1 / 37

โครงการสวัสดิการในประเทศต่างๆ

โครงการสวัสดิการในประเทศต่างๆ. อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ขอบเขต. สืบค้นโครงการช่วยเหลือทางสังคมแบบของประเทศต่างๆ ที่อาจนำมาปรับใช้กับประเทศไทย

mikasi
Download Presentation

โครงการสวัสดิการในประเทศต่างๆ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสวัสดิการในประเทศต่างๆโครงการสวัสดิการในประเทศต่างๆ อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ขอบเขต • สืบค้นโครงการช่วยเหลือทางสังคมแบบของประเทศต่างๆ ที่อาจนำมาปรับใช้กับประเทศไทย • ไม่ขอกล่าวถึงโครงการที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ กองทุนประกันสังคม หรือ ระบบประกันสุขภาพ ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว • 6 ประเทศ สวีเดน สหรัฐฯ เม็กซิโก อินเดีย ออสเตรเลีย และ เกาหลีใต้

  3. สวีเดน: รัฐสวัสดิการ • สวัสดิการสำหรับครอบครัว • พ่อและแม่สามารถหยุดงานได้รวมกัน 480 วัน ต่อลูกหนึ่งคน • หากมีลูกแฝดหยุดเพิ่มได้อีก 180 วัน • ใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 60 วันก่อนหน้าวันกำหนดคลอด • ได้รับเงินช่วยเหลือเมื่อหยุดงานเป็นรายวัน (180 SEK ~ $30) • เด็กจะได้รับเงินค่าใช้จ่ายรายเดือน (1,050 SEK ~ $175) • มีลูกตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม (Large Family Supplement)

  4. สวีเดน: รัฐสวัสดิการ • สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน • การเจ็บป่วยจากการทำงานและ • เงินได้จากการเจ็บป่วย (Sick pay) จากนายจ้างในช่วง 14 วันแรกของการเจ็บป่วย (ประมาณ 80% ของรายได้) • หากเจ็บป่วยเกิน 14 วันจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลที่เรียกว่า (Sickness Benefit) • การประกันการว่างงาน • เงินประกันขั้นพื้นฐาน (Basic amount) + เงินประกันที่เกี่ยวพันกับรายได้ (Income related insurance) • เงินประกันการว่างงานเป็นเวลา 300 วัน + 150 วันหากมีภาระเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 18 (ถูกเก็บภาษี)

  5. สวีเดน: รัฐสวัสดิการ • สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย • ครอบครัวรายได้ต่ำที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สามารถได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย • สำหรับผู้พิการ และ ผู้สูงอายุ • สวัสดิการสำหรับคนพิการ • ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้พิการ (Disability allowance) ค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างผู้ดูแล (Attendance allowance) • ครอบครัวเด็กพิการสามารถขอรับเงินช่วยเหลือค่ารถ (Car allowance) ไว้สำหรับดัดแปลงรถให้เหมาะสม

  6. สวีเดน: รัฐสวัสดิการ • สิทธิด้านการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย • สวัสดิการผู้สูงอายุ • เงินจากกองทุนผู้สูงอายุ (Old age pension) สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ (เสียภาษี) • Guarantee pension สำหรับผู้ที่ไม่ได้ old age pension แต่อาศัยอยู่ในสวีเดน 40 ปีขึ้นไป • เงินช่วยเหลือเพื่อยังชีพ (Maintenance support) สำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในระบบกองทุนผู้สูงอายุ

  7. สวีเดน: รัฐสวัสดิการ • ต้องมีการจัดเก็บภาษีที่สูง (ภาษีเงินได้สูงสุดอยู่ที่ 60%, VAT 25%, ภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 26%) • การรักษาพยาบาลที่ดีทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรสูงขึ้น • โครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุ มากกว่าผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ทำให้มีปัญหาด้านงบประมาณ

  8. รูปที่ 1 : ค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมคิดเป็นร้อยละของ GDP ในปี 2000 – 2005

  9. รูปที่ 2: รายได้จากภาษีคิดเป็นร้อยละของ GDP ในปี 2000 – 2005

  10. สหรัฐฯ: Temporary Assistance for Needy Families (TAMF) • ช่วยเหลือครอบครัวยากจนที่มีภาระเลี้ยงดูเด็ก ในด้านต่างๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือ การให้บริการดูแลเด็ก เป็นต้น โดยมีเป้าหมาย • ให้เด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากครอบครัว • ส่งเสริมการทำงานหารายได้ • ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว • มีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำงาน (The personal Responsibility and Work Opportunity Reconciliation Act of 1996 (PRWORA) • บุคคลหนึ่งๆ ไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์เกินกว่า 5 ปี ตลอดชั่วชีวิตของบุคคลดังกล่าว • มีการกำหนดอัตราส่วนลดของสิทธิประโยชน์ (Benefit reduction rate, BRR) และ การหักค่าใช้จ่าย (Earning disregard)

