290 likes | 560 Views
คเณศ สัมพุทธานนท์ บุญชัย กิจสนาโยธิน เพียงหทัย อินกัน. ระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ คืออะไร ???. ทะเบียนราษฎร ( civil registration). สถิติชีพ (Vital Statistics). ระบบทะเบียน ที่บันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญระดับบุคคลของประชากร (vital event) - การเกิด (Live birth)
E N D
คเณศ สัมพุทธานนท์ บุญชัย กิจสนาโยธิน เพียงหทัย อินกัน
ระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ คืออะไร ??? ทะเบียนราษฎร (civil registration) สถิติชีพ (Vital Statistics) ระบบทะเบียนที่บันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญระดับบุคคลของประชากร (vital event) - การเกิด (Live birth) - การตาย (Death), ทารกตาย (Fetal death) - การแต่งงาน - การหย่าร้าง - ทะเบียนอื่นๆที่กฎหมายกำหนด สถิติที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อชีวิตของบุคคล - การเกิด - การเจ็บป่วย - การตาย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความสำคัญของระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพความสำคัญของระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ • ระบบทะเบียนราษฎร เป็นระบบทะเบียนที่บันทึกข้อมูลเหตุการณ์สำคัญระดับบุคคลของประชากร (vital event) การเกิด (Live birth) การตาย (Death) สถานภาพการสมรส(Marriage status) การหย่าร้าง (Divorce) และทะเบียนอื่นๆที่กฎหมายกำหนด • แหล่งข้อมูลระดับประชากร (Population-base) 1)การสำมโนประชากรและครัวเรือนเรือน (Population and housing census) 2) ระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร (civil registration) 3) การสำรวจระดับประชากร (population survey) • ระบบสาธารณสุขมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับทะเบียนราษฎร โดยการนำข้อมูลจากทะเบียนมาวิเคราะห์และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้รหัสสาเหตุการตาย เพื่อประมวลผลเหตุการณ์และจัดทำรายงานสถิติชีพ
วิวัฒนาการของประเทศไทย ของระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ หลังปี 2539 ระบบการวิเคราะห์ และ ออกรายงานสถิติชีพ
สถานระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพของประเทศไทย ??? • ปัจจุบันพบว่าระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพของประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศ มักจะยังไม่มีระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ หรือถ้ามีก็มักจะยังไม่ดีพอ ส่งผลให้มีข้อมูลสถิติที่สำคัญเกี่ยวกับประชากร ภาวะเจริญพันธุ์ และ การตาย ที่ไม่สมบูรณ์ • ประเทศไทยมีสถานการณ์ระบบทะเบียนราษฎรและสถิติ เป็นอย่างไรหรือมีส่วนที่ต้องปรับปรุงอะไรคือจุดแข็ง จุดอ่อนของระบบของประเทศไทย ????
วัตถุประสงค์การประเมินวัตถุประสงค์การประเมิน • เพื่อประเมินสถานการณ์ระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพของประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือการประเมินเบื้องต้น (Rapid assessment CRVS tool) และ Comprehensive assessment • ค้นหาปัญหาและโอกาสของการพัฒนาระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ ของประเทศไทย และจัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพของประเทศ • เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพของประเทศ เพื่อบูรณาการระบบการทำงานร่วมกัน
เครื่องมือสำหรับการประเมินเครื่องมือสำหรับการประเมิน • Phase 1 – Leadership coordination and review • Phase 2 – Priority setting and planning • Phase 3 – Implementation
