220 likes | 421 Views
ปลาน้ำจืด. จัดทำโดย. นาย สายธาร พรมเขียว . ชั้นม.3/1 เลขที่14. เสนอ. อาจารย์ วร นิพิฐ ปาลา. ปลา20ชนิด. มีดังนี้ 1 กดหลาว 2 กดหิน 3 กดเหลือง 4 กระดี่นาง 5กระดี่หม้อ 6 กระทิงดำ 6 กระทิงไฟ 7 ปลากระเบนน้ำจืด 8 กระมัง
E N D
ปลาน้ำจืด จัดทำโดย นาย สายธาร พรมเขียว ชั้นม.3/1 เลขที่14 เสนอ อาจารย์ วรนิพิฐปาลา
ปลา20ชนิด มีดังนี้ 1 กดหลาว 2 กดหิน 3 กดเหลือง 4 กระดี่นาง 5กระดี่หม้อ • 6 กระทิงดำ 6 กระทิงไฟ 7 ปลากระเบนน้ำจืด 8 กระมัง • 9 กระสง 10 กระสูดขีด 11กระสูบจุด 12 กระแหนทอง • 13 กระโห้ 14 กาย 15 กริมข้างราย 16 กัด 17 กา 18 ก้าง • 19 ก้าง 20ก าแดง
กดหลาว • .กดหลาวชื่ออังกฤษTRUNCATED ESTUARINE CATFISH ชื่อวิทยาศาสตร์ Arius truncatusลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด ส่วนหัวแบนราบลงเล็กน้อย ลักษณะเด่นคือระหว่าง จมูกทั้งสองคู่มีแผ่นเนื้อแข็งๆกั้นกลาง นัยน์ตาเล็ก มีหนวดค่อนยาว 3 คู่ ฟันบนเพดานปากมีขนาดเล็ก หางคอดเล็กน้อย ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ขอบหนามหยัก เป็นฟันเลื่อย มีครีบไขมันตรงข้ามกับ ครีบก้น พื้นลำตัวสีเหลือง ท้องสีขาว ครีบหนังสีเทาเข้ม ปลายสีดำจาง ครีบหางสีเทาเข้ม ครีบอื่น ๆ สีเหลือง ปลากดหลาวอยู่รวมกัน เป็นฝูงใหญ่ ว่ายน้ำรวดเร็วและว่องไว เป็นปลาทะเลที่เข้ามาหากินในน้ำจืด ถิ่นอาศัย แหล่งน้ำกร่อยและอพยพมาอยู่แหล่งน้ำจืด พบบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 16-33 ซม.
กดหิน • 2.กดหิน ชื่ออื่น ๆ แขยงหิน ชื่ออังกฤษ SIAMESE ROCK CATFISH ชื่อวิทยาศาสตร์ Leiocassissiamensisลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็ก ๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่ มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกัน ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแทบสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มพาดขว้างลำตัว แถบที่ว่านี้มีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา ถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ แม่น้ำวัง จ.ลำปาง น.แม่กลอง จ.ราชบุรี ฯลฯ อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 17 ซม.
กดเหลือง • 3.กดเหลืองชื่ออังกฤษ YELLOW MYSTUS ชื่อวิทยาศาสตร์ Mystusnemurusลักษณะทั่วไป ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อยทางส่วนหาง หัวค่อนข้างแบนลง ตาไม่มีหนังปกคลุม มีหนวด 4 คู่ ที่จมูก ที่ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คาง หนวดที่ริมฝีปากบน ยาวไปถึงครีบก้นหนวดจมูกสั้นยาวจรดนัยน์ตา ครีบหลังมีหนามแหลมคม 1 อัน ครีบหูมีหนามแหลมเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลปนเขียว ท้องสีเหลืองอ่อน ถิ่นอาศัย เดิมอาศัยอยู่ในทะเล แต่ได้เข้ามาผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำจืดแล้วไม่กลับไปสู่ทะเลอีกเลย พบแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาค อาหาร กินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 20 - 35 ซม.
