันหรือเงื่อนไข (ได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีแล้วยังต้องได้รับอนุญาตจากศาล) • กิจการอันขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ (ตกเป็นโมฆะ)
4. เจตนาของการทำสัญญา • ต้องกระทำโดยบริสุทธิ์ มุ่งจะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล • การแสดงเจตนาซ่อนเร้น (คือ การแสดงเจตนาในใจจริง ผู้แสดงมิได้มีเจตนาให้ตนต้องผูกพัน ตามที่ได้แสดงออกมา คือ ปากกับใจไม่ตรงกัน) ไม่เป็นโมฆะ เว้นแต่คู่กรณีรู้ถึงเจตนาอันซ่อนเร้น (ป.พ.พ.มาตรา 154) • การแสดงเจตนาลวง โดยสมรู้กัน ตกเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนมิได้ (ป.พ.พ. มาตรา 155) • การแสดงเจตนาอันได้มาเพราะกลฉ้อฉลหรือข่มขู่ เป็นโมฆียะ(ป.พ.พ. มาตรา 159,164) • การแสดงเจตนาด้วยความสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ • ถ้าประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หาอาจเอาความไม่สมบูรณ์นั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 156) • การแสดงเจตนาด้วยความสำคัญผิด ในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์เป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 157)
อากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับหรือ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสีย อากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ ทั้งนี้ ไม่เป็น การเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114” ตราสาร หมายความว่า เอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 103)ตราสารที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายหมวดนี้ต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น (ประมวลรัษฎากร มาตรา 104) • ดังนั้นการ • ไม่ปิดอากรใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าเสียอากรครบถ้วนและขีดฆ่า • ปิดอากรไม่ครบ ใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งไม่ได้ • ไม่ขีดฆ่าอากร ใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งไม่ได้
(4) รูปแบบพื้นฐานของการร่างสัญญา • ชื่อสัญญา • หากรู้ว่าข้อตกลงของทุกฝ่ายเป็นเรื่องอะไรก็ควรระบุชื่อในสัญญาให้ชัด เพื่อสะดวกในการพิจารณาปัญหาข้อกฎหมาย(อาจมิใช่สาระสำคัญในการร่างสัญญา) • สถานที่ในการทำสัญญา • เป็นสาระสำคัญ เพื่อช่วยทราบถึงมูลคดีเกิดที่ไหน ฟ้องที่ศาลใด (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4) • วัน เวลา ทำสัญญา • เป็นข้อสำคัญเพื่อประโยชน์ในการบังคับตามสัญญา,ทำสัญญากันจริงหรือไม่,คู่สัญญามีความสามารถทำหรือไม่, ผิดสัญญาจะขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่
ชื่อคู่สัญญา อายุ ภูมิลำเนา • เป็นสาระสำคัญเพื่อทราบว่าคู่สัญญาเป็นใคร หรือผู้มอบอำนาจเป็นผู้ใด เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล • อายุ ดูว่ามีความสามารถทำนิติกรรมหรือไม่ ถ้าไม่ได้ ใครเป็นผู้ทำแทน • ภูมิลำเนาเป็นประโยชน์ในการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม การส่งหมายเพื่อบังคับคดี • รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ • เป็นสาระสำคัญ • ต้องระบุให้ได้ความละเอียดชัดเจนและต้องตามความประสงค์ของคู่สัญญา ตัวอย่าง • เกี่ยวกับการโอนทรัพย์ (ประเภท ชนิด ปริมาณ จำนวน) • เกี่ยวกับเงินตรา (จำนวนเงินกู้ ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย)
รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่ายรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่าย (1) สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา • ทราบถึงสิทธิที่แต่ละฝ่ายจะได้รับและหน้าที่แต่ละฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ (2) วัน เวลา ในการชำระหนี้ หรือบังคับตามสัญญา • เพื่อสะดวกและแน่นอนในการชำระหนี้หรือบังคับตามสัญญา • ไม่กำหนดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน (3) สถานที่ที่ชำระหนี้ หรือบังคับตามสัญญา • เพื่อความแน่นอนว่าจะชำระหนี้ ณ ที่ใด (4) รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ว่าจะใช้วิธีใด • ทางเรือ หรือ รถยนต์ หรือจ่ายเงินทุกวันที่อะไร (5) ข้อตกลงเงื่อนไขพิเศษต่างๆ ที่แตกต่างจากที่กฎหมายกำหนดไว้ • ใครเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์,ใครเสียภาษี เป็นต้น
สัญญามีอะไรบ้างที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะผิดสัญญาหรือผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือผิดสัญญากันอย่างไรสัญญามีอะไรบ้างที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะผิดสัญญาหรือผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือผิดสัญญากันอย่างไร • ค่าเสียหาย • ระบุให้ชัดเจนเพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของเจ้าหนี้ • ข้อบังคับตามสัญญามีอะไร(อีกบ้าง) • เรื่องเขตอำนาจศาล • ไม่ใช่สาระสำคัญ (ไม่ระบุ ฟ้องตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 3-6) • ถ้าระบุต้องระบุศาลภายใต้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง ป.วิแพ่ง คือเขตอำนาจศาลที่ทำสัญญา หรือทรัพย์พิพาทตั้งอยู่ หรือศาลที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนา • วรรคท้ายของสัญญา • ทำกี่ฉบับ เป็นภาษาอะไร และคู่ความอ่านเข้าใจแล้ว จึงลงนามต่อหน้าพยาน
ลายมือชื่อคู่สัญญา • ของบุคคลธรรมดา หรือผู้รับมอบอำนาจ (หากมี) • นิติบุคคล ลงชื่อประทับตรา หรือผู้รับมอบอำนาจ (หากมี) • พิมพ์ลายนิ้วมือ ลงชื่อพยาน 2 คน รับรองลายนิ้วมือ (ถ้าไม่มีพยาน สัญญาเป็นอันใช้ไม่ได้) • ลายมือชื่อพยาน (รับรองการทำสัญญา) • กฎหมายไม่ห้ามที่จะมี • ถ้ามีควรเป็นคนน่าเชื่อถือ ซึ่งพยานนั้นจะต้องรู้เห็นการลงลายมือชื่อของสัญญา • อากรแสตมป์ • ไม่ปิด • ปิดไม่ครบหรือขาด หรือไม่ขีดฆ่า จะใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งไม่ได้ • เอกสารแนบท้ายสัญญา • แท้จริงมิใช่สัญญา • แต่เป็นการตกลงให้นำมาแนบท้ายสัญญาและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภา
(5)สรุปสัญญาควรมีข้อความ(5)สรุปสัญญาควรมีข้อความ 1. ชื่อสัญญา 2. สถานที่ในการทำสัญญา 3. วัน เวลา ทำสัญญา 4. ชื่อคู่สัญญา อายุ ภูมิลำเนา 5. รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ 6. รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่าย 7. ข้อผิดสัญญา 8. ค่าเสียหายเมื่อมีการผิดสัญญา 9. ข้อบังคับตามสัญญา 10. เขตอำนาจของศาล (หากมี) 11. วรรคท้ายของสัญญา 12. ลายมือชื่อคู่สัญญา 13. ลายมือชื่อพยาน 14. อากรแสตมป์ 15. เอกสารแนบท้ายสัญญา
(6)ข้อควรคำนึงในการร่างสัญญา(6)ข้อควรคำนึงในการร่างสัญญา • เพื่อให้มีผลผูกพันเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย • ข้อความในสัญญาต้องชัดเจนแน่นอน • เป็นการตัดปัญหา การตีความและเกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์ • หรือใช้อ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย • สิทธิและหน้าที่ควรเท่าเทียมกัน • ต้องคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่แต่ละฝ่ายตามประโยชน์ตามประเภทของสัญญา • ควรกำหนดค่าเสียหายพอควร เมื่อมีการผิดนัด • ต้องคำนึงถึงเหตุผลและมนุษยธรรมโดยเฉพาะของเขตการเรียกร้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ • ข้อความจะต้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย • โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ข้อควรคำนึงในการร่างสัญญา(ต่อ 1) • ข้อตกลงกันเกี่ยวกับค่านายหน้า • อาจตกลงกับคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ • ต้องให้ระบุให้ชัดเจนว่าฝ่ายใดมีหน้าที่จ่ายค่านายหน้า • จำนวนเงินค่านายหน้า ก็ต้องระบุให้แน่นอน • ภาระด้านภาษี • ต้องชำระภาษีหรือไม่ • ต้องตรวจว่าสัญญาที่ร่าง จะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมหรือภาษีแก่รัฐหรือไม่ จำนวนอัตราเท่าใด เป็นเงินเท่าไหร่ เสียที่ใด • กฎหมายกำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้เสีย • กฎหมายผู้ใดจ่าย หรือออกเท่ากัน • คู่สัญญาอาจตกลงให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งออกก็ได้ (มิใช่กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย) • กำหนดในสัญญาผู้ใดเป็นผู้เสีย • ไม่ควรจะไปชี้แนะให้มีการพลักภาระค่าธรรมเนียมหรือภาษีให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อคู่สัญญาตกลงอย่างไร ก็ร่างไปตามนั้น
ข้อควรคำนึงในการร่างสัญญา(ต่อ 2) • อนุญาโตตุลาการ • สัญญาต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์แท้จริงระหว่างคู่สัญญา คือการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นเกณฑ์ในการหาทางแก้ปัญหาโดยสันติ • ไม่ถึงกับต้องขึ้นศาล เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา • ยังเป็นเหตุให้บาดหมางน้ำใจร่วมทำธุรกิจต่อไปไม่ได้อีก • ทางปฏิบัติ เมื่อมีข้อพิพาทต้องเริ่มต้นที่การเจรจาโดยคู่สัญญาส่งตัวแทนเจรจา • แต่อาจใช้คนกลางมาช่วยแก้ปัญหาตามสัญญา • ถ้าคนกลางเข้ามาเจรจาอย่างเป็นทางการ กฎหมายที่เรียกว่า “อนุญาโตตุลาการ” • ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ใช้เวลารวดเร็ว ประหยัด บรรยากาศของการพิจารณาเหมือนการประชุมหารือกัน โดยมีองค์กรอนุญาโตตุลาการร่วมประชุมด้วย • ทำให้คู่กรณีมีแนวโน้ม ไม่เคร่งเครียด ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน ตามสัญญาในส่วนอื่น ๆ
ข้อควรคำนึงในการร่างสัญญา(ต่อ 3) • จำนวนของสัญญา • ควรทำจำนวน 2 ฉบับ • ข้อความทั้งสองฉบับจะต้องเหมือนกันทุกประการ • คู่สัญญาจะต้องลงลายมือชื่อไว้ทั้ง 2 ฉบับ • ระบุในสัญญาว่าทำไว้กี่ฉบับด้วย • แต่ละฝ่ายจะเก็บไว้คนละ 1 ฉบับ
มัดจำ • มัดจำ • คือเงินหรือสิ่งมัดจำอื่นซึ่งคู่สัญญาได้ส่งมอบให้ไว้แก่กัน เมื่อเข้าทำสัญญา • เพื่อประโยชน์ในการเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำกันขึ้นแล้ว • และเพื่อประโยชน์ในการเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา • กรณีที่มีการชำระหนี้ตามสัญญาโดยถูกต้อง เงินมัดจำที่ให้ไว้จะต้องส่งคืน หรือจะจัดเอาเป็นการชำระหนี้บางส่วน • แต่ในกรณีที่ไม่มีการชำระหนี้ตามสัญญา กฎหมายให้สิทธิแก่ฝ่ายที่รับมัดจำไว้ ในอันที่จะริบมัดจำนั้นเสีย หรือถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย อันเป็นความผิดของฝ่ายที่วางมัดจำ ก็ให้ริบมัดจำ
มัดจำ • ข้อสังเกต • แม้ในสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ จะมีหลายวิธี คือมี มีหลักฐานเป็นหนังสือ วางมัดจำหรือมีการชำระหนี้บางส่วน • แต่หากคู่สัญญาตกลงกันว่าจะทำสัญญาเป็นหนังสือ • หากคู่สัญญายังไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันไว้ถือว่าสัญญายังไม่เกิด แม้จะมีการวางมัดจำหรือมีการชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม • คู่สัญญาจะฟ้องให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้
เบี้ยปรับ • เบี้ยปรับ • คือค่าเสียหาย หรือ สินไหมทดแทน ความเสียซึ่งคู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้า • โดยลูกหนี้ให้สัญญาว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร หรือฝ่าฝืนการงดเว้นอันใดอันหนึ่งให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ • ข้อสังเกต • ในบางกรณีเจ้าหนี้อาจไม่ได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินเลย • แต่เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเพื่อลงโทษลูกหนี้ในฐานผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ก็ได้
เบี้ยปรับ • หลักเกณฑ์ในการเรียกเบี้ยปรับ • หากเรียกเบี้ยปรับมากกว่าค่าเสียหาย จะเรียกค่าเสียหายอีกไม่ได้ (ฎีกา 664/2530) • หากเรียกค่าเสียหายได้เต็มความเสียหายที่ได้รับแล้วจะเรียกเบี้ยปรับอีกไม่ได้ (ฎีกา 5277/2540) • หากเบี้ยปรับนั้นสูงเกินควร กฎหมายให้อำนาจศาลลดเบี้ยปรับตามจำนวนที่เห็นสมควรได้
ข้อแตกต่างของมัดจำและเบี้ยปรับข้อแตกต่างของมัดจำและเบี้ยปรับ • มัดจำ มีการส่งมอบวัตถุตามสัญญา (เช่น ทรัพย์) แต่เบี้ยปรับ จะส่งมอบวัตถุแห่งสัญญาหรือไม่ก็ได้ • มัดจำ เป็นหลักฐานหรือเป็นประกันในการที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่เบี้ยปรับ เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า • มัดจำโดยปกติทรัพย์ที่วางให้อีกฝ่ายหนึ่งยึดไว้มีจำนวนน้อย ส่วนเบี้ยปรับ โดยปกติทรัพย์สินที่วางไว้มักมีจำนวนมาก
สรุปข้อควรคำนึงในการร่างสัญญาสรุปข้อควรคำนึงในการร่างสัญญา สิ่งต่อไปที่ควรพิจารณาในเรื่องการร่างสัญญาเพื่อให้มีผลผูกพันที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ซึ่งได้แก่ 1. ข้อความในสัญญาต้องชัดแจ้งแน่นอน 2. สิทธิและหน้าที่ควรเท่าเทียมกัน 3. ข้อความจะต้องบังคับกันได้ตามกฎหมาย 4. การตกลงกันเกี่ยวกับค่านายหน้า 5. ภาระด้านภาษี 5.1 ต้องชำระภาษีหรือไม่ 5.2 กฎหมายกำหนดให้ผู้ใดเป็นผู้เสีย 5.3 กำหนดในสัญญาผู้ใดเป็นผู้เสีย 6. อนุญาโตตุลาการ 7. จำนวนของสัญญา
(๑) ชื่อสัญญา หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน(๑) (๒) สถานที่ทำสัญญา ทำที่ บริษัทที่ปรึกษากฎหมายสมัครและเพื่อน จำกัด เลขที่ ๑๒๒ ถนนบุญศิริ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร(๒) (๓) วันทำสัญญา วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑(๓) (๔) คู่สัญญา(บุคคลธรรมดา หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่าง นายกรุณา การุณ(๔) อายุ ๒๕ ปี และนิติบุคคล)อายุ ภูมิลำเนา อยู่บ้านเลขที่ ๑ ถนนพระราม ๒ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งต่อไป ในสัญญานี้ จะเรียกว่า“ผู้กู้”ฝ่ายหนึ่ง กับ นายขจรศักดิ์ จันทร์ดี(๔) อายุ ๓๐ ปี อยู่ บ้านเลขที่ ๒ ถนนพระราม ๓ แขวงแสมดำ เขตบางคำดี กรุงเทพฯ ซึ่งต่อไปใน สัญญานี้จะเรียกว่า “ผู้ให้กู้” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังต่อไปนี้ (๕) รายละเอียดอันเป็น ข้อ ๑.ผู้กู้ตกลงกู้เงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งล้านบาท) จากผู้ให้ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ กู้ ซึ่งผู้กู้ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปครบถ้วนเรียบร้อยแล้วในวันทำสัญญา(๕) ข้อ ๒.ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี โดยตกลงชำระ ทุกวันที่ ๓๐ ของเดือน นับแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป(๕) ข้อ ๓.ผู้กู้ตกลงชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ข้อ ๑. คืนให้แก่ผู้ให้กู้ในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒(๕) (2/42)
