410 likes | 807 Views
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล. ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล 5 พฤษภาคม 2555. การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล. 1. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546
E N D
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล 5พฤษภาคม 2555
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล 1. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546 2. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตน้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล พ.ศ. 2554
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หลักการและเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 เนื่องจากในปัจจุบันนี้ มีการเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลกัน อย่างกว้างขวางและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต แต่ยังไม่มีการ ควบคุมให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ จนปรากฏว่าแหล่งน้ำบาดาล บางแห่งเกิดขาดแคลนหรือเสียหาย ซึ่งถ้าปล่อยให้มีสภาพเช่นนี้อยู่ต่อไป อาจเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของชาติ หรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน สมควรมีมาตรการ ป้องกันอันเหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หลักการและเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติน้ำบาดาล ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 โดยที่ในปัจจุบันได้มีการเจาะและใช้น้ำบาดาลมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดปัญหาวิกฤต การณ์น้ำบาดาลและปัญหาแผ่นดินทรุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร สมควรแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถป้องกันและ แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดเขตห้ามสูบน้ำบาดาล การ กำหนดอัตราค่าใช้น้ำบาดาลให้ใกล้เคียงกับค่าน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนลดการใช้น้ำบาดาล หรือเลิกใช้น้ำบาดาลเมื่อมีการให้บริการประปาแล้ว ปรับปรุงบทกำหนดโทษและปรับปรุง อัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน รวมตลอดทั้งเพิ่มอำนาจให้พนักงาน เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ช่าง เจาะน้ำบาดาลมีความรู้ ความสามารถในการเจาะน้ำบาดาล สมควรกำหนดให้กรมทรัพยากร น้ำบาดาล จัดให้มีบริการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเจาะน้ำบาดาลทั้งของ รัฐและเอกชนและจดทะเบียนช่างเจาะน้ำบาดาล จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หลักการและเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติน้ำบาดาล ฉบับที่ 3 พ.ศ.2546 โดยที่ปัจจุบันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัด ปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร มีการสูบ น้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาล ทำให้เกิดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทรุดตัวของแผ่นดิน การแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล ตลอดจนทำให้ระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาลลดลง สมควรกำหนดให้ส่วนราชการหรือองค์การ ของรัฐที่มีการเจาะน้ำบาดาลและใช้น้ำบาดาลต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล นอกจากนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระค่าใช้น้ำบาดาลและค่า อนุรักษ์น้ำบาดาล และการให้เอกชนจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล และ จัดตั้งกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแหล่ง น้ำบาดาล และกำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล 1. พระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520 แก้ไขเพิ่มเติม โดยฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546 สาระสำคัญ บททั่วไป (ม. 1-8) หมวด 1 คณะกรรมการน้ำบาดาล (ม. 9-15) หมวด 2 การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบ กิจการน้ำบาดาล (ม. 16-21) หมวด 3 หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล (ม. 22-27) หมวด 4 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ม. 28-32) หมวด 5 การแก้ไขใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต (ม. 33-36) หมวด 6 บทกำหนดโทษ (ม. 36 ทวิ-45/1) บทเฉพาะกาล (ม. 46)
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล บททั่วไป (ม. 1-8) สาระสำคัญ มาตรา 3 คำนิยาม • “น้ำบาดาล” หมายความว่า น้ำใต้ดินที่เกิดอยู่ในชั้นดิน กรวด ทราย หรือหิน ซึ่งอยู่ลึกจากผิวดินเกินความลึกที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่จะกำหนดความลึกน้อยกว่าสิบเมตรมิได้ • “เจาะน้ำบาดาล” หมายความว่า กระทำแก่ชั้นดิน กรวด ทราย หรือหิน เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำบาดาล หรือเพื่อระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล • “บ่อน้ำบาดาล” หมายความว่า บ่อน้ำที่เกิดจากการเจาะน้ำบาดาล • “เขตน้ำบาดาล” หมายความว่า เขตท้องที่ที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นเขตน้ำบาดาล โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล บททั่วไป (ม. 1-8) สาระสำคัญ มาตรา 3 คำนิยาม (ต่อ) • “กิจการน้ำบาดาล” หมายความว่า การเจาะน้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาล หรือการระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล • “ใช้น้ำบาดาล” หมายความว่า นำน้ำจากบ่อน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ • “ระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล” หมายความว่า