360 likes | 528 Views
กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีดำเนินงาน ตรวจสอบการทุจริตภาครัฐ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีสำนักงาน ป.ป.ท. ชี้มูลความผิด โดย นายเกรียงไกร สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการคณะกรรมการ สำนักงาน ป.ป.ท. คำอธิบาย. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง.
E N D
กระบวนการ ขั้นตอน และวิธีดำเนินงาน ตรวจสอบการทุจริตภาครัฐ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีสำนักงาน ป.ป.ท. ชี้มูลความผิด โดย นายเกรียงไกร สืบสัมพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการคณะกรรมการ สำนักงาน ป.ป.ท.
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 • พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551
คำอธิบาย ในปัจจุบันมีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดภารกิจ บทบาท อำนาจ หน้าที่ สำหรับหน่วยงานด้าน การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ที่สำคัญๆ อยู่ 2 ฉบับ คือ 1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่เป็น เครื่องมือสำหรับองค์กรอิสระ (สำนักงาน ป.ป.ช.) 2. พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 เป็นกฎหมายที่เป็น เครื่องมือสำหรับหน่วยงานฝ่ายบริหาร (สำนักงาสน ป.ป.ท.) โดยเจตนาในการบัญญัติกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวขึ้น ก็ด้วยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อสร้างหน่วยงาน องค์กร ขึ้นทำหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนในสังคมไทย ซึ่งกฎหมายฉบับแรก หรือที่เราเรียกกันว่า กฎหมาย ป.ป.ช. นั้น สามารถทำความเข้าใจโดยง่ายคือ กฎหมายจะ ครอบคลุมในภาคการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น (นายกรัฐมนตรี/รมว./สส./สว./นายก อบจ./นายก ทบ./นายก อบต.) องค์กรอิสระ รวมถึงผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐ (ระดับ 8 เดิมขึ้นไป ) ส่วนกฎหมายฉบับที่สอง หรือที่เรียกว่ากฎหมาย ป.ป.ท. นั้น จะครอบคลุมเฉพาะเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐแต่ไม่รวมถึงผู้บริหารระดับสูง ผู้พิพากษาตุลาการ พนักงานอัยการ ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นของ อปท.
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 สรุปสาระสำคัญ ประกอบด้วย.- • เขตอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ • องค์กรดำเนินการ • การไต่สวนข้อเท็จจริง • มาตรการสนับสนุนการป้องกันและปราบปราม
เขตอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต(ในภาครัฐ)เขตอำนาจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต(ในภาครัฐ) 1.เจ้าหน้าที่ของรัฐ: เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการที่ตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกองลงมา ( ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ ครู พนักงานองค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 หน่วยงาน ) 2.กระทำทุจริตในภาครัฐ - ทุจริตต่อหน้าที่ : ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ - ประพฤติชอบ : ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ หรือ มติ ครม.ที่มุ่งหมายควบคุมดูแลการรับ เก็บรักษา หรือการใช้เงิน
คำอธิบาย พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารฯ พ.ศ.2551 นี้ บัญญัตินิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐไว้ตามความในมาตรา 3 หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ไม่รวมถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังต่อไป นี้ 1. ผู้บริหารระดับสูง หมายถึงข้าราชการที่ตำแหน่งสูงกว่าผู้อำนวยการกองขึ้นไป หรือข้าราชการที่สูงกว่าระดับ 8 เดิม 2. ผู้พิพากษาและตุลาการ 3. พนักงานอัยการ 4. ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาล รัฐสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ 6. เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงาน ป.ป.ท. ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในเขตอำนาจของ พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารฯ ประกอบด้วยข้าราชการพลเรือน สามัญทุกกระทรวง ทบวง กรม ข้าราชการทหาร ตำรวจ ครู พนักงานองค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น รวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 หน่วยงาน ส่วนการกระทำที่อยู่ในเขตอำนาจของ พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารฯ ที่เรียกว่า กระทำทุจริตในภาครัฐ ประกอบด้วย - ทุจริตต่อหน้าที่ : ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบ - ประพฤติชอบ : ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ หรือ มติ ครม. ที่มุ่งหมายควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงิน
