1.26k likes | 1.77k Views
พัฒนาหลักสูตร. Your subtitle goes here. หน่วยที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร. เนื้อหา 2.1 เรื่อง ความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร. อนิจจัง
E N D
พัฒนาหลักสูตร Your subtitle goes here
หน่วยที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร เนื้อหา 2.1 เรื่อง ความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร อนิจจัง ครั้งหนึ่งมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เนินเขาชายป่าอันอุดมสมบูรณ์ด้วยสิงส์สาราสัตว์ต่าง ๆ อันควรแก่การจับมาเป็นอาหารและเลี้ยงไว้ดูเล่น ชาวบ้านแห่งนั้นก็สั่งสอนลูกหลานของตนให้รู้จักดักบ่าง จับชะนี ตีผึ้ง คล้องช้าง นั่งห้าง และไล่ราว เพื่อจับสัตว์มาเป็นอาหาร อยู่มาวันหนึ่ง เกิดอาเพศเหตุร้าย ฟ้าถล่ม แผ่นดินทลาย ฝนตกเจ็ดวันเจ็ดคืน ท้องฟ้ามืดครึ้ม ไม่เห็นเดือนเห็นตะวัน ครั้งฝนหยุดตก ท้องฟ้าแจ่มใส ชาวบ้านก็พากัน แปลกใจว่าป่าไม้อันเขียวชอุ่มนั้นหายไป กลับมีแผ่นน้ำอันกว้างใหญ่มาแทนที่ เป็นทะเลอันเต็มไปด้วย ปู ปลา หอย กุ้ง กั้ง และสัตว์น้ำนานาพันธุ์ ในเวลาต่อมาชาวบ้านเหล่านั้นก็สั่งสอนลูกหลานของพวกเขาให้รู้จักทอดแห ดักลอบ ตกเบ็ด ลากอวน และจับสัตว์น้ำ ด้วยวิธีการ ต่าง ๆ และก็ได้อาหารมาบริโภคเป็นที่สุขกายสุขใจสืบมา
จนกระทั่งกาลเวลาผ่านไปอีกระยะหนึ่ง ฝูงสัตว์น้ำทั้งหลาย มีจำนวนลดลง และรู้จักหลบซ่อนตัวไม่ให้จับง่าย ๆ ชาวบ้านก็ไม่ย่อท้อ พากันคิดค้นหาวิธีการและ เครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้จับสัตว์น้ำ รวมทั้งฝึกลูกหลานให้ตื่นแต่เช้า ขยันขันแข็ง หากิน ทั้งกลางวันและกลางคืน ออกทะเลลึกมากขึ้น เขาจึงจะได้อาหารพอบริโภค ผู้เฒ่าผู้แก่ผ่านโลกมานาน เห็นการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัยก็ได้ รำพึงว่า “เออหนอ โลกนี้ช่างเปลี่ยนไป ไม่เหมือนเก่า ลูกหลานเราแต่ละรุ่นต้องเรียน วิชาต่าง ๆ ตามยุคตามสมัย ช่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้จีรัง วิชาที่เคยเรียน คิดว่าดีแล้ว มายุคนี้ก็ต้องยกเลิก คอยดูเถอะ ไม่กี่ปีข้างหน้าก็ต้องเปลี่ยนไปอีก” ท่านได้ข้อคิดจากนิทานเรื่องนี้ว่าอย่างไร จงอธิบายและสรุป
เนื้อหา 2.2 เรื่อง ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรที่กำหนดขึ้นใช้นั้น แม้ว่าได้พยายามสร้างขึ้นให้สอดคล้อง กับปรัชญาการศึกษา สภาพสังคมและวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และหลักการทางจิตวิทยาแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้นำหลักสูตรไปใช้ ในโรงเรียนระยะหนึ่ง หรือเมื่อเวลาผ่านไปสภาพสังคมและแนวคิดทางการศึกษา ตลอดจนวิทยาการ เทคโนโลยีก้าวหน้าเปลี่ยนไป ความเหมาะสมของหลักสูตร จึงควรได้รับการทบทวนพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรความหมายของการพัฒนาหลักสูตร เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์(Saylor and Alexander. 1974 : 7)กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรหมายถึงการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ ดีขึ้น หรือการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจะรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่าง ๆ สำหรับผู้เรียนด้วย นอกจากคำว่าการพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) แล้ว ยังมีคำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือทำนองเดียวกัน หรือแตกต่างกันเพียงรายละเอียดที่ต้องการเน้น เช่น การปรับปรุงหลักสูตร (Curriculum Improvement) การสร้างหลักสูตร (Curriculum Construction) การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร (Curriculum Change) เป็นต้น
ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมาย 2 แนว ดังนี้ 1. การปรับปรุงหลักสูตร หมายถึงการปรับปรุงแก้ไข ทีละเล็กละน้อยเรื่อยไป เป็นการปรับปรุงในส่วนปลีกย่อย แต่โครงสร้าง ส่วนใหญ่ยังคงเดิม 2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ขนาดใหญ่มุ่งให้เกิดสิ่งใหม่ในหลักสูตรทั้งหมด หรือเป็นการสร้าง หลักสูตรใหม่
เนื้อหา 2.3 เรื่อง พื้นฐานในการจัดทำและการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรจัดทำหรือพัฒนาขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่บุคคลในสังคม การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรจึงต้องเหมาะสมกับสังคม สังคมแต่ละสังคม นั้นมีสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การปกครองตลอดจน ความเชื่อในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรจึงต้อง คำนึงถึงพื้นฐาน สภาพและความเชื่อเหล่านั้น
พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษาพื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา ปรัชญามาจากภาษาอังกฤษว่า Philosophy มีความหมายว่า “ความรักในความรู้” วิจิตร ศรีสะอ้าน กล่าวว่า ความรักในความรู้ทำให้บุคคลแสวงหา ผลของการแสวงหาทำให้เกิดความจริงที่เรียกว่า สัจธรรม และผลของการแสวงหานี้สามารถให้ความหมายของปรัชญาอีกอย่างว่า เป็นความคิดหรือความเชื่อที่เรามีเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราทำ สุดใจ เหล่าสุนทร ได้ให้ความหมายของปรัชญาไว้ว่าเป็นความคิดหลัก ที่บุคคล หรืออนุชนยึดถือ เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เมื่อพิจารณาคำว่าปรัชญาการศึกษาที่ประกอบด้วยคำว่า ปรัชญากับการศึกษา วิจิตร ศรีสะอ้าน จึงกล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา คือ หลักและทฤษฎีทางการศึกษาซึ่งสามารถที่จะมาเป็นหลัก เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาระดับต่าง ๆ