กระทำการใดๆ เพื่อถ่ายเทน้ำหรือของเหลวอื่นใดลงบ่อน้ำบาดาล • “ผู้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้รับใบอนุญาต ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งนิติบุคคลแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการด้วย • “ผู้ออกใบอนุญาต” หมายความว่า อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล บททั่วไป (ม. 1-8) สาระสำคัญ มาตรา 3 คำนิยาม (ต่อ) • “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการน้ำบาดาล • “พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งอธิบดีแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ • “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล บททั่วไป (ม. 1-8) มาตรา 4พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐ ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค หรือเพื่อเกษตรกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับ การเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาล เว้นแต่ในเขตท้องที่ที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของ คณะกรรมการประกาศกำหนดให้เป็นเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลที่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ เขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล ต้องเป็นเขตท้องที่ที่มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ใน ปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาล จนอาจทำให้เกิดการทรุดตัว ของแผ่นดิน หรือการแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล หรือการลดตัวลงของ ระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาล หรือผลกระทบสำคัญอื่นต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การของรัฐตามวรรคหนึ่ง ต้องปฏิบัติตาม ประกาศที่ออกตามมาตรา 6 และปฏิบัติตามมาตรา 23
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 1คณะกรรมการน้ำบาดาล (ม. 9-15) มาตรา 9ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการน้ำบาดาล” ประกอบด้วย อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมอนามัย ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้ว่าการการประปานครหลวงหรือผู้แทน ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค หรือผู้แทน ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน กับผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสองคน เป็นกรรมการ และผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็น กรรมการและเลขานุการ มาตรา 14ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรีในเรื่องการออกกฎกระทรวง หรือประกาศ ที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือในเรื่องอื่นที่ต้องปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (2) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่อธิบดี เกี่ยวกับการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 2การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล (ม. 16-21) มาตรา 16“ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตน้ำบาดาลใดๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินในเขตน้ำบาดาลนั้นหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับ ใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย” มาตรา 17ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขต น้ำบาดาลใด ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ในเขตน้ำบาดาลนั้น มาตรา 18ประเภทของใบอนุญาต มีดังนี้ (1) ใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาล (2) ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (3) ใบอนุญาตระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 2การขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล (ม. 16-21) มาตรา 20 ทวิ“ผู้รับใบอนุญาตอาจโอนใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้แก่ผู้อื่นได้ เมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้ออกใบอนุญาต” มาตรา 21ในกรณีที่ผู้ออกใบอนุญาตไม่ออกใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต หรือผู้ขอ โอนใบอนุญาต มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ หนังสือแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้โอน ใบอนุญาต คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด ในกรณีที่ผู้ออกใบอนุญาตไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ โอนใบอนุญาต ก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคสอง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่ง อนุญาตให้ประกอบกิจการไปพลางก่อนได้เมื่อผู้อุทธรณ์ร้องขอ
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 3หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล (ม. 22-27) มาตรา 22ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และต้อง ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 6 มาตรา 24ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและ เห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต มาตรา 25“ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาต แจ้งต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ และยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว” มาตรา 25/1 ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์ น้ำบาดาลตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 26ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดเลิกกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องแจ้ง การเลิกกิจการเป็นหนังสือให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่เลิกกิจการ และให้ถือว่าใบอนุญาตสิ้นอายุตั้งแต่วันเลิกกิจการ
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 3หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล (ม. 22-27)(ต่อ) มาตรา 27เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกกิจการแล้ว หรือไม่ได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต ตามมาตรา 20 หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 33 และมาตรา 35 ให้ผู้รับ ใบอนุญาตดังกล่าวจัดการรื้อ ถอน อุด หรือกลบหลุม บ่อ หรือสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับ กิจการน้ำบาดาลที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่ง น้ำบาดาล ทั้งนี้ ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากพนักงาน น้ำบาดาลประจำท้องที่ ในกรณีที่มิได้มีการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ มีอำนาจจัดทำกิจการดังกล่าวแทน โดยผู้รับใบอนุญาตดังกล่าวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อ การจัดทำกิจการนั้นทั้งสิ้น
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 4 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ม. 28-32) มาตรา 28 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจการเจาะน้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาล หรือการระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือใน ระหว่างเวลาทำการ ให้ผู้รับใบอนุญาตหรือตัวแทน อำนวยความสะดวกตามควรแก่กรณี และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาต หรือตัวแทนให้จัดการ ป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดจากการเจาะน้ำบาดาล ใช้น้ำบาดาล หรือการระบายน้ำ ลงบ่อน้ำบาดาลนั้นได้ มาตรา 29ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าการเจาะน้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาล หรือ การระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล อาจก่อหรือได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งน้ำบาดาล ให้มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือแก่ผู้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือหยุดการเจาะ น้ำบาดาล การใช้น้ำบาดาล หรือการระบายน้ำลงบ่อน้ำบาดาล แล้วแต่กรณีตามที่เห็นว่า จำเป็นเพื่อป้องกันหรือระงับความเสียหายนั้นได้
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 4 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ม. 28-32) (ต่อ) มาตรา 30 “ผู้รับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา 28 หรือมาตรา 29 ต่อรัฐมนตรี โดยยื่นอุทธรณ์ต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ยกอุทธรณ์ หรือแก้ไขคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด” มาตรา 30 ทวิ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตามวรรคสองของมาตรา 36 ทวิ แล้ว หากผู้กระทำความผิดไม่ยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง อุดหรือกลบหลุม บ่อ ที่เกิดหรือ อันเป็นเหตุให้เกิดความผิดนั้นภายในเวลาที่ศาลกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ โดยผู้กระทำความผิดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการกระทำการนั้นทั้งสิ้น
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 4 พนักงานเจ้าหน้าที่ (ม. 28-32) (ต่อ) มาตรา 31 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดง บัตรประจำตัวเมื่อผู้ซึ่งเกี่ยวข้องร้องขอ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 32ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็น เจ้าพนักงานตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 5 การแก้ไขใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต (ม. 33-36) มาตรา 33 เมื่อปรากฏในภายหลังว่าได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อน หรือ สำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในใบอนุญาต ได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังที่ได้ออกใบอนุญาตแล้ว ให้อธิบดีมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ถ้าการปฏิบัติการให้เป็นไปตามใบอนุญาตดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ทรัพยากรของชาติ หรือทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สิน หรือ สุขภาพของประชาชน หรือทำให้แผ่นดินทรุด ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตนั้น เสียได้ มาตรา 34เมื่อปรากฏว่าการประกอบกิจการน้ำบาดาลของผู้รับใบอนุญาตผู้ใดจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมในเขตน้ำบาดาล อธิบดีมีอำนาจสั่งและกำหนดวิธีการ ให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขเพื่อป้องกันความเสียหายนั้นได้ตามที่เห็นสมควร
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 5 การแก้ไขใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต (ม. 33-36) (ต่อ) มาตรา 35 เมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตได้ คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับใบอนุญาต และให้ ถือว่าใบอนุญาตนั้น เป็นอันสิ้นอายุนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งการเพิกถอนนั้น มาตรา 36ผู้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา 33 และมาตรา 35 มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรี โดยยื่นอุทธรณ์ต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งการเพิกถอน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ยกอุทธรณ์ หรือแก้ไขคำสั่งของอธิบดีได้ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่งเพิกถอน ใบอนุญาต
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 6 บทกำหนดโทษ (ม. 36 ทวิ-45/1) มาตรา 36 ทวิ ผู้ใดสูบน้ำบาดาลในเขตห้ามสูบน้ำบาดาลที่ประกาศตามมาตรา 5 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนมาตรา 16 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะริบเครื่องมือเครื่องใช้ หรือเครื่องจักรกลใดๆ ที่ได้ ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์กระทำความผิดเสียก็ได้ ในกรณีความผิดตามวรรคหนึ่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ให้ศาล มีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง อุดหรือกลบหลุม บ่อ ที่เกิดหรือ อันเป็นเหตุให้เกิดการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวได้ มาตรา 37ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามประกาศที่ออกตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา 39ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดหรือลูกจ้างหรือตัวแทนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 6บทกำหนดโทษ (ม. 36 ทวิ-45/1) (ต่อ) มาตรา 40ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 41ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 24 หรือมาตรา 25 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มาตรา 42ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท มาตรา 43ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามควร แก่กรณี ในการปฏิบัติการตามมาตรา 28 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท มาตรา 44ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งตามมาตรา 28 หรือ มาตรา 29 และไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสาม หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ อธิบดีซึ่งสั่งตามมาตรา 34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 6บทกำหนดโทษ (ม. 36 ทวิ-45/1) (ต่อ) มาตรา 45ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีในเขตกรุงเทพมหานครและในส่วนภูมิภาค ตามความจำเป็น ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจากผู้ทรงคุณวุฒิด้าน กฎหมายจำนวนคณะละสามคน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี เมื่อพ้นจาก ตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล หมวด 6บทกำหนดโทษ (ม. 36 ทวิ-45/1) (ต่อ) มาตรา 45/1บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ความผิดตามมาตรา 36 ทวิ เฉพาะกรณีฝ่าฝืนประกาศตามมาตรา 5 วรรคสอง ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมี อำนาจเปรียบเทียบได้ ถ้าเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรถูกฟ้อง และเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับ ตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในกรณีที่พนักงานสอบสวนพบว่าผู้ใดกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง และ ผู้นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบ คดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดของกลางที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง จะเปรียบเทียบได้ต่อเมื่อ ผู้กระทำความผิดยินยอมให้ของกลางที่ยึด หรืออายัดตกเป็นของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลขายหรือจำหน่ายเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล บทเฉพาะกาล (ม. 46) มาตรา 46เมื่อได้มีประกาศกำหนดเขตท้องที่ใดให้เป็นเขตน้ำบาดาลตาม พระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ซึ่งประกอบกิจการน้ำบาดาลอยู่แล้วในเขตน้ำบาดาลนั้น ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ได้มีประกาศกำหนดเขตน้ำบาดาลนั้นและให้ผู้นั้นประกอบกิจการนั้น ไปพลางก่อนได้ จนกว่าผู้ออกใบอนุญาตจะสั่งไม่ออกใบอนุญาตให้ตามคำขอ ในกรณีนี้ ให้นำมาตรา 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล 2. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตน้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล พ.ศ. 2554 · หลักการและเหตุผล เพื่อให้การควบคุม กำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตาม พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้ง สามารถควบคุมการใช้น้ำบาดาลในเขตน้ำบาดาลแต่ละจังหวัดให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบต่อแหล่งน้ำบาดาลในแต่ละแอ่งน้ำบาดาลหรือ ในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเป็นผลให้การใช้น้ำบาดาลเป็นไปอย่างอนุรักษ์และยั่งยืน
การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล 2. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตน้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล พ.ศ. 2554 (ต่อ) · สาระสำคัญ - ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉ.8 (พ.ศ.2537) เรื่อง กำหนดเขต น้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล (เกินกว่า 15 เมตร 20 เมตร และ 30 เมตร) - กำหนดใหม่ ให้ ท้องที่ กทม. และท้องที่ของแต่ละจังหวัดทุกจังหวัดในราชอาณาจักร ไทยเป็นเขตน้ำบาดาล และให้น้ำใต้ดินที่อยู่ลึกจากผิวดินลงไปเกินกว่า 15 เมตร เป็น น้ำบาดาล - โดย กทม. และจังหวัดในเขตปริมณฑลอีก 6 จังหวัด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (23 ม.ค. 2555) - ส่วนจังหวัดอื่นๆ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2555 เป็นต้นไป ดังนั้น ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2555 การเจาะน้ำบาดาลลึกเกินกว่า 15 เมตร ต้องขอรับ ใบอนุญาตให้ถูกต้อง ส่วนบ่อเดิมที่ลึกเกินกว่า 15 เมตร ต้องขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้อง ภายในวันที่ 29 ก.ค. 2555 (บทเฉพาะกาล)