กระบวนการลงทะเบียน/ความครอบคลุมกระบวนการลงทะเบียน/ความครอบคลุม การออกใบรับรอง/การให้สาเหตุการตาย การให้รหัสการตาย/บุคคลให้รหัส กรอบการประเมินระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ กฎหมาย/ข้อบังคับ ทรัพยากร/โครงสร้าง/หน้าที่ การตรวจสอบข้อมูล การเผยแพร่และใช้ประโยชน์ • Rapid assessment มีจำนวน 25 ข้อ หมวดที่ 1กฎหมายและระเบียบสำหรับระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพ (3 ข้อ) หมวดที่ 2 ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบการลงทะเบียน (3 ข้อ) หมวดที่ 3 องค์กร หน้าที่และการทำงานของระบบสถิติชีพ (2 ข้อ) หมวดที่ 4 ความครอบคลุมของการลงทะเบียนการเกิดและการตาย (2 ข้อ) หมวดที่ 5 การเก็บรวบรวมข้อมูลและกระบวนการส่งต่อข้อมูล (2 ข้อ) หมวดที่ 6 การให้รหัสโรคที่สอดคล้องกับมาตรฐานของรหัส ICD และการออกใบรับรองการตายทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล(2 ข้อ) หมวดที่ 7 กระบวนการทำงานที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย(2 ข้อ) หมวดที่ 8 การปฏิบัติในการให้รหัส ICD (1 ข้อ) หมวดที่ 9 การจัดอบรมและคุณสมบัติของผู้ให้รหัสโรครวมทั้งคุณภาพของการให้รหัส (2 ข้อ) หมวดที่ 10 การตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล (2 ข้อ) หมวดที่ 11 การเข้าถึงข้อมูล การใช้ และการเผยแพร่ข้อมูล (3 ข้อ) INPUT OUTPUT PROCESS
การวัดและประเมินผล ข้อคำถาม (25 ข้อ)................................................................ ตัวเลือกA……. B............ C…… D……
ประชุม core stakeholders ร่วมทำ Rapid Assessment และ Comprehensive Assessment • Core stakeholders สำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันประชากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมวดที่ 1 กรอบที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบสำหรับงานระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ • 1) การบังคับใช้กฎหมาย (3) • 2) ข้อกำหนดสำหรับสถานพยาบาล (3) • 3) กฎหมายระบุสาเหตุการตาย และบุคคลที่ให้สาเหตุการตาย (2) • พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่ม2551 โดยมีการออกเลข 13 หลักให้ทุกคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย ซึ่งเลขรหัสตัวแรกจะแบ่งประเภทของบุคคล • ระบบการรายงานของสถานพยาบาลจะออกใบรับรองและผู้ใช้บริการนำใบรับรองไปแจ้งการลงทะเบียนต่อสำนักทะเบียนราษฎร์ • ข้อกำหนดการตายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ • ตายในโรงพยาบาล --->> แพทย์เป็นผู้ให้สาเหตุการตาย • ตายนอกโรงพยาบาล --->> กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ให้สาเหตุการตาย
หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรสำหรับการลงทะเบียน • 4) สำนักงาน/หน่วยบริการหรือจุดให้บริการทะเบียนราษฎร (3) • 5) อุปกรณ์และทรัพยากร (3) • 6) การฝึกอบรมของนายทะเบียน (3) • จำนวนหน่วยให้บริการมีความครอบคลุมทุกจังหวัดตามการแบ่งระดับการปกครอง • จังหวัด อำเภอ เทศบาล • อุปกรณ์มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ • ทรัพยากรบุคคล • มีการจัดอบรมทุกปีโดยแบ่งจัดประชุมตามภาคต่าง ๆ
