260 likes | 377 Views
บทที 4. การผลิตและต้นทุนการผลิต. 4.1 องค์กรทางธุรกิจ. การดำเนินธุรกิจของผู้ผลิตมีการดำเนินงานในลักษณะขององค์กรธุรกิจ( business sector ) รูปแบบต่างๆ กันซึ่งในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด มีการเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้บริโภค
E N D
บทที4 การผลิตและต้นทุนการผลิต
4.1 องค์กรทางธุรกิจ การดำเนินธุรกิจของผู้ผลิตมีการดำเนินงานในลักษณะขององค์กรธุรกิจ(business sector) รูปแบบต่างๆ กันซึ่งในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด มีการเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการแก่ผู้บริโภค 4.1.1 ความหมายของการผลิต คือ รูปแบบการผลิตสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตสามารถผลิตขึ้นได้สูงสุดภายใต้จำนวนปัจจัยการผลิตและระดับเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาได้มีจำนวนที่จำกัดไปด้วย
ภาพที่ 4.1 ฟังก์ชันการผลิตและบริการในระบบเศรษฐกิจ จำนวนปัจจัยการผลิต ในสัดส่วนต่างๆ กัน สินค้าและบริการในจำนวนต่างๆ ฟังก์ชั่น การผลิต
4.1.2 เป้าหมายของผู้ผลิต การผลิตสินค้าในระบบเศรษฐกิจ ผู้ผลิตมีเป้าหมายเพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุด ( maximize profit) โดยกำไร คือ ส่วนต่างระหว่างรายรับจากการขายสินค้า กับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิต กำไรของผู้ผลิตหาได้จาก ผลต่างระหว่างรายได้จากการขายสินค้ากับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า เนื่องจากต้นทุนในแนวคิดของนักบัญชี และนักเศรษฐศาสตร์มีความแตกต่างกัน จึงทำให้กำไรมีความแตกต่างกัน
ต้นทุนทางบัญชี ( account cost) คือค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินที่ภาคธุรกิจได้จ่ายไปสำหรับปัจจัยการผลิต หรือต้นทุนชัดแจ้ง (explicit costs) ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ ค่าเช่าอาคาร หรือเครื่องจักร เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถบันทึกลงรายการทางบัญชีได้ • ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (economics cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจได้จ่ายเป็นตัวเงินในการใช้ปัจจัยการผลิตรวมกับต้นทุนที่ไม่ชัดแจ้ง ( implicit costs ) ที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ผลิตนำปัจจัยการผลิตของตัวเองมาทำการผลิต ต้นทุนเหล่านี้ ผู้ผลิตมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นตัวเงินโดยตรง และมิได้รวมอยู่ในต้นทุนทางบัญชี เช่น ค่าเสียโอกาสในรูปแบบค่าจ้าง ในกรณีที่ผู้ผลิตทำการผลิตด้วยตนเอง หรือค่าเสียโอกาสในรูปของค่าเช่า ในกรณีนำที่ดินของตัวเองมาใช้ในการผลิต
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย ต้นทุนทางบัญชี หรือต้นทุนชัดแจ้ง รวมกับต้นทุนที่ไม่ชัดแจ้งที่เกิดขึ้น เมื่อผู้ผลิตนำปัจจัยการผลิตของตัวเองมาทำการผลิตสินค้าและมิได้จ่ายเป็นตัวเงินโดยตรง 3. กำไรทางบัญชี และกำไรทางเศรษฐศาสตร์ จากความแตกต่างระหว่างต้นทุนทางบัญชี และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงทำให้กำไรทางบัญชี และกำไรทางเศรษฐศาสตร์มีความแตกต่างกัน
แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ แนวคิดของนักบัญชี กำไร เศรษฐศาสตร์ กำไรทางบัญชี ต้นทุนที่ไม่ชัดเจน ค่าเสียโอกาส ต้นทุนชัดเจน รายรับ ต้นทุนชัดเจน รายรับ
