120 likes | 692 Views
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. สวัสดีค่ะ !!!. สมาชิกในกลุ่ม. 1.น.ส.ขวัญประภา ฐานสมบูรณ์ รหัส 463230074-1 การเงินปี 4 2.น.ส.พัชรา พิลาโพธิ์ รหัส 463230093-7 การเงินปี 4
E N D
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สวัสดีค่ะ !!! สมาชิกในกลุ่ม 1.น.ส.ขวัญประภา ฐานสมบูรณ์ รหัส 463230074-1 การเงินปี 4 2.น.ส.พัชรา พิลาโพธิ์ รหัส 463230093-7 การเงินปี 4 3.น.ส.วิภาภรณ์ ชูรัตน์ รหัส 463230266-2 การเงินปี 4 4.น.ส.นิ่มนวล สิมสินธุ์ รหัส 463230292-1 การเงินปี 4
ประวัติความเปนมาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประวัติความเปนมาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - การจัดตั้ง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 โดยการรวมหน่วยงาน ด้านการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์ และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเป็นหน่วยงานเดียวกัน มีฐานะเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เรียกชื่อย่อว่า “กฟผ.” โดยมีนายเกษม จาติกวณิชเป็นผู้ว่าการคนแรกพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535
การก้าวเข้าสู่ความเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยการก้าวเข้าสู่ความเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 โดยการรวมหน่วยงาน ด้านการผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า 3 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์ และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเป็นหน่วยงานเดียวกัน มีฐานะเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2512 เรียกชื่อย่อว่า “กฟผ.” โดยมีนายเกษม จาติกวณิชเป็นผู้ว่าการคนแรกพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535
บทบาทและความสำคัญของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบทบาทและความสำคัญของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าหรือร่วมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจดังกล่าว และให้มีอำนาจใช้สอยและครอบครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อสำรวจหาแหล่งพลังงาน ตลอดจนสถานที่สำหรับใช้ในการผลิตหรือพัฒนาพลังงานไฟฟ้าโดยชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขที่เกี่ยวกับคุณภาพไฟฟ้า เทคนิคทางวิศวกรรม และความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า ในกรณีที่เอกชนประสงค์จะเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟผ. มีสิทธิเพิ่มวงเงินในการกู้ยืมและในการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ คณะกรรมการมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินออกจากบัญชีได้ทุกกรณีโดยไม่จำกัดวงเงินโดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
ปัญหาในการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยปัญหาในการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • สถานะทางการเงินของ กฟผ. เห็นได้จากทรัพย์สินซึ่งมีทั้งสิ้น 400,000 ล้านบาท หนี้สิน 240,000 ล้านบาท มีภาระจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยสูงถึงปีละ 40,000-50,000 ล้านบาท ในขณะที่มีกำไรปีละ 20,000 ล้านบาท กฟผ.ยังโอบอุ้มพนักงานเอาไว้มากถึง 30,000 คนทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายบริหารทั่วไปสูงถึงประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ข้อสำคัญคือ หนี้สินของ กฟผ.ปัจจุบันจำนวน 240,000 ล้านบาท เป็นหนี้สินที่รัฐบาลแบกภาระค้ำประกันอยู่ และถูกรวมไว้ในยอดหนี้สาธารณะของรัฐบาลไทยที่เจ้าหนี้และนักลงทุนต่างชาติใช้คำนวณเพื่อประเมินความเข้มแข็งทางการคลังของรัฐบาลไทยด้วย ข้อสังเกตคือ ปัจจุบัน มีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรวม 63 โครงการ เป็นเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 300,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับประหยัดเงินลงทุนและหนี้สินของ กฟผ.และลดยอดหนี้สาธารณะที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลไปได้ในจำนวนเดียวกัน ถ้าไม่มีผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนเหล่านี้ กฟผ.ก็จะมีหนี้สินสูงถึง 540,000 ล้านบาท มากกว่าทรัพย์สิน เท่ากับว่า กฟผ.จะอยู่ในสภาพล้มละลาย
เหตุผลการแปรรูป กฟผ. • การแปรรูปของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อจะให้ได้มา ซึ่งเงินทุนในการบริหารงาน และการลงทุนต่างๆ จะต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมีความสามารถในการแข่งขัน และสาเหตุสำคัญ ที่มีการ แปรรูป กฟผ. ในขณะนี้เกิดจากแรงบีบคั้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะช่วงเศรษฐกิจบูม กฟผ.ได้ลงทุนขยายโรงไฟฟ้าอย่างมาก ถ้าหากไม่ให้เอกชนลงทุน กฟผ.จะต้องทำเอง ซึ่งในข้อเท็จ จริง ที่ผ่านมา กฟผ.ลงทุนเองไม่ไหว จนปัจจุบันมีหนี้สินมากมาย ทำให้ขาดสภาพคล่อง หนี้สินท่วมหัว รัฐบาลไม่สามารถแบกภาระดังกล่าวของ กฟผ. ได้ และเป้าหมายอีกประการหนึ่ง คือ การลดภาระการลงทุนของ ภาครัฐ การแปรรูปทั้งในรูปของการให้เอกชนมีบทบาทมากขึ้นหลังการขายหุ้นจะสามารถช่วยลดภาระหนี้สินของรัฐบาล และของ กฟผ.
