E N D
Chapter 8 ความรู้ในการทำงานและปัญญาประดิษฐ์
บทนำ ในบทนี้จะกล่าวถึงระบบสารสนเทศที่ประยุกต์สำหรับด้านการออกแบบเพื่อช่วยให้องค์การสามารถ สร้าง รวบรวม และกระจายความรู้และข่าวสารโดยเฉพาะ ในขั้นต้นจะกล่าวถึงระบบสารสนเทศสำหรับการสนับสนุนข่าวสาร และความรู้ที่นำมาใช้งาน จากนั้นจะกล่าวถึงวิธีการที่องค์กรนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มารวบรวมและจัดเก็บความรู้ในองค์กร
หัวข้อการเรียนรู้ • การบริหารความรู้ในองค์กร • ข่าวสารและระบบงานภูมิปัญญา • ปัญญาประดิษฐ์ • เทคนิคความฉลาดอื่น ๆ
การบริหารความรู้ในองค์กรการบริหารความรู้ในองค์กร การเพิ่มพูนความรู้ให้แก่องค์กรก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากคนคือ องค์การจะสร้างและรวบรวมความรู้ผ่านกลไกในการเรียนรู้ขององค์กรที่มีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ กระบวนการลองผิดลองถูก การวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และการวิเคราะห์การตอบสนองจากลูกค้าและสิ่งแวดล้อมทั่วไป ซึ่งองค์กรสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงานกระบวนการทางธุรกิจซึ่งจะเป็นภาพสะท้อนที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ขององค์กร กระบวนการทั้งหมดนี้เรียกว่า การเรียนรู้ขององค์กร องค์กรที่สามารถเรียนรู้หรือรับทราบและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วจะสามารถอยู่รอดได้ยาวนานกว่าองค์กรที่ไม่มีกลไกในการเรียนรู้ที่ดี
การบริหารความรู้ในองค์กรการบริหารความรู้ในองค์กร การบริหารความรู้ (Knowledge management) หมายถึง กระบวนการที่องค์กรพัฒนาขึ้นมาเพื่อนำมา สร้าง รวบรวม เก็บรักษา บำรุงรักษา และเผยแพร่ ความรู้ขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารความรู้ในฐานะเป็นเครื่องมือให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ความรับผิดชอบหลักในการบริหารงานจึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาขั้นตอนการ ปฏิบัติของกระบวนการทางธุรกิจ การ ผลิต รวมทั้งการเรียนรู้ การป้องกัน และ การใช้ความรู้ร่วมกันภายในองค์กรอย่าง มีประสิทธิภาพ
ระบบงาน และโครงสร้างภายในองค์กรสำหรับการบริหารความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศบางระบบได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือการเรียนรู้และการบริหารองค์กรเป็นการเฉพาะ ระบบงานสำหนักงาน ระบบงานภูมิปัญญา (Knowledge work system : KWS) ระบบการประสานงานกลุ่มผู้ใช้ และงานประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ มีประโยชน์อย่างมากต่อการบริหารความรู้เนื่องจากเป็นระบบที่เน้นการสนับสนุนข่าวสารและงานที่ต้องใช้ความรู้ และช่วยในการกำหนดและเก็บรวบรมฐานความรู้ขององค์กร
ระบบงาน และโครงสร้างภายในองค์กรสำหรับการบริหารความรู้ อันได้แก่ 1. ความรู้ภายในองค์กรที่มีการจัดโครงสร้างที่ดี เช่น คู่มือการใช้สินค้า หรือรายงานการวิจัย 2. ความรู้จากภายนอกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่ง สินค้า ตลาด รวมทั้งข่าวสารการแข่งขันทางการค้า 3. ความรู้ภายในองค์กรที่ไมมีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) คือความรู้ในการปฏิบัติงานที่พนักงานทราบดีแต่ไม่มีการเขียนไว้เป็นเอกสาร
ระบบงาน และโครงสร้างภายในองค์กรสำหรับการบริหารความรู้ องค์กรสามารถใช้ระบบสารสนเทศในการจัดการกิจปฏิบัติที่เหมาะสม และนำความรู้ของกิจปฏิบัติเหล่านี้ไปเผยแพร่อย่างกว้างขวางต่อพนักงาน กิจปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) คือหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับองค์กรหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ นอกเหนือจากการปรับปรุงการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้ว
IT Infrastructure for Knowledge Management OfficeSystems - Word Processing - Desktop Publishing - Imaging andWeb Publishing - Electronic Calendars - Desktop Databases ShareKnowledge DistributeKnowledge GroupCollaborationSystem - Groupware - Intranets Knowledge Work Systems - CAD - Virtual Reality - Investment Workstations Artificial Intelligence Systems - Expert Systems - Neural Nets - Intelligent Agents - Genetic - Algorithms - Fuzzy Logic Capture andCodify Knowledge Create Knowledge Databases Software Networks Processors Internet Tools
