160 likes | 498 Views
เครือข่าย ISDN. ISDN ( Integrated Service Digital Network). ประกาย นาดี ศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เนื้อหาที่จะบรรยาย …………… . หลักการของเครือข่าย ISDN ช่องทางการสื่อสาร ISDN ประเภทของบริการ ISDN การเชื่อมต่อเครือข่าย ISDN.
E N D
เครือข่าย ISDN ISDN (Integrated Service Digital Network) ประกาย นาดีศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื้อหาที่จะบรรยาย ……………. • หลักการของเครือข่าย ISDN • ช่องทางการสื่อสาร ISDN • ประเภทของบริการ ISDN • การเชื่อมต่อเครือข่าย ISDN
หลักการของเครือข่าย ISDN ISDN (Integrated Services Digital Network) ได้รับการพัฒนาโดย ITU ในปี 1976 เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสื่อสารระบบใหม่ เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง ที่รวมการให้บริการสื่อสารที่มีอยู่เดิมทั้งสองส่วนคือ โครงข่ายโทรศัพท์แบบดิจิตอลและโครงข่ายการสื่อสารข้อมูล เช่น โทรศัพท์โทรสาร เทเล็กซ์ คอมพิวเตอร์ดาต้าเทอร์มินอลที่ใช้ติดต่อกับเมนเฟรม เทเลเท็กซ์ วีดีโอเท็กซ์วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นต้น ทั้งหมดสามารถใช้งานร่วมกันในโครงข่ายใหม่นี้ได้ และทำงานอยู่บนโครงข่ายสายโทรศัพท์ที่มีอยู่เดิม Packet Switch:Circuit Switch ISDNOffice
หลักการของเครือข่าย ISDN สรุปวัตถุประสงค์ของการสร้างเครือข่าย ISDNคือ • เพื่อให้บริการการสื่อสารข่าวสารทุกประเภทอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล โดยยึดมาตร-ฐานการให้บริการทางโทรศัพท์และโทรคมนาคมขององค์กร CCITT • สนับสนุนการติดต่อสื่อสารแบบเก่าทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านระบบสวิตชิ่ง • ในเครือข่าย ISDN จะต้องมีรายละเอียดข้อมูลเพื่อบอกลักษณะการบริการการบำรุงรักษาและหน้าที่การจัดดำเนินการของเครือข่าย • โพรโตคอลสำหรับการสื่อสารในแต่ละเลเยอร์ของแบบจำลอง OSI จะต้องใช้โพรโตคอลเฉพาะสำหรับการติดต่อกับเครือข่าย ISDN ส่วนการติดต่อจากผู้ใช้กับเครือข่ายขึ้นอยู่กับชนิดของการบริการและข้อกำหนดของเครือข่าย ISDN ของแต่ละประเทศ โพรโตคอลที่ใช้กับเครือข่าย ISDN ได้แก่ LAP-D และ LAP-B เป็นต้น ส่วนโพรโตคอลในรูปแบบ OSI ที่สามารถใช้ได้ในเครือข่าย ISDN ได้แก่โพรโตคอล X.25 สำหรับการบริการแพ็กเกจสวิตช์ในเครือข่ายISDN
หลักการของเครือข่าย ISDN โดยการบริการที่โครงข่ายนี้มีให้ประกอบด้วย 3 การบริการคือ • Bearer Services เป็นการบริการรับส่งข้อมูล เช่น voice, video และ data ระหว่างผู้ใช้ โดยเครือข่ายไม่กระทำการใดๆ กับข้อมูลเหล่านั้น หรือไม่มี่การแก้ไขส่วนใดๆ ของข้อมูล การทำงานอยู่ในชั้นที่ 1-3 ของแบบจำลอง OSI • Teleservices เครือข่ายอาจจะกระทำหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เคลื่อนที่ผ่าน ทำงานอยู่ในชั้นที่ 4-7 ของแบบจำลอง ISO ตัวอย่างบริการเช่น telephony, teletex, videotext, teleconference เป็นต้น • Supplementary Services เป็นส่วนเพิ่มเติมของ bearer services และ teleservices เช่น บริการคิดค่าบริการปลายทาง บริการโทรกลับ บริการฝากข้อความ
ช่องทางการสื่อสาร ISDN ช่องทางสื่อสาร (Channel) ของท่อดิจิตอลระหว่างสถานีศูนย์กลาง ISDN กับสถานี ISDN ท้องถิ่นที่ใช้สำหรับส่งผ่านข้อมูลชนิดต่างของเครือข่าย ISDN แบ่งออกเป็น 3 ช่องทางคือ • ช่องทาง Bearer(B): ความจุ 64 กิโลบิตต่อวินาที • ช่องทาง Data(D): ความจุ 16 หรือ 64 กิโลบิตต่อวินาที • ช่องทาง Hybrid(H): ความจุ 384,1536 และ 1920 กิโลบิตต่อวินาที
