1 / 724

เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. โดย รองศาสตราจารย์สายัณห์ ละออ เอี่ยม ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. บทที่ 1 บทนำ ( Introduction).

Download Presentation

เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เทคนิคการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย รองศาสตราจารย์สายัณห์ ละออเอี่ยม ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

  2. บทที่ 1บทนำ (Introduction) ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการฝึกอบรมและพัฒนา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์การต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชลซึ่งการจัดฝึกอบรมและพัฒนาแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นผู้รับผิดชอบในการฝึกอบรมและพัฒนาจะต้องมีความรู้คามเข้าใจเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมและพัฒนาให้ถูกต้องโดยนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

  3. ขั้นตอนในการฝึกอบรมและพัฒนาจะมีกี่ขั้นตอนไม่สำคัญสิ่งสำคัญคือ ทำอย่างจะให้การฝึกอบรมและพัฒนาบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการขององค์การทั้งนี้เพื่อให้องค์การและหน่วยงานมีความเจริญก้าวหน้า ทันยุคการเปลี่ยนแปลง บทที่ 1 บทนำ (Introduction)

  4. ความหมายของเทคนิคการฝึกอบรมและพัฒนาความหมายของเทคนิคการฝึกอบรมและพัฒนา เทคนิค (Techniques) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ด้วยการใช้ทักษะเทคนิคและกลวิธีที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งความตระหนักรู้และแรงจูงใจของบุคลากรในองค์กรอันจะส่งผลให้บุคลากรแต่ละคนมีเจตคติที่ดีต่อองค์กรและทำให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้นกว่าเดิม

  5. ความหมายของเทคนิคการฝึกอบรมและพัฒนาความหมายของเทคนิคการฝึกอบรมและพัฒนา การฝึกอบรม (Training) หมายถึง กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานเฉพาะด้าน ของบุคคลโดยมุ่งเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ(Attitude) อันจะนำไปสู่การยกมาตรฐานการทำงานให้สูงขึ้น ทำให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและทำให้องค์การเจริญรุ่งเรืองบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการฝึกอบรมก็คือ การพัฒนาบุคลากรขององค์การนั่นเอง

  6. การพัฒนา (Development) หมายถึงการทำให้มีคุณภาพมากขึ้นในกรณีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลก็คือการดำเนินการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อให้งานนั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจขององค์การ ความหมายของเทคนิคการฝึกอบรมและพัฒนา

  7. ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนาความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา การบริหารงานฝึกอบรมและพัฒนามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์การราชการและองค์การเอกชนเพราะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยแนะแนวทางในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งการฝึกอบรม(Training) สามารถทำได้หลายวิธีการผู้จัดการฝึกอบรมต้องรู้จักเลือกใช้วิธีการฝึกอบรมที่ถูกต้องตามความเหมาะสม

  8. ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนาความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา เพื่อให้เกิดประสิทธิผล ประหยัดทั้งเงินและเวลาและจะต้องกระทำอย่างเป็นระบบในรูปแบบของ “คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร”เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์การได้พิจารณางบประมานมาใช้ในการฝึกอบรมการฝึกอบรมขององค์การมีส่วนประกอบสำคัญที่เรียกว่า 4M

  9. 4Ms 1. Man (คน) 2. Management (การจัดการ) 3. Material (วัสดุอุปกรณ์) 4. Money (เงิน) ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา

  10. ปัจจุบันองค์การราชการและองค์การเอกชนให้ได้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลขององค์การด้วยการจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรขององค์การทุกคนมีแนวคิดเดี่ยวกับ “การปรับความคิดเพื่อพิชิตงาน” บุคลากรแต่ละคนซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลขององค์การได้เข้ามาสู่องค์การก็ด้วยความมุ่งมั่นอย่างน้อยที่สุด 3 ประการคือ 1. ต้องการความมั่นคงในชีวิตการทำงาน 2. ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพการงาน 3. ต้องการรายได้ก็คือการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา

  11. กล่าวคือ “ต้องพัฒนาคนเพื่อเพิ่มผลงาน” โดยถือว่าการพัฒนาบุคลากรจะต้องมุ่งถึงประโยชน์ขององค์การเป็นหลัก การที่บุคคลใดก็ตามที่จะต้องก้าวเข้าสู่การเป็นวิทยาการฝึกอบรมต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการบริการและการจัดการและเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกอบรมแต่ละขั้นตอน และต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์ ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา

  12. และพฤตกรรมศาสตร์แขนงต่าง ๆอย่างกว้างขวาง เช่น จิตวิทยาสังคมวิทยาและปรัชญา อีกทั้งมีความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารงานบุคคล และจิตวิทยาการสอนผู้ใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนต่อผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้อย่างเหมาะสม ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา

  13. ฉะนั้น การดำเนินการจัดฝึกอบรมผู้จัดหรือหน่วยฝึกอบบรมจะต้องนำเอาสิ่งที่ได้จัดเตรียมไว้ตั้งแต่การนำแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานมาศึกษาหาความต้องการและความจำเป็นในการจัดฝึกอบรมแล้วกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมเพื่อดำเนินการร่างหลังสูตรด้วยการจัดเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา

  14. ผู้ที่จะทำหน้าที่จัดการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่องานการฝึกอบรม เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านฝึกอบรมอีกด้วย กล่าวคือผู้รับผิดชอบงานฝึกอบรมเองจะต้องเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของการฝึกอบรมปละการพัฒนาบุคลากรขององค์การซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดต่าง ๆ ความสำคัญของการฝึกอบรมและพัฒนา

  15. ความหมายของคำว่า“วิสัยทัศน์”(Vision)ความหมายของคำว่า“วิสัยทัศน์”(Vision) วิสัยทัศน์(Vision) การดำรงชีวิตเป็นกระบวนการของการต่อสู้ซึ่งวิทยากรฝึกอบรมทุกคนจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับการต่อสู้แข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จของชิ้นงานดังนั้นวิทยากรที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมจึงจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มี”วิสัยทัศน์”และมุมมองที่กว้างไกลดังคำกล่าวที่ว่า”มองให้ไกลไปให้ถึง”อย่างไรก็ตามจะขอนำเสนอคำที่เกี่ยวข้องกับคำว่า”วิสัยทัศน์”ดังต่อไปนี้

  16. ความหมายของคำว่า“วิสัยทัศน์”(Vision)ความหมายของคำว่า“วิสัยทัศน์”(Vision) วิสัยทัศน์(Vision) หมายถึง การมองไปในอนาคต วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง การจินตนาการไปในอนาคต วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง ภาพความคิดและภาพจินตนาการที่ ชัดเจนของอนาคต วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง การเดินทางด้วยสมอง(Mental Image) ความเป็นไปได้ที่พึงประสงค์

  17. ฉะนั้น”วิสัยทัศน์” ก็คือ การคิดหรือการสร้างภาพที่ฉายไปในอนาคตถึงสภาวะที่พึงประสงค์ได้อย่างชัดเจนอันเป็นผลมาจากระบวนการคิด การตระหนักรู้ การสั่งเคราะห์ข้อมูล จลอดจนเหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจากการทำความเข้าใจของสภาพปัญหาในภาวะปัจจุบัน และมองไปข้างหน้าและพร้อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตในเชิงสร้างสรรค์ ความหมายของคำว่า“วิสัยทัศน์”(Vision) (ต่อ)

  18. ความแตกต่างระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรมความแตกต่างระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรม การศึกษา(Education) หมายถึง กระบวนการที่มุ่งให้ประสบการณ์หลายด้าน แก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านสติปัญญา ร่างการ อารมณ์ สังคม และให้ประสงการณ์ด้านอาชีพด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน มีการกำหนดหลักสูตร และมาตรฐานการศึกษาซึ่งการจัดหลักสูตรจะเน้นทักษะพื้นฐาน และการมองภาพในมุมกว้างจึงไม่อาจจัดให้สนองความต้องการเพื่อให้ผู้เรียนออกไปทำงานอย่างหนึ่งโดยเฉพาะทางได้