  11. สหรัฐฯ: Earned Income Tax Credit • ให้เครดิตภาษีแก่ผู้ทำงานที่มีรายได้ต่ำ อายุระหว่าง 25 ถึง 65 ปี • เครดิตภาษีรูปแบบนี้เป็นประเภทที่สามารถเรียกคืนได้ กล่าวคือ หากเครดิตภาษีมีจำนวนที่สูงกว่าจำนวนภาษีที่จะต้องจ่าย รัฐบาลจะจ่ายส่วนต่างคืนให้กับผู้เสียภาษี • การคำนวณเครติดภาษี จะแบ่งตามระดับรายได้ และ จำนวนเด็กในครอบครัว

  12. สหรัฐฯ: Public housing • ช่วยเหลือบุคคลยากจน ครอบครัวยากจน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เพื่อให้มีบ้านเช่าอาศัยที่ปลอดภัย ด้วยการจัดหาบ้านให้เช่าในหลายรูปแบบ • เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถูกนำมาคำนวณเป็นค่าเช่าซึ่งเท่ากับจำนวนเงินสูงที่สุดจาก • 30% ของรายได้ต่อเดือนหลังหักค่าใช้จ่าย • 10% ของรายได้ต่อเดือนก่อนหักค่าใช้จ่าย • ค่าเช่าขั้นต่ำ $25 ถึง $50 ต่อเดือน แล้วแต่พื้นที่ • ผู้ร่วมโครงการสามารถอยู่อาศัยในที่ที่จัดหาให้ไปเรื่อยๆ เว้นเสียแต่จะมีการทำผิดสัญญาเช่า

  13. สหรัฐฯ: Housing Choice Vouchers • ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวยากจน คนแก่ และ ผู้พิการ เพื่อให้สามารถมีบ้านเพื่ออยู่อาศัย • ผู้ร่วมโครงการสามารถหาที่อยู่เอง โดยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและ ผู้ให้เช่าจะต้องตกลงเข้าร่วมโครงการ • ผู้ร่วมโครงการจะต้องสมทบเงินอย่างน้อย 30% ของรายได้ และรัฐจะจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบางส่วน โดยมี “payment standard” เป็นเพดาน • ผู้ร่วมโครงการจะถูกพิจารณาจาก รายได้ และ ขนาดครอบครัว ซึ่งโดยทั่วไป รายได้ต้องไม่เกิน 50% ของค่า median ของรายได้ในพื้นที่ที่จะอยู่อาศัย

  14. สหรัฐฯ: โครงการ Supplemental Security Income • ให้เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายรายเดือนเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแก่ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป คนตาบอด ผู้พิการ และ ผู้พิการจากการทำงาน • รัฐบาลอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถทดลองทำงานเพื่อทดสอบว่าจะสามารถทำงานได้หรือไม่เป็นเวลา 9 เดือน ภายในระยะเวลา 5 ปี • ยังคงได้รับเงินช่วยเหลือรายเดือนไม่ว่าจะทำงานได้เงินมากหรือน้อย เว้นเสียแต่ว่าจะสามารถทำงานได้เงินสูงเกินเกณฑ์รายได้ • หากภายในระยะเวลา 5 ปี เกิดเหตุทำให้ไม่สามารถทำงานได้อีก ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถกลับเข้าร่วมโครงการได้โดยทันที

  15. สหรัฐฯ: โครงการ Food Stamp • แจกคูปองอาหารให้ผู้ยากจน (มีรายได้ต่ำกว่า130% ของเส้นความยากจน) สามารถนำไปใช้ซื้อได้ตามร้านค้าขายปลีก แต่ไม่สามารถใช้ซื้ออาหารร้อนได้