(๖) รายละเอียดเพิ่มเติมสิทธิ ข้อ ๔.ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ย และหรือเงินต้นคืนแก่ผู้ให้กู้ ณ ภูมิลำเนาหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ของผู้ให้กู้(๖) (๗) มีอะไรบ้างที่ไม่ปฏิบัติจะผิดสัญญา ข้อ ๕.หากผู้กู้ผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่าผิดสัญญาทุกข้อ(๗) ยินยอมหรือผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ให้ผู้กู้ฟ้องบังคับคดีได้ทันที โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า(๙) ถือว่าผิดสัญญาทุกข้อ ข้อ ๖. หากมีการฟ้องร้องบังคับตามสัญญานี้ คู่สัญญาตกลงให้ยื่นฟ้อง ที่ศาลแพ่งธนบุรี(๑๐) (๘) ค่าเสียหาย(ไม่มี) หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเป็นฉบับที่ ๒(๑๑) ซึ่งคู่สัญญาได้อ่านข้อความ ในสัญญานี้เข้าใจดีแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน (๙) ข้อบังคับตามสัญญา (๑๐) ระบุเขตอำนาจศาลที่จะฟ้องหรือ ลงชื่อ.............................................................. ผู้กู้(๑๒) อนุญาโตตุลาการก็ได้ ( นายกรุณา การุณ ) (๑๑)ระบุทำสัญญากี่ฉบับ ลงชื่อ................................................................ผู้ให้กู้(๑๒) (๑๒)ลงชื่อคู่สัญญา ( นายขจรศักดิ์ จันทร์ดี ) (๑๓)พยานรับรองการทำสัญญาลงชื่อ................................................................พยาน(๑๓) ลงชื่อ................................................................พยาน (2/43)
(๑๔) (๑๔) อากรแสตมป์ อากรแสตมป์ (๑๕) เอกสารแนบท้าย(ไม่มี) (2/44)
แสดงเปรียบเทียบการร่างสัญญากับการร่างฟ้องแสดงเปรียบเทียบการร่างสัญญากับการร่างฟ้อง 1.ชื่อสัญญา 1.ชื่อเรื่องที่ฟ้อง (จะอยู่ตรงช่องก่อนทุนทรัพย์) 2.สถานที่ทำสัญญา 2. ศาล 3.วันที่ทำสัญญา 3. วันฟ้อง (หรือยื่นฟ้อง) 4.คู่สัญญา ( 2 หรือ 3 คน) 4. ชื่อคู่ความ (โจทก์ – จำเลย) - บุคคลธรรมดา ผู้เยาว์ - บุคคลธรรมดา ผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต ผู้วิกลจริต ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดก - นิติบุคคล (ตัวแทน) - นิติบุคคล (ตัวแทน) ป.พ.พ. ป.พ.พ. พ.ร.บ.กม.มหาชน พ.ร.บ.กม.มหาชน พ.ร.บ.กม. อื่น ๆ พ.ร.บ.กม. อื่น ๆ - ชื่อเรื่องที่ฟ้อง (ข้อหาหรือฐานความผิด) - ทุนทรัพย์ (2/46)
แสดงเปรียบเทียบการร่างสัญญากับการร่างฟ้อง(ต่อ)แสดงเปรียบเทียบการร่างสัญญากับการร่างฟ้อง(ต่อ) 5.รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ 5.รายละเอียดของการบรรยายฟ้อง (เรื่องอะไร) 6. -รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่าย 6. - รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ของแต่ละฝ่าย -วัน เวลา ในการชำระหนี้และการบังคับตามสัญญา - ฐานะของโจทก์ -สถานที่ที่ชำระหนี้หรือบังคับตามสัญญา - ฐานะของจำเลย -รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้- ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลย -เงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ ที่เขียนแตกต่างจากที่กฎหมายกำหนด - ผู้รับผิดร่วม 7. มีอะไรบ้างที่ไม่ปฏิบัติจะผิดสัญญา หรือผิดสัญญาข้อใด 7. ข้อโต้แย้ง ข้อหนึ่ง ถือว่าผิดสัญญาทุกข้อ 8. ค่าเสียหาย 8. ค่าเสียหาย 9. ข้อบังคับตามสัญญา 9. คำขอบังคับ 10.จะระบุเขตอำนาจศาลที่จะฟ้อง และอนุญาโตตุลาการก็ได้ 10.ศาลที่จะฟ้อง ดูตาม ป.วิ.แพ่ง (2/47)
แสดงเปรียบเทียบการร่างสัญญากับการร่างฟ้อง(ต่อ)แสดงเปรียบเทียบการร่างสัญญากับการร่างฟ้อง(ต่อ) 11.ระบุทำสัญญากี่ฉบับ 11.ระบุทำสำเนาคำฟ้องมาด้วยกี่ฉบับ 12.ลงชื่อคู่สัญญา 12.ลงชื่อโจทก์ 13.พยานรับรองการทำสัญญา 13.หรือทนายโจทก์ 14.เอกสารแนบท้ายสัญญา 14.เอกสารแนบท้ายฟ้อง 15.อากรแสตมป์ 15.เสียค่าฤชาธรรมเนียม (2/48)