270 likes | 523 Views
บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุด. รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี. มาตรฐานห้องสมุด. มาตรฐาน ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ Standards guidelines rules act.
E N D
บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุดบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในการกำหนดมาตรฐานในงานห้องสมุด รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สัจจานันท์ นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี
มาตรฐานห้องสมุด • มาตรฐาน • ระเบียบ • คำสั่ง • ประกาศ • Standards • guidelines • rules • act
การจำแนกประเภทของมาตรฐานการจำแนกประเภทของมาตรฐาน • การจำแนกมาตรฐานตามลักษณะการนำไปใช้ - มาตรฐานบังคับใช้ - มาตรฐานไม่บังคับใช้ • การจำแนกมาตรฐานตามระดับของการนำไปใช้ - มาตรฐานระดับองค์กร - มาตรฐานระดับชาติ - มาตรฐานระดับภูมิภาค - มาตรฐานระดับนานาชาติ
การจำแนกมาตรฐานของห้องสมุดการจำแนกมาตรฐานของห้องสมุด -มาตรฐานห้องสมุดโดยรวม - มาตรฐานห้องสมุดแต่ละประเภท - มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานห้องสมุดโดยตรง เช่น มาตรฐานการลงรายการทางบรรณานุกรม - มาตรฐานที่เกี่ยวข้องและนำมาใช้ในห้องสมุด เช่น มาตรฐานด้านความปลอดภัย อาคารสถานที่
ความสำคัญของมาตรฐาน • ความสำคัญต่อการบริหาร • ความสำคัญต่อการดำเนินงาน • ความสำคัญต่อการบริการ • ความสำคัญต่อวิชาชีพ
องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานห้องสมุด องค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานห้องสมุด • สมาคมวิชาชีพ • หน่วยงานภาครัฐต้นสังกัดที่กำกับดูแลห้องสมุด • องค์การทางด้านมาตรฐาน
สมาคมวิชาชีพ • การเป็นวิชาชีพหรืออาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญซึ่งเป็นที่ยอมรับและยกย่องในสังคม • องค์กรอันเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ซึ่งสามารถเป็นปากเสียงแทน ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นได้โดยส่วนรวม • อำนาจขององค์กรนั้นเกิดจากสมาชิก • มีเกณฑ์มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติของสมาชิก • มีจรรยาบรรณวิชาชีพ • การใช้วิชาชีพนั้นบริการสังคม
บทบาทของสมาคมวิชาชีพ • การให้การศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ • การบำรุงขวัญและกำลังใจของมวลสมาชิก • การเป็นตัวแทน หรือการแสดงบทบาทส่งเสริม สนับสนุนสถานภาพของ ผู้ประกอบวิชาชีพ • การบำรุงรักษาเกียรติคุณและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ • การกำหนดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ • การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ อันจะทำให้วิชาชีพนี้เป็นที่เชื่อถือ • การพัฒนาวิชาชีพให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสังคม
สมาคมวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์สมาคมวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ • ระดับชาติ คือ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2497 • ระดับภูมิภาค ที่สำคัญคือ สภาบรรณารักษ์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือคอนซาล (Congress of Southeast Asian Librarians – CONSAL) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) • ระดับนานาชาติคือ สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมห้องสมุดและสถาบัน หรืออิฟลา (International Federations of Library Associations and Institutions – IFLA) ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1927 (พ.ศ.2470) มีสำนักงานถาวรอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ • ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนดำเนินกิจการเป็นสมาคมห้องสมุดประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2497 • ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์เมื่อเมื่อวันที่ 2กันยายน พ.ศ. 2519 นับเป็นสมาคมแรกในพระราชูปถัมภ์ • มีคณะกรรมการบริหารจำนวน 25 คน ซึ่งสมาชิกเป็นผู้เลือกให้รับผิดชอบการบริหารงานมีวาระ 2 ปี และมีชมรมในสังกัด รวม 9 ชมรม จำแนกตามความสนใจของสมาชิก
บทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในด้านมาตรฐาน….จากอดีตถึงปัจจุบันบทบาทของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯในด้านมาตรฐาน….จากอดีตถึงปัจจุบัน • พ.ศ. 2508 มีความพยายามจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดของประเทศเป็นโครงการ 5 ปี เพื่อบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2510 – 2514 • กรมวิเทศสหการได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งมีนายบุญชนะ อัตถากร อธิบดีกรมวิเทศสหการในขณะนั้นเป็นประธาน เพื่อจัดทำโครงการพัฒนางานห้องสมุดของประเทศ
อนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดของประเทศอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดของประเทศ • อนุกรรมการงานด้านหอสมุดแห่งชาติ มีนายกฤษณ์ อินทโกสัย รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดประชาชน มีนายสมาน แสงมลิ หัวหน้ากองการศึกษาผู้ใหญ่ เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีนางสาวสุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาบรรณารักษศาสตร์ และบรรณารักษ์หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดโรงเรียน มีนางสาวรัญจวน อินทรกำแหง ศึกษานิเทศก์ฝ่ายห้องสมุด กรมวิสามัญศึกษา เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านห้องสมุดเฉพาะ มีนายฉุน ประภาวิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเอกสาร สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน • อนุกรรมการงานด้านการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์มีนางสาวสุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ หัวหน้าแผนกวิชาบรรณารักษ์ และบรรณารักษ์หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน
ร่างมาตรฐานเพื่อเสนอบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2510-2514) • มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย • มาตรฐานห้องสมุดประชาชน • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา • มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ • มาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์
โครงการพัฒนางานห้องสมุดของประเทศมิได้รับการพิจารณาบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ • ยกเว้นโครงการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ จึงมิได้มีการรับรองมาตรฐานและมิได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ • เป็นการเริ่มต้นของความพยายามและความร่วมมือของบรรณารักษ์ในการที่จะให้มีการพัฒนามาตรฐานในวิชาชีพนี้ และเป็นแผนพัฒนาห้องสมุดในระดับประเทศ
เป็นเชื้อให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯเป็นเชื้อให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ • แผนพัฒนาห้องสมุดที่ทำขึ้นนี้ได้นำมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุดและเป็นเชื้อทำให้สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยได้เห็นว่ามาตรฐานเป็นรากฐานทางวิชาการและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนสถาบันต้นสังกัด ทั้งส่วนราชการและเอกชน • สมาคมฯจึงได้กำหนดมาตรฐานห้องสมุดประเภทต่างๆขึ้นใช้เป็นแนวทางในการจัดตั้งและดำเนินงานสำหรับห้องสมุดที่ตั้งขึ้นใหม่และเพื่อให้ห้องสมุดที่ดำเนินการอยู่แล้วมีแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้สูงขึ้น
บทบาทของสมาคมฯในด้านมาตรฐานบทบาทของสมาคมฯในด้านมาตรฐาน • การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2529 และการประชุมทางวิชาการเรื่อง “มาตรฐานเพื่อพัฒนาบริการห้องสมุด” • การจัดตั้งแผนกมาตรฐานห้องสมุดเป็น แผนกหนึ่งในโครงสร้างการบริหารงานของสมาคม เมื่อพ.ศ.2530
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแผนกมาตรฐานห้องสมุดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแผนกมาตรฐานห้องสมุด • จัดทำโครงการและแผนงานของแผนกมาตรฐาน • ประสานงานกับชมรมต่างๆในสังกัดของสมาคมฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณามาตรฐานฉบับร่าง ฉบับปรับปรุงแก้ไข • ดำเนินการให้มีการรับรองมาตรฐานฉบับร่างและฉบับปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้ • ดำเนินการให้มีการเผยแพร่มาตรฐาน • ติดตามและประเมินผลการนำมาตรฐานไปใช้ • จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในเรื่องมาตรฐานห้องสมุด
การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจัดทำมาตรฐานประเภทต่างๆในช่วง พ.ศ.2530 -2531 • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน • มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ • มาตรฐานห้องสมุดประชาชน • มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย • มาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ • มาตรฐานห้องสมุดสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา • มาตรฐานห้องสมุดวิทยาลัยครู • มาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัย • มาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
การประกาศใช้มาตรฐานห้องสมุดการประกาศใช้มาตรฐานห้องสมุด • มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2550 • มาตรฐานห้องสมุด พ.ศ.2549 • มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะ พ.ศ. 2545 • มาตรฐานห้องสมุดสถานศึกษาเพื่อการอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีพ.ศ.2535 • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2533 • มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2533
การพัฒนาการทำงานในวิชาชีพอย่างมีมาตรฐานการพัฒนาการทำงานในวิชาชีพอย่างมีมาตรฐาน • แผนกวิจัยและพัฒนาจะจัดทำวารสารฉบับใหม่ คือวารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ • การจัดทำวารสารห้องสมุด ให้เป็นวารสารทางวิชาการที่ได้เกณฑ์มาตรฐาน • การประกาศใช้จรรยาบรรณบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ พ.ศ.2550 • การปรับปรุงรูปแบบการจัดประชุมทางวิชาการ
การยกระดับสถานภาพและมาตรฐานบุคลากรวิชาชีพโดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาและส่งเสริมสถานภาพและมาตรฐานครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 11 ราย มีดร.สุวิมล ธนะผลเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ประธานแผนกมาตรฐานห้องสมุด เป็นประธาน • การแก้ไขข้อบังคับของสมาคมฯ พ.ศ. 2539 จะนำเสนอให้สมาชิกพิจารณาในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550
ความพยายามในด้านมาตรฐาน • การปรับปรุงมาตรฐานห้องสมุดต่างๆที่ล้าสมัย • การจัดทำมาตรฐานการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ • การจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ • การจัดทำมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
ภาพสะท้อนโดยรวมเรื่องมาตรฐานที่ยังต้องการการพัฒนา ภาพสะท้อนโดยรวมเรื่องมาตรฐานที่ยังต้องการการพัฒนา • ต่างคนต่างทำ • ทำมาตรฐานจากสภาพเดิมของตน • ทำโดยไม่ยึดหลักวิชาการ หรือมุ่งสู่สากล • ความคิดเชิงลบเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรฐาน
ปัญหาด้านบทบาทของสมาคม • ความเป็นองค์กรที่ไม่มีกฎหมาย หรือกฎระเบียบรองรับในการ แหล่งรวมพลังของวิชาชีพ • ความตระหนักในวิชาชีพ • ความเป็นงานอาสาสมัคร • วัฒนธรรมขององค์กร และคนในวิชาชีพ
สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น • การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนามาตรฐาน หรือ มาตรฐานที่เกิดจากกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ • ความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานทั้งห้องสมุด บุคลากรและองค์กรในวิชาชีพ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาในการพัฒนามาตรฐาน • ความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อวิชาชีพและประเทศชาติของเรา • การมีมาตรฐานและตัวชี้วัดที่มุ่งสู่การพัฒนาและความเป็นสากล • การสนับสนุนจากภาครัฐหรือหน่วยงานในด้านงบประมาณการจัดทำและการประกาศใช้
ทิ้งท้าย...ฝากให้ท่านคิดทิ้งท้าย...ฝากให้ท่านคิด • ถ้าไม่มีมาตรฐาน ... งานไปไม่รอด • ถ้าไม่ยึดมาตรฐาน...เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดี วิชาชีพไปไม่รอด • ถ้าต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างจ้ำ.....ไปไม่ถึงฝั่ง • ถ้าต่างคนต่างพูด.....ผลลัพธ์ก็ไม่เกิด • สมาคมคือใคร......คือท่าน คือเรา สมาคมเป็นของทุกคน
ขอบคุณในความสนใจและหวังในความร่วมมือของท่านขอบคุณในความสนใจและหวังในความร่วมมือของท่าน