  16. สหรัฐฯ: โครงการ WIC • ให้ความช่วยเหลือด้านโภชนการ โดยการให้ชุดอาหาร (food package) แก่สตรีมีครรภ์ และ เด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ที่มีความยากจน (185% ของเส้นความยากจน) และ เป็นเด็กที่มีความเสี่ยงต่อสภาวะโภชนาการที่แย่ รอบเวลารับประโยชน์ 6 เดือน • ชุดอาหารจะแตกต่างไปตามลักษณะครอบครัวและเด็ก • เน้นส่งเสริมการให้นมแม่ ด้วยการให้ชุดอาหารในปริมาณที่มากขึ้น สำหรับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  17. สหรัฐฯ:โครงการ Disaster Unemployment Assistance • ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ว่างงานอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ และ ไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์จากการประกันว่างงานได้ • จะได้รับเงินช่วยเหลือจนกว่าจะหางานได้ แต่ไม่เกิน 26 สัปดาห์ • เงินช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 50% ของเงินชดเชยการว่างงานที่แต่ละรัฐกำหนด

  18. โครงการให้เงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข(Conditional Cash Transfer :CCT) เป็นโครงการให้เงินช่วยเหลือ โดยสิทธิการได้รับเงินจะผูกติดอยู่กับตัวชี้วัดที่สามารถตรวจสอบได้ (verifiable) • จุดเด่น • บรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้น ด้วยการให้เงินช่วยเหลือ • ลดปัญหาความยากจนในระยะยาวโดยการกำหนดเงื่อนไขที่นำไปสู่การลงทนุในทุนมนุษย์ (human capital) ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถตัดวงจรความยากจนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น

  19. เม็กซิโก: PROGRESA and OPPORTUNIDADES • ให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวยากจน ค่าใช้จ่าย ค่าอุปกรณ์การศึกษา ค่าเล่าเรียน โดยการโอนเงินให้แม่ของเด็ก • การกำหนดครัวเรือนที่จะได้รับความช่วยเหลือ • กำหนดเป็นพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากร (รายได้ ระดับการรู้หนังสือ การจ้างงาน) • การสัมภาษณ์ในเชิงลึกเป็นรายครอบครัว • รัฐฯ ทำการสุ่มคัดเลือกครอบครัวที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อเข้าร่วมโครงการ • จำนวนเงินที่ได้รับ • ขึ้นอยู่กับระดับความยากจน • เด็กผู้หญิงจะได้รับเงินช่วยเหลือที่มากกว่า เนื่องจากครอบครัวส่วนใหญ่ไม่ต้องการส่งลูกผู้หญิงเรียนหนังสือ • เงินช่วยเหลือจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการศึกษาสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาสของการเรียนหนังสือที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

  20. เม็กซิโก: PROGRESA and OPPORTUNIDADES • เงื่อนไข • เด็กจะต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 85% ของเวลาเรียน • เด็กจะต้องเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพ เป็นประจำ • แม่ของเด็กจะต้องเข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข • รอบระยะเวลาโครงการ คือ 3 ปี จ่ายเงินทุกสองเดือน • มีการลงทุนด้านอุปทาน เช่น การให้เงินช่วยเหลือไปยังโรงเรียน และ สาธารณสุข

  21. เม็กซิโก: PROGRESA and OPPORTUNIDADES • การประเมินผล • Randomization ทำให้สามารถทำการผลโครงการประเมินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ลดปัญหา confounding factor

  22. โครงการ CCT ในลักษณะเดียวกัน • Jamica : ช่วยเหลือคนพิการ กำหนดให้ผู้พิการต้องเข้าตรวจสุขภาพเป็นประจำ • Brazil: เน้นการลดปัญหาเรื่องแรงงานเด็กด้วยการสร้างเงื่อนไขให้เด็กต้องเข้าร่วมกิจกรรมหลังเลิกเรียน

  23. เม็กซิโก: Temporary Employment Program • ให้ความช่วยเหลือด้านการจ้างงานเพื่อให้ผู้ยากจนในชนบทที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ให้มีรายได้เป็นการชั่วคราว • ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปรับปรุงถนน • ให้เงินไม่เกิน 88 ครั้งต่อคนต่อปี

  24. เม็กซิโก • เงินช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย (Tu Casa) • ให้เงินช่วยเหลือในการสร้างหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยแก่ผู้ยากจนในเมืองและในชนบท • โดยรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น และ ผู้ที่ได้รับสิทธิช่วยกันจ่ายเงินสมทบ • INAPAM • ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ด้วยการให้บัตร “INAPAM” ซึ่งสามารถใช้เป็นส่วนลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารถโดยสารค่าใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่ายา ค่ารักษาพยาบาลบางประเภท เป็นต้น

