880 likes | 995 Views
CHAPTER 10 การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย. EC482. Outline. บทความของ อ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เรื่อง “เส้นทางอุตสาหกรรมไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 4 ธ.ค. 2536 บทความ “การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทยในรอบ 5 ทศวรรษ” โดย รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรมและ อ.พีระ เจริญพร.
E N D
CHAPTER 10การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย EC482
Outline • บทความของ อ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เรื่อง “เส้นทางอุตสาหกรรมไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 4 ธ.ค. 2536 • บทความ “การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทยในรอบ 5 ทศวรรษ” โดย รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรมและ อ.พีระ เจริญพร
8.1 บทความของ อ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เรื่อง “เส้นทางอุตสาหกรรมไทย” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 4 ธ.ค. 2536 Outline • สาเหตุแห่งการเจริญเติบโตของภาคหัตถอุตสาหกรรม • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการกระจายผลประโยชน์ • ฐานทรัพยากรของอุตสาหกรรมไทย • เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Path) • บทสรุป
2.สาเหตุของการเจริญเติบของภาคหัตถอุตสาหกรรม2.สาเหตุของการเจริญเติบของภาคหัตถอุตสาหกรรม • 2520-2530 ความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การพิมพ์ เครื่องจักร • 2530-now เดิมเชื่อว่าเกิดจากการเติบโตในภาคการส่งออก แต่ความจริงน่าจะเกิดจากการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทรัพยากรภายในประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยเฉพาะ ประเทศญี่ปุ่น
3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการกระจายผลประโยชน์ 3.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในสาขาหัตถอุตสาหกรรม:อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า อุตสาหกรรมอุปกรณ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก พลาสติกเติบโตขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ยาสูบ อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมโลหะมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำลง 3.2 ประสิทธิภาพของภาคหัตถอุตสาหกรรม: ในระหว่าง 2503-2533 ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ภาคหัตถอุตสาหกรรมมีสัดส่วนในมูลค่าเพิ่มค่อนข้างคงที่
3. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการกระจายผลประโยชน์ 3.3 การแบ่งปันผลของความเจริญเติบโต:สัดส่วนของค่าแรงในมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมลดลงแต่สัดส่วนของกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองมีสัดส่วนกำไรลดลง สัดส่วนของวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปนำเข้าในสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น 3.4 การขยายตัวของความเจริญเติบโตในภูมิภาคต่างๆ: การขอจดทะเบียนของโรงงานใหม่เริ่มมีแนวโน้มการกระจายของอุตสาหกรรมออกนอกกรุงเทพฯมากขึ้น 3.5 อัตราการเจริญเติบโตของโรงงานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก: ในช่วงที่อุตสาหกรรมมีการเจริญเติบโตสูงกิจกรรมขนาดใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่ากิจการขนาดเล็ก เนื่องจากระบบภาษีมีส่วนอุดหนุนการลงทุนแก่กิจการขนาดใหญ่
4. ฐานทรัพยากรของอุตสาหกรรมไทย 4.1 แรงงาน:ค่าแรงถูกเพราะมีแรงงานที่ถูกผลักดันออกมาจากภาคเกษตร ต่อมาตลาดแรงงานเริ่มตึงตัว การลงทุนทำให้ประสิทธิผลของแรงงานสูงขึ้น ขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ แรงงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร 4.2 ทรัพยากรธรรมชาติ:ทรัพยากรในประเทศเริ่มไม่เพียงพอเช่นอุตสาหกรรมปลากระป๋อง ต้องอาศัยแหล่งวัตถุดิบสากลและพัฒนาทักษะในการหาวัตถุดิบจากแหล่งสากล
4. ฐานทรัพยากรของอุตสาหกรรมไทย 4.3 เทคโนโลยี: ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • สถานะของเทคโนโลยีในปัจจุบัน • จากการผลิตขนาดเล็กสู่การแปรรูปขนาดใหญ่ • ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดกับเทคโนโลยี
5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • Growth Path • Newly Industrializing Economies (NIEs) • Newly Industrializing and Agro-based Economies (NIAEs) • Newly Industrializing Agro-based and Services Economies (NIASEs)