ระบบงานภูมิปัญญา และผลผลิต ในการดำเนินธุรกิจที่พึ่งพาระบบสารสนเทศผลผลิตขององค์กรขึ้นอยู่กับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของข่าวสารและบุคลากรหัวกะทิผลที่เกิดขึ้นคือองค์กรสามารถลงทุนขนาดใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานด้านข่าวสารองค์การ เทคโนโลยีข่าวสารในปัจจุบันมีส่วนประกอบมากถึง 40% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดขององค์กรในการ ลงทุนขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา การ ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่วน ใหญ่เกิดขึ้นในส่วนของสำนักงานและ ส่วนการให้บริการซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรม ที่ใช้ความรู้สูงทั้งสิ้น
ระบบงานภูมิปัญญา และผลผลิต ผลผลิตคือสิ่งที่นำมาใช้วัดประสิทธิภาพขององค์กรในการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นสินค้า ผลผลิตยังนำไปใช้อ้างอิงในเรื่องการใช้งบประมาณและแรงงานในการผลิตสินค้าแต่ละหน่วย การศึกษาบางส่วนได้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อบุคลากรประจำสำนักงานไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตองค์กร มาตรการในการลดขนาดขององค์กรและการลดค่าใช้จ่ายได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานแต่ก็ยังไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ในอุตสาหกรรมสารสนเทศหรืออุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้สูงควรที่จะวัดผลผลิตด้านการนับจำนวนแบบฟอร์มของงานที่ทำเสร็จต่อจำนวนพนักงาน ซึ่งเป็นการวัดผลผลิตทางกายภาพ
ข่าวสาร และระบบงานภูมิปัญญา งานข่าวสาร (Information Work) หมายถึง งานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและประมวลผลข่าวสาร ซึ่งกระทำโดยพนักงานข่าวสารที่แบ่งออกเป็นสองจำพวก คือ พนักงานป้อนข้อมูล (Data Worker) ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลและแจกจ่ายข่าวสาร และบุคลากรหัวกะทิ (Knowledge Worker) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างความรู้และข่าวสารให้แก่องค์กร
การกระจายความรู้ : ระบบบริหารงานสำนักงานและเอกสาร งานเอกสาร และงานความรู้เกิดขึ้นในสำนักงานเป็นส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งงานของผู้บริหารด้วยสำนักงานจึงมีบทบาทที่สำคัญในการประสานการไหลเวียนของข่าวสารตลอดทั้งองค์กร
การกระจายความรู้ : ระบบบริหารงานสำนักงานและเอกสาร • หน้าที่หลักสามประการของสำนักงาน คือ • บริหารงาน และประสานงานให้แก่พนักงานป้อนข้อมูลและบุคลากรหัวกะทิ • เชื่อมโยงงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ข่าวสาร ณ สำนักงานนั้นเข้ากับส่วนอื่นทั่วทั้งองค์กร • เชื่อมโยงองค์กรเข้ากับโลกภายนอก ได้แก่ ลูกค้า บริษัทคู่ค้า เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ตรวจสอบภายนอกองค์กร
การกระจายความรู้ : ระบบบริหารงานสำนักงานและเอกสาร THE ORGANIZATION Customers Government Suppliers Auditors Manufacturingand Production Finance Marketingand Sales Human Resources
การบริหารจัดการข้อมูลการบริหารจัดการข้อมูล วิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ลดปัญหาการไหลเวียนของเอกสารดังกล่าวคือการใช้ ระบบรูปถ่ายเอกสาร (Document imaging system) ซึ่งจะทำการเปลี่ยนเอกสารที่พิมพ์อยู่บนกระดาษให้กลายเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย ระบบรูปถ่ายเอกสารจะมีการจัดเก็บดรรชนีเพื่อให้ผู้สามารถค้นหาและเรียกใช้เอกสารที่ต้องการได้เมื่อมีความต้องการ การจะทำให้ระบบรูปถ่ายเอกสารประกอบความสำเร็จตามที่คาดหวัง องค์กรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เหมาะสมในอดีต
ประเภทของระบบสำนักงานประเภทของระบบสำนักงาน