ช่องทางการสื่อสาร ISDN • ช่องทาง Bเป็นช่องทางพื้นฐานทั่วไปสำหรับผู้ใช้บริการเพื่อส่งข่าวสารที่เป็นข้อมูลดิจิตอลสัญญาณเสียงดิจิตอลจาก PCM และมัลติเพล็กซ์ข้อมูลอัตราบิตต่ำซึ่งสามารถส่งออกไปได้พร้อมๆกันการสื่อสารในช่องทาง B มี 3 แบบด้วยกันคือ • แบบเซอร์กิตสวิตช์ • แบบแพ็กเกจสวิตช์โดยผ่านทางเครือข่าย X.25 แพ็กเกจสวิตช์ • แบบกึ่งถาวรเป็นแบบเดียวกับการเช่าสายตรงโดยไม่ต้องการโพรโตคอลสำหรับการยีนยันการติดต่อ
ช่องทางการสื่อสาร ISDN • ช่องทาง Dมีหน้าที่หลัก 2 อย่างคือมีหน้าที่นำข่าวสารไปยังสถานีควบคุมแบบเซอร์กิตสวิตช์เพื่อรวมเข้ากับช่องทาง B ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เฟชของผู้ใช้และใช้กับสถานีแบบแพ็กเกตสวิตช์หรือการส่งสัญญาณอัตราเร็วต่ำ (100 บิตต่อวินาที) ในเวลาที่สัญญาณข่าวสารที่ไม่มีการรอคอย • ช่องทาง Hจะใช้กับสัญญาณข่าวสารอัตราเร็วสูงผู้ใช้อาจจะใช้ช่องทาง H นี้เป็นทรังก์ (Trunk) ความเร็วสูงหรืออาจจะแบ่งช่องทาง H นี้เป็นช่องทางย่อยสำหรับมัลติเพล็กช์สัญญาณแบบ TDM ตัวอย่างการส่งข้อมูลโดยใช้ช่องทาง H ได้แก่เครื่องส่งแฟกช์ความเร็วสูงวีดีโอการส่งสัญญาณข้อมูลความเร็วสูง
ประเภทของบริการ ISDN การบริการของเครือข่าย ISDN มี 2 รูปแบบ คือ • บริการแบบ BRI (Basic Rate Interface = 2B+D) ประกอบด้วยช่องสัญญาณแบบ B ขนาด 64Kbps จำนวน 2 ช่องสัญญาณและช่องสัญญาณแบบ D ขนาด 16 Kbps จำนวน 1 ช่องสัญญาณ รวมความเร็วสูงสุดของช่องสัญญาณคือ 144 Kbps แต่ในขณะทำงาน ส่วนเครือข่ายต้องติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ต้องการความเร็ว 48 Kbps จึงเหลือสำหรับผู้เช่าได้ใช้งานเพียง 192 Kbps สื่อที่ใช้กับบริการแบบ BRI เหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์ระบบธรรมดา ใน 1 คู่สาย BRI นี้ ผู้ใช้บริการสามารถเดินสายภายในเพื่อติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายเดียวกันได้สูงสุด 8 อุปกรณ์และสามารถใช้งานอุปกรณ์พร้อมกันได้ 2 เครื่องพร้อมกัน ความเร็วเครื่องละ 64 Kbps โดยอาศัยช่องสัญญาณ B ที่มีอยู่ในคู่สาย ISDN 2 ช่องสัญญาณ B B D
ประเภทของบริการ ISDN • บริการแบบ PRI (Primary Rate Interface = 23B+D) ประกอบด้วยช่องสัญญาณแบบ B ขนาด 64Kbps จำนวน 23 ช่องสัญญาณและช่องสัญญาณแบบ D ขนาด 64 Kbps จำนวน 1 ช่องสัญญาณ รวมความเร็วสูงสุดของช่องสัญญาณคือ 1.544 Mbps แต่ในขณะทำงาน ส่วนเครือข่ายต้องติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ ต้องการความเร็ว 8 Kbps จึงเหลือสำหรับผู้เช่าได้ใช้งานเพียง 1.536 Mbps สื่อที่ใช้กับบริการแบบ PRI เป็นสายเส้นใยแก้วนำแสง ใน 1 คู่สาย PRI นี้ ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานอุปกรณ์พร้อมกันได้ 23 เครื่องพร้อมกัน ความเร็วเครื่องละ 64 Kbps โดยอาศัยช่องสัญญาณ B ที่มีอยู่ในคู่สาย ISDN 23ช่องสัญญาณ B B B B B B B B B B B B B B B D
TE2 TA TE1 TE2 TA NT1 To ISDN Office NT2 การเชื่อมต่อเครือข่าย ISDN อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อในเครือข่าย ISDN มี 5 ประเภท • Network Terminal 1 (NT1)เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย • Network Terminal 2 (NT2) ขยายช่องการต่ออุปกรณ์ • Terminal Equipment1(TE1)อุปกรณ์ ISDN ที่ต่อกับเครือข่ายโดยตรง • Terminal Equipment 2 (TE2) อุปกรณ์ที่ไม่สามารถต่อกับเครือข่ายได้โดยตรง • Terminal Adapter (TA) แปลงสัญญาณให้อุปกรณ์ TE2 ต่อกับเครือข่ายได้
TE1 TE1 การเชื่อมต่อเครือข่าย ISDN ลักษณะมาตรฐานการเชื่อมต่อในเครือข่าย ISDN มี 4 ประเภท • R Interface (R) • S Interface (S) • T Interface (T) • U Interface (U) R S U NT1 TE2 TA NT1 BRI Interface R S T U NT2 NT1 TE2 TA NT2 NT1 PRI Interface