5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.1 นโยบายอุตสาหกรรมแบบไทยๆ: มักไม่เจาะจงอุตสาหกรรม (a)นโยบายที่มีผลต่อการจัดสรรทรัพยากรอุตสาหกรรมและต่อโครงสร้างอุตสาหกรรม เช่น การส่งเสริมการลงทุน นโยบายภาษี นโยบายคัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมาย (b)นโยบายที่มีผลต่อการจัดองค์กรอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมกำลังการผลิต ข้อกำหนดการรวมตัวของบริษัท นโยบายช่วยเหลือ SMEs นโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรม 5.2 นโยบายกำแพงภาษี: เป็นนโยบายหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย โดยการกำหนดภาษีนำเข้าในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างสินค้าต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่การหารายได้มากกว่าการพัฒนาอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดความโน้มเอียงไปในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายโดยไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปข้างหลัง และยังทำให้เกิดการละเลยเครื่องมือนโยบายอุตสาหกรรมอื่นๆ
5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.3 การส่งเสริมการลงทุน: BOI มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการส่งออก กระจายอุตสาหกรรมไปชนบทและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 5.4 นโยบายรายสาขา (Sectoral Policies):เป็นนโยบายที่ดำเนินการโดยแต่ละกระทรวงแต่บางครั้งก็ขัดแย้งกันเองระหว่างกระทรวง • นโยบายการใช้ชิ้นส่วนประกอบภายในประเทศ: มิได้เน้นการลดการพัฒนาระดับเทคโนโลยีอย่างจริงจัง กลายเป็นการต่อรองระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศกับผู้ประกอบรถยนต์ญี่ปุ่น • การควบคุมกำลังผลิต: excess capacity, economy of scale, indivisibilities, economic rent, barrier to entry, optimal production, technological bottleneck
5. เส้นทางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 5.5 นโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย:เงื่อนไขที่ใช้คัดเลือกอุตสาหกรรมเป้าหมาย ชนิดของมาตรการที่ใช้กับอุตสาหกรรมและเครื่องมือที่จำเป็นในการนำนโยบายไปปฏิบัติ อุปสรรคของไทยในการแทรกแซงโดยรัฐ (๑) การแบ่งแยกโดยเด็ดขาดระหว่างนโยบายมหภาคกับจุลภาค (๒) อำนาจทางกฎหมายที่ให้แก่กระทรวงในการออกกฏกระทรวงและระเบียบ 5.6 ความจำเป็นของการผสมผสานนโยบายรายสาขา:ความสำคัญของความเข้าใจลักษณะและระดับการพัฒนาของแต่ละอุตสาหกรรมและการประสานนโยบายมหภาค ตลอดจนการทำให้เอกชนเกิดความมั่นใจในการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ระยะยาว ดังนั้นการใช้นโยบายอุตสหากรมต้องมีเป้าหมายที่แน่ชัด มีการใช้อย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลเพื่อลดต้นทุนทางสังคมให้ต่ำที่สุด
บทสรุป • ความได้เปรียบที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรและแรงงานราคาถูกกำลังจะหมดไป • การสร้างความได้เปรียบใหม่โดยนโยบายอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องและเป็นระบบ ต้องมีการใช้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการสร้างมโนทัศน์ vision ร่วมกันและนโยบายต่างๆทั้งมหภาคและจุลภาคจำเป็นต้องใช้อย่างผสมผสานและไปในทิศทางเดียวกัน • ทางเลือกของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต • บทบาทของรัฐต้องเปลี่ยนแปลงจากการควบคุมไปเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม ควบคุมคุณภาพ มลพิษ และการสร้างมโนทัศน์และการบริการข้อมูลในประชาชน • ภาคเอกชนและภาครัฐต้องร่วมมือกัน
(II) บทความเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทยในรอบห้าทศวรรษ” • แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของไทยเป็นเพียงแผนชี้แนะ (indicative plan) ไม่ได้เป็นแผนบังคับ (compulsory or mandatory plan) • ภาคอุตสาหกรรมเติบโตด้วยการดำเนินงานของภาคเอกชนเป็นหลัก (โดยเฉพาะบทบาทของบรรษัทข้ามชาติที่เป็นเจ้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ) • บางแผนมีการกำหนดเป้าหมาย แต่บางแผนไม่ได้กำหนด เป้าหมาย (เช่น แผนฉบับที่ 4 ไม่ได้กำหนดเป้าหมาย)