กระดี่นาง • 4.กระดี่นางชื่ออังกฤษ ARMED SPINY EEL ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembelusarmatusลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับปลาสลิด กระดี่หม้อ กระดี่มุก และอยู่ในวงศ์เดียวกับปลาหมอไทย กระดี่นางมีสีขาวนวล ลำตัวบาง เกล็ดบาง เกล็ดเล็กละเอียดขอบเกล็ดเป็นจักรเช่นเดียวกับเกล็ดปลาหมอ มีเส้นก้านครีบเป็นรยางค์ยาวอยู่ใต้ท้อง 1 คู่ เพศผู้จะมีสีแสดบริเวณท้อง กล่าวกันว่า ปลากระดี่จะใช้รยางค์คู่นี้เป็นเครื่องรับความรู้สึก มีนิสัยสงบ เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้ดี แต่ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีนิสัยกีดกันระรานปลาอื่น ถิ่นอาศัย มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ หนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น อาหาร กินแมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 15 ซ.ม.
กระดี่หม้อ • 5.กระดี่หม้อชื่ออื่น ๆ สลาก( แม่กลาง, แม่สะเรียง), สลาง(ภาคเหนือ) ชื่ออังกฤษ THREE - SPOT GOURAMI ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichogastertrichopterusลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีปริมาณชุกชุมกว่าปลาชนิดอื่น ในจำพวกเดียวกัน จัดเป็นปลาขนาดเล็กที่มีรูปร่างสวยงามกว่าปลากระดี่ชนิดอื่น ลำตัวเป็นสีขาวเงินเทาอมฟ้า มีริ้วดำพาดขวางเป็นประตลอดลำตัว ลักษณะพิเศษ คือมีจุดสีดำที่กลางตัวและตรงบริเวณคอดหางแห่งละจุด ถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธาร คลอง หนองบึงและบ่อที่มีวัชพืชปกคลุม อาหาร กินตะไคร่น้ำ แมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ขนาด ความยาวประมาณ 6 ซม.
กระทิงดำ • 6.กระทิงดำ ชื่ออื่น ๆหลาดชื่ออังกฤษ ARMED SPINY EEL ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembelusarmatusลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาไหลแต่ลำตัวแบนข้าง มีเกล็ดเล็กละเอียดบนลำตัวและหัว ด้านบนมีสีน้ำตาลเข้มมีแถบสีดำเป็นเส้นคดเคี้ยวตั้งแต่บริเวณนัยน์ตาจนถึงฐานครีบหาง เส้นแถบนี้จะประแต้มไปจนถึงครีบหลังและครีบก้น ปากเล็ก ฟันซี่เล็ก ลักษณะจะงอยปากยาวดูคล้ายงวง ช่องเหงือกแคบเล็ก อยู่ค่อนไปทางตอนใต้ของส่วนหัว ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกัน บริเวณหน้าครีบหลัง และครีบท้องมีก้านครีบเดียวที่เป็นหนามแข็งปลายแหลม ไม่มีครีบท้อง ถิ่นอาศัย ในแม่น้ำ หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาค อาหาร กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ขนาด เคยมีผู้พบยาว 70 ซม.
กระทิงไฟ • 7.กระทิงไฟ ชื่ออื่น ๆ กระทิงลายดอกไม้ ชื่ออังกฤษ FIRE SPINY EEL ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembeluserythrotaeniaลักษณะทั่วไป อยู่สกุลเดียวกับปลากระทิงดำ แตกต่างกันที่สีของลำตัว กระทิงไฟมีสีน้ำตาลหรือดำ มีแต้มและแถบสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงเป็นแถวตามความยาวของลำตัว ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากกระทิงชนิดอื่นคือ กระทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้านัยน์ตา กระทิงไฟที่พบในภาคกลาง จะมีสีแดงที่สดใสกว่าแหล่งอื่น ถิ่นอาศัย อยู่ในบริเวณน้ำจืดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย(ทะเลสาบสงขลาตอนใน) อาหาร กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ขนาด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีผู้พบยาวถึง 1 เมตร
ปลากระเบนน้ำจืด • 8.กระเบนน้ำจืดชื่ออังกฤษ FRESHWATER STINGRAY ชื่อวิทยาศาสตร์ Dasyatisbleekeriลักษณะทั่วไป ลำตัวเบน ทรวดทรงมีลักษณะคล้ายจานหรือว่าว ครีบหูเชื่อมเป็นแผ่นกับลำตัว ส่วนยาวของลำตัวยาวกว่าส่วนกว้าง ส่วนของจะงอยปากยื่นออกมาเป็นปลายแหลม ครีบหางแหลมเรียวยาวมีลักษณะคล้ายแซ่ โคนหางมีเงื่อนแหลมคม 2 อัน มีต่อมพิษอยู่ใกล้ ๆ กับโคนหาง ซึ่งจะปล่อยพิษออกทางเงี่ยงได้ ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง ในท้องถิ่นหลายจังหวัด เช่น อุบลราชธานี นครพนม และหนองคาย อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ลำตัวกว้าง 20-50 ซม.
