1 / 11

โครงการนวัตกรรมท้องถิ่น “การจัดระบบบริการสุขภาพ”

โครงการนวัตกรรมท้องถิ่น “การจัดระบบบริการสุขภาพ”. ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3 วัดเขียนเขต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. “เป็นการต่อยอดบริการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก”

monifa
Download Presentation

โครงการนวัตกรรมท้องถิ่น “การจัดระบบบริการสุขภาพ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการนวัตกรรมท้องถิ่น “การจัดระบบบริการสุขภาพ” ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 3วัดเขียนเขต เทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

  2. “เป็นการต่อยอดบริการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก” งบประมาณการพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 31.82 ของงบประมาณกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หรือ ร้อยละ 5.30 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของเทศบาลฯ รองรับประชาชนทุกกลุ่มอายุที่มาใช้บริการในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30,000 คน จากประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงอีกไม่น้อยกว่า 20,000 คน - จากการสำรวจ พบว่าประชาชน ร้อยละ 83.9 ให้การยอมรับในโครงการ - เคยมารับบริการ ร้อยละ 71.9 - ความพึงพอใจบริการในภาพรวม ระดับมาก ร้อยละ 80.7

  3. การดำเนินการพัฒนาต่อยอดบริการการดำเนินการพัฒนาต่อยอดบริการ • การรักษาพยาบาล ดำเนินการจ้างแพทย์ เพื่อให้บริการรักษาพยาบาล • การสนับสนุนด้านการรักษาพยาบาล ดำเนินการให้มีการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการพยาบาล ในวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 16.30 น. • การฟื้นฟูสภาพ ดำเนินการจัดให้มีคลินิกกายภาพบำบัด ทั้งด้านบุคลากรที่มีคุณวุฒิเฉพาะทาง และเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น การกระตุ้นกล้ามเนื้อ เครื่องดึงหลังและคอ อุปกรณ์ฝึกเดิน เครื่องออกกลังกายเฉพาะส่วนของร่างกาย • การจัดทำคลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

  4. ผลการดำเนินงาน ด้านสถานที่ให้บริการด้านสุขภาพ และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวก • ปรับปรุงสถานที่อาคารหลังเดิม พร้อมปรับภูมิทัศน์โดยรอบ • ก่อสร้างอาคารบริการ เพิ่มเติมอีก 1 หลัง • ปรับสถานที่สำหรับรองรับผู้พิการ เช่น ทางลาด ห้องน้ำที่มีอุปกรณ์ที่จำเป็น • ก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมสำหรับรองรับผู้รับบริการ • จัดบริการคลินิกแพทย์แผนไทย

  5. ด้านบุคลากร • การสรรหา ระยะแรกสรรหาบุคลากร ได้แก่ พยาบาล และ เจ้าพนักงานทันตาภิบาลเน้นที่มีประสบการณ์แล้ว ต่อมาเมื่อรับโอนสถานีอนามัย จึงได้จัดหาบุคลากรเพิ่มเติม ดังนี้ - จัดจ้างแพทย์เพื่อให้บริการ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากแพทย์ที่ประกอบอาชีพอิสระ - จัดให้มีนักกายภาพบำบัด จำนวน 2 คน - จัดจ้างพยาบาลวิชาชีพ เพิ่มเติมอีก 2 คน รวมเป็น 7 คน - จัดบุคคลากรที่มีความสามารถด้านการนวดไทย เพื่อเปิดบริการด้านการแพทย์แผนไทย พร้อมอบรมเพิ่มศักยภาพการให้บริการเพิ่มขึ้น - จัดบุคลากรเพื่อทำงานเวชระเบียน การดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ และดูแลเกี่ยวกับภูมิทัศน์ของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 3 คน

  6. การพัฒนา - การร่วมกับสถานศึกษา จัดเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษาด้านสุขภาพมหาวิทยาลัยที่ส่งนักศึกษามาฝึกปฏิบัติงาน - สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมระยะสั้นในหลายหลักสูตร • ร่วมกับสถานพยาบาลเฉพาะทาง ในการค้นหาผู้ป่วยเป็นครั้งคราว • การดำรงรักษาไว้ ในการดำรงรักษาบุคลากรที่จำเป็นไว้ • การพิจารณาความดีความชอบตามผลการปฏิบัติงาน • การมีรางวัลประจำปี (โบนัส) แก่พนักงาน • การจัดให้มีการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ มีบริการในวันปกติถึงเวลา 20.00 น. และเวลา 08.30-16.30 น. สำหรับวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ • การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การจัดงานรื่นเริงในบางโอกาส • การจัดสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ประกันสังคม สหกรณ์ออมทรัพย์ การส่งเสริมอาชีพอื่น ๆ • ความก้าวหน้าในวิชาชีพ อาทิ การปรับปรุงตำแหน่งที่เริ่มต้นต่ำกว่าปริญญาตรี เช่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข ปรับเปลี่ยนสายงานเป็นนักวิชาการ ซึ่งเป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับปริญญาตรี การปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นตามความสามารถของแต่ละบุคคล

  7. การพัฒนาระบบงานให้บริการสุขภาพการพัฒนาระบบงานให้บริการสุขภาพ • ขยายบริการด้านกายภาพบำบัด โดยจัดให้มีคลินิกกายภาพบำบัด • ขยายบริการด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก • ขยายบริการด้านการตรวจรักษาผู้ป่วย ได้จัดจ้างแพทย์จากภาคเอกชนมาเพื่อให้บริการเต็มเวลาในวันราชการ • ขยายงานด้านการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ได้จัดจ้างบริษัทเอกชน เพื่อตรวจชันสูตรตามที่แพทย์สั่ง และยังมีการสอบเทียบมาตรฐานกับโรงพยาบาลของรัฐเป็นระยะ เพื่อประกันคุณภาพ

  8. งบประมาณ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน คือ • งบประมาณของเทศบาลฯ เพื่อสนับสนุนตามรายจ่ายประจำปี สำหรับเป็นค่าจ้างบุคลากร จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้างฯ • เงินนอกงบประมาณที่ได้จากการจัดบริการ สำหรับเป็นค่าตอบแทนแพทย์ ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ค่าจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ • งบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่จัดสรรเพื่อปรับปรุงและพัฒนาสถานีอนามัยที่ได้รับการถ่ายโอน

  9. ทุนในการดำเนินงาน • เงินทุน ใช้จ่ายปรับปรุงสถานที่ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ฯ ในปี 2554-2555 เป็นจำนวนเงิน 12,730,340 บาท คิดเป็นร้อยละ 31.82 ของงบประมาณกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หรือ ร้อยละ 5.30 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดของเทศบาลฯ ดังนี้ • งบประมาณค่าสิ่งก่อสร้าง/ปรับปรุงภูมิทัศน์/ปรับปรุงสถานที่ฯ เป็นเงิน 3,350,000 บาท • เงินเดือนและค่าจ้าง เป็นเงิน 2,635,540 บาท • ค่าตอบแทนต่าง ๆ เป็นเงิน 2,832,000 บาท • ค่ายาและเวชภัณฑ์ เป็นเงิน 2,556,000 บาท • ค่าสาธารณูปโภค เป็นเงิน 356,800 บาท • ค่าครุภัณฑ์การแพทย์ เป็นเงิน 1,000,000 บาท

  10. ทุนมนุษย์ในการดำเนินการสิ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจนคือทุนมนุษย์ในการดำเนินการสิ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างชัดเจนคือ • บุคลากร ได้รับการพัฒนาให้สามารถดำเนินการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การอบรมด้านการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของพยาบาลวิชาชีพ การอบรมเพิ่มขีดความสามารถอื่น ๆ • แพทย์จากภาคเอกชน ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย • จิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ ตามโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาสาสมัครสาธารณสุขที่ช่วยดูแลผู้ป่วยต่อจากสถานพยาบาล • ทุนภูมิปัญญา ได้ใช้บุคลากรของเทศบาล ฯ ในการให้บริการด้านการการแพทย์แผนไทยและทางเลือก ในการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป • ทุนสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะติดเชื้อ การจัดการขยะทั่วไปฯ ซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง มีระบบการจัดการแล้วทั้งสิ้น

  11. ผลลัพธ์จากการพัฒนา จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้รับการยอมรับจากประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่อย่างกว้างขวางจำนวนไม่น้อยกว่า 30,000 คน และยังได้ขยายการให้บริการไปยังประชาชนในพื้นที่ข้างเคียงอีกด้วย โดยโครงการดังกล่าวยังไม่เคยได้รับรางวัลใด ๆ เนื่องจากไม่มีการประกวดหรือให้รางวัลจากหน่วยงานใด ผลกระทบต่อชุมชน ท้องถิ่น และสังคม จากการดำเนินงานในระยะที่ผ่านมา พบว่า มีผลกระทบต่อชุมชน ท้องถิ่นและสังคม ตำบลบึงยี่โถและพื้นที่ใกล้เคียง ในภาพรวมหลายด้าน เช่น การลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดระยะเวลาการรับบริการจากหน่วยงานอื่น ลดภาระผู้ดูแล เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพของประชาชน ประชาชนในพื้นที่สามารถเสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านสุขภาพต่อเทศบาลฯ ได้

More Related