750 likes | 1.92k Views
ปัญญาประดิษฐ์. Artificial Intelligence หรือ AI. สมาชิกในกลุ่ม. 1. นายศักดิ์กรินทร์ สิทธิพงศ์ 2. นางสาวปาริฉัตร หนูแจ้ม 3. นางสาวสุพรรษา ศรีสุวรรณ. ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 4 ปี(ปกติ) ชั้นปีที่ 3. ปัญญาประดิษฐ์.
E N D
ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence หรือ AI
สมาชิกในกลุ่ม 1. นายศักดิ์กรินทร์ สิทธิพงศ์ 2. นางสาวปาริฉัตร หนูแจ้ม 3. นางสาวสุพรรษา ศรีสุวรรณ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 4 ปี(ปกติ) ชั้นปีที่ 3
ปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มี พฤติกรรมเหมือนคน โดยเฉพาะความสามารถ ในการเรียนรู้ และความสามารถทางประสาท สัมผัส ซึ่งเลียนแบบการเรียนรู้และการตัดสิน ใจของมนุษย์
ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์ ปัญญาประดิษฐ์ได้เริ่มการศึกษาในปี ค.ศ.1950 โดยอาจารย์ จากประเทศอเมริกาและอังกฤษ นิยามของปัญญาประดิษฐ์ได้ถูก กำหนดขึ้นในปี 1956 โดย John McCarthy ได้มีการศึกษา และพัฒนางานด้านปัญญาประดิษฐ์และได้มีการตั้งเกณฑ์ทดสอบเพื่อที่จะระบุว่า เครื่องจักรกลหรือระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิด ได้เหมือนมนุษย์ออกมาโดย Alan Turing นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แต่จนบัดนี้เครื่องจักกลหรือระบบคอมพิวเตอร์ ก็ยังไม่สามารถผ่านเกณฑ์ของ Alan Turing ได้เลย ณ ปัจจุบัน ระบบปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถสร้างคำตอบที่แปลกใหม่ หรือคำตอบที่มาจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ของระบบเองได้ เพียงแต่เป็นการลอกเลียนแบบความสามารถมนุษย์ได้เท่านั้น
นิยามของปัญญาประดิษฐ์นิยามของปัญญาประดิษฐ์ นิยามปัญญาประดิษฐ์ สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท1) ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ เป็นกลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ซึ่งก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน Cognitive science เช่น ศึกษาการเรียนตัวของเซลล์สมองในสามมิติ การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่าง เซลล์สมอง และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างความคิด
นิยามของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ)นิยามของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ) 2) ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ เช่น • สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้ • มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์ คอมพิวเตอร์มองเห็นรับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ • หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ • คอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
นิยามของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ)นิยามของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ) 3) ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล หรือ คิดถูกต้องโดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ 4) ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent ซึ่ง Agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำหรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป่าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะที่สั้นที่สุดได้จึงจะเรียกว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่าง เช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้
ประเภทของปัญญาประดิษฐ์ประเภทของปัญญาประดิษฐ์ • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert-Systems) เป็นระบบการให้คำแนะนำในการจัดการปัญหา โดยอาศัยความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่โปรแกรมไว้ • Neural Networks เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระทำ หรือจำลอง กาทำงานของสมองมนุษย์ได้ • Genetic Algorithms ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสร้างทางเลือก จำนวนมากในการแก้ปัญหา รวมทั้งทางที่ดีที่สุด • การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เป็นการประมวลผลที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและโต้ตอบกับคำสั่ง หรือข้อความที่เป็นภาษา “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ได้
ประเภทของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ)ประเภทของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ) • ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์โดยสามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับสถานการณ์แวดล้อมได้ • ระบบการมองเห็น (Vision Systems) ระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเก็บรักษาและจัดการกับภาษาที่มองเห็น หรือรูปภาพที่ได้ เป็นการนำระบบนี้มาใช้ในการวิเคราะห์รอยนิ้วมือ • 7) หุ่นยนต์ (Robotic) การพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกล ให้ทำงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือทำให้เกิด ความเมื่อยล้าแก่มนุษย์
ตารางเปรียบเทียบปัญญามนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์ตารางเปรียบเทียบปัญญามนุษย์กับปัญญาประดิษฐ์
ความสัมพันธ์ของแต่ละสาขาในปัญญาประดิษฐ์ความสัมพันธ์ของแต่ละสาขาในปัญญาประดิษฐ์ ระบบความเข้าใจสื่ออื่นๆ ระบบเรียนรู้ความรู้ใหม่ ระบบประมวลผลภาพ โลกภาย นอก ระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติ ระบบประมวลผลสัญญาณ ฐานความรู้ ระบบการคิด สรุป ความรู้ จากข้อมูลที่ได้รับ ระบบวางแผน(ระยะสั้นและยาว) ระบบตัดสินใจทำสิ่งที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น
หัวใจของปัญญาประดิษฐ์หัวใจของปัญญาประดิษฐ์ • คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer vision) เป็นการศึกษาเรื่องการมองเห็น การรู้จำภาพ มีสาขาย่อยเช่น การประมวลผลภาพ (image processing) • 2. การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing) เป็นการศึกษาการแปลความหมายจากภาษามนุษย์ มาเป็นความรู้ที่เครื่องจักรเข้าใจได้ สาขานี้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) • 3. การแทนความรู้ (Knowledge representation) เป็นการศึกษาด้านเก็บความรู้ (knowledge) ไว้ในเครื่องจักร
หัวใจของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ)หัวใจของปัญญาประดิษฐ์(ต่อ) 4. การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) เป็นการศึกษากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้คล้ายมนุษย์ มีสาขาย่อยมากมาย 5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือ ทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
ตัวอย่าง ตัวอย่าง ตัวอย่าง ปัญญาประดิษฐ์
เครื่องบินไร้คนขับ อากาศยานไร้คนขับ หรือ ยูเอวี เป็นอากาศยานไร้คนขับมันแตกต่างจากขีปนาวุธตรงที่มันสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เป็นพาหนะไร้คนขับที่สามารถควบคุม ได้รับความเสียหายบินต่างระดับ และใช้เครื่องยนต์ไอพ่น หรือ เครื่องยนต์ลูกสูบ กระนั้นขีปนาวุธก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นยูเอวี เพราะว่ามันเหมือนกับขีปนาวุธนำวิถีมากกว่า ซึ่งเป็นอาวุธที่ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ แม้ว่ามันจะไร้คนขับ และถูกควบคุมจากระยะไกลก็ตาม
HONDA ASIMO อาซิโม (หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ที่สร้างขึ้นโดยฮอนด้า. ยืนอยู่ที่ 130 เซนติเมตรและน้ำหนัก 54 กิโลกรัมหุ่นยนต์คล้ายกับนักบินอวกาศขนาดเล็กใส่กระเป๋าเป้สะพายหลังและสามารถเดินบนสองเท้าในลักษณะที่คล้ายกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ที่ความละเอียดสูงสุดถึง 6 km / h. อาซิโมถูกสร้างขึ้นในงานวิจัยของฮอนด้าและศูนย์พัฒนา และวิจัยพื้นฐานทางเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิง - Russell and Norvig. (2003). - Stuart J. Russell, Peter Norvig .(2003). "Artificial Intelligence: A Modern Approach“ (2nd Edition), Prentice Hall, New Jersey, ISBN 0-13-790395-2. - รศ. ดร. บุญเสริม กิจศิริกุล (2003) "ปัญญาประดิษฐ์ เอกสารคำสอนวิชา 2110654", http://www.cp.eng.chula.ac.th/~boonserm/teaching/artificial.htm . - รศ. ดร. ประภาส จงสถิตวัฒนา เอกสารการสอนเกี่ยวกับ โปรแกรมเชิง พันธุกรรม , ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง, http://www.cp.eng.chula.ac.th/~piak/ .
ขอบคุณครับ/ค่ะ Thank