องค์กรดำเนินการตามกฎหมายองค์กรดำเนินการตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 บัญญัติให้มีองค์กรรองรับเพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการ ป.ป.ท. 2. สำนักงาน ป.ป.ท. 2.1 พนักงาน ป.ป.ท. 2.2 เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. (ม.17) 1. เสนอนโยบาย มาตรการและพัฒนาต่อคณะรัฐมนตรี 2. เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย ข้อบังคับ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต 3. เสนอต่อกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สิน 4. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมความเห็นเสนอพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดี 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนฯ วุฒิสภา และ ปปช. 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท.มอบหมาย
คำอธิบาย ตามบทบัญญัติในมาตรา 17(4)(5) ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจในการไต่สวน ข้อเท็จจริงและชี้มูลการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อม ความเห็นเสนอพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดี นั้น หมายความว่ากรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับ คำกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐหรือได้รับเรื่อง จากพนักงานสอบสวน หรือสำนักงาน ป.ป.ช. โดยมีพยานหลักฐานหรือระบุพฤติการณ์แห่งการ กระทำผิดที่ชัดเจนเพียงพอ และเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นควรรับไว้ทำการไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะทำการไต่สวนเองหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการไต่สวน ข้อเท็จจริงแทน หรือมอบหมายให้พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. แสวงหาข้อมูลหรือ รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อทราบข้อเท็จจริงหรือมูลความผิดก็ได้
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 อำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 18) 1. สอบถามหรือเรียกให้สถาบันการเงิน ส่วนราชการ องค์กร ฯลฯ ส่งเจ้าหน้าที่มาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานใดๆ 2. สอบถามหรือเรียกบุคคลใด เพื่อมาให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหลักฐานใดๆ 3. ขอให้ศาลออกหมายเพื่อเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ทำการ หรือสถานที่อื่นใด รวมทั้งยานพาหนะของบุคคลใดๆ เพื่อตรวจสอบ ค้น ยึด หรืออายัดเอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยานหลักฐานอื่นใด 4. ขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการปฏิบัติหน้าที่ได้
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 กรณีที่ต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 23) 1. เมื่อได้รับคำกล่าวหาว่ามีการกระทำทุจริตในภาครัฐ 2. เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการทุจริตในภาครัฐ 3. เมื่อได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวน 4. เมื่อได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.
คำอธิบาย กรณีที่ต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง (มาตรา 23) เมื่อได้รับคำกล่าวหาว่ามีการกระทำทุจริตในภาครัฐ (ม.24) การกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่ากระทำการหรือ เกี่ยวข้องกับการกระทำทุจริตจะทำด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ - กรณีกล่าวหาด้วยวาจา ให้พนักงาน ป.ป.ท.บันทึกคำกล่าวหาและให้ลงลายมือชื่อไว้กรณีไม่ประสงค์จะ เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ ห้ามมิให้พนักงาน ป.ป.ท.เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว - กรณีกล่าวหาเป็นหนังสือ ผู้กล่าวหาจะต้องลงชื่อและที่อยู่ของตน หากไม่ประสงค์จะเปิดเผย จะต้องระบุ พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดซึ่งกล่าวหาและพยานหลักฐานเบื้องต้นให้เพียงพอที่จะทำการไต่สวนได้ ส่วนกรณีที่ได้รับจากพนักงานสอบสวน และเรื่องที่ได้รับจากสำนักงาน ป.ป.ช. นั้น กำหนดแนวทางการ ปฏิบัติไว้ตามความในมาตรา 30 -32
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 การดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง 1. คณะกรรมการ ป.ป.ท. ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเอง 2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงดำเนินการแทน องค์ประกอบ มีผู้แทนภาคประชาชน / ที่ปรึกษา /ผู้เชี่ยวชาญ 3. มอบหมาย พนักงาน ป.ป.ท. 4. ขณะไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ท.เห็นสมควร จะตรวจสอบทรัพย์สินก็ได้