กระมัง • 9.กระมัง ชื่ออื่น ๆ มัง (บึงบอระเพ็ด), วี (เชียงราย),เลียม(ปากน้ำโพ), เหลี่ยม(ปากน้ำโพ), แพะ( ภาคใต้),สะกาง (หนองคายและนครพนม) ชื่ออังกฤษ SMITHL' S BARB ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntioplitesprotozsronลักษณะทั่วไป อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน ลำตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวและลำตัวแบนข้าง นัยน์ตาโตและอยู่ค่อนไปทางด้านบน ไม่มีหนวด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านหลังสีคล้ำ แต่ด้านท้องเป็นสีเงิน ลักษณะสำคัญที่แตกต่างกว่าปลาสกุลปลาตะเพียนคือ ก้านครีบเดี่ยวอันสุดท้ายของครีบก้นมีขนาดใหญ่แข็ง และขอบด้านในหยักคล้ายฟันเลื่อย กระโดงหลังของปลากระมังที่พบในแม่น้ำโขง จะมีความสูงสะดุดตากว่าแหล่งอื่น ๆ แต่เคยมีผู้พบยาวประมาณ 22 - 22.5 ซม. ถิ่นอาศัย ในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศ แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น อาหาร กินพืชพันธุ์ไม้น้ำ อินทรีย์สารที่เน่าเปื่อย ขนาด ความยาวประมาณ 13 -15 ซม.
กระสง • 10.กระสงชื่ออังกฤษ BLOTCHED SNAKE - HEAD FISH ชื่อวิทยาศาสตร์ Channaluciusลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวบนสีน้ำตาลแก่ และมีจุดดำทั่วไป ข้างลำตัวมีแถบสีดำขวางลำตัวประมาณ 12 แถบ ท้องสีเหลืองจาง ครีบทุกครีบสีดำ ถิ่นอาศัย พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง มีชุกชุมในภาคกลาง อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ซึ่งมีชีวิต ขนาด ความยาวประมาณ 20 - 40 ซม.
กระสูบขีด • 11.กระสูบขีดชื่ออังกฤษTRANSVERSE - BAR BARB ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampalamacrolepidotaลักษณะทั่วไป ตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบน ท้องกลมมน จะงอยปากแหลม ปากกว้าง และเฉียงขึ้น เล็กน้อย มีหนวดที่มุมปากบนคู่หนึ่งครีบหลัง อยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง เกล็ดใหญ่ หางเป็น แฉกลึก สีของปลาชนิดนี้เป็นที่สะดุดตา เมื่อเจริญวัยเต็มที่ลำตัวจะเป็นสีขาวเงิน สีด้านหลัง ค่อนข้างเข้ม มีลายดำพาดขวางกลางตัว จากส่วนหน้าของครีบหลังไปยังฐานของครีบท้อง หางสีแดงสดริมแฉกบนและล่าง ของเป็นสีดำ ครีบอื่น ๆ สีส้มหรือแดง ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ภาคใต้พบที่.ปัตตานี น.ตาปี และในทะเลสาบสงขลา ภาคกลางพบที่ น.เจ้าพระยาเรื่อยไปจนถึงบึงบอระเพ็ด น.ท่าจีน น.น้ำบางปะกง ภาคเหนือพบที่ น.ปิง น.จีน และภาคอีสานพบที่ น.โขง น.มูล น.ศรีสงคราม และในเขต จ.ชลบุรี จ.จันทบุรี และจ.ตราด อาหาร กินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร ขนาด ความยาวประมาณ 20 - 30 ซม.
กระสูจุด • 12.กระสูบจุดชื่ออังกฤษ EYE - SPOT BARB ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampaladisparลักษณะทั่วไป เป็นปลารวมฝูงอยู่ในสกุลเดียวกับปลากระสูบขีด รูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ขนาดเล็กกว่า ลักษณะที่แตกต่างไปจากกระสูบขีด คือ ครีบหางเล็กและสั้น แฉกบนของครีบหางใหญ่กว่าแฉกล่าง หนวดที่ริมปากบนสั้นมาก ลักษณะที่เด่นอยู่ตรงที่มีจุดดำขนาดใหญ่อยู่กลางลำตัวข้างละจุด หางมีสีแดงเหมือนกระสูบขีด แต่ริมแฉกบนและล่างไม่มีแถบสีดำ ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำ ลำคลอง หนองและบึง ของภาคอีสาน เช่น แม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี หนองหาร จ.สกลนคร แม่น้ำศรีสงคราม จ.นครพนม และห้วยหลวง จ.อุบลราชธานี อาหาร กินลูกกุ้ง ลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ขนาด ความยาวประมาณ 11 - 20 ซม.
กระแหทอง • 13.กระแหทองชื่ออื่น ๆ กระแห, ตะเพียนหางแดง, เลียนไฟ(ภาคอีสาน) ,ลำปำ(ภาคใต้) ชื่ออังกฤษ SCHWANENFELD'S TINFOIL BARB ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntiusshwanenfeldiลักษณะทั่วไป มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากเล็กและอยู่ปลายสุด หนวดเล็กสั้นมี 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ครีบหางใหญ่ ปลายเป็นแฉกลึก กระโดงหลังสูง และกว้างมีก้านครีบเดี่ยว ที่แข็งและขอบหยัก เป็นฟันเลื่อยอยู่อันหนึ่ง สีพื้นของลำตัวเป็นสีขาวเงินหรือสีเหลืองปนส้ม ด้านหลังสีเทาปนเขียว ขอบนัยน์ตาดำเป็นสีเหลือง แก้มเหลืองปนแดง กระโดงหลังสีแดงและมีแถบดำปลายกระโดง ขอบบนและล่างของครีบหาง มีแถบสีดำข้างละแถบ ถิ่นอาศัย พบตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงทั่วทุกภาค อาหาร พืชพันธุ์ไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลง ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย ขนาด ความยาวตั้งแต่ 15 - 35 ซม.
กระโห้ • 14.กระโห้ ชื่ออื่น ๆ กะมัน(ภาคอีสาน) , หัวมัน(ภาคอีสาน) ชื่ออังกฤษ SIAMESE GIANT CARP ชื่อวิทยาศาสตร์ Catlocarpiosiamensisลักษณะทั่วไป มีเกล็ดขนาดใหญ่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ลำตัวค่อนข้างป้อมแบนข้าง ส่วนของลำตัว บริเวณถัดจากช่องเปิดเหงือกโค้งเป็นสันนูนขึ้นมา หัวโต ความยาวของหัว จะประมาณ หนึ่งในสามของลำตัว นัยน์ตาโตอยู่ใกล้ปลายจะงอยปาก ไม่มีหนวด ปากกว้าง มีฟัน ในลำคอหนึ่งแถว เกล็ดกลมมนขอบเรียบ ขนาดของเกล็ด ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา ปลากระโห้ในไทยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลากระโห้อินเดีย แตกต่างกันตรง ที่ กระโห้อินเดียมีหนวด นัยน์ตาพองโตกว่าและมีฟันที่ลำคอสองแถว สีของปลากระโห้โดย ทั่วไป ลำตัวมีสีเทาปนดำ สีของเกล็ดด้านหลังจะเข้มกว่าด้านข้างและด้านท้อง ครีบทุกอัน มีสีแดงปนส้ม ถิ่นอาศัย เคยมีอยู่ชุกชุมในลุ่ม น.