290 likes | 372 Views
การให้บริการปรึกษาครอบครัวเบื้องต้น. ผศ.โสภา อ่อนโอภาส อ.นุช นาฎ ยูฮัน เงาะ. การให้บริการปรึกษา. กระบวนการให้ความช่วยเหลือที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
E N D
การให้บริการปรึกษาครอบครัวเบื้องต้นการให้บริการปรึกษาครอบครัวเบื้องต้น ผศ.โสภา อ่อนโอภาส อ.นุชนาฎยูฮันเงาะ
การให้บริการปรึกษา • กระบวนการให้ความช่วยเหลือที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ให้การปรึกษาซึ่งผ่านการฝึกอบรมจนมีทักษะและความชำนาญกับผู้ใช้บริการที่มีปัญหาคับข้องใจ โดยอาศัยการสื่อสารแบบสองทางเพื่อช่วยผู้ใช้บริการได้สำรวจ และทำความเข้าใจถึงสิ่งที่เป็นปัญหาและสามารถแสวงหาหนทาง แก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้
จุดมุ่งหมาย • 1. ผู้ใช้บริการเข้าใจตนเอง • 2. ยอมรับปัญหาที่มีอยู่ • 3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่เหมาะสม
การให้บริการปรึกษาครอบครัวการให้บริการปรึกษาครอบครัว • ครอบครัวเป็นระบบที่เล็กที่สุดแต่สำคัญที่สุดในระบบสังคม • ระบบของครอบครัวประกอบด้วยระบบย่อยที่มีความสัมพันธ์ของเรื่องต่อไปนี้ 1. เพศ 2. สามี ภรรยา 3. พ่อแม่ลูก
สาเหตุของปัญหาของครอบครัวสาเหตุของปัญหาของครอบครัว • ความขัดแย้ง (ความคิด ความรู้สึก การกระทำ) • ความยึดติด ไม่เปลี่ยนแปลง (ความเคยชิน เหมือนเดิม) การปฏิเสธ หลีกเลี่ยงความจริง (ไม่พร้อมเผชิญสภาพเป็นจริง) ความต้องการควบคุมอีกฝ่ายหนึ่งให้เป็นให้ได้ตามที่ต้องการ • ความกลัว ความรู้สึกผิด ความละอายใจ (เสียดาย ดูถูก ยอมจำนน) • การไม่อยู่กับปัจจุบัน (ย้อนอดีต การคาดอนาคต)
ปัญหาการขัดแย้งของบุคคลปัญหาการขัดแย้งของบุคคล 1. ปัญหาการไม่เข้าใจกัน 2. ปัญหาการสื่อสาร 3. ปัญหาโลกส่วนตัวสูง การแก้ปัญหา 1. แยกแยะประเด็นปัญหาให้ชัดเจน 2. สื่อสารทำความเข้าใจ 3. ร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหา 4. แก้ไขตามวิธีที่เลือกไว้
การให้บริการปรึกษาครอบครัว มีประโยชน์อย่างไร • เพื่อให้บุคคลมีความสามารถในการทำความเข้าใจในครอบครัวและวัยรุ่น สร้างขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพครอบครัวได้สูงสุด และช่วยให้สมาชิกในครอบครัวสามารถพัฒนาตนเอง และ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอนาคต • เพื่อพัฒนาความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของบุคคลทั้งด้าน ค่านิยม สไตล์การทำงาน ความคิด ความรู้สึก และความจำเป็นในชีวิต
คุณลักษณะที่ดีของผู้ให้การปรึกษาคุณลักษณะที่ดีของผู้ให้การปรึกษา • มีเจตคติที่ดีในการให้ความช่วยเหลือ • ไม่ยึดตนเองเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผู้อื่น • ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข • มีความสำนึกในคุณค่าของคน • มองโลกเชิงบวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ • เป็นผู้ฟังที่ดี เก็บรักษาความลับ • มีทักษะการสื่อสารที่ดี
กระบวนการการให้บริการปรึกษากระบวนการการให้บริการปรึกษา
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ • ต้องมีการแสดงออกทั้งคำพูด กิริยา ท่าทาง หรือลายลักษณ์อักษรซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ความใส่ใจ น้ำใจไมตรี ความกระตือรือร้นที่จะให้ความช่วยเหลือ ทำให้เกิดความสบายใจ และไว้วางใจที่จะเปิดเผยความลับ
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจ เข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ • เริ่มเข้าสู่การค้นหาปัญหาและเข้าใจปัญหา ผู้ให้บริการต้องมีทักษะ ความชำนาญในการรับรู้ความคิด ความรู้สึก และสามารถเข้าใจปัญหาของผู้ใช้บริการ
ขั้นที่ 3 ขั้นการกำหนดเป้าหมาย • จะต้องช่วยให้ผู้ใช้บริการได้กำหนดหรือตั้งเป้าหมายสิ่งที่พอใจอยากจะเห็นหรือบรรลุผลสำเร็จ จะต้องสามารถกำหนดให้ชัดเจนถึงผลที่ต้องการซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนและปฏิบัติ • การที่ผู้ใช้บริการมีแนวทาง หรือวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ให้บริการต้องให้ข้อมูล และ ข้อเสนอแนะได้