นโยบายและมาตรการที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ • การส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอ • การเก็บภาษีศุลกากรโดยกระทรวงการคลัง • การกีดกันการนำเข้าด้วยมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรโดยกระทรวงพาณิชย์ • การให้สินเชื่อโดยสถาบันการเงิน • หน่วยงานเหล่านี้มีปัญหาการประสานงานในนโยบายรายสาขา • เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว จะมีการกำหนดแนวนโยบายและมาตรการอย่างกว้าง ๆ (ดูรายละเอียดในแผน5 (2525-2529)) • ฉะนั้น การศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของไทย จำต้องศึกษานโยบายและมาตรการของรัฐ ทั้งที่ระบุและที่ไม่ได้ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ
“รายงานการศึกษา ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในช่วงแผน 8” (2539) ระบุว่า “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยโดยทั่วไปแล้วจัดว่าเป็นแผนชี้แนะ มากกว่าเป็นแผนที่มีการบังคับ ซึ่งเป็นการกำหนดนโยบายกว้าง ๆ หรือแสดงแนวคิดไว้แต่ไม่ได้กำหนดแผนปฏิบัติงานอย่างละเอียด และบ่อยครั้ง นโยบายที่เขียนอยู่ในแผนพัฒนาฯ ฉบับต่าง ๆ ไม่ปรากฏว่ามีมาตรการใด ๆ รองรับ หรือไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ…” (สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย และคณะ, 2539, หน้า 15)
แผน 1 (2504-2509) และแผน 2 (2510-2514) เน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า เนื่องจาก 1. ไทยขาดแคลนสินค้า (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) 2. กระแสแนวคิดหลักของประเทศกำลังพัฒนา
ในช่วงแผน 1 และ แผน 2 1) ภาคหัตถอุตสาหกรรมขยายตัวเร็วทำให้มีสัดส่วนในจีดีพี เพิ่มจาก 14.5% ในปี 2503 เป็น 17.9% ในปี 2514 2) อุตสาหกรรมที่โตเร็ว: น้ำมันปิโตรเลียม และสิ่งทอ แต่อุตสาหกรรมอาหารกลับมีสัดส่วนในจีดีพีลดลง 3) พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรมากขึ้น จนทำให้มีดุลการชำระเงินขาดดุลติดต่อกันในปี 2512-2514
แผน 3 (2515-2519) • เริ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก • และเริ่มส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค • ขณะเดียวกันยังคงส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า • สัดส่วนของภาคหัตถอุตสาหกรรมในจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 22.2% ในปี 2519
แผน 4 (2520-2524) และ แผน 5 (2525-2529) • ยังคงดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและเริ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมพื้นฐาน (เหล็ก, การแยกก๊าซธรรมชาติ, ปิโตรเคมีคอล, ปุ๋ยเคมี และเยื่อกระดาษ) • ในช่วง 2520-2529 ภาคหัตถอุตสาหกรรมมีสัดส่วนในจีดีพีประมาณ 22-23% ค่อนข้างคงที่ • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ มีขนาดที่โตขึ้นค่อนข้างมาก
แผน 6 (2530-2534) • ดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกต่อไปและได้มีการระบุอุตสาหกรรมที่ส่งเสริม ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมวิศวการ (อุตสาหกรรมงานโลหะ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์) และส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค ตลอดจนการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
แผน 7 (2535-2539) ดำเนินนโยบายส่งเสริมการส่งออกต่อไป ระบุอุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ • อุตสาหกรรมการเกษตร • อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม • อุตสาหกรรมงานโลหะ • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี • อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า (อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเร็วในช่วงนี้)
ในช่วงแผน 6-7 (2530-2539) • ภาคหัตถอุตสาหกรรมขยายตัวเร็ว • มีสัดส่วนใน GDP เพิ่มจาก 23.4% ในปี 2529 เป็น 31.5% ในปี 2539 • สาเหตุหลัก: การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ปี 2529 แผน 8 (2540-2544) แผน 9 (2545-2549) • ไม่มีส่วนที่เป็นแผนพัฒนาอุตสาหกรรม • แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (2541-2545)(ไม่มีการเชื่อมโยงกับแผน 8)