แม่กลอง น.เจ้าพระยาจนถึงบึงบอระเพ็ด ในปัจจุบันมีปริมาณน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีปรากฏให้พบเห็นอยู่บ้างในลำน้ำโขง อาหาร กินแพลงก์ตอนและพันธุ์ไม้น้ำ ขนาด เคยมีผู้จับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2466 มีขนาดยาวถึง 3 เมตร โดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 1 - 2 เมตร
กราย • 15.กราย ชื่ออื่น ๆ หางแพน(ภาคเหนือ), ตองกราย(ภาคอีสาน) ชื่ออังกฤษ SPOTTED FEATHERBACK ชื่อวิทยาศาสตร์Notopteuschitalaลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่น คือ ลำตัวด้านข้างแบนมาก ท้องแบน เป็นสันและมีหนามแหลมแข็งฝังอยู่เป็นคู่ ๆ จำนวนหลายคู่ จะงอยปากสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก ปากกว้าง มีฟันเล็กและแหลมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ข้างลำตัวเหนือ ครีบก้น แต่ละด้าน มีจุดกลมขนาดใหญ่สีดำ ขอบสีขาวเรียงเป็นแถว จำนวน 5 - 10 จุด ปลากรายชอบ ผุดขึ้น มาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว ถิ่นอาศัย พบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อาหาร ได้แก่ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็ก ๆ เช่น กระทุง ขนาด ที่พบทั่วไปมีความยาว 48 - 85 ซม.
กริมข้างลาย • 16.กริมข้างลาย ชื่ออื่น ๆ กัดป่า ชื่ออังกฤษ STRIPED CROAKING GOURAMI ชื่อวิทยาศาสตร์Trichopsisvittatusลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลากัด ปากค่อนข้างแหลม ขากรรไกรทั้งสองข้าง มีฟันรูปสามเหลี่ยมซี่เล็ก ๆ เรียงอยู่หนึ่งแถว ครีบหลังยาวเรียว มีขนดสั้นกว่าครีบก้น และอยู่ใกล้กับส่วนหางซึ่งเป็นรูปคล้ายใบโพธิ์ ปลากริมแต่ละตัวมีสีสันแตกต่างกันไป แม้จะเป็นปลาจากแหล่งเดียวกันโดยทั่วไปแล้วจะมีสีน้ำเงิน เขียว และแดงผสมกัน คล้ายสีของปลากัด มีแถบสีดำตามยาวของลำตัวอยู่ 3 แถบ และมีจุดสีดำหนึ่งจุดที่เหนือ ครีบหู จุดสีดำดังกล่าวจะมีเฉพาะปลาเพศผู้เท่านั้น ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาค ตามลำธารเล็ก ๆ บึง หนอง สระแม้แต่ในท้องร่องสวน ที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้น้ำ อาหาร กินตัวอ่อนของแมลง ลูกน้ำ ลูกไร และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวไม่เกิน 6.5 ซม.