สุมิตร คุณากร กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษาหรือปณิธานการศึกษา หมายถึง อุดมคติ อุดมการณ์อันสูงสุด ซึ่งยึดเป็นหลักในการจัดการศึกษา ภิญโญ สาธร กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษาตามรูปศัพท์ หมายความว่า วิชาว่าด้วย ความรู้อันเกี่ยวกับการศึกษา ความรู้อันเกี่ยวกับการศึกษานั้นย่อมหมายถึง วัตถุประสงค์ของการ ศึกษาเนื้อหาวิชาที่ให้ศึกษาและวิธีการให้การศึกษา บุญเลิศ นาคแก้วและนงเยาว์ สุขาพันธุ์ (2522 : 69) กล่าวว่า ปรัชญาการศึกษา ควรมีลักษณะที่เป็นสาระสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ (1) เกี่ยวกับหน้าที่และข้อผูกพันของสถานศึกษา หมายถึง การแสดงเจตจำนงของสถาบัน (2) ต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความรู้ที่ยึดถือเป็นหลักในการให้การศึกษาแก่ ผู้เรียน ลักษณะของความรู้นั้น หมายถึง เป็นความรู้ประเภทใด เมื่อเรียนแล้วจะนำไปใช้ ประโยชน์อะไรบ้าง (3) ต้องแสดงให้เห็นถึงลักษณะและคุณสมบัติของผู้ที่จบการศึกษาไปแล้วว่า จะเป็น บุคคลที่มีคุณลักษณะมีความรู้ มีความคิด และค่านิยมอย่างไร ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ปรัชญาการศึกษาก็คือ ความเชื่อที่เป็นหลักในการกำหนด แนวทางจัดการศึกษา โดยครอบคลุมทั้งจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา กระบวนการเรียนการสอน และ การวัดผล ประเมินผล
ปรัชญาการศึกษาที่ควรศึกษาสามารถแบ่งได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) 2. ปรัชญานิรันตรนิยม (Perennialism) 3. ปรัชญาพิพัฒนาการ (Progressivism) 4. ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) 1. ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าในแต่ละวัฒนธรรม มีความรู้ ทักษะความเชื่อ เจตคติ อุดมการณ์ ที่เป็นแกนกลางหรือเป็นหลัก ทุกคนในวัฒนธรรม นั้นจะต้องรู้สิ่งเหล่านี้ และระบบการศึกษาจะมุ่งถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้แก่เยาวชน จากความเชื่อดังกล่าว ระบบการศึกษา ควรเน้นหนักในการศึกษาความรู้ และวัฒนธรรม การถ่ายทอดความรู้เป็นไปอย่างมีระบบมีมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนระดับเดียวกันเด็กควรมีอิสระภาพที่จะได้ความรู้และบรรลุถึงมาตรฐานดังกล่าว อย่างทัดเทียมกัน ไม่ใช่อิสรภาพในการเลือกเรียนอะไรก็ได้ตามใจชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ ปรัชญาสารัตถนิยมจึงเน้นความไม่เปลี่ยนแปลงเพราะถือว่า ความรู้ ความจริง และ วัฒนธรรมของสังคมนั้น ได้รับการเลือกสรรแล้วอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ลัทธินี้มีความเชื่อในแนวทางที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม
บรรจงจันทรสา (2522 : 238 – 239) กล่าวว่า ลักษณะเด่นของปรัชญา สารัตถนิยม มีลักษณะเด่น 4 ประการ ดังนี้ (1) การเรียนนั้นว่าโดยธรรมชาติของมันแล้ว เป็นงานที่หนักและไม่มุ่งหวังที่จะให้มีการนำไปใช้อย่างทันท่วงที (2) การริเริ่มทางการศึกษานั้น ควรจะอยู่ที่ครูมากกว่านักเรียน (3) หัวใจของกระบวนการทางการศึกษา ก็คือ การนำเอาเนื้อหาวิชาที่เลือกสรรแล้วมาเชื่อมโยงให้ประสานกัน (4) โรงเรียนจะรักษาไว้ซึ่งวิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้ระเบียบวินัย ในการก่อให้ก่อเกิดการเรียนรู้ และฝึกฝนทางสติปัญญา หลักสูตรที่สร้างขึ้นตามแนวปรัชญานี้ ได้แก่ หลักสูตรรายวิชาและหลักสูตร รวมวิชา 2. ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญานิรันตรนิยมนี้เริ่มโดย อริสโตเติ้ลและบาทหลวงโทมัสอาคีนัสเป็นผู้นำมาดัดแปลง ทั้งสองท่านได้ปูพื้นฐานของปรัชญานี้ไว้อย่างมั่นคง ความคิดและหลักการที่ท่านได้กำหนดไว้ยังคงดำรงอยู่เรื่อยมาไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่สมัยยุคกลาง (Middle age) คำว่า Perennial ก็แปลว่า “ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา”
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติ ของมนุษย์นั้นเหมือนกันทุกแห่ง สาระสำคัญในธรรมชาติของมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้ความคิด ใช้เหตุผล การจัดการศึกษาจึงเน้นการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและการใช้เหตุผล เนื้อหาสาระของสิ่งที่เรียน จึงเกี่ยวข้องกับความคิดและเหตุผล บรรจง จันทรสา (2522 : 241 – 243) กล่าวว่า แนวคิดการจัดการศึกษาของปรัชญานิรันตรนิยมสรุปได้ดังนี้ (1) แม้ว่าในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป แต่ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมจะเหมือนกันทุกแห่ง เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงควรเป็นแบบอย่างเดียวกันสำหรับชุมชน (2) ความมีเหตุผลเป็นลักษณะสูงสุดของมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องใช้ความมีเหตุผลเป็นเครื่องมือคอยควบคุม สัญชาตญาณตามธรรมชาติอันเป็นอำนาจฝ่ายต่ำของตน เพื่อที่จะได้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายแห่งชีวิตที่ได้เลือกสรรแล้ว
(3) หน้าที่ของการศึกษานั้น คือ การแสวงหา และการนำมาซึ่งความจริงอันเป็น นิรันดร “การศึกษา หมายถึงการสอน การสอนหมายถึง ความรู้ ความรู้คือความจริง ความจริงย่อมเหมือนกันทุกแห่ง” เพราะฉะนั้นการศึกษาก็ย่อมเหมือนกันในทุกแห่งหน (4) การศึกษามิใช่การเลียนแบบของชีวิต แต่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต (5) นักเรียนควรจะได้เรียนรู้วิชาพื้นฐานบางวิชา เพื่อจะได้เข้าใจและคุ้นเคยกับ สิ่งที่คงทนถาวรของโลก (6) นักเรียนควรจะได้ศึกษางานนิพนธ์ที่สำคัญทางวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ บรรจง จันทรสา (2522 : 240) ยังกล่าวว่า การจัดหาหลักสูตรตาม แนวปรัชญานิรันตรนิยมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายกับแนวปรัชญาสารัตถนิยม แต่มีความคิดที่ แตกต่างกันของ 2 ปรัชญานี้อยู่ 2 ประการ ได้แก่ (1) ปรัชญาสารัตถนิยม เน้นสติปัญญา หรือพุทธิศึกษาน้อยกว่าเพราะมิได้ แสวงหาความจริงที่นิรันดรแต่หาแนวทางที่จะปรับให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม
