310 likes | 640 Views
ทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย กับประชาคมอาเซียน. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510. CAMBODIA. อาเซียน : สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. ปี 2540. ปี 2540.
E N D
ทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยกับประชาคมอาเซียนทิศทางสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510
CAMBODIA อาเซียน : สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2540 ปี 2540 ปี 2510 ปี 2510 ปี 2538 ปี 2510 ปี 2542 ปี 2527 ปี 2510 ปี 2510
ASEAN Factsheet • สมาชิกผู้ก่อตั้ง • ไทย • มาเลเซีย • อินโดนีเซีย • ฟิลิปปินส์ • สิงคโปร์ สมาชิกเพิ่มเติม +บรูไน ดารุสซาลาม ปี 2527 + เวียดนาม ปี 2538 + ลาว ปี 2540 + เมียนมาร์ ปี 2540 + กัมพูชา ปี 2542 ประชากร – 600.15 ล้านคน พื้นที่- 4.5 ล้าน ตาราง กม. GDP รวม 1,540 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้ารวม 1,800 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนจากต่างประเทศ 39,623 ล้านเหรียญสหรัฐ
ประชาคมอาเซียนปี 2558 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 (20 พ.ย. 2550) ผู้นำอาเซียนได้ลงนามกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ - มีกฎกติกาในการทำงาน(Rules-based) - มีประสิทธิภาพ - มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีผลใช้บังคับเมื่อ 15 ธ.ค. 2551
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประชาคมเศรษฐกิจ (AEC Blueprint) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (APSC Blueprint) ประชาคม สังคมและวัฒนธรรม (ASCC Blueprint) มั่งคั่ง มั่นคง เอื้ออาทร
การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี2558การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี2558 ASCC AEC AC APSC เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี / AFTA เหลือ ร้อยละ 0 / เปิดเสรีการลงทุนภายใต้หลัก national treatment / เปิดเสรีบริการเร่งรัด 4 สาขา (e-ASEAN สุขภาพ ท่องเที่ยว การขนส่งทางอากาศ) / MRA วิชาชีพ 8 สาขา / เชื่อม โยงตลาดทุนและพันธบัตร / ใช้ประโยชน์จาก คตล.เขตการค้าเสรีอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกัน / มีพลวัต คงความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค / มีเอกภาพ ไว้เนื้อเชื่อใจ สงบสุข แข็งแกร่ง รับผิดชอบ สามารถรับมือกับความท้าทาย ต่าง ๆ ได้ / เป็นประชาธิปไตย มีธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม / คุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทรที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นอยู่ที่ดี มีการพัฒนา ในทุก ๆ ด้าน มีความยุติธรรม มีความมั่นคงทางสังคม และมีการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSC) เป็นส่วนหนึ่งของกลไกสืบเนื่องจาก Bali Concord II ในปี พ.ศ.2546 (ค.ศ. 2003) เพื่อการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) หรือ วิสัยทัศน์อาเซียน 2020" (ASEAN Vision 2020) ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เซบู ฟิลิปปินส์ ได้เร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 (ปี 2552) ในสมัยที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ได้รับรองแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยมุ่งหวังจะเป็นหลักประกันให้ประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่อย่างสันติ ในบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรมและการมีความปรองดองต่อกัน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ASEAN Political-Security Community (APSC) แผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC Blueprint) 1. ประชาคมที่มีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน 2. ประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ 3. ประชาคมที่ทำให้เป็นภูมิภาคที่มีพลวัตรและมองไปยังโลกภายนอกที่มีการรวมตัวและลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายหลักของประชาคมการเมืองและความมั่นคงเป้าหมายหลักของประชาคมการเมืองและความมั่นคง • ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง • การอยู่ร่วมกันโดยสันติ • แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธี • สร้างกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกันด้านประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน • ความรับผิดชอบร่วมกันในการสร้างความมั่นคงที่ครอบคลุมรอบด้าน เช่นโรคระบาด ภัยพิบัติธรรมชาติ และการรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ • สร้างปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกและคงความเป็นศูนย์กลางและบทบาทของอาเซียน
วัตถุประสงค์ มุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี ปราศจากโรคภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แผนการจัดตั้งประชาคมฯ ประกอบด้วยความร่วมมือ 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ความยุติธรรมและสิทธิ ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - กฎบัตรอาเซียนที่กำหนดให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียนขึ้นเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และได้มีการระบุเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไว้ในข้อ A.1.5 ของ APSC Blueprint ด้วย- ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อเดือน ก.ค. 2552 ได้เห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ขึ้นเพื่อเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตามที่ระบุไว้ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) ของ AICHR
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • ประเทศสมาชิกอาเซียนจะแต่งตั้งผู้แทน ประเทศละ 1 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี • ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนไทยใน AICHR สมัยแรก (ต.ค. 2552 - ธ.ค. 2555) • ดร.เสรี นนทสูติ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนไทยใน AICHR คนปัจจุบัน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 29 ม.ค. 2556 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2558
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน • ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration - AHRD) จัดทำขึ้น โดย AICHR ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อเดือน ก.ค. 2552 • ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประสงค์ให้ปฏิญญาฉบับนี้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสู่การเป็นกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน เช่น อนุสัญญา สนธิสัญญา รวมทั้งการจัดทำตราสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในอนาคต
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (AHRD) - เมื่อวันที่18 พ.ย. 2555 ผู้นำอาเซียนได้ให้การรับรอง AHRD ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 21 ควบคู่กับการลงนามในแถลงการณ์พนมเปญเพื่อรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าว โดย AHRD ประกอบด้วยเนื้อหาสาระหลัก 7 ส่วน ได้แก่ (1) อารัมภบท (2) หลักการทั่วไป (3) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (4) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (5) สิทธิในการพัฒนา (6) สิทธิในสันติภาพ (7) ความร่วมมือในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (AHRD) - ไทยได้จัดทำหนังสือคำแปล AHRD และแถลงการพนมเปญว่าด้วยการรับรอง AHRD โดยได้จัดส่งให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อใช้ในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาและเผยแพร่ตามช่องทางการศึกษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังได้บรรจุไฟล์รูปแบบ PDF ไว้ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศด้วย
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - ภารกิจสำคัญของ AICHR คือ การเผยแพร่ปฏิญญาฯ ให้เป็นที่รับรู้ของสาธารณชนในวงกว้างและทุกภาคส่วน ผู้แทนไทยใน AICHR และในคณะทำงานฯ ได้จัดกิจกรรมสร้างเสริมความตระหนักรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งหารือกับภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ตลอดจนหารือกับองค์กรรายสาขาของอาเซียนเพื่อนำ AHRD ไปสู่การปฏิบัติ
การส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคม - APSC Blueprint ข้อ A.1.6 ระบุเรื่องการเพิ่มการมีส่วนร่วมองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนที่เกี่ยวข้องต่อการขับเคลื่อนความคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาการทงการเมืองของอาเซียนให้ดำเนินไปข้างหน้า โดยปัจจุบัน องค์กรรายสาขาต่าง ๆ ของอาเซียน (ASEAN Sectoral Bodies)ล้วนมีบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมเพื่อให้ประชาคมอาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
การส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคมการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคประชาสังคม - ไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง AICHR กับองค์กรภาคประชาสังคมและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศได้จัดให้มีการพบหารือระหว่างผู้แทนภาคประชาสังคมกับผู้บริหารของกระทรวงฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและรับทราบข้อห่วงกังวลของภาคประชาสังคม
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ AICHR Advanced Programme on Human Rights - Training of the Trainers (TOT) ระหว่างวันที่ 8-12 พ.ย. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่รัฐประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและกลไกสิทธิมนุษยชน ในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐในการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน - ไทยจะเป็นประธานจัดการประชุม Special Meeting of AICHR ระหว่างวันที่ 14 – 16 พ.ย. 2557 โดยจะจัด back-to-back กับ Workshop on Regional Mechanisms ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 17 – 18 พ.ย. 2557
อนาคต • บทบาทในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ AICHR • การรับข้อมูล (receive communication) จากผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน • Human Rights Dialogue • การ mainstream ประเด็นสิทธิมนุษยชนใน Blueprints หรือเอกสารหลักของอาเซียนในอนาคต • บทบาทในกระบวนการ UPR ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/aseanhttps://www.facebook.com/ASEANThailand.MFA One Vision One Identity One Community