หมวดที่ 3 องค์กร หน้าที่และความรับผิดชอบของระบบสถิติชีพ • 7) การประสานงานหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับระบบทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ (2) • 8) การรายงานสถิติชีพทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น (3) • มีการประชุมระหว่างหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน • - มีหน่วยงานที่รายงานสถิติชีพ • สำนักบริหารการทะเบียน มีการรายงานจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในราชกิจจานุเบกษา • สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีการรายงานโดยใช้การสำรวจ • กระทรวงสาธารณสุข มีการรายงานสถิติการเกิดการตาย และสาเหตุการตาย
หมวดที่ 4ความครบถ้วนสมบูรณ์ของการลงทะเบียนเกิดหรือตาย • 9) การประเมินการลงทะเบียนการเกิด (3) • 10) การประเมินการลงทะเบียนการตาย (3) • มีการประเมินการลงทะเบียนการเกิดและตาย • โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ • ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีการประเมิน และผลการประเมินความสมบูรณ์ในการลงทะเบียนการเกิดและตายสูงกว่า 90% • ช่วงเวลาของการประเมินกึ่งกลางของปีที่อยู่ระหว่างสำมะโนประชากร • วิธีการประเมินโดยใช้การสำรวจเทียบกับข้อมูลการลงทะเบียน ความสมบูรณ์ในการลงทะเบียน การเกิดคิดเป็น 96.7 %และการตายคิดเป็น 95.2 % จากการข้อมูลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงประชากร (Survey of Population Change: SPC) ปี 2548
หมวดที่ 5 การเก็บรักษาและการส่งต่อข้อมูล • 11) มีการส่งข้อมูลการเกิดและการตายจากสำนักงานส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคไปยังสำนักงานส่วนกลาง (3) • 12) กระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าสำนักงานส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคมีการรายงานข้อมูลไปยังสำนักงานส่วนกลางภายในเวลาที่กำหนด (3) • ประเทศไทยใช้ระบบออนไลน์ทำให้การส่งข้อมูลตรงเวลา
หมวดที่ 6 การให้รหัส/ปัญหา ICD และการออกใบรับรองการตายนอกโรงพยาบาล • 13) แบบฟอร์มการระบุสาเหตุการตายทางการแพทย์ที่เป็นสากลสำหรับการรายงานและมีแพทย์ใช้ฟอร์มนี้ทุกรายการ (2) • 14) การใช้เครื่องมือในการสอบสวนสาเหตุการตายด้วยการสัมภาษณ์ (Verbal autopsy) เพื่อบอกสาเหตุการตายเป็นประจำและครอบคลุม (2) • แบบฟอร์มสำหรับการตาย • ในโรงพยาบาล มีแบบฟอร์ม (ท.ร4 /1) สำหรับใบรับรองสาเหตุการตายที่อ้างอิงจาก WHO • นอกโรงพยาบาล มีแบบฟอร์ม (ทร.4 ตอนหน้า) เป็นใบรับแจ้งการตาย • มีการใช้ Verbal Autopsy (VA) tool ที่ได้มาตรฐานตามแบบของ WHO แต่มีการปรับเป็น Modify VA เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและโรคของประเทศไทย • 2554 เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 15 จังหวัด • 2555 เจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย5 จังหวัด
การให้รหัส/ปัญหา ICD และการออกใบรับรองการตายโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขให้รหัส แพทย์ออกหนังสือ รับรองการตาย ในโรงพยาบาล แจ้งต่อสำนักทะเบียน จำหน่ายรายการในทะเบียนบ้าน ออกใบมรณบัตร แจ้งต่อกำนัน,ผู้ใหญ่ เพื่อให้ออกใบรับแจ้งการตาย นอกโรงพยาบาล
หมวดที่ 7 กระบวนการทำงานที่ผลต่อคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย • 15) มีการฝึกอบรมการระบุ (2) • 16) สาเหตุของการตายที่ระบุว่า “ไม่ทราบสาเหตุของการตาย”(Ill-defined and unknown causes of mortality) น้อยกว่า 10% (1) • มีรายวิชาที่บรรจุในหลักสูตรของโรงเรียนแพทย์และมีการจัดคอร์สอบรมระยะสั้น • การระบุสาเหตุการตายด้วยไม่ทราบสาเหตุการตาย คิดเป็นร้อยละ 34%
หมวดที่ 8 การให้รหัส ICD • 17) คู่มือการให้รหัส ICD ตามมาตรฐานสากล(3) • หนังสือคู่มือ ICD มีฉบับภาษไทยที่แปลจากฉบับสากลขององค์การอนามัยโลก และปรับเพิ่มเป็น ICD 10 TM • โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้รหัส ICD10 ในการให้รหัสการวินิจฉัย