(2) ปรัชญาสารัตถนิยม ยอมรับแนวพิพัฒนาการในวิถีทางการศึกษา เช่น การปรับตัวเข้ากับสังคม ความเชื่อ ความจริง และกฎของธรรมชาติ แต่ปรัชญา นิรันตรนิยมเคารพนับถือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในอดีตเป็นความรู้ และสิ่งดีงาม เป็น นิรันดรและเป็นสากลสำหรับมนุษย์ ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า แนวทางของนิรันตรนิยม เป็นแนวทางที่จะย้อนกลับ ไปสู่วัฒนธรรมอันดีงามในอดีต 3. ปรัชญาพิพัฒนาการ ปรัชญาการศึกษานี้ ก่อตั้งในศตวรรษที่ 20 (1920) ในสหรัฐอเมริกา ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลาย นั้น มิได้คงที่หรือหยุดนิ่ง หากจะเปลี่ยนสภาพไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อม และใน ส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นลัทธินี้เชื่อว่า การศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็ควรจะเปลี่ยนสภาพไปด้วยเมื่อถึงคราวจำเป็น ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้อง พยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ การศึกษามิใช่จะ สอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้ และค่านิยมที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้ตายตัว หาก จะต้องปรับปรุงการศึกษาเพื่อจะเป็นหนทางนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นปรัชญาการศึกษานี้ จึงยึดมั่นในทางแห่งเสรีภาพที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย
บุญเลิศ นาคแก้ว และนงเยาว์ สุขาพันธุ์ (2522 : 118 – 119) สรุปหลักสำคัญของปรัชญาพิพัฒนาการดังนี้ (1) การศึกษาคือชีวิต มิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต (2) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบ้านกับโรงเรียน เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการของเด็กและแก้ปัญหาให้เด็กด้วย (3) โรงเรียนแต่ละแห่ง ควรสนับสนุนให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน มิใช่แข่งขันชิงดี ชิงเด่น ธรรมชาติของมนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (4) ยึดถือเด็กเป็นศูนย์กลาง เรียนรู้ด้วยวิธีแก้ปัญหามากกว่าจะเรียนจากหนังสือ (5) ครูเป็นผู้แนะนำ มิใช่ผู้บงการหรือสั่งการ (6) ปล่อยให้เด็กมีความเจริญงอกงามตามธรรมชาติ ให้เด็กได้มีอิสรเสรี (7) การเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาในทุก ๆ ด้าน
หลักสูตรที่ยึดแนวปรัชญาพิพัฒนาการ ได้แก่ หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ 4. ปรัชญาปฏิรูปนิยม นักการศึกษาที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของ ปรัชญาปฏิรูปนิยม คือ เทียวเดอร์ เบรมเมล (Theodore Brarneld) ชาวสหรัฐอเมริกา เขาได้รับเสนอแนวคิดรายละเอียดในการจัดการศึกษาตามแนวนี้ ในปี ค.ศ. 1950 ปรัชญานี้พัฒนาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ที่เน้นหนักการแก้ไขปรับปรุงสภาพสังคม โดยอาศัยการศึกษาผนวกกับปรัชญาพิพัฒนาการที่เน้นพัฒนาผู้เรียนไปตามต้องการความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก จากสองปรัชญาดังกล่าวทำให้เกิดปรัชญาปฏิรูปนิยม ที่เชื่อว่า การศึกษาควรเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม
บรรจง จันทรสา (2522 : 249 – 250) ได้สรุปแนวคิดของปรัชญาปฏิรูปนิยมดังนี้ (1) การศึกษาจะต้องรับภาระที่จะสร้างระบบสังคมใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นระบบสังคมที่บรรลุถึงคุณค่าขั้นพื้นฐานของวัฒนธรรม และขณะเดียวกันก็ให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในยุคใหม่ด้วย (2) สังคมใหม่จะต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งมีประชาชนของสังคมเป็นผู้ควบคุมสถาบันต่าง ๆ ตลอดจนทรัพยากรทั้งหลาย (3) เด็ก โรงเรียน และการศึกษา ย่อมจะเป็นไปตามหลักของสังคมและวัฒนธรรม โดยไม่มีการผ่อนผัน (4) ครูจะต้องหาทางให้เด็กมองเห็นความถูกต้อง และความจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์สังคมใหม่ (5) ในด้านเกี่ยวกับการเรียนการสอน ตลอดจนการค้นหาความรู้นั้น อาศัยวิธีการของปรัชญาพิพัฒนาการ
หลักสูตรตามแนวปรัชญานี้ได้แก่ หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม และหลักสูตรแกน แนวการปฏิรูปการศึกษาของคณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย ในปี พ.ศ. 2519 นั้น ก็แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับหลักการของปรัชญานี้ 5. ปรัชญาอัตถิภาวนิยม ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า มนุษย์ต้องมีเสรีภาพที่จะเลือกในแนวทางที่ตนปรารถนา แต่ก็มีกติกาการเลือกอยู่ว่าต้องเลือกในสิ่งที่ดีสำหรับตนเอง และดีสำหรับคนอื่นด้วยและเมื่อเลือกแล้วจะต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา บรรจง จันทรสา (2522 : 252) สรุปแนวคิดของปรัชญาอัตถิภาวนิยมไว้ดังนี้ (1) การดำเนินชีวิตของมนุษย์แต่ละคนมีแบบอย่างของตนที่มนุษย์จะสร้างขึ้นมา และมนุษย์สามารถเลือกการกระทำของตนเอง กำหนดแนวทางของชีวิต และโชคชะตาของตนเอง (2) โรงเรียนมีหน้าที่สร้างนักเรียนให้เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระในการเลือก
(3) โรงเรียนควรเน้นศีลธรรมและจริยธรรม แต่มิใช่การอบรม หากเป็นการหัดให้เลือกแนวทางจริยธรรมของตนเอง (4) ฝึกให้นักเรียนรู้จักตนเอง สนใจตนเอง เลือกทางของตนเอง แต่ไม่ขัดกับความสนใจของคนอื่นย่อมไม่ดีสำหรับตนเองด้วย (5) จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การสร้างคนให้รู้จักยอมรับและมีความรับผิดชอบในการเลือกของตน หรือในสิ่งที่ตนกระทำนั่นคือ ต้องสร้างวินัยในตนเอง (6) เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับจริยธรรมนั้น จะต้องไม่แตกต่างไปจากที่นักเรียนจะต้องประพฤติปฏิบัติในโรงเรียนหรือในชีวิตประจำวัน หลักสูตรตามแนวปรัชญานี้ เช่น หลักสูตรรายบุคคลโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญานี้ที่มีชื่อเสียง คือ โรงเรียน Summer Hill ในประเทศอังกฤษ สำหรับในประเทศไทย คือ โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี ก็ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการเรียนการสอน
เมื่อได้ศึกษาถึงแนวความคิดของปรัชญาการศึกษากลุ่มต่าง ๆ แล้ว คงจะสามารถบอกได้ว่า ปรัชญาการศึกษานั้นมีความเกี่ยวข้องกับหลักสูตรอย่างแน่นแฟ้น โดยปรัชญาการศึกษาเป็นตัวการที่สำคัญอย่างหนึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดการตื่นตัวและให้รู้สึกอยากผจญภัยในการศึกษา ทำให้คิดมุ่งมั่นจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในด้านหลักสูตร แบบเรียน การสอน สื่อการเรียน การวัดผลประเมินผล การวิจัย การแนะแนวการบริหาร การใช้ระบบใหม่ ๆ ฯลฯ • สรุปได้ว่าปรัชญาการศึกษาเป็นตัวกำหนดแนวคิด ในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง สำหรับหลักสูตรนั้นกำหนดรายละเอียดสู่การปฏิบัติ เช่น ปรัชญาการศึกษาจะวางแนวคิดคุณลักษณะของผู้จบการศึกษาอย่างกว้าง ๆ พอถึงระดับหลักสูตร คุณลักษณะของผู้จบการศึกษาจะถูกกำหนดไว้ในจุดหมายของหลักสูตร หรือปรัชญาการศึกษาในแนวคิดด้านลักษณะความรู้ที่มีคุณค่าที่ผู้เรียนควรจะได้รับ ระดับหลักสูตรก็จะนำแนวคิดนั้นมากำหนดในด้านเนื้อหาวิชา และประสบการณ์ที่จะจัดให้แก่ผู้เรียน เป็นต้น ปรัชญาการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร
พื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สุระ สนิทธานนท์ (2519 : 216) กล่าวว่า “คน” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในทุกระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะเจริญก้าวหน้าได้เพียงไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนที่มีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจนั้น ๆ คุณภาพที่กล่าวนี้ได้แก่สติปัญญาของคนในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ความสามารถในการผลิตและประกอบอาชีพ ความขยันหมั่นเพียร ความรู้จักประหยัดอดออม ความซื่อสัตย์ ตลอดจนความรู้สึกผิดชอบต่อกิจการงานต่อสังคม ฯลฯ เมื่อคนสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและการศึกษาคือการพัฒนาคน ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องพัฒนาคนให้เหมาะสมและทำความก้าวหน้าให้ระบบเศรษฐกิจนั้นด้วย การศึกษาจึงควรสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยนั้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม กลายเป็นรายได้หลักของประเทศ ส่งผลให้อัตราการเติบโตของประเทศ และรายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญอย่างรวดเร็ว สภาพความเจริญดังกล่าวเป็น
ความเจริญที่ไม่ยั่งยืนเนื่องจากความมั่นคงและมั่งคั่งมิได้เกิดมาจากคุณภาพของคนในสังคมไทยหรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่พึ่งตนเองได้ เมื่อสถานการณ์ของโลกและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินรุนแรงและต่อเนื่องสภาพการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ นำมาซึ่งปัญหามากมาย ในปัจจุบัน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2532 : 159) กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร ดังนี้ 1. หลักสูตรควรส่งเสริม ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสภาพปัญหาเศรษฐกิจในสังคมของตน ตลอดจนแนวดำเนินการแก้ปัญหาที่จะส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจโดยกำหนดเป็นเนื้อหาในรายวิชาต่าง ๆ มากน้อยลึกซึ้งตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา
3. หลักสูตรควรเตรียมกำลังคนให้เหมาะสมกับการทำงานอาชีพสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่นั้น ต้องการกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม แม้แต่ภาพเกษตรกรรมเนื่องจากคนมากขึ้น พื้นที่คงเดิมย่อมต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยเพิ่มผลผลิต ขณะเดียวกันการเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรมย่อมต้องการกำลังคนภาคบริการสูงขึ้น หลักสูตรจึงต้องเตรียมกำลังคนให้เหมาะสมกับความต้องการในสังคมเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ 2. หลักสูตรควรส่งเสริมคุณสมบัติของคนในชาติ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน ความมุ่งมั่นทำการงานได้สำเร็จ การรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในการจัดการ การทำงานของกลุ่ม มีความรู้และทักษะในการใช้และการออมทรัพย์ มีความสามารถในการยังชีพให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เป็นต้น
พื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรมพื้นฐานด้านสังคมและวัฒนธรรม ไพบูลย์ ช่างเรียน (2518 : 66) กล่าวว่า สังคมหมายถึง กลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดที่มีสภาพหนักไปทางอยู่ร่วมกันอย่างถาวร ซึ่งมักจะมีความสนใจร่วมกัน หรือคล้าย ๆ กัน อยู่ภายใต้พื้นที่เดียวกัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและมีความรู้สึกว่าเป็นกลุ่มเดียวกันผิดแผนจากกลุ่มอื่น ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ (2522 : 5) กล่าวว่า องค์ประกอบของสังคม มี 4 ประการ ดังนี้ 1. กลุ่มคน 2. อาณาเขต 3. การพบปะทางสังคม 4. การใช้วัฒนธรรมและสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมร่วมกัน
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ได้กล่าวว่า วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน สุพัตรา สุภาพ (2536 : 99) กล่าวว่า วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในทางปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ความนิยม ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เมื่อทุกคนต้องอยู่ในสังคม ต้องมีการพบปะกันทางสังคมมีการใช้วัฒนธรรมและสถาบันสังคมร่วมกัน ทุกคนในสังคมย่อมต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคม เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข การจัดการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคม และหลักสูตรจะต้องสนองความต้องการลักษณะวัฒนธรรมทางสังคม สภาพของสังคมและวัฒนธรรมจึงมีบทบาทกำหนดหลักสูตร
บุญมี เณรยอด (2536 : 32 – 34) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับสังคม จริยธรรม และวัฒนธรรมไว้ดังนี้ 1. หลักสูตรต้องสนองความต้องการของสังคม 2. หลักสูตรต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม 3. หลักสูตรจะต้องเน้นในเรื่องความรักชาติของประชาชน 4. หลักสูตรจะต้องแก้ปัญหาให้กับสังคมไม่ใช่สร้างปัญหาให้กับสังคม 5. หลักสูตรจะต้องปรุงแต่งสังคม 6. หลักสูตรจะต้องสร้างความสำนึกในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม 7. หลักสูตรจะต้องชี้นำในการเปลี่ยนแปลงประเพณีและค่านิยม 8. หลักสูตรจะต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรม 9. หลักสูตรจะต้องปลูกฝังในเรื่องความซื่อสัตย์และยุติธรรมในสังคม 10. หลักสูตรจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องผลประโยชน์ในสังคม
สำหรับลักษณะสังคมและวัฒนธรรมที่อาจนำมาใช้ในการจัดทำ และพัฒนาหลักสูตรนั้น วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521 : 59 - 61) ได้แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ลักษณะสากล (Universal) คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยึดถือ หรือประพฤติปฏิบัติเหมือนกันเป็นลักษณะทั่ว ๆ ไปในสังคมนั้น เช่น ความเชื่อ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี จากแนวคิดนี้ การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงเอกภาพทางสังคม เช่น ภาษาไทย เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนในชาติ ที่จะทำให้ติดต่อสื่อสารกันได้เพื่อความเข้าใจอันดีของทุกคนฉะนั้นภาษาไทยจึงเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนจะต้องเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ เป็นต้น 2. ลักษณะเฉพาะพิเศษ (Specialties) คือ สิ่งที่คนในสังคมเชื่อถือและกระทำกันเป็นพิเศษ เช่น การประกอบอาชีพ ความรู้พิเศษของแต่ละกลุ่ม แต่ละอาชีพ การพัฒนาหลักสูตรและการสอนตามแนวคิดประการที่สองนี้ จะต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของแต่ละท้องถิ่นแต่ละชุมชนว่ามีความเชื่อถือ ความต้องการที่แตกต่างกันไป การจัดเนื้อหาสาระการเรียนการสอนควรจะแตกต่างกันไป เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนและท้องถิ่น เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรให้มากขึ้น และส่งเสริมความเจริญในอาชีพเศรษฐกิจและแต่ละสังคม ให้พัฒนาไปสู่สังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงและสนองความต้องการของชุมชนนั้น
3. ลักษณะเลือกสรร (Alternative) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงการพัฒนาหลักสูตรและการสอน จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีทางเลือกในการเรียนของเขา เพราะการมีโอกาสในการเลือกเกี่ยวกับการเรียนรู้ จะมีส่วนส่งเสริมพัฒนาความมีอิสรเสรีและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทุกคนไม่จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งที่เหมือน ๆ กัน ในเวลาเดียวกันเป็นการให้โอกาสผู้เรียน มีเสรีภาพในการเลือกเรียนได้อย่างอิสระตามความถนัด ความต้องการ และความสนใจของแต่ละบุคคล เพื่อเป็นความเป็นตัวของตัวเองได้ในบางโอกาส
พื้นฐานด้านการเมืองการปกครองพื้นฐานด้านการเมืองการปกครอง บรรพต วีระสัย และคณะ (2525 : 8) กล่าวว่า การเมือง เป็นเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ในเรื่องการบังคับบัญชา และถูกบังคับบัญชาการควบคุม และถูกควบคุม การเป็นผู้ปกครองและถูกปกครอง และพฤติกรรม หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนส่วนใหญ่ ในสังคมก็เป็นการเมือง ดังนั้นการเมืองจึงเป็นเรื่องของทุกคนในสังคมที่จะต้องเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เข้าใจและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามลักษณะของระบบการเมืองการปกครองในสังคมของตน ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นต้องเป็นการปกครองที่รัฐบาลเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน จะเห็นได้ว่าประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะอุดมการณ์ของประชาธิปไตย คือ ประชาชนเป็นผู้ปกครองของตนเอง การที่จะทำให้ประชาชนเป็นผู้ปกครองตนเองได้นั้น จำเป็นต้องการให้การศึกษา ให้ประชาชนมีความสามารถและคุณสมบัติที่จะปกครองตนเองได้
สมพงษ์ เกษมสิน (2518 : 66) กล่าวว่า การจัดการศึกษาจะต้องทำให้ประชาชนเชื่อมั่น ดังนี้ 1. ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ 2. ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในการดำรงอยู่และความเจริญของชาติ 3. ประชาชนมีสิทธิและสามารถใช้สิทธิต่าง ๆ โดยสุจริตอย่างเต็มที่ 4. ประชาชนทุกคนมีหน้าที่สำคัญ จะต้องทำให้ตนเองมีความรู้ความสามารถ เพื่อที่จะดำรงชีวิตได้ โดยไม่เป็นภาระแก่สังคม และสามารถรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมไว้ 5. แต่ละคนมีคุณค่า และความสำคัญเท่าเทียมกัน 6. รัฐบาลโดยประชาชนจะเกิดขึ้นได้ ก็ได้ที่แต่ละคนมีส่วนเลือกตัวแทนเข้าไปเป็นรัฐบาล แสดงความคิดเห็น รู้จักเสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ไม่นิ่งดูดาย เมื่อเห็นว่าสิ่งใดทำให้ชุมชน สังคม และชาติต้องเสียประโยชน์ จะต้องรีบหาทางปัดเป่ารวมทั้งไปละเว้นการใช้สิทธิโดยชอบของตน
