330 likes | 760 Views
โครงงาน. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. เรื่อง เขาตังกวน...บ้านเรา. คณะผู้จัดทำ. เด็กหญิงปทิตตา แสงจันทร์ เลขที่ 11(ข). เด็กหญิงณิชกานต์ คงมัยลิก เลขที่ 10(ก). เด็กหญิงจรินารถ เรืองเดช เลขที่ 24(ก). เด็กหญิงเกวลี จิตรภักดี เลขที่ 14(ข).
E N D
โครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เขาตังกวน...บ้านเรา
คณะผู้จัดทำ เด็กหญิงปทิตตา แสงจันทร์ เลขที่ 11(ข) เด็กหญิงณิชกานต์ คงมัยลิก เลขที่ 10(ก) เด็กหญิงจรินารถ เรืองเดช เลขที่ 24(ก) เด็กหญิงเกวลี จิตรภักดี เลขที่ 14(ข) เด็กหญิงสาธิตา บุญธรรม เลขที่ 21(ข) เด็กหญิงลัลน์ลลิต เพชรสุวรรณ เลขที่ 22(ข) เมนู ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3
คุณครูที่ปรึกษา คุณครูชญานี ขัตติยะมาน โรงเรียนอนุบาลสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1
ความเป็นมา เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจให้กับคนสงขลา และนักท่องเที่ยว ปัจจุบัน มีการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ มากมาย มีลิฟต์ขึ้นสู่ ยอดเขาทำให้มีการตัดต้นไม้ไปบางส่วน ระบบนิเวศเริ่มมี การเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
วันนี้....มีอะไร..ที่เขาตังกวนวันนี้....มีอะไร..ที่เขาตังกวน
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์เขาตังกวนในปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาชนิดและประโยชน์ของพืชบางชนิดที่อยู่บนเขาตังกวน 3. เพื่อร่วมกันอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ของจังหวัดสงขลา เมนู
สิ่งที่น่ารู้ ... **เขาตังกวน เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต **บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุ คู่เมืองสงขลา
เจดีย์พระธาตุ สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์
พ.ศ. 2539พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้มาบรรจุ ในองค์พระเจดีย์
บริเวณยอดเขาตังกวน เป็นจุดชมวิวที่สวยงามของจังหวัดสงขลา มีลิฟต์บริการขึ้นสู่ยอดเขา
รูปปั้น หลวงพ่อทวดสร้างประดิษฐานไว้บนเขาตังกวน
ภาพสวย ๆ ของเจดีย์พระธาตุ
จากการเดินสำรวจ เที่ยวชมเขาตังกวนพบพืชที่รู้จัก...น่าสนใจจึงศึกษาเพิ่มเติม ..ได้ความรู้มากมาย ดังนี้
พืชที่รู้จักบนเขาตังกวนพืชที่รู้จักบนเขาตังกวน บัว เข็มป่า กระถินณรงค์ ไมยราพ ยอป่า สาบเสือ ผกากรอง กระทกรก กระถิน ลีลาวดี ประโยชน์ ออก
บัวเป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำ หรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดเล็ก มี กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ประโยชน์ 1.ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ 2.ฝักใช้รับประทานได้ 3.นำมาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บัว เมนู
กระถินณรงค์เป็นพืชตระกูลถั่วที่โตเร็วชนิดหนึ่ง สามารถขึ้นได้ ในแทบทุกสภาพ เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ผลัดใบจึงเห็นใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดปี มีใบเป็นพุ่มหนา ยอดแผ่กว้าง แตกกิ่งก้านสาขามาก และมักแตกกิ่งที่ ส่วนล่างลำต้น ประโยชน์ 1.ใช้ฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม 2. ทำฟืน เชื้อเพลิงหรือเผาถ่าน 3. ทำเฟอร์นิเจอร์ 4. ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระถินณรงค์ เมนู
สาบเสือเป็นวัชพืช ลำต้นปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อ ขยี้จะมีกลิ่นแรง ใบรี ค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยม ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุมผิวใบทั้งสองด้าน ดอก เป็นช่อ ดอกย่อยประมาณ 10-35 ดอก ประโยชน์ 1.ใช้ป้องกันหนอนกะหล่ำปลี หนอนคืบ เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงวันผลไม้ หนอนใยผัก ด้วงปีกแข็ง ไส้เดือนฝอย แมลงในยุ้งจาก สาบเสือ เมนู
กระทกรกเป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิว เรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ดอกบานออกกลมกว้าง ประโยชน์ 1.ใช้ใบสดพอกแก้สิว 2.ลวกจิ้มกับน้ำพริก 3.ใช้เนื้อไม้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและรักษาบาดแผล 4.ใช้ดอกขับเสมหะ แก้ไอ กระทกรก เมนู