หมวดที่ 9 คุณสมบัติผู้ให้รหัส การฝึกอบรม และคุณภาพการให้รหัส • 18) คุณสมบัติผู้ให้รหัส ICD ที่สอดคล้องกับหลักการและกฎการให้สาเหตุการตายของ ICD (3) • มีกระบวนการในการประกันคุณภาพให้รหัส (3) • ผู้ให้รหัสจะได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรรหัส ICD ระยะสั้น และผ่านการทดสอบขั้นพื้นฐาน การให้รหัสในกรณีที่ซับซ้อนได้จากการเรียนรู้ระหว่างการทำงานจากผู้ให้รหัสที่เชี่ยวชาญ • มีกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพการให้รหัสในระดับประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างการรับรองการตายมาตรวจสอบ
หมวดที่ 10 ตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล • การตรวจสอบความสอดคล้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลภาวะเจริญพันธุ์และข้อมูลการตายก่อนการเผยแพร่อย่างเป็นประจำ นอกจากนี้ยังทำการเปรียบเทียบข้อมูลสถิติกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ (2) • การตรวจสอบความสอดคล้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลการตายและสาเหตุการตาย (2) • มีการตรวจสอบความสอดคล้องภาวะเจริญพันธุ์และการตายในสถิติชีพเป็นประจำ โดยการเปรียบเทียบอัตราภาวะเจริญพันธุ์และการตายในช่วงเวลาต่างๆ • มีการตรวจสอบแนวโน้มสาเหตุการตายเป็นประจำต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่า กลุ่มโรค และ รูปแบบแนวโน้มการตายของแต่ละปีที่ผ่านมา และถ้าข้อมูลแสดงถึงความเบี่ยงเบนก็สามารถอธิบายความผันแปรนั้นได้
หมวดที่ 11 การเข้าถึง การเผยแพร่และการใช้ข้อมูล • การเผยแพร่ข้อมูลเกิดเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (3) • การเผยแพร่ข้อมูลการตายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง (3) • ความล่าช้าในการรายงานข้อมูลรายงานสถิติชีพ (3) • ข้อมูลสถิติถูกนำไปใช้ในประกอบการกำหนดนโยบายและการกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงานต่างๆ (3) • มีการเผยแพร่ข้อมูลรายงานประจำปีการเกิดและตายเป็นประจำ • ความล่าช้าในการายงานน้อยกว่า 2 ปี • ข้อมูล การเกิด การตาย และสาเหตุการตาย ได้ถูกนำไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและติดตามสภาวะสุขภาพของประชากร อย่างกว้างขวาง รวมถึงมีการใช้ข้อมูลสาเหตุการตายสำหรับการวางแผนงานด้านสาธารณสุข
สรุปผลการประเมินรายข้อสรุปผลการประเมินรายข้อ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย • ตั้งคณะกรรมการประสานงานการดำเนินงานด้านทะเบียนราษฎรและสถิติชีพ ส่งเสริมการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ดำเนินการด้านระบบทะเบียนราษฎร์และสถิติชีพเพื่อให้เกิดเครือข่ายที่บูรณการในการทำงานร่วมกัน • ส่งเสริมให้มีหลักสูตรการให้ความรู้การให้สาเหตุการตายและรหัสโรคอย่างแพร่หลาย • เพิ่มบุคคลากรที่สามารถให้สาเหตุการตายในกลุ่มที่เสียชีวิตนอกโรงพยาบาล • ส่งเสริมการกระบวนตรวจสอบคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล • กำหนดให้มีการคุณภาพการให้รหัสและมีกระบวนการส่งข้อเสนอแนะให้กับผู้ให้รหัสทราบ เพื่อการปรับปรุงการให้รหัสมีคุณภาพ เพื่อการลดการระบุการให้สาเหตุด้วย “ไม่ทราบสาเหตุของการตาย”(Ill-defined and unknown causes of mortality) • ให้มีการบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง มีแผนป้องกันปัญหาระบบเกิดความขัดข้อง • นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยเพิ่มคุณภาพสาเหตุการตาย ได้แก่การใช้ Verbal Autopsy • เพิ่มช่องทางการให้ข้อมูลสำหรับการให้สาเหตุการตายในหลายรูปแบบ เช่น Tele-medicine
Thank you Q & A