การสร้างองค์ความรู้ : ระบบงานภูมิปัญญา งานภูมิปัญญา (Knowledge Work) เป็นส่วนหนึ่งของงานข่าวสาร (Information Work) ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสร้างความรู้และข่าวสารใหม่ ๆ งานภูมิปัญญาจะจัดการแบ่งความรู้ใหม่นั้นออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนจะประกอบด้วย ระบบงานภูมิปัญญาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนับสนุนบุคลากรในด้านนั้น ๆ บุคลากรหัวกะทิมีความรับผิดชอบสามบทบาทที่มีความสำคัญต่อองค์กรและต่อผู้บริหารเป็นอย่างยิ่งคือ
การสร้างองค์ความรู้ : ระบบงานภูมิปัญญา บทบาทของบุคลากรหัวกระทิ 1. ช่วยให้องค์กรมีความรู้ทันสมัย ทราบถึงเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ สังคมนิยม และศิลปะที่มีใช้ทั่วไป 2. ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาภายในองค์กรในด้านที่มีความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความเป็นไปได้ 3. ทำตัวเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่ทำการประเมินค่า กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
ความต้องการสำหรับระบบงานภูมิปัญญาความต้องการสำหรับระบบงานภูมิปัญญา ระบบงานภูมิปัญญามีคุณลักษณะที่สะท้อนให้เห็นความต้องการเฉพาะด้านของบุคลากรหัวกะทิ ประการแรก ระบบงานภูมิปัญญาจะต้องสนับสนุนบุคลากรหัวกะทิด้วยเครื่องมือซอฟต์แวร์พิเศษ ระบบงานนี้ต้องการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูงเพื่อตอบสนองการใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ที่สลับซับซ้อน
ตัวอย่างระบบงานภูมิปัญญาตัวอย่างระบบงานภูมิปัญญา งานที่ต้องการใช้ความรู้อย่างมาก ได้แก่ ระบบช่วยในการออกแบบหรือ CAD ระบบการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงสำหรับระบบจำลองแบบ และระบบงานการเงิน ระบบช่วยในการออกแบบ (Computer-aided Design : CAD) ช่วยการวาดรูปแบบโครงสร้างและการแก้ไขรูปโครงสร้างฯ เป็นไปได้อย่างอัตโนมัติโดยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขีดความสามารถสูงและซอฟต์แวร์กราฟิกที่สลับซับซ้อน ความสามารถของซอฟต์แวร์ CAD จึงช่วยให้องค์กรประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย และเวลาได้เป็นอย่างมากในการสร้างผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
ตัวอย่างระบบภูมิปัญญาตัวอย่างระบบภูมิปัญญา
กรุ๊ปแวร์ กรุ๊ปแวร์ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญสามอย่างคือ 1. การสื่อสาร (Communication) 2. การร่วมมือ (Collaboration) และ 3. ความพร้อมเพรียง (Coordination) ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกในกลุ่มสามารถใช้งาน เกสาร การจัดตารางนัดหมาย แบบฟอร์มข้อมูล การใช้ Directoryร่วมกัน และการใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้
ระบบอินทราเน็ตและสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กรระบบอินทราเน็ตและสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กร ระบบอินทราเน็ตได้กลายเป็นระบบพื้นฐานให้กับภูมิปัญญาองค์กรซึ่งข่าวสารจำนวนมากจากแหล่งและสื่อต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้ง ข้อความ เสียง วีดิทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลอื่น ๆ สามารถนำมาใช้ร่วมกัน เก็บรักษา และเผยแพร่ไปได้ทั่วทั้งองค์กรผ่านส่วนติดต่อผู้ใช้มาตรฐาน
ความสามารถในการจัดการภูมิปัญญาของกรุ๊ปแวร์ความสามารถในการจัดการภูมิปัญญาของกรุ๊ปแวร์
ระบบอินทราเน็ตและสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กรระบบอินทราเน็ตและสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กร ช่วยในการนำทางให้พนักงานองค์กรสามารถค้นหาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมประยุกต์ระบบข่าวสาร ช่วยในการอธิบายความหมายของข้อมูล และแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงระห่างข่าวสารและภูมิปัญญาทั้งหมด ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงกับแหล่งความรู้ภายนอกองค์กร
ตัวอย่างสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กรตัวอย่างสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กร