รูปแบบองค์กรธุรกิจประเภทต่างๆรูปแบบองค์กรธุรกิจประเภทต่างๆ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน องค์กรธุรกิจเอกชน บริษัท จำกัด บริษัท จำกัด (มหาชน) สหกรณ์ องค์กรธุรกิจรัฐบาล
(1)องค์กรธุรกิจภาคเอกชน คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาโดยภาคเอกชน มีหน้าที่ทำการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้ได้รับกำไรสูงสุดจากการผลิตแบ่งเป็น (1.1) กิจการคนเดียว ( sole proprieships) คือการดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีการจัดตั้งและดำเนินงานโดยเจ้าของคนเดียว อยู่ในลักษณะร้นค้าปลีก หรือธุรกิจส่วนตัว (1.2) ห้างหุ้นส่วน (partnerships) คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่2 คนขึ้นไปตกลงกันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น (1.3) บริษัท จำกัด ( corporation) คือ การดำเนินธุรกิจที่มีผู้ร่วมลงทุนมากกว่า 7 คน ขึ้นไปจดทะเบียนจัดตั้งกิจการในรูปแบบของบริษัท
(1.4) บริษัทมหาชน จำกัด ( public company) เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัท มหาชน จำกัด 2535 ผู้ร่วมถือหุ้นมากกว่า 100 คนขึ้นไป (1.5) สหกรณ์ (coperation) คือ คณะบุคคลซึ่งสหกรณ์ตั้งขึ้นไม่น้อยกว่า 10 คน ขึ้นไปจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ (2) องค์กรธุรกิจภาครัฐบาล การดำเนินธุรกิจภาครัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ( state enterprise) คือรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่รัฐบาลหรือองค์กรดำเนินงานเอง หรือเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน
4.2 ฟังก์ชันการผลิตระยะสั้น ( 1 ) ปัจจัยคงที่ ( fixed resource :FR ) ( 2 ) ปัจจัยผันแปร ( variable resource : VR ) 4.2.2 ระยะเวลาในการผลิต และฟังก์ชันการผลิตระยะสั้น • การผลิตสินค้าในระยะสั้น • ฟังก์ชันการผลิตในระยะสั้น (2.1) ผลผลิตรวม ( total product : TP) (2.2) ผลผลิตเฉลี่ย ( average product: AV) (2.3) ผลผลิตเพิ่ม หรือผลผลิตหน่วยสุดท้าย (marginal product ; MP)
เส้นผลผลิตรวม (TP) เส้นผลผลิตเฉลี่ย (AP) เส้นผลผลิตเพิ่ม (MP)
(3) การผลิตในระยะยาว (long-run period) เป็นช่วงเวลาที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด 4.3 กฎการลดน้อยถอยลง กฎการลดน้อยถอยลงของผลผลิต เกิดขึ้นในระยะสั้น เมื่อมีการเพิ่มปัจจัยผันแปรทีละหนึ่งหน่วยเท่าๆ กันให้ทำงานร่วมกับปัจจัยคงที่ ทำให้ผลผลิตของธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงแรก เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง และท้ายที่สุดผลผลิตรวมจะลดลง 4.4 การแบ่งช่วงระยะเวลาในการผลิตระยะสั้น และลักษณะเส้นผลผลิตเพิ่ม 4.4.1 การแบ่งช่วงระยะเวลาในการผลิตระยะสั้น แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
เส้นผลผลิตรวม (TP) I II III เส้นผลผลิตเฉลี่ย (AP) เส้นผลผลิตเพิ่ม (MP)
เส้นผลผลิตเพิ่ม (MP) I II III 4.4.2 ลักษณะเส้นผลผลิตเพิ่ม
4.5 ความหมายของต้นทุน และลักษณะเส้นต้นทุนแต่ละประเภท 4.5.1 ความหมายของต้นทุน ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการนำปัจจัยการผลิตมาทำการผลิตสินค้า และบริการด้วย (1) ต้นทุนคงที่รวม ( total fixed cost : TFC ) คือค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มแรกของการผลิต และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อผลิต สินค้าเพิ่มขึ้น หริเรียกว่า ต้นทุนจม (2) ต้นทุนผันแปร (total variable cost : TVC) คือ ค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลง ตามปริมาณของผลผลิต เมื่อไม่มีการผลิตสินค้าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น
