220 likes | 402 Views
การจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุง. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนความสำเร็จขององค์กรต้นแบบตามระยะเวลาที่กำหนดในโครงการของจังหวัด คัดเลือกองค์กรต้นแบบมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( พ.ย ) จัดตลาดนัดความรู้รวมพลคนลดพุง ( ก.พ ). เป้าหมายของการจัดการความรู้.
E N D
การจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุงการจัดการการความรู้ในโครงการคนไทยไร้พุง • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนความสำเร็จขององค์กรต้นแบบตามระยะเวลาที่กำหนดในโครงการของจังหวัด • คัดเลือกองค์กรต้นแบบมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( พ.ย ) • จัดตลาดนัดความรู้รวมพลคนลดพุง ( ก.พ )
เป้าหมายของการจัดการความรู้เป้าหมายของการจัดการความรู้ • เพื่อพัฒนางานให้มีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น • เพื่อพัฒนาคนหรือผู้ปฏิบัติงาน • เพื่อพัฒนาฐานความรู้ขององค์การ
แนวคิดเรื่องKM create/leverage access/validate สร้าง/ยกระดับ เข้าถึง/ตีความ ความรู้เด่นชัด Explicit Knowledge ความรู้ซ่อนเร้น Tacit Knowledge นำไปปรับใช้ รวบรวม/จัดเก็บ เรียนรู้ร่วมกัน store capture & learn apply/utilize care & share เรียนรู้/ยกระดับ มีใจ/แบ่งปัน เน้น “2T” Tool & Technology เน้น “2P” Process & People
Explicit Knowledge อธิบายได้ แต่ยังไม่ถูกนำไปบันทึก อธิบายได้ แต่ไม่อยากอธิบาย ( 1 ) อธิบายไม่ได้ ( 2 ) ( 3 ) Tacit Knowledge
การเตรียมกระบวนการ (BAR;Before Action Review ) • ทบทวนเป้าหมาย วัตถุประสงค์ • เตรียม คน ( คนเล่า ผู้ดำเนินการ คนจดบันทึก ) • สถานที่ • วัสดุ อุปกรณ์
การเตรียมคนเล่า • เป็นผู้มีประสบการณ์ในเรื่องที่เล่าด้วยตนเอง ภูมิใจในความสำเร็จที่ตนเองกำลังเล่าและมีจิตใจพร้อมที่จะถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังในฐานะกัลยาณมิตร • ในการเล่าเรื่อง ผู้เล่าควรเตรียมการทบทวนเรื่องราวที่จะเล่ามาเป็นอย่างดี เพื่อถ่ายทอดให้ผู้ฟังได้รับทราบ ได้อย่างที่ตนเองต้องการ ภายในเวลา 3-5 นาที • เรื่องที่จะเล่าให้เลือกเพียงประเด็นเดียวและเล่าสั้นๆ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้อง เล่าตามความเป็นจริง ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องตีความหรือสรุปความ • ในเรื่องเล่า ท่านทำอย่างไรในเรื่องนั้นๆ อะไรคือจุดสำคัญที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ ท่านมีบทบาทในเรื่องนั้นอย่างไร • เรื่องเล่าถือเป็นข้อมูลดิบ สำหรับให้สมาชิกกลุ่มผลัดกันตีความ และสรุป เพื่อดึงความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่านั้น
การทบทวนระหว่างปฎิบัติการ ( DAR; During Action Review) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เสริมพลังผู้เล่า ช่วยกันสกัดหรือถอดความรู้อย่างชื่นชมและสร้างสรรค์
ทบทวนหลังปฎิบัติการ (AAR;After Action Review) • AAR เป็นการเรียนรู้สรุปบทเรียนจากประสบการณ์หลังเสร็จงาน • AAR อาจใช้ในการทำงานเป็นชิ้นๆ สั้นๆ หรือ ใช้ในการตรวจสอบการเรียนรู้และนำไปใช้ปรับปรุงงานเป็นระยะๆ ก็ได้ และใช้สรุปบทเรียนเมื่องานชิ้นนั้นเสร็จสิ้นได้ด้วย • คำถามหลักในการทำ AAR ได้แก่ • ท่านคาดหวังอย่างไรก่อนมาประชุมครั้งนี้ • เป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่ อะไรที่ได้มากกว่า และอะไรที่ได้น้อยกว่า • จะนำสิ่งที่ได้ไปทำอะไรต่อ
การถอดบทเรียน การถอดบทเรียน หมายถึง วิธีการจัดการความรู้รูปแบบหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นความรู้จากการปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการสกัดความรู้และประสบการณ์ที่ฝังลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ร่วมปฏิบัติงานและบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ทั้งที่สำเร็จหรือล้มเหลวจากการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และสามารถเผยแพร่ ศึกษาเรียนรู้ได้ เน้นการพูดคุย สัมภาษณ์ เล่าเรื่อง สังเคราะห์ จับประเด็น ให้ได้ กระบวนการวิธีดำเนินงาน ในเชิงบทเรียนหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ไม่เน้นรูปแบบวิธีการวิจัย
ถอดบทเรียนด้วยเทคนิค “เล่าเรื่อง” (Story Technique) คนเล่าเรื่องที่ดี • ค้นพบประเด็นหลัก • จัดระบบความคิด • นำเสนอหลักฐานเพื่อยืนยันความคิด • ฟังสถานการณ์รอบด้าน • ลำดับข้อมูลก่อนการถ่ายทอด • เลือกใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจน
ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นเตรียมการก่อนปฏิบัติการ • เตรียมทีมงาน 2-3 คน หาคนที่มีทักษะสนใจ อยากรู้ อยากทำ แบ่งหน้าที่ คุณอำนวยในทีม เดินเรื่อง พูดคุย จดบันทึก จับประเด็น ซึ่งต้องเข้าใจงานซึ่งกันและกัน • เตรียมอุปกรณ์ สื่อ เทคนิค กล้องถ่ายรูป อื่น ๆ ตามประเด็นที่ต้องการศึกษา • เตรียมกรอบเนื้อหา ประเด็น ศึกษาเนื้อหา พื้นที่ โครงการที่เกี่ยวข้อง • เตรียมกรอบ แนวทางขั้นตอนการศึกษาและกรอบคำถาม เตรียมประเด็นพูดคุย • เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่จะพูดคุย ใครมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือใครคือภาคีพัฒนา • นัดหมายวัน เวลา สถานที่
ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นปฏิบัติการถอดบทเรียน 1. การเริ่มต้น : แนะนำตัว แนะนำวัตถุประสงค์ ความเป็นมา -สร้างบรรยากาศ (เกม หรือ เพลง ละลายพฤติกรรม) -กำหนดกติกา (เป้าหมาย วิธีการถอดบทเรียน หน้าที่ของผู้ร่วมถอดบทเรียน ข้อพึงระวัง) -จัดกิจกรรมอุ่นเครื่อง 2. เปิดประเด็นคำถาม “ผู้รู้เล่า ผู้ศึกษาฟัง/ถาม ผู้รู้เล่า” ผู้จดบันทึกตามรูปแบบ เทคนิค ที่จะใช้สังเกตบรรยากาศ เนื้อหา สาระ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ - เล่าประสบการณ์จากวิธีการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียน - เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดกับวิธีปฏิบัติจริง
ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นประมวลสรุปข้อมูล ทีมงานต้องนำข้อมูลที่ได้จากชุมชนมารวบรวม ทบทวนความถูกต้อง สมบูรณ์ ตรวจสอบ ปรับปรุง เทียบเคียงข้อมูลที่ได้ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน การทำอยู่คนเดียวจะเป็นจุดอ่อนของทีม ทุกคนต้องช่วยเติมเต็มร่วมกัน ขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความ การอธิบายตีความ อะไรที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เบื้องหลังความเป็นมา การแก้ไขปัญหา อุปสรรค วิธีคิดและรูปแบบความเคลื่อนไหวสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ต้องอธิบาย เชื่อมโยง เพื่อสร้างความสมบูรณ์และสร้างคุณค่าให้กับบทเรียน
ขั้นตอนการถอดบทเรียน ขั้นเขียนรายงานการถอดบทเรียน แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ คือ • ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์การถอดบทเรียน • การเตรียมการถอดบทเรียน (เล่าขั้นตอน รายละเอียด วิธีการ ทีมงาน บทบาทหน้าที่ กรอบแนวคิด เทคนิค ปฏิทิน กลุ่มเป้าหมาย) • เนื้อเรื่องการดำเนินการถอดบทเรียน - วิธีการปฏิบัติงานของผู้ร่วมถอดบทเรียน - วิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดในแผนปฏิบัติงาน - เปรียบเทียบความแตกต่าง - สิ่งที่ทำได้ดีจากการปฏิบัติงาน สาเหตุที่ทำได้ดี -ข้อเสนอแนะวิธีปฏิบัติงานต่อไปให้ดีขึ้น -ปัญหาอุปสรรค -วิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรค -ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ตัวอย่างโครงสร้างการเขียนตัวอย่างโครงสร้างการเขียน • บริบทพื้นที่ • การดำเนินโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน - เบื้องหลังความคิด - แรงบันดาลใจที่ทำ • เทคนิค วิธีการ ลูกเล่น กลเม็ด ในการดำเนินงาน • ผลที่เกิดขึ้นในเชิงความสำเร็จและปัญหาอุปสรรครวมทั้งการแก้ไข • วิเคราะห์เงื่อนไข ปัจจัยสู่ความสำเร็จทั้งภายในและภายนอก • สังเคราะห์ สรุป - ความสำคัญขององค์ความรู้ที่ถอดบทเรียนรู้ที่ได้ - สิ่งที่มีคุณค่า สำหรับตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมโดยรวม - ทางเลือก ทางออกในการแก้ปัญหาชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างไร • คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ
ภาษิต คำคม KM • Knowledge resides in the users and not in the collection.ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้(Y. Maholtra) • KM is a Journey, not a destination. การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai) • A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle. ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ(Kahlil Gibran)
ภาษิต คำคม KM • Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private. ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล • Knowledge is not what you know, but is what you do. ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ • Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather interactions between people. การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน