70 likes | 299 Views
N. S. P. เร่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาของหน่วยงานศุลกากร. ข้อตกลงการค้าเสรีกรอบ ASEAN – JAPAN. การเพิ่มกำลังการผลิตภายใต้สิทธิประโยชน์ BOI. MD Says.
E N D
N S P เร่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาของหน่วยงานศุลกากร ข้อตกลงการค้าเสรีกรอบ ASEAN – JAPAN การเพิ่มกำลังการผลิตภายใต้สิทธิประโยชน์ BOI MD Says
ในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยเข้าขั้นวิกฤตเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการหรือภาคเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญกับกำไรหรือผลตอบแทนค่าล่วงเวลางานกันมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าในกลุ่มธุรกิจที่มีการนำเข้า ส่งออก และธุรกิจตัวแทนออกของ ต้องทำงานให้สัมพันธ์กับการจำกัดของเวลา แต่ในบางครั้งการทำงานที่จะต้องทำให้อยู่ในวงจำกัดของเวลานั้นไม่สามารถทำได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดการสานต่องานนอกเวลาทำการและยังก่อให้เกิดการค้างชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาของแต่ละบริษัทตามมาอีกด้วย เมื่อต้นสัปดาห์นี้ทางกลุ่มบริษัท S.N.P. ได้รับแจ้งมาว่า ทางกรมศุลกากรมีนโยบายให้เร่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลากรณีตรวจสินค้าขาออกที่ขนส่งโดยคอนเทนเนอร์ทางเรือสำหรับใบขนสินค้าขาออกที่ติด RED LINE และมีการลากตู้คอนเทนเนอร์ผ่าน Sub Gate นอกเวลาราชการ ซึ่งปัจจุบันมีรายชื่อและรายละเอียดตามใบขนสินค้าขาออกปริมาณมากที่ยังคงค้างในระบบและไม่สามารถทำการรับบรรทุกให้เป็น STATUS 0409 ได้จึงทำให้ฝ่ายบริหารกรมศุลกากรประกาศแจ้งให้ผู้ประกอบการและตัวแทนที่ค้างชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าว สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่บริเวณชั้น 1 ฝบศ.1สบศ.2 สทก. ซึ่งจะกำหนดประกาศให้ทราบภายใน 7 วัน และให้รีบมาติดต่อเพื่อทำการชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทราบ หากไม่มาดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทางกรมฯ จะทำการงดรับปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับผู้ประกอบการที่ค้างชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลา ดังนั้นหากผู้ประกอบการท่านใดที่ยังไม่แน่ใจหรือคาดว่าบริษัทจะค้างชำระ ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อได้ที่ www.customs.go.thหรือโทรสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2269-3885ฝบศ.1สบศ.2 สทก. และถ้าท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการที่จะสอบถามกับทางเรา สามารถติดต่อมาได้ที่หมายเลข 02 – 333-1199 ต่อ 111 หรือผ่านทาง www.logistics@snp.co.thได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญในระดับสูงของประเทศไทยเลยทีเดียว การติดตามสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับประเทศญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการที่มีตลาดหรือมีแผนที่จะเข้าไปทำการค้าในประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบันผู้ประกอบการไทยสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าในการลดหย่อนภาษีจากประเทศญี่ปุ่นได้อยู่ 2 สิทธิประโยชน์ด้วยกัน ได้แก่ การใช้สิทธิ์ GSP (ใช้ C/O Form A) และการใช้สิทธิตามข้อตกลง JTEPA (ใช้ C/O Form JTEPA) ซึ่งก็ปรากฏว่ายังมีผู้ประกอบการไทยอีกจำนวนมากที่ยังไม่ทราบหรือไม่ได้รับประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จากการเปิดเผยของกรมการค้าต่างประเทศผ่านทางการสัมมนาเรื่อง “สิทธิพิเศษของสินค้าไทยในซากุระ”ไทยกำลังจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเจรจา FTA กรอบใหม่ ASEAN – JAPAN เพิ่มขึ้น ที่อาจทำให้สินค้าไทยได้รับการลดหย่อนภาษีมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการจะใช้สิทธิ FTA กรอบใหม่นั้น ต้องใช้ C/O Form AJ ในการไปลดหย่อนภาษีที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีข้อดีตรงที่สินค้าจากประเทศไทยจะสามารถได้ถิ่นกำเนิดได้ง่ายขึ้นเพราะจะสามารถทำการสะสมแหล่งกำเนิด (Accumulation) สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากภูมิภาค ASEAN และประเทศญี่ปุ่นได้ หากผู้ประกอบการท่านใดที่ประสงค์จะส่งออกสินค้าไปประเทศญี่ปุ่นและไม่แน่ใจว่าสินค้าของท่านควรใช้สิทธิประโยชน์ใด เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด กรุณาสอบถามเข้ามาได้ที่ export@snp.co.thหรือโทรศัพท์เข้ามาสอบถามได้ที่บริษัทเอส.เอ็น.พี ชิปปิ้ง กรุ๊ป จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 0-2333-1199 ต่อ 501 คุณพงษ์ศักดิ์ สุวรรณน้อย ได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