(3) ต้นทุนรวม (total cost : TC) คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการผลิต สินค้าในระยะสั้น ประกอบไปด้วย ต้นทุนคงที่รวม และต้นทุนผันแปรรวม (4) ต้นทุนคงที่เฉลี่ย ( average fixed cost : AFC ) คือต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย ของผลผลิต หาได้จากการนำต้นทุนคงที่รวม หารด้วยจำนวนผลผลิต (5) ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย( average variable cost: AVC) คือต้นทุนผันแปร เฉลี่ยต่อหน่วยของผลผลิต หาได้จากการนำต้นทุนผันแปรรวมหารด้วย จำนวนผลผลิต (6) ต้นทุนรวมเฉลี่ย ( average total cost : ATC ) คือ ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย ของผลผลิต หาได้โดยนำต้นทุนรวมหารด้วยจำนวนผลผลิต (7) ต้นทุนเพิ่ม หรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย ( marginal cost : MC ) คือการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนการผลิตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของผลผลิตหนึ่งหน่วย หาได้จากต้นทุนรวมที่มีการเปลี่ยนแปลงหารด้วยผลผลิตที่มีการเปลี่ยนแปลง
4.5.2 ลักษณะเส้นต้นทุนแต่ละประเภท เส้นต้นทุนรวม (TC) เส้นต้นทุนผันแปรรวม (TVC) TFC เส้นต้นทุนคงที่รวม (TFC) (1) เส้นต้นทุนคงที่รวม เส้นต้นทุนผันแปรรวม และเส้นต้นทุนรวม
เส้นต้นทุนเพิ่ม (MC) เส้นต้นทุนรวมเฉลี่ย (ATC) AFC เส้นต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (AVC) เส้นต้นทุนคงที่เฉลี่ย(AFC) (2) เส้นต้นทุนคงที่เฉลี่ย เส้นต้นทุนผันแปรเฉลี่ย เส้นต้นทุนรวมเฉลี่ย และเส้นต้นทุนเพิ่ม
4.6 ลักษณะเส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้น ( average total cost : ATC) เส้นต้นทุนรวมเฉลี่ย (ATC)
4.7 ลักษณะเส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะยาว เส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะยาว ( long-run average cost : LRAC) มีลักษณะ คล้ายกับรูปตัวยู เนื่องจากการผลิตสินค้าระยะยาว ผู้ผลิตสามารถเลือก โรงงานขนดต่างๆ ที่ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้นมีค่าต่ำสุดได้ โดยเส้น ต้นทุนเฉลี่ยระยะยาวคือ เส้นลากผ่านเส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้นในโรงงาน แต่ละขนาด
ATC ขนาดเล็ก ATC ขนาดใหญ่ ATC ขนาดกลาง1 ต้นทุนเฉลี่ย (บาท) ATC ขนาดกลาง2 เส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะยาว (LRAC) 0 Q1 Q2 ปริมาณผลผลิต (หน่วย) ภาพ4.10 ลักษณะเส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะยาว(LRAC)
4.8 การประหยัด และการไม่ประหยัดจากขนาด 4.8.1 การประหยัดจากขนาด (economies of scale) 4.8.2 ผลได้ต่อขนาดคงที่ ( constant returns to scale) 4.8.3 การไม่ประหยัดจากขนาด ( diseconomies of scale)
เส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะยาว (LRAC) ต้นทุนเฉลี่ยลดลง ผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น ต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ผลได้ต่อขนาดลดลง ต้นทุนเฉลี่ย (บาท) การไม่ประหยัดจากขนาด การประหยัดจากขนาด ผลได้ต่อขนาดคงที่ Q1 Q2 0 ปริมาณผลผลิต (หน่วย)