กัด • 17.กัด ชื่ออื่น ๆ กัดจีน ชื่ออังกฤษ SIAMESE FIGHTING FISH, BETTA ชื่อวิทยาศาสตร์Bettasplendensลักษณะทั่วไป ลำตัวเพรียวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแนวยาวจรดหาง มีอวัยวะ ช่วยในการหายใจเหนือผิวน้ำโดยใช้ปากฮุบอากาศโดยตรงไม่ต้องผ่าานช่องเหงือก สีลำตัวและครีบมีหลายหลากสีจนไม่สามารถแจกแจงได้หมด เกล็ดมีขนาดเล็ก ละเอียดครอบคลุมถึงส่วนหัว ถิ่นอาศัย ในธรรมชาติปลากัดอาศัยอยู่ตามบึง และหนองน้ำที่มีพันธุ์ไม้ขึ้น ปกคลุมอย่างหนาแน่น พบชุกชุมในภาคกลาง ส่วนภาคอื่น ๆ ก็พบทั่วไป อาหาร กินตัวอ่อนแมลง ลูกน้ำ ไรน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด ความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว
กา • 18.กา ชื่ออื่น ๆ เพี้ย ชื่ออังกฤษ GREATER BLACK SHARK ชื่อวิทยาศาสตร์Moruliuschrysophadionลักษณะทั่วไป ลำตัวเรียวยาวด้านข้างแบนเล็กน้อย สันหลังโค้งสูง ส่วนท้องแบน ปากอยู่ในแนว เดียวกับสันท้อง ยืดหดได้ และมีลักษณะแบบปากดูด ริมฝีปากบนและล่างเป็นหยัก มีติ่งเนื้อเป็นฝอยสั้น ๆ อยู่รวมกันเป็นกระจุก มีหนวด 2 คู่ ครีบหลังมีขนาดใหญ่และ สูงมาก ครีบท้องยาวจดตอนต้นของครีบก้น ครีบหางเว้าลึก สีของลำตัวมีตั้งแต่ม่วงแก่ ไปจนถึงดำเข้ม เกล็ดทุกเกล็ดมีจุดสีเหลืองจาง ๆ อยู่ตรงกลาง ครีบสีดำทั้งสิ้น ถิ่นอาศัย แหล่งน้ำที่มีระดับน้ำตื้น ๆ และมีพันธุ์ไม้น้ำ อาหาร กินตะไคร่น้ำ พืชน้ำขนาดเล็กแพลงก์ตอน ซากพืช และตัวอ่อนแมลงน้ำ ขนาด ใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 48 ซม.
ก้าง • 19.ก้างชื่ออังกฤษ RED - TAILED SNAKEHEAD ชื่อวิทยาศาสตร์Channagachuaลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีลำตัวยาวและค่อนข้างกลม มีเกล็ดที่หัวและลำตัว ทำให้ดูคล้าย กับลักษณะของหัวงู จะงอยปากสั้นทู่ ปากกว้างและมีฟันแหลมคม อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง นัยน์ตาเล็กและอยู่ใกล้ริมฝีปาก ครีบหลังและครีบก้นมีฐานยาว ครีบหูกลมมน ครีบท้องอยู่ ใกล้กับครีบหู ครีบหางมีขนาดใหญ่และกลมมน มีหนวดสั้น 1 คู่ อยู่ริมรูจมูก สีของปลาก้าง โดยเฉพาะริมครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นสีแดงสด ตัวครีบเหล่านี้มีสีม่วง ลำตัวสีเทา ด้านหลังเป็นสีเทาเข้ม ท้องสีน้ำตาลและสีขาว ถิ่นอาศัย พบแพร่กระจายอยู่ในลุ่มตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และลำธาร ที่อยู่บนภูเขาสูง ปลาก้างสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่สูงถึง 2,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้งและแมลงน้ำ ขนาด ความยาวไม่เกิน 20 ซม.
กาแดง • 20.กาแดง ชื่ออื่น ๆ สร้อยหลอด ชื่ออังกฤษRED - FINNED BLACK SHARK ชื่อวิทยาศาสตร์Epalzeorhynchosfrenatusลักษณะทั่วไป ลำตัวยาวเรียว ส่วนท้องแบน ปากอยู่ในระดับแนวเดียวกับสันท้อง มีหนวด 4 เส้น ครีบหลังมีขนาดใหญ่ครีบหางเว้าลึก สีของลำตัวจะเปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพ แวดล้อม ที่อยู่อาศัย สีมีตั้งแต่น้ำตาลจาง น้ำตาลเข้มไปจนถึงสีน้ำเงินปนดำ บริเวณหัวมีแถบ สีดำพาดจากปลายสุดของปากไปสุดที่ขอบกระดูกกระพุ้งแก้ม มีจุดสีดำกลม ขนาดใหญ่ที่ โคน หางข้างละจุด ครีบทุกครีบมีสีแดงปนส้ม ถิ่นอาศัย บริเวณลุ่ม น.โขง แม่น้ำภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาหาร กินตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนแมลงขนาดเล็ก ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย ขนาด ความยาวประมาณ 10 -11 ซม.