  25. อินเดีย • Target Public Distribution System • รัฐบาลกลางจะทำหน้าที่ในการซื้อ เก็บสินค้า และจัดสรรอาหารไปยังรัฐต่างๆ • รัฐบาลท้องถิ่นรับผิดชอบในการดำเนินการกระจายสินค้าไปยังศูนย์ Food price shops (FPS) • ครัวเรือนที่มีรายต่ำกว่าเส้นความยากจนจะสามารถซื้อธัญพีชได้ในราคาเพียง 50% ของราคาที่รัฐบาลกำหนดซึ่งเป็นราคาที่ครัวเรือนที่มีรายได้เหนือเส้นความยากจนจะต้องจ่าย • ครัวเรือนทั้งสองประเภทจะได้รับสิทธิในการซื้อเท่ากัน คือ 35 กิโลกรัม /ครอบครัว/เดือน

  26. อินเดีย • National Rural Employment Guarantee Act • ประกันการจ้างงานต่อครัวเรือนเป็นเวลา 100 วันในทุกๆ ปี • ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ และ น้ำดื่ม เป็นค่าตอบแทน และจะทำงานได้ไม่เกิน 6 วันต่อสัปดาห์ • ทำงาน รัฐฯ จะหางานให้ทำภายในเวลา 15 วัน โดยงานจะอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรจากหมู่บ้าน หากไกลกว่านั้นแรงงานจะได้รับเงินค่าจ้างเพิ่มขึ้น • งานที่ให้ทำจะเน้นไปที่การพัฒนาชุมชน เช่น การทำระบบชลประทานเล็กๆ การปรับปรุงที่ดิน ปลูกต้นไม้ สร้างระบบป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น

  27. อินเดีย • เงินช่วยเหลือต่างๆ • เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ • เงินช่วยเหลือเมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต • เงินช่วยเหลือแก่สตรีมีครรภ์ • เงินช่วยเหลือผู้พิการ • Assistance to Disabled Persons for Purchase/Fitting of Aids/Appliances (ADIP) • ให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้พิการในการจัดซื้ออุปกรณ์ ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย เช่น รถเข็น เครื่องช่วยฟัง เครื่องช่วยให้มองเห็น • IndiraAwaasYojana • ให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่มีความยากจนเพื่อการสร้างหรือปรับปรุงที่อยู่อาศัยในชนบท

  28. ออสเตรเลีย • โครงการเงินช่วยเหลือทางสังคมทุกชนิดจะต้องมีการทดสอบเกณฑ์ทางรายได้ • การจ่ายเงินช่วยเหลือจากโครงการต่างๆ จะทำผ่านหน่วยงานที่ชื่อว่า Centrelinkซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์ในลักษณะเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว (One stop service) • ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถเข้าถึงสิทธิที่พึงได้อย่างง่ายดาย

  29. ออสเตรเลีย • เงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีภาระในการดูแลผู้อื่น • เงินช่วยเหลือการเลี้ยงดูเด็ก • เงินช่วยเหลือเมื่อว่างงาน • เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ • เงินช่วยเหลือในกรณีเจ็บป่วย พิการ ตั้งครรภ์ • เงินช่วยเหลือยามฉุกเฉิน

  30. เกาหลีใต้ • การประกันความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน (Basic Livelihood Security , BLS) • ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จาก BLS จะต้องผ่านเงื่อนไขสองประการคือ (1) รายได้จะต้องอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ารายจ่ายในระดับพอยังชีพที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด (2) ผู้รับสิทธิประโยชน์จะต้องไม่มี “ผู้ให้ความดูแลตามกฏหมาย” (Legal supporters) • เงินช่วยเหลือได้แก่ ค่าใช้จ่ายเพื่อการยังชีพ เงินช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย เงินช่วยเหลือด้านการศึกษา เงินช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือเพื่อดูแลเด็ก และ เงินช่วยเหลืองานศพ • จำนวนเงินช่วยเหลือจะถูกคำนวณให้เพียงพอที่จะทำให้ผู้ยากจนมีเงินได้เพียงพอต่อการยังชีพ

  31. สรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศต่างๆสรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศต่างๆ • ในประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการ จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก • ต้องมีการจัดเก็บภาษีเงินได้ ในอัตราที่สูง รวมถึงภาษีอื่นๆ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม • ระบบประกันสุขภาพที่ดีทำให้ประชากรมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวมากขึ้น ประชากรในวัยทำงานน้อยลง ทำให้ภาษีที่จัดเก็บได้ลดลง