ประเด็นที่พิจารณา • 1) นโยบายและมาตรการของรัฐ • นโยบายการส่งเสริมการลงทุนภาคอุตสาหกรรม • นโยบายและมาตรการด้านการค้าระหว่างประเทศ • มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมด้วยภาษีอากรขาเข้า • มาตรการกีดกันการนำเข้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร • มาตรการการส่งเสริมการส่งออก • มาตรการควบคุมการผลิต • นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. แหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ • ช่วงทศวรรษ 2510, 2520 สหรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ • หลัง Plaza Accord (2528) ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ • สหภาพยุโรปมีการลงทุนในไทยมากขึ้นในทศวรรษ 2540 (หลังวิกฤตการณ์) • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีสัดส่วนลงทุนในภาค อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจาก 13.9% ในปี 2514 เป็น 39.4% ในปี 2524 เป็น 46.4% ในปี 2534 และ 57.3% ในปี 2544 • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยรวม (2513-2544) 42.6% ลงทุนในภาคอุตสาหกรรม • อุตสาหกรรมสำคัญ: เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า (12.4%) เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (8.3%)โลหะและอโลหะ (5.5%)
3) บรรษัทข้ามชาติ (ข้อมูล สำมะโนอุตสาหกรรม 2540) จำนวนสถานประกอบการ สถานประกอบการของคนไทย มีการลงทุนจากต่างประเทศตั้งแต่ 1%
สถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ได้รับการส่งเสริม ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ได้รับการส่งเสริม สถานประกอบการที่มีต่างชาติร่วมลงทุน สถานประกอบการของไทย
มูลค่าผลผลิตรวม ผลิตโดยสถานประกอบการ ของไทย (88.7%) ผลิตโดยสถานประกอบการที่มีต่างชาติร่วมลงทุน (11.3%)
4) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม จำนวนสถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม (100,283 ราย) ผู้ผลิตรายใหญ่ SMEs
การจ้างงาน การจ้างงานโดย SMEs การจ้างงานโดยผู้ผลิตรายใหญ่
การช่วยเหลือของภาครัฐยังมีน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการของ SMEs ในไทย • การช่วยเหลือที่รัฐบาลให้แก่ SMEs มีน้อยกว่าการช่วยเหลือที่ให้แก่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และกลาง
5) การกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค • เริ่มต้นในแผน 3 • มาตรการที่ใช้ : การส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอและการตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย • ปัจจุบัน อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยมีการขยายตัวไปสู่เขตชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นบางส่วน
6) การพัฒนาเทคโนโลยี ประเด็นปัญหาของการพัฒนาเทคโนโลยีของไทย • ประเทศไทยมีการใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยอยู่ในระดับที่ต่ำ • ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยของรัฐบาลซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในภาคการผลิต • พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก • ขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเสียเปรียบด้านเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นบางประการ • ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน • ผู้บริโภค • การร่างแผนพัฒนาอุตสาหกรรม • อุตสาหกรรมเป้าหมาย
สรุป: นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยจากอดีตสู่อนาคต • จากทศวรรษ 1960 ถึงปัจจุบัน นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยได้เปลี่ยนแปลงจากการปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ามาเป็นการเน้นการผลิตเพื่อส่งออกไปสู่ตลาดโลก • กลางทศวรรษ 1970 รัฐเริ่มตระหนักถึงข้อจำกัดของนโยบายทดแทนการนำเข้าว่าอาจไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจากข้อจำกัดสามประการคือ • 1) อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าใช้แรงงานต่อทุนต่ำกว่าอุตสาหกรรมส่งออก • 2) ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กที่มีขนาดตลาดเล็กกว่าตลาดโลก • 3) นโยบายทดแทนการนำเข้าไม่สามารถลดการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน
ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 รัฐเริ่มหันมาให้ความสนใจต่อการส่งเสริมการส่งออก แต่ในทศวรรษ 1980 ข้อจำกัดของมาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกมีหลายประการ คือ • โครงสร้างภาษีที่มีอัตราภาษีสูงและแตกต่างกันมาก • ผู้ส่งออกมิได้รับประโยชน์จากมาตรกรสิทธิประโยชน์พิเศษอย่างเต็มที่ • มาตรที่ใช้มิได้เกื้อกูลผลประโยชน์ให้ตกแก่ผู้ผลิตเพื่อส่งออกโดยทั่วถึงกันทุกราย • การรับซื้อลดตั๋วแลกเงินแก่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออกของ BOT มักได้รับการร้องเรียนจากประเทศผู้นำเข้าว่า เป็นการอุดหนุนการส่งออก • ในต้นทศวรรษ 1990 รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีทั้งระบบ โดยการลดอัตราภาษีศุลกากรให้ต่ำลง ลดจำนวนอัตราให้เหลือเพียง 6 อัตรา
