1 / 9

ระบบกล้ามเนื้อ

ระบบกล้ามเนื้อ.

Download Presentation

ระบบกล้ามเนื้อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบกล้ามเนื้อ

  2. กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)

  3. การทำงานของกล้ามเนื้อการทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว  กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน  แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว  การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า  Antagonistic muscle เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors คลายตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะหดตัว ทำให้แขนเหยียดออก ส่วนเมื่อกล้ามเนื้อไบเซพหรือ Flexors หดตัว กล้ามเนื้อไตรเสพหรือ Extensors จะคลายตัว ทำให้แขนงอเข้า

  4. ประเภทของกล้ามเนื้อ 1.กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle)  กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary Muscle) ชนิดเดียวในร่างกาย กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ กล้ามเนื้อลายจะห่อหุ้มโครงกระดูกของเราไว้ และทั้งสองอย่างจะทำงานร่วมกัน ทำให้ร่างกายสามารถทำงาน กล้ามเนื้อลายมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย จึงทำงานได้หลากหลายรูปแบบ

  5. ประเภทของกล้ามเนื้อ 2.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) พบได้ที่อวัยวะภายในของร่างกาย และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ตลอด กล้ามเนื้อแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ (Involuntary Muscle) เพราะเราไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ สมองและร่างกายจะสั่งให้กล้ามเนื้อเรียบทำงานด้วยตัวของมันเอง เช่น ในกระเพาะ (Stomach) และระบบการย่อยอาหาร (Digestive System) กล้ามเนื้อเหล่านี้จะหดตัวแน่นขึ้นและขยายตัวออก เพื่อให้อาหารเดินทางไปตามระบบย่อยอาหารส่วนอื่นๆของร่างกายได้

  6. ประเภทของกล้ามเนื้อ 3.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) กล้ามเนื้อที่ประกอบขึ้นเป็นหัวใจมีชื่อเรียกว่ากล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อชนิดนี้เป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจเหมือนกับกล้าม  เนื้อเรียบ ทำให้เกิดการเต้นของหัวใจ (Heart Beat) อยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อหัวใจจะบีบตัว (Contract) เพื่อดันเลือดส่งออกไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และคลายตัว (Relax) เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้ามาสู่หัวใจหลังจากที่ไหลวนไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกายแล้ว

  7. หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อหน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ 1.คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture) 2.ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints) 3.ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement) โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล(Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว 4.รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ

  8. การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อให้แข็งแรงการรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 1.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที โดยเน้นการออกกำลังกายแบบบริหารกล้ามเนื้อ จะทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง 2.โภชนาการที่เหมาะสม การรับประทานผัก ธัญพืช และผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี 3.ไม่ทำงานหักโหมหรือหนักเกินไป โดยเฉพาะลักษณะงานที่ต้องอยู่ในท่าเดิมนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนล้าและเกิดความไม่แข็งแรงได้

  9. การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อให้แข็งแรงการรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 4.เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง กล้ามเนื้อกระตุกเป็นประจำ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ 5.ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่จะทำให้กล้ามเนื้อได้รับอันตราย เช่นการกระแทกโดยตรงทำให้เกิดการฟกช้ำ หรือถูกกระทบกระแทกรุนแรง ทำให้เจ็บ ปวด บวม 6.ระมัดระวังการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่รุนแรง อาจทำให้กล้ามเนื้อหรือเอ็นกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ควรปฐมพยาบาลด้วยการใช้ผ้ายืดพันบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวและไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

More Related