การดำเนินการแปรรูป กฟผ. • ในช่วงแรก กฟผ.ได้ดำเนินการแปรรูปโดยถ่ายโอนทรัพย์สินให้กับบริษัทลูกของ กฟผ. ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ คือ บมจ. ผลิตไฟฟ้า เพื่อดำเนินการผลิตไฟฟ้า และขายให้ ระบบภายใต้สัญญาระยะยาว โดยทรัพย์สิน ที่ถูกถ่ายโอนไปยังบริษัทลูกคือ โรงไฟฟ้าระยอง และโรงไฟฟ้าขนอม ต่อจากนั้น ไม่นาน กฟผ.ได้เสนอสัญญารับซื้อไฟฟ้าระยะยาวให้กับภาคเอกชน เพื่อให้ภาคเอกชนได้เข้ามาลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า และมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้า โดยการขายไฟฟ้าให้กับระบบภายใต้โครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ และโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย ภายหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจกลายเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่รัฐบาลต้องดำเนินการ ตาม ที่ได้ระบุไว้ในจดหมายแสดงเจตจำนงฯ ในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในส่วนของภาคพลังงานมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นหลักในการดำเนินงาน และได้มีการจัดทำแนวทางในการแปรรูป และปรับโครงการกิจการด้านพลังงานในประเทศไทย โดยในส่วนของการแปรรูป ระบบไฟฟ้า ในระยะสั้นได้กำหนดให้มีการขายหุ้นของการไฟฟ้า ใน บมจ.ผลิตไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วตามมาด้วยการขายหุ้นในโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งดำเนินการไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการลดภาระ ทางการเงินของรัฐบาล เสริมสภาพคล่อง และฐานะการเงินของ กฟผ.
ผลกระทบจากการแปรรูป กฟผ. • ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับอัตราผลตอบแทน (rate of return) และต่อสังคม คือ ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพในการให้บริการ และข้อกำหนดการให้บริการในระดับสากล รวมทั้งในเรื่องของราคาสินค้า ที่อาจจะถีบตัวสูงขึ้นจากการลงทุนจำนวนมาก ต่อทรัพยากรบุคคล และการบริหารงาน การลดจำนวนพนักงานลงทำให้เกิดความไม่พอใจของพนักงานในการแปรรูป กฟผ.
ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้น ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการคือ 1. บริษัท กฟผ. ผูกขาดเป็นผู้ซื้อ ผู้ขายไฟฟ้าแต่เพียงรายเดียว 2. ราคาค่าซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนจะมีราคาสูงมาก 3. แปรรูปแล้วรัฐไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุม
การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปรรูป กฟผ. • การแปรรูปรัฐวิสาหกิจใด ๆ ที่ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากการผูกขาดและขาดประสิทธิภาพในการควบคุมของภาครัฐ จะต้องไม่มีการแปรรูปในขณะที่การคงสภาพเดิมของรัฐวิสาหกิจก็เป็นสิ่งที่ประชาชนไม่อาจรับได้ เพราะความโปร่งใส ปลอดจากการทุจริต การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม โครงสร้างรัฐวิสาหกิจแบบเดิม ๆ ก็ไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจนนักซึ่งรัฐวิสาหกิจในวันนี้ “ต้องไม่แปรรูป” แต่ต้อง “ปฎิรูป”
การนำเสนอเรื่อง กฟผ. จบแล้วค่ะ ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ เพื่อนๆการเงินปี 4 ทุกคน น้องๆเศรษฐศาสตร์ปี 2 ทุกคน GOOD BUY AND GOOD LUCK !!!