8.2 ปัญหาและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย EC482
ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจไทยภาพรวมภาคอุตสาหกรรมต่อเศรษฐกิจไทย • ภาคอุตสาหรรมเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญสูงต่อระบบเศรษฐกิจไทย และมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ • โครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลักมาเป็นการพึ่งพาภาคอุตสาหกรรม • มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรกรรมลดลง • สัดส่วนการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับจำนวนการจ้างงานรวมของประเทศอยู่ในระดับต่ำ
โครงสร้างกิจการอุตสาหกรรมการผลิตของไทยโครงสร้างกิจการอุตสาหกรรมการผลิตของไทย • กิจกรรมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทยเป็นกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยล่ะ 99.4 ของกิจการอุตสาหกรรมทั้งหมด • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มีจำนวนกิจการ SMEs มากที่สุด รองลงมา อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และอุตสาหกรรมโลหะประดิษฐ์
กิจการขนาดใหญ่แทบทุกสาขาอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากกว่ากิจการ SMEs • ในปี พ.ศ.2546 กิจการขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 71.1 ในขณะที่กิจการ SMEs ซึ่งมีจำนวนมากกว่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมเพียงร้อยละ 28.9 • กิจการขนาดใหญ่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่ากิจการ SMEs • ในปี พ.ศ.2546 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวนการจ้างงานรวม 2.81 ล้านคน เป็นการจ้างงานของกิจการ SMEs ร้อยละ 49.2 และเป็นการจ้างงานของกิจการขนาดใหญ่ร้อยละ 50.8
โครงสร้างการก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหรรมจำแนกตามขนาดกิจการและสาขาอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2546
โครงสร้างการกระจายตัวของกิจการ SMEs • กิจการ SMEs ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในจังหวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภูมิภาค • ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล กิจการ SMEs ตั้งกิจการอยู่ในกรุงเทพ ฯ ถึงร้อยละ 75.4 และเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ แล้ว กิจการ SMEs ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากที่สุด • โครงสร้างประเภทกิจการ SMEs จะมีความคล้ายคลึงกันในทุกภูมิภาคของประเทศไทย คือ กิจการในภาคการค้าปลีกและภาคบริการจะมีสัดส่วนสูงกว่ากิจการภาคการผลิต
ปัญหาสำคัญและบทบาทของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไทยปัญหาสำคัญและบทบาทของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาด้านโครงสร้างที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมหลักของไทย • สภาวะแวดล้อม และประเด็นสำคัญที่มีผลต่ออนาคตของอุตสาหกรรมไทย • นโยบายภาครัฐในการแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมไทย
i. ปัญหาด้านโครงสร้างที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาด้านการผลิต -แนวโน้มผลิตภาพการผลิตลดลง -ข้อจำกัดในการส่งเสริม SMEs ทั้งทางด้านเงินทุนและบุคคลากร • ปัญหาการส่งออก -สูญเสียความได้เปรียบและมีส่วนแบ่งตลาดลดลงในสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบในอดีต • ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ -ความพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศในการผลิตสินค้า
ii. ปัญหาเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมหลักของไทย • การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือระดับสูง • การพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าในสัดส่วนที่สูง • การขาดแคลนศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล • การขาดการวิจัยและพัฒนา • การขาดเทคโนโลยีที่ดีในการผลิต
ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต แรงงาน • อุตสาหกรรมไทยทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นหรือที่ใช้แรงงานที่มีทักษะและความชำนาญ ต่างก็ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือที่มีประสบการณ์ • ขาด Basic skill ด้านภาษา เช่น การใช้ภาษาต่างประเทศ,ทักษะในการสื่อสาร • ขาด Advance skill/Knowledge ความสามารถในการคิดไปข้างหน้าในเรื่องของ product หรือการผลิต เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง สิ่งทอ เป็นต้น • การว่างงานของผู้มีการศึกษา เนื่องจากความไม่สอดคล้องกันของการศึกษา/ความชำนาญ กับความต้องการของตลาด • แม้ว่าแรงงานฝีมือจะมีค่าจ้างที่ไม่สูง แต่แรงงานฝีมือยังมีจุดอ่อนด้านความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และการช่าง
ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต เครื่องจักร • ความล้าสมัยของเครื่องจักร ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง(ขนาดกลาง/เล็ก) ที่มีเครื่องจักรที่ล้าสมัย ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ ไม่สวยงามประณีต เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ • ผู้ประกอบการไม่ลงทุนในการซื้อเครื่องจักรใหม่ อาจเกิดจากสถาบันการเงินไม่ให้กู้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีอนาคต หรือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้ประกอบการไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเครื่องจักรใหม่/เทคโนโลยีใหม่อย่างทันท่วงที หรือผู้ประกอบการเองไม่ต้องการลงทุนในส่วนนี้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่
ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต สินเชื่อ • ปัญหาใหญ่คือการขาดแหล่งเงินทุน เนื่องจากสถาบันการเงินไม่ค่อยปล่อยกู้เพราะต้องการหลีกเลี่ยงปัญหา NPL หรือธุรกิจที่ขอกู้มีความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อม (SMEs)ประกอบกับตัวผู้ประการเองมีปัญหาเรื่องระบบบัญชี ทำให้ต้องใช้ระบบการค้ำประกันส่วนบุคคล ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา NPL ได้ในอนาคต แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานและสถาบันหลายแห่ง (เช่น IFCT บสย. บอย.) สนับสนุนการให้กู้กับ SMEs แต่จัดว่าเป็นสัดส่วน (Scale) ขนาดเล็กไม่สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งระบบได้ • ปัญหาเฉพาะหน้าคือ ปัจจุบันธุรกิจขนาดใหญ่และเล็กโดยทั่วไปมีปัญหา NPL ประกอบกับการทีสภาพธุรกิจมีส่วนเกินของกำลังการผลิต (excess capacity) ทำให้การขอกู้เงินเพื่อลงทุนเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและเล็กขาดแคลนเงินทุน
ปัญหาด้านปัจจัยการผลิตปัญหาด้านปัจจัยการผลิต พลังงาน • อุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากจะมีปัญหาในด้านต้นทุนพลังงานที่สูงซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าระบบภาษีที่เก็บจากพลังงานที่ใช้ในการผลิต (เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน) อาทิเช่น ภาษีสรรพสามิต, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, เงินนำส่งกองทุนน้ำมัน, กองทุนอนุรักษ์ อาจทำให้มีการบิดเบือนในต้นทุนที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ดีภาษีดังกล่าวอาจนำมาชดเชยในด้านสิ่งแวดล้อม • ปัญหากระแสไฟไม่สม่ำเสมอ มีไฟตกบ่อย ทำให้กระบวนการผลิตเสียหาย วัตถุดิบ • คุณภาพและความสม่ำเสมอของวัตถุดิบเช่น ไม้ยาง, สินค้าเกษตร เพราะหากวัตถุดิบมีคุณภาพดี ราคาก็จะสูงขึ้น (การที่วัตถุดิบขาดแคลนในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้า ไม่เป็นปัญหาหากผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการที่ดี) • การขนส่งและการเคลื่อนย้าย (Distribution and Delivery) ปัญหาเหล่านี้ทำให้ yield ในภาคอุตสาหกรรมต่ำ (อุตสาหกรรมอาหาร เช่น น้ำหนักลด ของเน่าเสีย ไม่สด ทำให้สินค้าถูก reject) • วัตถุดิบบางประเภทมีปัญหาด้านนโยบายการนำเข้า เช่น ข้าวโพด และถั่วเหลือง
ปัญหาด้านกระบวนการผลิตปัญหาด้านกระบวนการผลิต ระบบการวางแผนการผลิตและการเชื่อมโยง (Logistics and Linkage) • การที่บริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆมีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น อาจทำให้บริษัทเหล่านั้นเน้นทำให้ผลิตและซื้อขายกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มของตน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของบริษัทนอกกลุ่ม ในทางกลับกัน การที่บริษัทต่างๆไม่มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงกัน อาจทำให้เกิดความล่าช้าและไม่แน่นอนในการส่งวัตถุดิบขั้นต่างๆ ตลอดจนการกระจาย/เผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ • Clustering ในอุตสาหกรรมบางประเภทมีความสำคัญ โดยมีประ โยชน์ในเรื่อง cheap infrastructure, ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตแต่ยังมีปัญหาขาด information sharing, benchmarking, organizer