ระบบอินทราเน็ตและสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กรระบบอินทราเน็ตและสิ่งแวดล้อมภายในระบบภูมิปัญญาองค์กร การใช้งานร่วมกันผ่านเทคโนโลยีระบบอินทราเน็ตมีความเหมาะสมมากที่สุดกับงานชนิดที่มีการเก็บข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง มีจำนวนคนเข้ามาใช้ข้อมูลบ้างเป็นครั้งคราว และข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงน้อย อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์สำหรับระบบอินทราเน็ตในปัจจุบันได้พัฒนาให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นด้วยการเพิ่มเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันอย่างเช่น อีเมล์ การสนทนาอิเล็กทรอนิกส์ การจัดตารางนัดหมาย ปฏิทินอิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ปัญญาประดิษฐ์ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) คือความพยายามในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ ระบบดังกล่าวจะต้องมีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ ทำงานที่ต้องใช้การประสานงานระหว่างส่วนต่าง ๆ (โรโบติก-robotics) ใช้อุปกรณ์ที่สามารถรับทราบและตอบสนองด้วยพฤติกรรมและภาษา (ระบบการมองและการออกเสียง) การเลียนแบบความเชี่ยวชาญและการตัดสินใจของมนุษย์ (ระบบผู้เชี่ยวชาญ) ระบบดังกล่าวยังจะต้องแสดงความสามารถทางตรรกะ การใช้เหตุผล สัญชาตญาณ และการใช้หลักการสมเหตุสมผล (common sense) ที่มีคุณภาพในระดับเดียวกับมนุษย์
องค์ประกอบของปัญญาประดิษฐ์องค์ประกอบของปัญญาประดิษฐ์ ความชาญฉลาดของมนุษย์มีความซับซ้อน และกว้างขวางกว่าความชาญฉลาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบที่แยกความแตกต่างของมนุษย์ ออกจากสัตว์ชนิดอื่นๆ คือ ความสามารถในการพัฒนาความเกี่ยวข้อง และการใช้ตัวแทนความรู้ และการเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการสร้างความรู้ใหม่ๆ กฎเกณฑ์ใหม่ ความชาญฉลาดของมนุษย์ยังรวมไปถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส ในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ
ปัญญาประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์ สามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของเป้าหมาย ได้แก่ 1. ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ : ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้...เครื่องจักที่มีสติปัญญาอย่างครบถ้วนและแท้จริง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ ได้แก่ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ 2.ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ : วิชาของการสร้างเครื่องจักรทีทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญา และการศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น
ปัญญาประดิษฐ์ 3. ระบบที่คิดอย่างมีปัญญา : การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ และการศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ 4. ระบบที่กระทำอย่างมีปัญญา : ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกแบบเอเจนต์ ที่มีปัญญา และ AI เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดง ปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ความแตกต่างระหว่าง AI กับระบบสารสนเทศปกติ
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ในเชิงธุรกิจประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ในเชิงธุรกิจ 1. ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในลักษณะคล้ายกับเป็นหน่วยบันทึกความจำของขององค์กร กลายเป็นฐานความรู้องค์กร ที่พนักงานสามารถเข้าสืบค้น และหาคำปรึกษาได้ทุกเวลา 2. ระบบฯ จะช่วยสร้างกลไกที่ไม่นำความรู้สึก ความเหนื่อยล้า หรือความกังวล เข้ามาเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะมีประโยชน์เป็นอย่างมากกับงานประเภทที่อันตรายต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ด้านร่างกาย หรือด้านจิตใจ ก็ตาม ระบบฯ นี้ยังอาจทำหน้าที่ให้คำปรึกษาที่มีประโยชน์ในช่วงเวลาคับขันได้
ประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ในเชิงธุรกิจประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ในเชิงธุรกิจ 3. ระบบฯ จะถูกนำมาทำงานในส่วนที่เป็นงานจำเป็น หรือเป็นงานที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับมนุษย์ 4. ระบบฯ จะช่วยเพิ่มความสามารถใน ฐานความรู้ขององค์กร ด้วยการเสนอวิธีแก้ปัญหา สำหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งมีปริมาณมากหรือ มี ความซับซ้อนมากเกินไปสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อต้องการทำงานนั้นให้สำเร็จภายใน ระยะเวลาอันสั้น
ปัญญาประดิษฐ์ ในระบบธุรกิจ 1. fuzzy logic คลุมเครือ บอกไม่ได้ชัดเจน เช่นอุปกรณ์ที่ไปใช้ในเครื่องซักผ้า (ชนิดผ้า)การพัฒนางาน ด้านปัญญาประดิษฐ์ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎพื้นฐาน มีความสามารถทำงาน ข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องมีค่าเที่ยงตรงเสมอ และอาจนำไปใช้ แก้ปัญหาที่มนุษย์ ไม่ สามารถแก้ไข ได้มาก่อน ประกอบด้วย นิยามและเทคนิคต่าง ๆ สำหรับใช้เป็น รูปแบบแทนความรู้ และการอ้างอิง ถ้า ความรู้ที่มีค่า ไม่เที่ยงตรง (Imprecise) ไม่แน่นอน (Uncertain) และไม่สามารถ เชื่อถือได้ unreliable
ปัญญาประดิษฐ์ ในระบบธุรกิจ 2. Genetic Algorithms การปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรมของยีนส์ หมายถึง วิธีการแก้ปัญหาที่ใช้แนวทางเดียวกับ วิธีการที่ สิ่งมีชีวิตปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือวิวัฒนาการ (evolution) วิธีการที่ถูกโปรแกรมให้ทำการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงส่วนประกอบ ของระบบโดยการสร้างขึ้นมาใหม่ การ ดัดแปลงและการคัดสรรวิธีธรรมชาติใช้ Function คณิตศาสตร์ให้เกิดโปรแกรม ใหม่ๆ มาใช้งาน (ประโยชน์แก้ปัญหา ออกแบบสินค้า ตรวจสอบระบบการทำงาน ต่าง ๆ)
ปัญญาประดิษฐ์ ในระบบธุรกิจ 3. ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI system) ระบบเจนเนติกอัลกอริทึม ฟัสซีโลจิก ระบบเครือข่ายนิวรอน ละระบบผู้เชี่ยวชาญสามารถนำมาบูรณาการ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว เพื่อจะได้เลือกใช้แต่ส่วนที่ดีที่สุด ของเทคโนโลยีแต่ละอย่าง ระบบดังกล่าวเรียกว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ แบบ ผสมผสาน (Hybrid AI System) ซึ่งกำลัง ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในงานทางธุรกิจ ปัจจุบัน
บทสรุปสำหรับผู้บริหารบทสรุปสำหรับผู้บริหาร การยกระดับความรู้ และการบริหารความรู้ได้กลายเป็นความรับผิดชอบหลักสำหรับการบริหารงานในองค์กร ผู้บริหารจะต้องสามารถกำหนดทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรและทำให้ระบบงานและกระบวนการทำงานทั้งหมดสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
บทสรุปสำหรับผู้บริหารบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ระบบงานสำหรับงานภูมิปัญญาและงานสารสนเทศและงานปัญญาประดิษฐ์สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานได้ในหลายรูปแบบ ระบบงานสามารถใช้ประโยชน์จากการสื่อสาร การร่วมมือกันทำงาน และการประสานงานกัน เช่น การนำวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาใช้ในระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือลดบทบาทของบุคลากรในการประมวลผลให้น้อยลงกว่าเดิม
บทสรุปสำหรับผู้บริหารบทสรุปสำหรับผู้บริหาร เทคโนโลยีจำนวนมากสามารถนำมาใช้สนับสนุนการบริหารภูมิปัญญา รวมทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเครื่องมือซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารงานกลุ่มอย่างกรุ๊ปแวร์ ผู้บริหารควรทำความเข้าใจในเรื่องมูลค่าการลงทุน ผลประโยชน์ และขีด ความสามารถของเทคโนโลยีแต่ ละแบบ เพื่อนำมาใช้กับการ แก้ปัญหาในการบริหารภูมิปัญญา ได้อย่างเหมาะสม
คำถามท้ายบท • การบริหารภูมิปัญญาถูกนำมาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ขององค์กรได้อย่างไร • อธิบายความแตกต่างระหว่างปัญญาประดิษฐ์ และความชาญฉลาดของมนุษย์ • จงอธิบายประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์ในเชิงธุรกิจมาพอสังเขป