  32. สรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศต่างๆสรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศต่างๆ • ระบบการประกันการว่างงาน ส่งผลให้แรงงานขาดแรงจูงใจในการหางานเมื่อยามว่างงาน • รูปแบบของการให้เงินช่วยเหลือจะต้องมีกลไกในการกระตุ้นให้เกิดการทำงาน ลดการพึ่งพาจากภาครัฐ • ปัญหาการฉ้อโกง • โครงการที่มีการทดสอบเกณฑ์ทางด้านรายได้มักประสบปัญหาการรายงานรายได้ที่ไม่เป็นจริงจึงมีต้นทุนและภาระในการดำเนินการที่สูง • โครงการช่วยเหลือด้านโภชนาการ ผู้ได้รับสิทธินำคูปองอาหารที่ได้รับไปขายต่อเพื่อแลกเป็นเงินสด, ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคิดราคาสินค้าในอัตราสูงกว่าปกติ หรือ ให้สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่กำหนดไว้ • แก้ปัญหาโดยการใช้บัตร EBT (Electronic Benefit Transfer), ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลผู้รับสิทธิประโยชน์เพื่อใช้ในการตรวจสอบความซ้ำซ้อน และ การรายงานรายได้

  33. สรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศต่างๆสรุปประเด็นปัญหาในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศต่างๆ • โครงการประเภทการให้เงินช่วยเหลืออย่างมีเงื่อนไขมักจะพบปัญหาและอุปสรรคดังต่อไปนี้ • พื้นที่ที่อยู่ห่างไกลบริการจากรัฐ ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ • การพิจารณาเข้าร่วมโครงการมีเป็นครั้งคราว • ต้นทุนในการดำเนินการตรวจสอบเงื่อนไขสูง • ปัญหาการรายงานรายได้เท็จ

  34. ข้อเสนอแนะในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศไทยข้อเสนอแนะในการดำเนินการสวัสดิการของประเทศไทย • ระบบสวัสดิการจะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และ การแก้ปัญหาความยากจนในระยะยาวไปพร้อมๆ กัน • ระบบสวัสดิการจะต้องมีกลไกที่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาความยากจนในเชิงโครงสร้าง เช่น การลงทุนมนุษย์ • เงินสวัสดิการจะต้องเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายคือผู้ยากไร้อย่างตรงจุด • ระบบสวัสดิการจะต้องมีกลไกในการกระตุ้นการทำงาน • ควรจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดการบริหารโครงการสวัสดิการต่างๆ • ควรจัดให้มีการติดตามเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลของโครงการ

  35. โครงการที่ให้ความช่วยเหลือแก่คนจนทั่วไปโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแก่คนจนทั่วไป • โครงการความช่วยเหลือด้านอาหาร • เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารซึ่งเป็นรายจ่ายที่สำคัญในการดำรงชีวิตแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้คนยากจนในวัยทำงานมีพลังงานในการทำงาน ทำให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีสามารถไปโรงเรียน • โครงการด้านที่พักอาศัย • โครงการประเภทให้เงินอุดหนุนค่าเช่าสำหรับคนในเมือง • ให้เงินอุดหนุนเพื่อการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับคนในชนบท

  36. โครงการเสริมที่เน้นเฉพาะกลุ่มบุคคลต่างๆโครงการเสริมที่เน้นเฉพาะกลุ่มบุคคลต่างๆ • โครงการสวัสดิการสำหรับเด็กและสตรี • โครงการช่วยเหลือด้านอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์ให้แก่สตรีมีครรภ์ และ เด็กเล็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ • โครงการให้เงินอย่างมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer) ที่จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ครอบครัวที่รับสวัสดิการจะต้องพาเด็กไปโรงเรียน หรือ ไปตรวจสุขภาพอยู่เสมอ • การให้ความช่วยเหลือเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางไปโรงเรียน

  37. โครงการเสริมที่เน้นเฉพาะกลุ่มบุคคลต่างๆโครงการเสริมที่เน้นเฉพาะกลุ่มบุคคลต่างๆ • โครงการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ • โครงการเบี้ยยังชีพ หรือ เบี้ยคนพิการ เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับผู้สูงอายุ หรือ ผู้พิการที่ไม่มีคนดูแล • ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย • โครงการสวัสดิการสำหรับแรงงานนอกระบบ • ควรมีโครงการประกันการจ้างงานสำหรับเกษตรกรที่ว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว • การให้เงินช่วยเหลือเมื่อเกษตรกรประสบปัญหาภัยพิบัติ • ส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคม • ผ่อนผันเกณฑ์การจ่ายเงินสบทบให้สอดคล้องกับความผันผวนของรายได้ • อนุญาติให้มีการถอนเงินสะสมบางส่วนออกมาใช้ในยามฉุกเฉิน

More Related