ขั้นตอนที่ 5 การติดตามผลและยุติการให้บริการปรึกษา • ผู้ใช้บริการสามารถปฏิบัติตามแผนและบรรลุผลผู้ให้บริการจะช่วยเน้นความรู้สึกให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นคงและมีการนัดที่ห่างออกไป เพื่อติดตามผลถึงความสำเร็จและยุติการให้บริการปรึกษา
ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผล • การได้ทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติ ทั้งในส่วนดีและที่ติดขัดเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความสามารถในการให้บริการปรึกษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
ทักษะพื้นฐานในการให้การบริการปรึกษาทักษะพื้นฐานในการให้การบริการปรึกษา • การสร้างสัมพันธภาพ • การถาม • การฟัง • การสังเกต • การให้กำลังใจ • การสะท้อนความรู้สึก • การให้ข้อมูล • การ
1. การสร้างสัมพันธภาพ เป็นการแสดงความตั้งใจและจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ และตลอดระยะเวลาของกระบวนการให้บริการปรึกษา ซึ่งผู้ให้บริการปรึกษาสามารถสื่อความหมายออกมาได้ทั้งภาษาพูดและกิริยาท่าทาง
แนวทางการสร้างสัมพันธภาพแนวทางการสร้างสัมพันธภาพ ทักทาย พูดคุยทั่วไป ใส่ใจ บริการของหน่วยงาน เปิดประเด็น
การคำถาม • การตั้งคำถามแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา และความต้องการของผู้ใช้บริการ • แนวทางการใช้คำถาม 1.คำถามปิด 2.คำถามเปิด
การฟัง • การที่ผู้ให้บริการปรึกษารับฟังความคิด อารมณ์ ความรู้สึกในปัญหาของผู้ใช้บริการในขณะที่ให้บริการปรึกษา • แนวทางการฟังที่แสดงถึงความสนใจและเข้าใจ 1.ประสานสายตา 2.ซักถามในจุดที่สงสัย 3.แกะรอย ไม่เปลี่ยนเรื่อง 4. ใส่ใจการแสดงออก 5.มีการตอบสนอง
การสังเกต • การใช้การมองด้วยตาและรับฟังด้วยหูเพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้บริการแสดงออกมาและแปลความหมายเหล่านั้นออกมาเป็นคำพูดให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์มากขึ้น • แนวทางการสังเกต 1. กิริยาท่าทาง 2. ภาษาที่ใช้ 3.ความขัดแย้งของคำพูดกับท่าทาง
การเงียบ • เป็นช่วงระยะเวลาระหว่างการปรึกษาที่ไม่มีการสื่อสารด้วยวาจา ระหว่างผู้ให้บริการปรึกษาและผู้ใช้บริการ • แนวทาง 1.การเงียบเชิงบวก 2.การเงียบเชิงลบ
การทวนซ้ำ • การพูดในสิ่งที่ผู้ใช้บริการได้บอกเล่าหรือพูดไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าในแง่ของภาษา หรือความรู้สึก เพื่อให้ผู้พูดได้คิดทบทวนสิ่งที่พูดออกมา • แนวทางการทวนซ้ำ 1. ทวนซ้ำทุกคำพูด 2. ทวนซ้ำสาระสำคัญ 3.ทวนซ้ำเพื่อให้คิดอีกครั้ง
การให้กำลังใจ • การแสดงความสนใจ ความเข้าใจในสิ่งที่ผู้ใช้บริการได้พูดมาแล้วและเป็นการสนับสนุนให้เขาได้พูดต่อไป • แนวทางการให้กำลังใจ 1.แสดงกิริยารับรู้ 2. ทวนซ้ำ 3. เงียบ 4. ใช้คำพูด
การสะท้อนความรู้สึก • การที่ผู้ให้บริการปรึกษารับรู้ความคิดความรู้สึกอารมณ์ต่างๆที่ผู้ใช้บริการแสดงออกมา และสะท้อนความรู้สึกที่แท้จริงออกมาเป็นคำพูด • แนวทาง 1.ฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด 2.หาคำที่ตรงกับความรู้สึกนั้นและสะท้อนออกมา
การให้ข้อมูล • เป็นการสื่อสารทางวาจา เพื่อให้รายละเอียดต่าง ๆที่จำเป็นแก่ผู้ใช้บริการ อันจะเป็นประโยชน์ในการเข้าใจถึงปัญหาของตนเอง และใช้ประกอบการตัดสินใจซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการปรึกษามีทางเลือกในการปฏิบัติ
การสรุปความ • เป็นการรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการให้บริการปรึกษาหรือเมื่อจบการให้บริการปรึกษาออกมาเป็นคำพูดสั้นๆ ให้ได้ใจความสำคัญสำคัญซึ่งจะมีทั้งสรุป เนื้อหา ความรู้สึก และกระบวนการ • แนวทาง 1. ในกรณีที่พูดยาวควรสรุปเนื้อหาและความรู้สึกให้สั้น กระชับ 2. ก่อนจบการให้บริการควรต้องสรุปความ
ขอบพระคุณที่ร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ขอบพระคุณที่ร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้