ลีลาวดีเป็นไม้ยืนต้น ลำต้นแผ่กิ่งก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มี น้ำยางขนสีขาว ดอกมีสีสันหลากหลาย มีกลิ่นหอม ประโยชน์ 1.น้ำยางใช้ใส่แผล ทาแก้โรคงูสวัด หิด เมล็ดเป็นยาระบาย ขับน้ำเหลือง 2.ประดับสวน ลีลาวดี เมนู
เข็มป่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบขอบขนานค่อนข้าง ยาว ปลายแหลม โคนใบติดกิ่ง ช่อยาวเป็นกระจุกสีขาว กลีบดอกมีขนาดเล็ก แหลมเรียว เมื่อบานมักจะโค้งงอลงข้างล่าง ประโยชน์ 1.ราก แก้เสมหะในท้อง แก้ฝีในท้อง แก้เสมหะในทรวงอก แก้ไอเจ็บอก แก้วัณโรค 2.เปลือก ฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู 3.ใบ ขับพยาธิ แก้ลักปิดลักเปิด 4. ดอก แก้โรคตา ลูก แก้ริดสีดวงจมูก เข็มป่า เมนู
ไมยราพเป็นต้นไม้ล้มลุกต้นเล็กๆ เนื้ออ่อนจำพวกหญ้า ใบเล็กๆ เป็น ฝอยคล้ายกับใบผักกระเฉด ต้นและกิ่งมีสีแดงเป็นขนและมีหนามแหลมคมทั้ง ต้น เมื่อได้มีอะไรมาสัมผัสมันก็จะหุบกิ่งก้านสาขาของมันโดยทันที และพอ นานๆ เข้าก็จะเริ่มตั้งกิ่งก้านสาขาของมันขึ้นมาใหม่ตามเดิม ประโยชน์ 1.ใช้ทั้งต้นนำมาปรุงรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้ทางเดิน ของปัสสาวะอักเสบ ขับกระดูขาวของสตรี โทษ 1.มีหนามแหลมคม ไมยราพ เมนู
ยอป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเรียงสลับเป็นคู่ แผ่นใบรูปรี รูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ขอบใบเรียว ผิว ใบมีขน ดอกสีขาวออกมารวมกันเป็นกระจุก ฐานดอกเชื่อมติดกัน ประโยชน์ 1.ใช้แก่นต้มดื่มเป็นยาฟอกเลือด ขับลม 2. ปลูกเป็นไม้ปะดับ ยอป่า เมนู
ผกากรอง เป็นไม้พุ่ม ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบรูปไข่ขอบใบหยักเล็ก น้อย ผิวใบจะมีขนอยู่ ทำให้รู้สึกสากๆ เมื่อจับต้อง ประโยชน์ 1.ใช้ประดับสวน โทษ ดอกจะมีกลิ่นเหม็น ผกากรอง เมนู
กระถิน เป็นพืชยืนต้นตระกูลถั่ว มีใบและลำต้นเล็ก ดอกกลม ประโยชน์ 1.ยอดใบและฝักอ่อนสามารถนำมารับประทาน 2.ดอก ราก และเมล็ดนำมาทำยา 3.ใบใช้ทำปุ๋ยหมัก 4.เมล็ดนำมาทำเครื่องประดับ โทษ 1.ถ้าทานใบหรือผลของกระถินจะทำให้ปากมีกลิ่นเหม็น กระถิน เมนู
ประโยชน์ของพืชบนเขาตังกวนที่ให้แก่ชุมชนและตัวเราประโยชน์ของพืชบนเขาตังกวนที่ให้แก่ชุมชนและตัวเรา 1.ช่วยบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชบนเขาตังกวน 2.ใช้ในการศึกษาชนิดของพืช 3.ช่วยผลิตแก๊สออกซิเจนและช่วยลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 4.ช่วยป้องกันภัยต่างๆ เช่น น้ำท่วม เป็นต้น 5.ช่วยทำให้บริเวณบนเขาตังกวนมีความร่มรื่น 6.เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่น ลิง เป็นต้น 7.เป็นแหล่งทำมาหากินของแม่ค้าพ่อค้าที่ขายอาหารลิง 8.นำมาใช้เป็นสมุนไพรและเป็นอาหาร เมนู
สัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณเขาตังกวนสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณเขาตังกวน อาหารลิง
ภาพเมืองสงขลา ที่สามารถมองเห็นได้จากบนเขาตังกวน
เขาตังกวน...วันนี้ • ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองสงขลา • ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป มีสิ่งก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น • เทคโนโลยีช่วยให้การเดินทางขึ้นเขาง่าย สะดวกขึ้น (มีลิฟต์) • ยังคงมีพืชหลากหลาย โดยเฉพาะพืชสมุนไพรต้องช่วยกันอนุรักษ์ และเผยแพร่ • นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
สิ่งที่น่าเป็นห่วง .... • สัตว์จำพวกลิงเพิ่มมากขึ้น แต่มีความเป็นอยู่ที่ลำบากขึ้น เพราะป่าส่วนหนึ่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสิ่งก่อสร้าง • นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ปัญหาขยะ และมลภาวะ ก็จะตามมา
ปัญหาทุกอย่างแก้ได้ ถ้าทุกคนร่วมใจ เรารักเขาตังกวน
อ้างอิง • http://www.ezytrip.com/travel/images/10000/00400/000339.htm • http://songkhlatoday.com/index.php?file=varity&obj=forum(7311) • http://travel.sanook.com/south/songkha/songkha_03808.php • http://mad.moph.go.th/center7/images/song/songkhla.htm • http://www.pantip.com/cafe/gallery/topic/G4280607/G4280607.html