230 likes | 463 Views
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัท อัญ มณีและเครื่องประดับ ไทย : กรณีศึกษา บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน). ดร.เณศรา สุขพานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ nessara@econ.tu.ac.th. ความสำคัญของงานศึกษา.
E N D
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ดร.เณศรา สุขพานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ nessara@econ.tu.ac.th
ความสำคัญของงานศึกษา • FDI ของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นมาก (Outward FDI stock เพิ่มขึ้นจาก 159 พันล้าน USD ในปี ค.ศ. 1991 เป็น 2,288 พันล้าน USD ในปี ค.ศ. 2007) • ลักษณะการลงทุน แรงจูงใจในการลงทุน และผลกระทบจากการไปลงทุนแตกต่างจากกรณี MNEs จากประเทศพัฒนาแล้วหรือไม่ • งานศึกษาในอดีตเกี่ยวกับ outward FDI ของไทยกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่อุตสาหกรรม เช่น ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทที่เป็น conglomerate
ทำไมต้องเป็นอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทำไมต้องเป็นอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ • เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ลำดับต้นๆ ให้กับประเทศเสมอมา • การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัทใหญ่ 6 บริษัทในอุตสาหกรรมมีอัตราการเติบโตสูง • ในปี ค.ศ. 2007 มูลค่าเงินลงทุนเท่ากับ 1,366 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2006 64%)
วัตถุประสงค์ของงานศึกษาวัตถุประสงค์ของงานศึกษา • ศึกษาแนวโน้มการลงทุนโดยตรงของบริษัทไทยในต่างประเทศ (ช่วงปี ค.ศ. 1980 – 2007): การลงทุนในภาพรวม จำแนกตามประเทศ (ภูมิภาค) และ จำแนกตามประเภทธุรกิจ • ศึกษาการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทย: กรณีศึกษา บริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (ลักษณะ มูลเหตุจูงใจ และผลกระทบของการลงทุนต่อการดำเนินงานของบริษัทและต่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย)
Theoretical Literature Review • แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับเงื่อนไขการเกิดบรรษัทข้ามชาติ • Dunning’s OLI framework • FSA/CSAs framework ความได้เปรียบเฉพาะของบริษัท (Firm-specific advantages: FSAs) ความได้เปรียบจากประเทศ (Country-specific advantages: CSAs) • Dynamic FSAs/CSAs
Theoretical Literature Review • แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ (กลยุทธ์) การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ • Natural-resource seeking FDI • Market-seeking FDI • Efficiency-seeking FDI • Strategic-asset seeking FDI
Theoretical Literature Review • แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ • ผลกระทบระดับหน่วยผลิต: ผลการดำเนินงานของบริษัท (เช่น ความสามารถในการทำกำไร) การผลิต การจ้างงาน และศักยภาพการแข่งขัน ของบริษัท • ผลกระทบระดับมหภาค: ผลกระทบระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศในภาพรวม
Empirical Literature Review • งานศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ • งานศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระดับของการเป็นบรรษัทข้ามชาติ และผลการดำเนินงานของบริษัท • งานศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของ MNEs ไทย เช่น Wee (2007), Pananond (2007a) และ Pananond (2007b) เป็นต้น
วิธีการศึกษา • ภาพรวมการลงทุนชองบริษัทไทยในต่างประเทศ: ข้อมูลทุติยภูมิ • การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัทแพรนด้า: ข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิ
ภาพรวมการลงทุนของบริษัทไทยในต่างประเทศภาพรวมการลงทุนของบริษัทไทยในต่างประเทศ Outward FDI Flow (millions of US dollars), inflow and outflow
การลงทุนโดยตรงของบริษัทอัญมณีและเครื่องประดับไทยรายใหญ่ 6 บริษัท การลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของบริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) • แพรนด้าก่อตั้งในปี 1973 • จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 1990 • ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 410 ล้านบาท • เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องประดับแท้เป็นหลัก และเป็นผู้นำด้านการส่งออกเครื่องประดับอัญมณีของไทย
FSAs ของแพรนด้า • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ • การพ้ฒนาตราสินค้า • การวิจัยและพัฒนา • การบริหารจัดการ โดยเฉพาะการกระจายความเสี่ยงด้านการผลิตและการจัดจำหน่าย • มี 7 โรงงานใน 4 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และจีน • ยอดขายจาก อมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย ประมาณร้อยละ 40, 30, 30 ตามลำดับ • การจัดหาวัตถุดิบ
ลักษณะและพฤติกรรมการลงทุนโดยตรงลักษณะและพฤติกรรมการลงทุนโดยตรง • เริ่มจากการขยายการจัดจำหน่ายไปยัง สหรัฐอเมริกา (1992) ฝรั่งเศส (1992) อังกฤษ (1994) • เริ่มขยายฐานการผลิตและจัดจำหน่ายไปยังประเทศ เวียดนาม (1995) อินโดนีเซีย (1995) จีน (2003) • ขยายฐานการจำหน่ายไปยังเยอรมนี (2005) และอินเดีย (2007)
การวัดผลการดำเนินงาน • ROA = (กำไรสุทธิของบริษัทย่อย/สินทรัพย์รวมของบริษัทย่อย) * 100
ผลกระทบต่อการผลิต การจ้างงาน และศักยภาพการแข่งขันของแพรนด้า และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย
ผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงานผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงาน • การลงทุนในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตและจัดจำหน่าย • การย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปเวียดนามอาจทำให้การผลิตสินค้าในไทยและการจ้างงานในไทยลดลงบ้าง (หากปัจจัยอื่นคงที่) • การขยายฐานการผลิตไปอินโดนีเซียและจีน มีวัตถุประสงค์ด้านการขยายตลาดเป็นหลัก จึงไม่น่าจะทำให้การผลิตและการจ้างงานในไทยเปลี่ยนแปลงมากนัก ยกเว้นว่าไทยอาจจะมีการผลิตสินค้าที่ใช้ฝีมือมากมากขึ้น
ผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงานผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงาน • การลงทุนในประเทศที่เป็นแหล่งจัดจำหน่ายเพียงอย่างเดียว • น่าจะทำให้การผลิตและการจ้างงานในไทยเพิ่มขึ้น • ผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทานได้รับผลกระทบทางบวกทั้งในด้านการผลิตและการจ้างงาน • โดยรวมน่าจะเป็นผลดีต่อผู้ผลิตเครื่องประดับรายอื่น
ผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขัน • การลงทุนในประเทศที่เป็นแหล่งผลิตและจัดจำหน่าย • ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น • อาจเกิดการแบ่งงานในลักษณะที่ในไทยทำเครื่องประดับที่ละเอียดประณีต (ใช้ แรงงานมีฝีมือมาก)รวมถึงดูแลเรื่องการออกแบบ ในขณะที่ต่างประเทศทำงานที่ซับซ้อนน้อยกว่า(ใช้แรงงานที่มีฝีมือไม่มากนัก) • กดดันให้แรงงานไทยพัฒนาฝีมือ เกิดผลกระทบภายนอกเชิงบวกกับผู้ผลิตเครื่องประดับรายอื่น
ผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขัน • การลงทุนในประเทศที่เป็นแหล่งจัดจำหน่ายเพียงอย่างเดียว • สินค้าจากไทยอาจได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น • เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน • เกิดผลกระทบภายนอกเชิงบวกกับผู้ผลิตเครื่องประดับรายอื่น