7. ทรัพยากรทั้งปวงในประเทศเป็นสมบัติของประชาชน และจะต้องใช้ทรัพยากรเหล่านั้นไปในแนวทางที่เป็นคุณค่าแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม 8. กลไกของรัฐมีไว้เพื่อคุ้มครอง รักษาสิทธิอันชอบธรรมของประชาชน และเพื่อให้บริการอันจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชนด้วย บันเทิง ศรีจันทราพันธุ์ (2519 : 245) กล่าวว่า การศึกษาจึงมีบทบาทในการสร้างสรรค์คนให้เป็นนักประชาธิปไตย หลักสูตรการศึกษาต้องให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการเมืองและการปกครองประเทศ ผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร นักการศึกษา ครูอาจารย์ ควรจะได้พิจารณาหลักสูตรในเรื่องต่อไปนี้ 1. หลักสูตรเกี่ยวกับการปกครอง การเมืองของประเทศ ไม่ควรจะพิสดารเกินไปหรือไกลเกินตัวเด็กแต่ละระดับการศึกษา 2. หลักสูตรควรปลูกฝังให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี และตระหนักว่าตนเองเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ควรที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคม
3. หลักสูตรควรเน้นหลักไปในทางให้ได้ผลทางปฏิบัติ เช่น การจัดรูปรัฐบาลนักเรียนขึ้นในโรงเรียน มิใช่ผลแต่ทางทฤษฎีและการท่องจำ 4. หลักสูตรการปกครอง ควรช่วยกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบ ต่อการปกครองในอนาคต 5. หลักสูตรควรช่วยให้เด็กได้เข้าใจแก่นแท้ ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย “การปกครองโดยยึดถือเสียงส่วนใหญ่ แต่ต้องคำนึงถึงสิทธิของเสียงส่วนน้อย” ด้วยเสียงส่วนใหญ่ที่ยึดถือนั้น ควรเป็นเสียงที่เกิดจากการใช้ปัญญาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นประโยชน์แก่สังคมทั้งประเทศมิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตน หรือสังคมส่วนน้อยที่ตนเองจะมีส่วนได้รับผลประโยชน์เสียงส่วนใหญ่ที่ถูกยอมรับนั้นจะต้องคำนึงถึงสิทธิของเสียงส่วนน้อยจึงจะนับว่า เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สรุปได้ว่าระบอบการเมืองและการปกครองของประเทศ จะต้องนำไปกำหนดไว้ในหลักสูตรในรูปของจุดมุ่งหมาย เนื้อหา ประสบการณ์ และกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีคุณลักษณะพลเมืองดี เหมาะสมกับสังคมของตน
พื้นฐานด้านจิตวิทยา จิตวิทยา หมายถึง วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในการสร้างหลักสูตรขึ้นนั้นก็เพื่อใช้ในการให้การศึกษาแก่คน ผู้สร้างหลักสูตรจึงควรให้ความสนใจพฤติกรรมโดยธรรมชาติของคนหรือผู้เรียนที่จะศึกษาตามหลักสูตรนั้น การสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา จะช่วยให้หลักสูตรนั้นเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติผู้เรียน สำหรับบทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อหลักสูตรอาจแบ่งได้ 3 ด้าน คือ1. บทบาทของจิตวิทยาต่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เมื่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นสิ่งกำหนดคุณลักษณะของผลผลิตหรือผู้จบหลักสูตร การกำหนดคุณลักษณะนั้นย่อมจะต้องคำนึงถึงความพร้อมพัฒนาการของวัยผู้เรียนด้วย เพื่อให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสอดคล้องกับวัยผู้เรียนไม่เป็นการฝืนธรรมชาติ
2. บทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อนักการศึกษา ในด้านนี้นักการศึกษาจะนำความรู้ทางจิตวิทยาไปศึกษาเด็ก และนำข้อมูลที่ได้มาช่วยในการตัดสินใจ เลือกวิธีสอน วิธีการปกครอง การจัดชั้นเรียน การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์ ตลอดจนการสร้างหนังสือแบบเรียน แบบฝึกหัดและหนังสืออ่านประกอบ เป็นต้น • 3. บทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อครูผู้สอน ในด้านนี้ครูสามารถใช้ความรู้ ข้อคิด และวิธีการทางจิตวิทยาเป็นเครื่องช่วยในการรู้จักธรรมชาติของผู้เรียน วิธีการเรียนของนักเรียนและนำมาใช้ในการเตรียมการสอน การจัดกระบวนการเรียนการสอนของครู
ข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ • พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยมีลักษณะเฉพาะและแต่ละวัยจะแตกต่าง การกำหนดหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะของผู้เรียน • การกำหนดหลักสูตร ควรคำนึงถึงผลของพัฒนาการในทุกด้านของผู้เรียน ทั้งในด้านกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา • ควรกำหนดขอบเขต เนื้อหาสาระ และประสบการณ์ให้กว้างขวางในระยะต้นของการศึกษา แล้วค่อย ๆ ละเอียดลึกซึ้งต่อไป • กำหนดเนื้อหาสาระ หรือประสบการณ์อย่างมีระบบ มีลำดับขั้น สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก • ควรคำนึงถึงความต่อเนื่องของประสบการณ์ • (6) ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและทางเพศ
ข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ • สภาพที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ย่อมประกอบด้วยสถานการณ์ที่เป็นปัญหา • การเรียนรู้เกิดจากการแก้ปัญหาและมีการกระทำกิจกรรม • การเรียนเป็นการสนองทั้งตัวเด็ก มิใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง • การเรียนนั้นผู้เรียนจะต้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม • ความคิดริเริ่มเป็นส่วนประกอบของการเรียน • การเรียนจะมีผลดี เมื่อมีความพร้อม (วัย ความต้องการ ความถนัด ความสนใจ) • การเรียนควรเป็นสิ่งที่มีความหมาย และเรียนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย • แรงจูงใจช่วยให้เกิดความพร้อมในการเรียน
พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้สะสมเกี่ยวกับธรรมชาติและประสบการณ์ธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระเบียบแบบแผนรวมทั้งกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งความหมายของวิทยาศาสตร์จะครอบคลุมองค์ประกอบดังแผนภูมิที่ 8
แผนภูมิที่ 8 ความหมายของวิทยาศาสตร์ • วิทยาศาสตร์ • ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • กระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ • วิธีการทางวิทยาศาสตร์ • เจตคติทางวิทยาศาสตร์ • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี หมายถึง การนำวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าค้นพบมาประยุกต์ใช้ตามต้องการของมนุษย์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนำไปใช้จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและใช้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น • เทคโนโลยี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นนามธรรมเป็นความรู้ ความคิดที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์สร้างเครื่องมืออุปกรณ์หรือวัสดุในการทำงานหรือแก้ปัญหาและอีกส่วนได้แก่ส่วนที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือวัสดุที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทำงานแก้ปัญหาการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ • สุนันท์ บุราณรมย์และคณะ (2542 : 5 – 7) กล่าวถึงประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาการด้านโภชนาการ คือ มนุษย์มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รู้จักการเลือกซื้อ จัดหา เพื่อการบริโภคที่ถูกต้อง ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และสติปัญญาเจริญขึ้นเป็นลำดับ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่เป็นพิษ อาหารที่ใส่สารเคมีโดยไม่จำเป็นเหล่านี้เป็นต้น 2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น สมัยโบราณมนุษย์อาศัยอยู่ในถ้ำ ใต้ต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นมาอย่างง่าย ๆ จากวัสดุที่หาได้ เช่น ดอกไม้ ใบตอง ต่อมาได้พัฒนาการก่อสร้างให้มีความคงทนแข็งแรงขึ้นจนมีความสะดวกสบาย ปลอดภัย และถูกต้องตามหลักสุขอนามัย 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุข มนุษย์สมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาด เช่น อหิวาตกโรค ฝีดาษ ทำให้มนุษย์ล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันมนุษย์มีการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้สามารถควบคุมและสามารถรักษาโรคติดต่อเหล่านี้ได้ จนโรคบางโรคหายไปจากโลกนี้ได้ การวินิจฉัยด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น อุลตราซาวน์
เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ ทำให้การวินิจฉัยโรคถูกต้อง แม่นยำ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนวิธีการรักษาโรคได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การรักษาโรคมีการพัฒนาเจริญขึ้น เช่น การผลิตยา การผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ การผ่าตัดโดยใช้คอมพิวเตอร์ การรักษาโรคด้วยรังสี การรักษาโดยใช้ยาที่มีคุณภาพ สำหรับวิธีการป้องกันโรคมนุษย์ก็สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอเหล่านี้เป็นต้น • 4. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาด้านเครื่องนุ่งห่มที่ทันสมัย และเหมาะสมกับร่างกาย ซึ่งต่างจากมนุษย์สมัยก่อนที่ใช้ใบไม้ เปลือกไม้ หนังสัตว์เป็นวัสดุเพื่อทำเป็นเสื้อผ้า ต่อมามนุษย์รู้จักเส้นใยต่าง ๆ จากฝ้าย จากรังไหมและอื่น ๆ มาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าด้วย และเมื่อมนุษย์สามารถผลิตเส้นใยสังเคราะห์ทำให้สามารถผลิตเสื้อผ้าด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและสามารถผลิตได้ปริมาณมากมายจนเกิดความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน
5. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารโทรคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพจนได้สมญานามว่า “ยุคโลกาภิวัตน์” คือ มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันและกันทั่วทั้งโลกได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องโดยใช้วิธีการสื่อสารดาวเทียม การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสงทำให้ระบบสื่อสารด้วยโทรศัพท์ วิทยุโทรทัศน์ โทรเลข โทรสาร และอื่น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความ ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว • 6. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาด้านการคมนาคมและการขนส่ง การคมนาคมและการขนส่งในสมัยโบราณมีปัญหามากมาย เช่น ถนนไม่มีคุณภาพ ยานพาหนะล้าสมัยแต่ในปัจจุบันถนนหนทาง ยานพาหนะได้พัฒนาไปได้อย่างมีคุณภาพ เช่น รถไฟฟ้า เครื่องบิน เรือเดินสมุทร ยานพาหนะเหล่านี้ ช่วยให้การคมนาคมและการขนส่งมีความสะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว • 7. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยปัญหา การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล ซึ่งการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนดังนี้ทำให้มนุษย์หาวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
8. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์เกิดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ คือ ทำให้มนุษย์เป็นคนมีเหตุผล มีความอยากรู้อยากเห็น มีความใจกว้าง มีความเพียรพยายาม มีความซื่อสัตย์สุจริต 9. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้มนุษย์รู้จักกระบวนการที่จะทำให้โลกเกิดความสมดุลตามธรรมชาติ และทำให้มนุษย์ตระหนักที่จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เป็นต้น เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดทำ และพัฒนาหลักสูตรซึ่งต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาบรรจุไว้ในหลักสูตร อย่างน้อย 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนและสังคมมากำหนดในเนื้อหาของหลักสูตร 2. นำกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างนิสัยในการแก้ปัญหาและการสร้างเจตคติทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา 2.4 เรื่อง รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร จะแสดงแนวคิดเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรอย่างเป็นระบบ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมย่อมจะส่งผลถึงคุณภาพของหลักสูตรอย่างเป็นระบบ ดังนั้นจึงควรศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ที่นักพัฒนาหลักสูตรได้เสนอแนวทางไว้ เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุง กำหนดรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคมของเรา 1. รูปแบบของไทเลอร์ ไทเลอร์ (Tyler. 1971 : 1 – 2) กล่าวว่า ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะตอบคำถามพื้นฐานได้ 4 ประการ คือ (1) มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนตั้งใจจะก่อให้เกิดแก่ผู้เรียน (2) มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
(3) จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพ (4) ประเมินผลประสบการณ์อย่างไรจึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ หากพิจารณาคำถามดังกล่าวมา จะเห็นว่าเป็นคำถามที่แสดงองค์ประกอบของหลักสูตรและยังแสดงลำดับขั้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วย เพราะไทเลอร์เห็นว่าจะต้องตอบคำถามเรียงลำดับไปจากข้อแรกซึ่งเป็นข้อที่สำคัญและเป็นหลักในการตอบคำถามข้อต่อ ๆ มา รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์อาจจัดเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ 1.1 กำหนดจุดมุ่งหมาชั่วคราว รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์นั้น “ส่วนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักการศึกษา ได้แก่ ส่วนแรกของรูปแบบที่กล่าวถึงการเลือกสรรจุดมุ่งหมาย” (ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล 2527 : 150) โดยครั้งแรกจะเป็นการกำหนดจุดหมายชั่วคราวขึ้นก่อน จุดหมายชั่วคราวของหลักสูตรนั้นจะกำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน สังคม และเนื้อหาวิชาเป็นพื้นฐาน
1.2 กำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอน จุดมุ่งหมายที่แน่นอนเกิดจากการนำเอาจุดมุ่งหมายชั่วคราวไปตรวจสอบ กลั่นกรองด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ ปรัชญาการศึกษา และปรัชญาสังคม แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมสอดคล้องกัน 1.3 เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ 1.4 กำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.5 กำหนดการประเมินผล รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ มีกระบวนการดังแผนภูมิที่ 9
แผนภูมิที่ 9 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ • แหล่งข้อมูลนำมากำหนดจุดมุ่งหมายชั่วคราว • เนื้อหาวิชา • ผู้เรียน • สังคม • จุดมุ่งหมายชั่วคราว • ตรวจสอบกลั่นกรอง • จุดมุ่งหมายชั่วคราว • จุดมุ่งหมายแน่นอน • องค์ประกอบ • หลักสูตร • ทฤษฎีการเรียนรู้ • เลือกประสบการณ์การเรียนรู้ • ปรัชญาการศึกษา • จัดประสบการณ์ การเรียนรู้ • ปรัชญาสังคม • กำหนดการประเมินผล
2. รูปแบบของทาบา • ทาบา (Taba. 1962 : 12) ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นขั้น ๆ ดังนี้ • 2.1 สำรวจความต้องการและความจำเป็นต่าง ๆ ของสังคม • 2.2 กำหนดจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม • 2.3 คัดเลือกเนื้อหาสาระ หรือวิชาความรู้ที่จะนำมาสอนและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ • 2.4 จัดระเบียบ จัดลำดับ แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาสาระที่คัดเลือกไว้ • 2.5 คัดเลือกประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะจำมาเสริมเนื้อหาสาระให้สมบูรณ์ • 2.6 จัดระเบียบ จัดลำดับ แก้ไขปรับปรุงประสบการณ์ต่าง ๆ ในอันที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดและเจตคติที่ดี เป็นขั้นตอนการวางแผนแปลงเนื้อหาที่จะต้องสอนไปสู่ประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่เหมาะสม
2.7 กำหนดสิ่งที่จะต้องประเมิน จากเนื้อหาสาระประสบการณ์ที่กำหนดไว้นั้น ตลอดจนกำหนดวิธีหรือแนวทางในการประเมินผล • แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของทาบาจะเหมือนกับลำดับขั้นของไทเลอร์เป็นส่วนใหญ่และจาก “กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ทาบาได้เสนอไว้ 7 ขั้น เป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะการพัฒนาเอกสารหลักสูตรเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงการใช้หลักสูตรและการประเมินผลหลักสูตรเลย” (สงัด อุทรานันท์ 2527 : 37) • รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบามีกระบวนการดัง แผนภูมิที่ 10
แผนภูมิที่ 10 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบา • สำรวจความต้องการและความจำเป็นของสังคม • กำหนดจุดมุ่งหมาย • คัดเลือกเนื้อหา • จัดระเบียบลำดับเนื้อหา • กำหนดประสบการณ์การเรียนรู้ • จัดระเบียบลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ • กำหนดสิ่งที่ต้องการประเมินและวิธีประเมินผล