210 likes | 382 Views
สำนัก วิทย บริการ และเทคโนโลยีสารนิเทศ.
E N D
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารนิเทศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารนิเทศ
ประวัติความเป็นมาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครมีฐานะเป็น หอสมุดกลางอยู่ในความรับผิดชอบของรองอธิการบดีเดิมใช้ชื่อว่า “ห้องสมุดวิทยาลัยครูพระนคร” - พ.ศ. 2530 ได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายหอสมุดตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการวันที่ 17 เมษายน 2530 - พ.ศ.2535 ได้เปลี่ยนสถานภาพห้องสมุดให้มีฐานะเทียบเท่าคณะวิชาโดยเปลี่ยนชื่อห้องสมุดเป็นสำนักวิทยาบริการฯ และในปีเดียวกันสถาบันราชภัฏพระนครได้รับงบประมาณแผ่นดินจำนวน 18 ล้านบาทสร้างอาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอาคาร 4 ชั้น เปิดให้บริการในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2536 - พ.ศ.2542 เปลี่ยนสังกัดมาขึ้นตรงกับรองอธิการอธิบดีและได้รับอนุมัติเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุงการศึกษา) ให้จัดซื้อโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อให้สามารถบริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณ 78 ล้านบาทเพื่อสร้างอาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอาคาร 9 ชั้นมีพื้นที่ 7,700 ตารางเมตรแต่มหาวิทยาลัยมีพื้นที่คับแคบไม่สามารถขยายได้จึงให้สำนักวิทยบริการฯ ย้ายไปอาคารหลังใหม่และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 อาคารสำนักวิทยบริการฯ เดิมชื่อว่า “อาคารบรรณราชนครินทร์”ซึ่งเป็นชื่อได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงพระราชทานนามให้
ปรัชญา คลังแห่งปัญญา พาสู่โลกกว้าง ทุกทางสื่อสาร บริการประทับใจ วิสัยทัศน์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารนิเทศเป็นแหล่งบริการ สารสนเทศที่มีมาตรฐานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสนองต่อความต้องการ ของผู้ใช้บริการสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศผู้อำนวยการ คณะกรรมการบริหารสำนัก คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา โครงสร้าง รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ สำนักงานผู้อำนวยการ งานบริหารทั่วไป งานห้องสมุด งานเทคโนโลยีการศึกษา งานเทคโนโลยีสารสนเทศ - บริหารและธุรการ - พัฒนาทรัพยากรฯ - โสตทัศนูปกรณ์ - บริหารข้อมูลพัฒนาเว็บไซต์- คลังและพัสดุ - วิเคราะห์ทรัพยากรฯ - บริการโทรทัศน์วงจรปิด - บริหารจัดการเครือข่ายฯ- นโยบายและแผน - สารสนเทศพิเศษ - ผลิตสื่อโสตฯ อิเล็กทรอนิกส์ - ให้คำปรึกษาระบบ ICT- ประกันคุณภาพ - อนุรักษ์ทรัพยากรฯ - บริการสื่อโสตฯ - บริการวิชาการเทคโนโลยีฯ- สวัสดิการ - บริการวิชาการสิ่งพิมพ์ - งานบริการห้องประชุม
การจัดหมวดหมู่หนังสือการจัดหมวดหมู่หนังสือ การจัดหมวดหมู่ใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) ซึ่งใช้ ตัวเลขแทนสัญลักษณ์เนื้อหาของหนังสือโดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ดังนี้ 000 ความรู้ทั่วไป (Generalities) 100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy & Psychology) 200 ศาสนา (Religion) 300 สังคมศาสตร์ (Social sciences) 400 ภาษา (Language) 500 เทคโนโลยี (Technology) 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied sciences) 700 ศิลปะ วิจิตรศิลป์ มัณฑนศิลป์ (The arts, fine & Decorative arts) 800 วรรณคดี (Literature) 900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ (Geography & History)
กฎระเบียบการยืม – คืนหนังสือ 1. แสดงบัตรนักศึกษาพร้อมหลักฐานในการลงทะเบียน 2. แสดงบัตรนักศึกษาทุกครั้งที่ยืม – คืนหนังสือ 3. นักศึกษาปริญญาตรีสามารถยืมได้จำนวน 5 เล่ม/ครั้ง กำหนด 7 วัน 4. นักศึกษาปริญญาโทสามารถยืมได้จำนวน 10 เล่ม /ครั้ง กำหนด 14 วัน 5. เจ้าหน้าที่สามารถยืมได้จำนวน 5 เล่ม /ครั้ง กำหนด 14 วัน 6. อาจารย์ ข้าราชการสามารถยืมได้จำนวน 20 เล่ม /ครั้ง กำหนด 2 เดือน 7. หนังสือเกินกำหนดปรับวันละ 5 บาท / เล่ม / วัน 8. ผู้ไม่ส่งหนังสือตามกำหนดไม่มีสิทธิยืมในครั้งถัดไป 9. ห้ามนำบัตรผู้อื่นมายืมหนังสือ 10. ในกรณีที่มาคืนหนังสือนอกเวลาราชการผู้ใช้สามารถคืนหนังสือที่ตู้คืนหนังสือนอกเวลาทำการซึ่งตั้งอยู่ ณ ประตูทางเข้า – ออกสำนักวิทยบริการฯ โดยเจ้าหน้าที่จะเปิดตู้หนังสือในวันถัดไปหากมีหนังสือเกินกำหนดส่งเจ้าหน้าที่จะบันทึกจำนวนค่าปรับไว้ ณ วันที่ได้คืนหนังสือและให้ผู้ใช้มาติดต่อชำระค่าปรับได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม – คืนก่อนที่จะยืมหนังสือในครั้งถัดไป
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 1 - บริการยืมคืนหนังสือด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS - บริการถ่ายเอกสาร - บริการรับฝากสิ่งของ - ตู้บริการคืนหนังสือนอกเวลาทำการ - บริการหนังสืออ้างอิง กฎหมาย วิทยานิพนธ์ วิจัย แบบเรียน - บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือเยาวชน มุมเด็ก นวนิยาย วารสารเย็บเล่ม
ชั้น 2 - สำนักงานสำนักวิทยบริการ ฯ - ห้องปฏิบัติงานฝ่ายอำนวยการสำนักงานและฝ่ายดำเนินการ ทรัพยากรสารสนเทศ - บริการสิ่งพิมพ์รัฐบาล ผลงานอาจารย์ หนังสือเฉลิมพระ เกียรติ ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ - สำนักงานผู้อำนวยการห้องสมุด - งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (MIS) - งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และงานบริการ Internet
ชั้น 3 - หนังสือหมวด 000 – 900
ชั้น 4 - ห้องพักอาจารย์ งานซ่อมบำรุง
ชั้น 5 - บริการอินเทอร์เน็ต
ชั้น 6 - งานบริการอินเทอร์เน็ต - ห้องหนังสือใหม่
ชั้น 7 - งานโสตทัศนวัสดุสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และ CD – Rom รวมทั้งระบบมัลติมิเดียพร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล CD – Rom เพื่อการศึกษาค้นคว้าบริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษา ฝึกทักษะในการใช้โปรแกรมต่างๆ และอบรมฐานข้อมูล ออนไลน์ บริการโสตทัศนวัสดุเช่น วีดีทัศน์ วีซีดี สไลด์ คาราโอเกะ - บริการห้องฉายภาพยนตร์
ชั้น 8 - ห้องประชุม - ห้องเรียน
ชั้น 9 - ห้องเรียน
เวลาให้บริการ วันจันทร์–วันอาทิตย์ 08.30 น. – 16.30 น.