S BOI หรือ Board of Investment คือหนึ่งในนโยบาย ที่ต้องการจะส่งเสริมและกระตุ้นให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย นโยบายนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าเครื่องจักร หรือ วัตถุดิบเข้ามาทำการผลิตภายในประเทศเพื่อการส่งออก โดยผู้ประกอบการที่ได้ยื่นเรื่องเสนอโครงการการลงทุนให้กับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว จะได้รับการลดหย่อนหรืองดเว้นภาษี ในการนำเข้าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบเหล่านี้ ทั้งนี้ในการยื่นเสนอโครงการต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนั้น จะต้องระบุไปด้วยว่า มีแผนการการลงทุนอย่างไร จะนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาเท่าไหร่ มีกำลังผลิตเท่าไหร่ต่อปี และนำเข้าวัตถุดิบเท่าไหร่ เป็นต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีกรณีศึกษาเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการท่านหนึ่งที่เข้ามาขอรับคำปรึกษากับทางบริษัท โดยทางผู้ประกอบการรายนี้เป็นชาวต่างชาติ และได้ยื่นเรื่องเสนอโครงการให้กับทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเรียบร้อยแล้วว่ามีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,300 ตันต่อปี แต่เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของผู้ดำเนินการภายในบริษัทที่ถูกส่งมาจากต่างประเทศ ทำให้ภายหลังได้มาทราบจากทางบริษัทแม่ว่า มีความต้องการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิมที่เคยยื่นขอไว้ครั้งแรก ที่ 2,300 ตันเป็น 8,000 ตันต่อปี N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 แต่ทางผู้ประกอบการเข้าใจผิด คิดว่าจะต้องทำโครงการยื่นเรื่องใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการจัดทำเอกสารใหม่และยังต้องติดต่อขอเอกสารและข้อมูลจากทางต่างประเทศใหม่ ซึ่งจะเป็นการเสียเวลามาก ทางเราจึงได้ปรึกษากับทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และได้คำตอบว่า ไม่จำเป็นต้องดำเนินการยื่นโครงการใหม่ทั้งหมด เพียงแต่ยื่นเรื่องเพื่อขอขยายปริมาณนำเข้าเครื่องจักร และกำลังการผลิต ให้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะลดขั้นตอนในการดำเนินการ และช่วยประหยัดเวลาได้อีกด้วย จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการจึงควรมีการวางแผนโครงการให้ดีเสียก่อน ว่ามีเป้าหมายในการผลิตเท่าไหร่ ต้องการนำเข้าเครื่องจักร และ วัตถุดิบเป็นปริมาณเท่าไหร่ มิเช่นนั้นแล้วอาจจะส่งผลกับการทำงานของสายการผลิตได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี หากมีความต้องการที่จะเพิ่มเติมกำลังการผลิตจากเดิมที่เสนอโครงการไปแล้วก็สามารถทำได้ หากผู้ประกอบการท่านใดประสบปัญหาเช่นเดียวกับที่กล่าวไปข้างต้น สามารถติดต่อสอบถาม หรือ ขอคำแนะนำได้ผ่าน เวปไซด์ www.boi.go.thหรือ ติดต่อสอบถาม คุณ สายฝน โชว์สุภาพ ที่ 02-333-1199 ต่อ 105 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
S การตรวจค้นโรงงานของศุลกากร ในอดีตกรมศุลกากรใช้วิธีการประเมิน เเละสุ่มตรวจผู้ประกอบการขณะนำเข้า หรือ ส่งออกสินค้า โดยมีการสอบถามรายละเอียด ข้อมูล รวมไปถึงเอกสารเพิ่มเติมจนทำให้เกิดความล่าช้าขึ้น เเต่ในปัจจุบัน ศุลกากรได้เปลี่ยนระบบการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้ผู้ประกอบการ จึงอนุญาตให้ผู้ประกอบการตรวจปล่อยสินค้าไปก่อน เเล้วจึงมีการตรวจสอบราคาในภายหลัง โดยจะมีหน่วยงาน หน่วยงานหนึ่งจากกรมศุลกากรมาทำการตรวจสอบย้อนหลัง ซึ่งจะเรียกว่า การ Post- Audit อันมีผลให้ผู้นำเข้า – ส่งออกส่วนมากได้รับหนังสือเเจ้งเตือนให้ส่งหนังสือ เอกสาร หรือหลักฐานเพิ่มเติม นอกจากนี้ สำนักตรวจสอบอากร ของกรมศุลกากรที่มีหน้าที่ตรวจค้นโรงงานที่ได้ปล่อยสินค้าไปเเล้วเพื่อขอตรวจสอบเอกสาร โดยการเข้าตรวจค้นโรงงานของผู้ประกอบการนั้นบางครั้งจะมีการส่งหนังสือเเจ้งล่วงหน้า เเต่ในบางครั้งเจ้าหน้าที่ก็จะขอเข้าพบโดยมิได้นัดหมายเลย ซึ่งทั้งสองกรณีต่างก็สร้างความตื่นตกใจให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก อีกทั้งมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ถูกยึดเอกสาร เเละในภายหลังก็ตกเป็นจำเลยทั้งๆที่ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในความบริสุทธิ์ของตน N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 ด้วยตระหนักดีถึงความวุ่นวายดังกล่าว ผู้ประกอบการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมทั้ง ก่อนการเข้าตรวจค้น ในขณะการเข้าตรวจค้น เเละภายหลังการเข้าตรวจค้นว่าสมควรปฏิบัติไปในทิศทางใด ดังนั้น บริษัทฯจึงได้เรียนเชิญ หัวหน้าเจ้าพนักงาน สำนักตรวจสอบอากร จากกรมศุลกากรมาให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการทั้งทางด้านวิธีปฏิบัติ เเละข้อกฎหมายที่ควรรู้ เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกท่านสามารถเตรียมตัวให้พร้อมได้ล่วงหน้า ซึ่งความคืบหน้าเรื่องการจัดสัมมนาในหัวข้อนี้ ทางบริษัทฯจะแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบในคราวต่อไป สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ 26/03/09 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก