320 likes | 548 Views
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง. รัฐธรรมนูญ. กฎหมายมหาชน. กฎหมายปกครอง. กฎหมายการเงินการคลัง. รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. ม.83 นโยบายด้านเศรษฐกิจ ดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ม.84
E N D
กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง
รัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน กฎหมายปกครอง กฎหมายการเงินการคลัง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ม.83 นโยบายด้านเศรษฐกิจ ดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.84 รัฐต้องควบคุมให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลัง เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ ม.190 การทำข้อตกลง/สัญญา กับต่างประเทศที่กระทบต่อ งบประมาณการเงินการคลัง ต้องขออนุมัติสภา ม.166 การใช้เงินแผ่นดินตามปกติต้องทำเป็นงบประมาณ พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี/ พรบ.งบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าไปพลางก่อน ม.167 วรรคแรก การจัดทำร่าง พรบ.งปม.ประจำปี ต้องมีเอกสารประกอบแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทุกด้าน ครบถ้วน อดีต/ปัจจุบัน/ภาระอนาคต วรรคสอง งบกลางใน พรบ.งบประมาณประจำปี มีได้ในกรณีใด/เหตุผล วรรคสาม ให้มี กฎหมายการเงินการคลัง เป็นกรอบรักษาวินัยการเงินการคลัง ม.168 การพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ของ สส.และ สว. มีกระบวนการอย่างไร วิเคราะห์/เงื่อนไข/ระยะเวลา ม.169 วรรคแรก การจ่ายเงินแผ่นดินทุกกรณี (ปกติ/ไม่ปกติ) ต้องมีกฎหมายรองรับ กรณีจ่าย จากเงินคงคลัง ต้องตั้งงบประมาณชดใช้ แบบมีแหล่งเงินหรือรายได้รองรับ วรรคสอง การโอนงบประมาณข้ามส่วนราชการทำได้ในกรณีสงคราม/ฉุกเฉิน วรรคสาม การโอนงบประมาณภายในส่วนราชการทำได้ แต่ต้องรายงานสภา ม.170 รายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งคลัง (เงินนอกงบประมาณ) ส่วนราชการเจ้าของต้องรายงานต่อ คณะรัฐมนตรี และการใช้จ่ายเงินต้องอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังโดยอนุโลม
มาตรา 84 ( 3 ) ควบคุมให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลัง เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม
มาตรา 166 1.งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน 2.พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย 3.งบประมาณรายจ่ายปีก่อน
ม. 167 วรรคสาม 1. ให้มีกฎหมายการเงินการคลังของรัฐ 2. การวางแผนการเงินระยะปานกลาง 3. การจัดหารายได้ 4. การกำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน 5. การบริหารการเงินและทรัพย์สิน
6. การบัญชี 7. กองทุนสาธารณะ 8. การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สิน 9. หลักเกณฑ์การกำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี ฉุกเฉินหรือจำเป็น 10. การอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 169 การจ่ายเงินของแผ่นดิน จะทำได้เฉพาะที่อนุญาตไว้ใน • กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย • กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ • กฎหมายว่าด้วยการโอนงบประมาณ • กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง กรณีด่วน รัฐจ่ายก่อนได้ แต่ต้องตั้งงบประมาณชดใช้ และต้องกำหนดแหล่งที่มาของรายได้
มาตรา 170 • เงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ต้องนำส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน • หน่วยงานรัฐจัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงิน เสนอต่อคณะรัฐมนตรีทุกสิ้นปีงบประมาณ • คณะรัฐมนตรีจัดทำรายงานเสนอต่อ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง รายรับ บัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 รายจ่าย
รายรับ (ม.4) หลัก • บรรดาเงินที่พึงชำระให้แก่รัฐบาล เช่น ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด • หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่ควบคุมนำส่งเข้าบัญชี เงินคงคลังบัญชีที่ 1 โดยไม่หักไว้เพื่อการใด ๆ เลย
ยกเว้น (1) รายจ่ายที่เกิดนั้นเป็นรายจ่ายที่กฎหมายอนุญาตให้จ่ายได้ (2) รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามระเบียบที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังเพื่อเป็นค่าสินบนรางวัลหรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินอันพึงชำระให้แก่รัฐบาล (3) รายจ่ายที่ต้องจ่ายคืนให้แก่บุคคลใดๆ เพราะเป็นเงินอันไม่พึงต้องชำระให้แก่รัฐบาล • อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดข้อบังคับให้หัวหน้าส่วนราชการหักรายจ่ายก่อนนำเงินส่งบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1
รายจ่าย (ม.6) ปกติการจ่ายเงินจากบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 2 กระทำได้เฉพาะ • พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี/พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม • พระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณ • มติให้จ่ายเงินไปก่อน • พระราชกำหนดที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
สาระสำคัญ 1. การจัดทำงบประมาณ 2. การอนุมัติงบประมาณ 3. การบริหารงบประมาณ 4. การควบคุมงบประมาณ
การจัดทำงบประมาณ 1. สงป. แจ้งให้หน่วยงานจัดทำงบประมาณประจำปี 2. การกำหนดนโยบายงบประมาณประจำปี 3. จัดทำงบประมาณรายรับและคำของบประมาณรายจ่าย ของหน่วยงาน 4. สงป. พิจารณาคำของบประมาณและการประมาณการ รายได้ 5. การเสนองบประมาณประจำปีต่อรัฐสภา
การอนุมัติงบประมาณ 1. สภาผู้แทนราษฎร วาระหนึ่ง พิจารณารับหลักการ วาระสอง พิจารณาเรียงมาตรา วาระสาม ลงมติเห็นชอบ 2. วุฒิสภา
การบริหารงบประมาณ 1. สงป. อนุมัติเงินประจำงวด 2. ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจขอเบิกเงิน 3. กรมบัญชีกลางอนุมัติให้เบิกจ่ายเงิน
การควบคุมงบประมาณ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2. สำนักงบประมาณ 3. รัฐสภา 4. องค์กรอิสระ
การควบคุมงบประมาณ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่ • จัดให้มีการประมวลบัญชีแผ่นดิน • กำหนดระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังด้วยความเห็นชอบ ค.ร.ม. • จัดให้มีการตรวจเอกสารการขอเบิกเงินการจ่ายเงิน ฯลฯ • กำหนดและควบคุมระบบบัญชีแบบรายงานและเอกสาร เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินและหนี้ • กำหนดระเบียบว่าด้วยเงินทดรองราชการด้วยความเห็นชอบ ค.ร.ม.
การควบคุมงบประมาณ 2. สำนักงบประมาณ • ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามแผนงาน/โครงการ 3. รัฐสภา 4. องค์กรอิสระ • สตง.
รายจ่าย (ม.23) หลัก - ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ แต่เฉพาะ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น - ห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามกฎหมายจนกว่า จะได้รับอนุมัติเงินประจำงวด เว้นแต่ - รายจ่ายใดมีจำนวนและระยะเวลาการจ่ายที่แน่นอน - ในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน
รายรับ (ม.24) หลัก บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ให้ส่วนราชการนั้นนำเงินส่งคลัง เว้นแต่ 1. มีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้ไม่ต้องนำส่งคลัง • เงินค่าชดใช้ความเสียหายเพื่อบูรณะทรัพย์สิน • เงินรายรับสถานพยาบาล สถานศึกษา • เงินผลพลอยได้ที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ • เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนำไป ซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่น
การขอเบิกเงินจากคลัง (ม.27) หลักการ การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีใดให้กระทำได้แต่เฉพาะในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ - งบประมาณรายจ่ายข้ามปี - งบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปี/ได้รับอนุมัติจาก รมต. กค. ให้เบิกเหลื่อมปีและได้มีกันเงินใช้แล้ว
บทกำหนดโทษ (ม.26) 1. ข้าราชการ/ลูกจ้าง • ก่อหนี้ผูกพัน/จ่ายเงิน/รู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาต • ฝ่าฝืน พ.ร.บ. นี้/ระเบียบที่ได้ออกตาม พ.ร.บ. นี้ 2. ความรับผิดของข้าราชการ/ลูกจ้าง • ความผิดอาญา • ชดใช้จำนวนเงินที่ได้จ่ายไป/ผูกพันต้องจ่าย • ค่าสินไหมทดแทน เว้นแต่ • ทักท้วงเป็นหนังสือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทกำหนดโทษ (ม.26) 3. บุคคลภายนอก • เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน เว้นแต่ • กระทำการโดยสุจริต • ไม่รู้เท่าถึงการฝ่าฝืนกฎหมาย
หลักการโดยสรุป ของกฎหมายการเงินการคลัง • ประโยชน์ในการควบคุมและตรวจสอบ • แปลความเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติโดยสุจริต ประหยัด และสมประโยชน์ • ถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