คำอธิบาย ตามความในมาตรา 32 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้รับคำกล่าวหาหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ หรือได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวนฯ หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. โดยมีพยานหลักฐานหรือระบุพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดที่ชัดเจนเพียงพอ และเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นควรรับไว้ทำการไต่สวนคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะทำการ ไต่สวนเองหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงแทน หรือมอบหมายให้ พนักงาน ป.ป.ท. หรือเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. แสวงหาข้อมูลหรือรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อทราบ ข้อเท็จจริงหรือมูลความผิดก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการไต่สวนข้อเท็จจริง องค์ประกอบ ของคณะอนุกรรมการอาจแต่งตั้งที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้แทนภาคประชาชนเพื่อช่วยเหลือ ในการไต่สวนข้อเท็จจริงด้วยก็ได้ และเมื่อได้ทำการไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่ามีเหตุอันควรสงสัย ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติหรือควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะ ทำการตรวจสอบด้วยก็ได้
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 การชี้มูลความผิด เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตในภาครัฐแล้ว จะต้องดำเนินการ ดังนี้ • กรณีมีมูลความผิดทางวินัย: จะส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัย โดยผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาโทษภายใน 30 วัน หากละเลยไม่ดำเนินการจะถือเป็นความผิดวินัย หรือหากดำเนินการไม่เหมาะสม คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการ (มาตรา 40-44) • กรณีมีมูลความผิดทางอาญา: จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการฟ้องคดี (มาตรา 45-46) • กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาได้ใช้อำนาจทางปกครอง: โดยการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือสั่งการใดๆ แก่บุคคลโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ จะแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิกหรือ เพิกถอน (มาตรา 49)
คำอธิบาย เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้ทำการไต่สวนข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะวินิจฉัยชี้มูลว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกล่าวหาได้กระทำการทุจริตในภาครัฐหรือไม่ ถ้าผลการชี้มูลพบว่าเป็นการกระทำความผิดก็สามารถจำแนก ลักษณะความผิดออกเป็น 3 ประเภท คือ ความผิดทางวินัย ความผิดทางอาญา และความผิดโดยการออกคำสั่งหรือใช้อำนาจทาง ปกครอง ซึ่งมีรูปแบบ วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติที่แตกต่างกัน คือ • กรณีมีมูลความผิดทางวินัย : คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาหมายถึงหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ถูกกล่าวหาพิจารณาโทษทางวินัย โดยผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะต้องพิจารณาโทษภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ท. หากละเลยไม่ดำเนินการจะถือเป็นความผิดวินัย หรือหากดำเนินการไม่เหมาะสม คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการ (มาตรา 40-44) (ตัวอย่างเช่น นายก อบต.มิได้อยู่ในเขตอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. แต่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท.ได้ชี้มูลความผิดว่าเจ้าหน้าที่ของ อบต.ฯกระทำการทุจริตและส่งเรื่องไปยัง นายก อบต. ฐานะผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษ หาก นายก อบต.ไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เหมาะสม นายก อบต. จะเป็นผู้กระทำผิดวินัยเสียเอง ) • กรณีมีมูลความผิดทางอาญา: คณะกรรมการ ป.ป.ท.จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการฟ้องคดี (มาตรา 45-46) • กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาได้ใช้อำนาจทางปกครอง: โดยการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือสั่งการใดๆ แก่บุคคลโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิกหรือ เพิกถอน (มาตรา 49) เช่นกรณีการทุจริตออกเอกสารสิทธ์ที่ดิน คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องไปยังกรมที่ดินเพื่อให้ยกเลิก เพิกถอนการได้สิทธิ์บนที่ดินที่ได้มาโดยมิชอบแปลงดังกล่าว
กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 40 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลความผิดทางวินัย ให้ประธานกรรมการฯส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ถูกกล่าวหานั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ในการพิจารณาโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาให้ถือว่ารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย ตามระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ
คำอธิบาย กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติและชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทำการทุจริตในภาครัฐ และเป็นกรณีมีมูลความผิดทางวินัยแล้ว ประธานกรรมการฯ จะส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ซึ่งหมายถึงพยานหลักฐานและผลการวินิจฉัย พร้อมทั้งความเห็นทางคดีไปยังผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ถูกกล่าวหานั้น เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิด ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ทั้งนี้ ให้ถือว่ารายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัย ตามระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ แล้ว ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหา จึงสามารถใช้สำนวนรายงานที่ได้รับจากคณะกรรมการ ป.ป.ท. ประกอบในการพิจารณาลงโทษทางวินัยแก่ผู้ถูกกล่าวหาได้ทันที
กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 41 ..เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา 40 ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนพิจารณาโทษภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง มาตรา 42 ..ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการ ตามมาตรา 41 ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยหรือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้น
คำอธิบาย กรณีผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ท. กรณีชี้มูลความผิดทางวินัยแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในปกครองแล้วนั้น บทบัญญัติตามมาตรา 41 กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน พิจารณาโทษแก่ผู้ถูกกล่าวหาภายใน สามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ท. และให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจ แต่งตั้งถอดถอน ส่งสำเนาคำสั่งลงโทษดังกล่าวให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ทราบ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ออกคำสั่ง กรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ผู้ใดละเลยไม่ดำเนินการ ตาม มาตรา 41 คือ ไม่พิจารณาลงโทษผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในปกครองของตน หรือ พิจารณาโทษไม่เหมาะสมกับฐานความผิดตามข้อกล่าวหา ให้ถือว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นกระทำผิด วินัยหรือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของผู้ถูกกล่าวหานั้น
กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 43 ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามมาตรา 41 หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 41 ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. เสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร หรือกรณีจำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
คำอธิบาย กรณีที่ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน ของผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการ ทางวินัยตามมาตรา 41 หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชา ตามมาตรา 41 ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม คณะกรรมการ ป.ป.ท.จะเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีสั่งการตามที่เห็นสมควร หรือกรณีจำเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการอื่น ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นๆ ดำเนินการให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางวินัย มาตรา 44 ... ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา 41 จะใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจ ในการกำหนดโทษของผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหานั้นๆก็ได้ ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว
คำอธิบาย การอุทธรณ์ หมายถึง กระบวนการทางนิติธรรมในการบริหารงานบุคคลที่ให้ผู้ถูกลงโทษ ทางวินัยมีช่องทางขอให้ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ทบทวนการลงโทษอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น กรณีนี้ ผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกลงโทษตามมาตรา 41 สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษของ ผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับผู้ถูกกล่าวหา ไปยังองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรง ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ. สามัญ สำนักงาน ก.พ. หรือคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม(ก.พ.ค.) เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้สิทธิ ดังกล่าวจะต้องดำเนินการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว
กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางอาญา มาตรา 45 กรณีการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐตามมาตรา 40 เป็นความผิดทางอาญาด้วย ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง รายงาน เอกสาร และความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป ... มาตรา 46 กรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปศาล ให้แจ้งผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานอัยการตามเวลาที่กำหนด กรณีจำเป็นต้องจับผู้ถูกกล่าวหา ให้อัยการแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่ผู้ถูกกล่าวหามีภูมิลำเนา/ที่อยู่เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายจับได้ (ตาม ป.วิอาญา)
คำอธิบาย กรณีการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา 40 เป็นความผิดทางอาญาด้วย คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง รายงาน เอกสาร และความเห็นของ คณะกรรมการ ป.ป.ท. ให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ เมื่อพนักงานอัยการได้ตรวจ สำนวนคดีอาญาดังกล่าวแล้วมีคำสั่งฟ้องและจะต้องนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปศาล พนักงานอัยการ จะแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามาพบพนักงานอัยการตามเวลาที่กำหนด กรณีจำเป็นที่จะต้องจับกุมผู้ถูกกล่าวหา อัยการอาจแจ้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีเขต อำนาจเหนือท้องที่ที่ผู้ถูกกล่าวหามีภูมิลำเนาหรือพักอาศัยอยู่เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ กฎหมายบัญญัติ ให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหา มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออก หมายจับได้กรณีที่พนักงานอัยการร้องขอและประสานขอความร่วมมือ (ตาม ป.วิอาญา)
กระบวนการ ขั้นตอน วิธีดำเนินงานกรณีถูกชี้มูลความผิดทางปกครอง มาตรา 49 กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูลนอกจากดำเนินการตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 แล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาได้อนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือสั่งการใดๆ แก่บุคคลใดโดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. แจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิก หรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือสั่งการใดๆ นั้นต่อไปด้วย
คำอธิบาย ทั้งนี้ ในการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. นั้น นอกจากจะพบมูลความผิด ทางวินัย หรือทางอาญา ตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 แล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูก กล่าวหาดังกล่าวได้อนุมัติ อนุญาตออกเอกสารสิทธิ ให้สิทธิประโยชน์ หรือสั่งการใดๆ แก่บุคคลใด โดยมิชอบ หรืออาจเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ คณะกรรมการ ป.ป.ท. จะแจ้งให้หัวหน้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการสั่งยกเลิก หรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาต ออกเอกสาร สิทธิ ให้สิทธิประโยชน์หรือสั่งการใดๆ นั้นต่อไปด้วย ดังเช่นกรณีเกี่ยวกับที่ดินที่กล่าวนำเรียนแล้ว ข้างต้น
พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 มาตรการสนับสนุนและจูงใจ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรการ กลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีอำนาจ ดังนี้ • การคุ้มครองพยานแก่ผู้ให้เบาะแส ข้อมูล ข่าวสาร (มาตรา 53,54) • การให้รางวัลตอบแทนผู้ทำประโยชน์ กรณีบุคคลดังกล่าวเป็นประชาชน (มาตรา 55) และการเลื่อนขั้นเงินเดือน/ตำแหน่งแก่เจ้าหน้าที่กรณีเจ้าหน้าที่ เป็นผู้ทำประโยชน์ (มาตรา 56) • การกันผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยาน (มาตรา 58)
คำอธิบาย ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2551 นี้ นอกจากสาระสำคัญของพระราชบัญญัติดังกล่าวจะได้กล่าวถึงอำนาจและกลไกการ ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบผ่านรูปแบบการไต่สวนข้อเท็จจริงที่เป็นระบบแล้ว พระราชบัญญัตินี้ยังได้บัญญัติถึงมาตรการด้านการป้องกัน อันเป็นการสนับสนุนและสร้าง แรงจูงใจที่สำคัญเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน กลไกในการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันและปราบปราม การทุจริต ประกอบด้วย • การคุ้มครองพยานแก่ผู้ให้เบาะแส ข้อมูล ข่าวสาร ตามมาตรา 53,54 • การให้รางวัลตอบแทนผู้ทำประโยชน์ กรณีบุคคลดังกล่าวเป็นประชาชน ตามมาตรา 55 และการเลื่อนขั้นเงินเดือน เลื่อนตำแหน่งแก่เจ้าหน้าที่กรณีเจ้าหน้าที่ เป็นผู้ทำประโยชน์ ตามมาตรา 56 • การกันผู้ถูกกล่าวหาเป็นพยาน ตามมาตรา 58
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 หรือ ตู้ ปณ.368 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร : 02-502-8285-6