  19. การฝึกอบรม(Training) หมายถึง กระบวนการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถกลับไปปฏิบัติงานที่รับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพระยะเวลาในการฝึกอบรมจะเป็นช่วงสั้นหลักสูตรนั้นจะเน้นให้ปฏิบัติเฉพาะทางได้ ความแตกต่างระหว่างการศึกษาและการฝึกอบรม (ต่อ)

  20. การพัฒนาบุคคลากรขององค์การด้วยการฝึกอบรมการพัฒนาบุคคลากรขององค์การด้วยการฝึกอบรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์การไม่เป็นเพียงแต่วิธีการหรือกระบวนการเท่านั้น แต่วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งปรับปรุงให้ทุ่นเทสร้างสรรค์ให้แก่องค์การในทางปฏิบัติโดยทั่วไปการพัฒนาบุคลากรขององค์การจะประสบความสำเร็จ ฉะนั้น เป้าหมายของความสำเร็จจึงเป็นเครื่องชีวัดของชิ้นงาน

  21. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์การไม่เป็นเพียงแต่วิธีการหรือกระบวนการเท่านั้น แต่วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มุ่งปรับปรุงให้ทุ่นเทสร้างสรรค์ให้แก่องค์การในทางปฏิบัติโดยทั่วไปการพัฒนาบุคลากรขององค์การจะประสบความสำเร็จ ฉะนั้น เป้าหมายของความสำเร็จจึงเป็นเครื่องชีวัดของ การพัฒนาบุคลากรขององค์การด้วยการฝึกอบรม

  22. ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรขององค์การให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีเป้าหมายของการเป็นองค์การที่สมบูรณ์ (Total Organization : TO) คือการพัฒนาสมาชิกในองค์การให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์(Total Person) ซึ่งมีอยู่ 6 ด้านคือ การพัฒนาบุคลากรขององค์การด้วยการฝึกอบรม

  23. 1.ด้านร่างกาย บุคลากรขององค์การแต่ละคนมีสมรรถนะพร้อมต่อการทำงานหรือไม่ และมีการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการทำงานอย่างปกติและราบรื่นหรือไม่ โดยเน้นที่ตัวบุคคลในการมีส่วนร่วมที่จะพัฒนาบรรยากาศในการทำงานด้วยการเสริมสร้างกิจกรรม 5 ส เป็นพื้นฐานการทำงาน เพื่อให้บุคลากรแต่ละคนมีการจัดระบบงานของตนเองอย่างมีรูปแบบ

  24. 2.ด้านจิตใจ การปฏิบัติงานของสมาชิกในองค์การอาจมีความเครียดเกิดขึ้นได้จึงต้องจัดระบบการบริหารความเครียดกับพนักงาน เช่น การฝึกคลายกล้ามเนื้อโดยการออกกำลังกายหรือจัดการแข่งขันกีฬาภายใน ตลอดจนการจัดทีมให้คำปรึกษาด้านจิตใจเพื่อรับฟังความวิตกกังวลของสมาชิกภายในองค์การ

  25. 3.ด้านสติปัญญา มีการประเมินจากการเรียนรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานประจำโดยใช้หลักการจูงใจและการเสริมแรงเพื่อให้พนักงานแต่ละคนมีแนวคิดใหม่ๆที่จะปฏิบัติงานให้ดีขึ้นโดยยึดหลักประหยัด หรือสร้างสรรค์แนวคิดแปลกๆที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ หรือมีการพัฒนาทีมงานโดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสร้างสรรค์

  26. 4.ด้านความรู้คู่คุณธรรม4.ด้านความรู้คู่คุณธรรม ผู้บริหารองค์การอาจจะประเมินผลงานของบุคลากรว่า ได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองจนเกิดความเชี่ยวชาญหรือไม่ โดยตรวจวัดจากปริมาณของชิ้นงานและคุณภาพของการผลิตและการบริการ ในขณะเดียวกันการพัฒนาบุคลากรแต่เพียงความรู้อย่างเดียว โดยไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม

  27. 4.ด้านความรู้คู่คุณธรรม4.ด้านความรู้คู่คุณธรรม มุ่งแต่จะพัฒนาผลผลิตโดยไม่สนใจผลกระทบใดๆต่อบุคคลหรือสิ่งแวดล้อมเป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งความรู้และคุณธรรมซึ่งความเป็นจริงแล้วจะต้องพัฒนาไปด้วยกัน จะแยกส่วนไม่ได้

  28. 5.ด้านจริยธรรมและวัฒนะธรรมในการปฏิบัติงาน5.ด้านจริยธรรมและวัฒนะธรรมในการปฏิบัติงาน ในการปฏิบัติงานนั้น องค์การจำเป็นจะต้องพัฒนาทั้งกายสร้างงานและพัฒนาคุณธรรมควบคู่กันไป โดยยึดหลักที่ว่า จิตเป็นนายและกายเป็นบ่าว หากจิตมีลักษณะอย่างไรก็จะกำหนดภายให้มีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้น ดังนั้น การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของสมาชิกภายในองค์การจะเป็นการเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อให้มีพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อลูกค้า ต่อองค์การ

  29. 6.สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข6.สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สมาชิกในองค์การที่ตัดสินปัญหาด้วยเหตุผลแทนการตัดสินปัญหาด้ายอารมณ์ จะสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขการจัดระบบให้มีการตรวจประเมินสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในองค์การอยู่เนือง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

  30. บทบาทของวิทยากรฝึกอบรมทศวรรษในทศวรรษหน้าบทบาทของวิทยากรฝึกอบรมทศวรรษในทศวรรษหน้า บทบาทต่อตนเอง 1. มีความรอบรู้ทุกด้าน มองการณ์ไกล 2. มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ 3. มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา (ฉลาด ขยัน อดทน ซื้อสัตย์) 4. เตรียมพร้อมเป็นผู้นำ รอบรู้ด้านบริหารและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 5. มีความคิดสร้างสรรค์ 6. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ (กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว)

  31. บทบาทต่อสังคม 1. มีมโนธรรมสูง เสียสละ มีคุณธรรม ตั้งใจทำงาน 2. เป็นผู้นำในเรื่องที่เหมาะสม เช่น พัฒนารูปแบบกิจกรรมที่ให้ประโยชน์ต่อสังคม 3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 4. รับฟังความคิดเห็นรอบข้าง รับฟังข่างสารต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับผู้อื่น 5. เป็นตัวแทนประชาชนที่แสดงความสามารถต่อชุมชน และ เป็นผู้แทนปวงชนได้ 6. ดูแลสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิด

  32. บทบาทของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมทั่วไปบทบาทของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมทั่วไป 1. ศึกษาข้อมูลข่าวสาร ติดตามเหตุการณ์และไตร่ตรองอย่างพิจารณา 2. สามารถประยุกต์ความรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมต่อสังคม 3. แสดงบทบาทที่ถูกต้องและดีงามตามสภาพ 4. เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง 5. มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและให้ความร่วมมือกับชุมชน

  33. บทบาทของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมทั่วไปบทบาทของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมทั่วไป 6. กล้าแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ ทั้งติและชม 7. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม 8. มีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 9. นำความรู้ความสามรถที่เรียนมานำออกมาใช้หมากที่สุด มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการสาขาของตนเองเป็นอย่างดี 10. มีคุณธรรม จริยธรรม รักษาสภาวะของจิตใจให้หนักแน่น มั่นคงลดค่านิยมทางวัตถุ

  34. บทบาทของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมทั่วไปบทบาทของหัวหน้าฝ่ายฝึกอบรมทั่วไป 11. เป็นหลักและที่พึ่งให้กับชุมชนได้มีความเป็นผู้นำที่มีบุคลิกภาพที่ดี 12. ความหวังใหม่ของสั่งคมในยุกต์ต่อไป เป็นผู้นำให้การพัฒนาทั้ง ด้านความเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 13. มีความเป็นตัวของตนเองและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ 14. มีความขยันหมั่นเพียร อดทน มีน้ำใจแอเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นทุกเมือ 15. เป็นผู้นำการฝึกอบรมมืออาชีและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ

  35. รูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรมรูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรม 1. กิจกรรมจะเน้นหนักทางด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์สภาวะแวดล้อมวัฒนธรรมอันดีงานของประเทศ 2. มีลักษณะเป็นนานาชาติมากขึ้น ทั้งทางด้านการประสานงานการขอความร่วมมือการเผยแพร่รูปแบบของการจัดกิจกรรม 3. กิจกรรมมีจะเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้งานกับกิจกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จะมีการแสวงหาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน ทางด้านการสื่อสารเข้ามาใช้กับงานในชีวิตประจำวัน

  36. รูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรมรูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรม 4. เน้นกิจกรรมที่ปลูกฝัง สร้างสรรค์และเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม 5. เน้นการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มากขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจ 6. เน้นกิจกรรมที่สามารถสร้างหลักการคิดการรับรู้การทำงานอย่างเป็นระบบมีเหตุและมีหลักการทางวิชาการมากขึ้น มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของนำกิจกรรมอย่างชัดเจน

  37. รูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรมรูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรม 7. การทำงานจะมีลักษณะการจัดกิจกรรมที่เป็นการทำงานกลุ่มย่อยมากขึ้น มีการ Decentralized มากขึ้น 8. มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น และสามารถนำกระแสกาเปลี่ยนแปลงนั้นมาอธิบาย และนำมาวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมากขึ้นสามารถชี้นำประสิทธิภาพ 9. ฝึกการเป็นผู้ตามอย่างมีประสิทธิภาพ 10. เป็นกิจกรรมที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การและสถาบันต่างๆ

  38. รูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรมรูปแบบหรือลักษณะการจัดกิจกรรมฝึกอบรม 11. เป็นกิจกรรมที่เน้นหนักด้ายทักษะวิชาชีพมากขึ้นมีการพัฒนาความสามารถบุคคลเพื่อการทำงานในอนาคต 12. เป็นกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นทีมมากขึ้น 13. เป็นกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจคุณธรรมและจริยธรรม 14. เป็นกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทางด้านบุคลิกภาพให้มีความเป็นผู้นำที่ดีงานและเปิดกว้าง 15. เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

  39. เทคนิคการฝึกอบรมลักษณะต่าง ๆ การพัฒนาบุคลาขององค์การด้วยการจัดการฝึกอบรมนั้นจะส่งผลเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับองค์การได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและทัศนคติที่มีต่องานในหน้าที่ของบุคลากรขององค์การแต่ละคนที่รับผิดชอบอยู่ซึ่งการฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการจัดการองค์การผู้ที่รับผิดชอบด้านการฝึกอบรมควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการฝึกอบรมและสัมมนาลักษณ์ดังต่อไปนี้

  40. เทคนิคการฝึกอบรมลักษณะต่าง ๆ เทคนิคการฝึกอบรม(Training Techniques)หมายถึง วิธีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และทัศนคติเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้มากที่สุดในเวลาจำกัด ซึ่งเทคนิคการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  41. 1. เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้วิทยากรเป็นศูนย์กลาง 1 การบรรยาย (Lecture ) วิทยากรบรรยายตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายอาจใช้สื่อต่างๆ ประกอบการบรรยาย เช่น รูปภาพ แผ่นใส สไลด์ หรือวีดีโอเทป ข้อดี ได้เนื้อหาวิชาการตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้อย่างครบถ้วน การเสนอเนื้อหาเป็น ไปตามลำดับ ได้แนวความรู้ในเนื้อหาวิชามาก ข้อจำกัด เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ฟังอาจเบื่อหน่าย วิทยากรต้องมีความรู้ใน เนื้อหาวิชาเป็นอย่างดี และมีความสามารถในการบรรยายได้ดีด้วย

  42. 2. การอภิปรายเป็นหมู่คณะ ( Panel Discussion ) เป็นการอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3-5 คน ให้ข้อเท็จจริงความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ซึ่งเป็นการอภิปรายในลักษณะที่สนับสนุนหรือให้เหตุผลโต้แย้งผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกัน ข้อดี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับความคิดเห็นของผู้อภิปรายที่หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่กว้างไกล ดึงดูดความสนใจได้ดี ไม่เกิดความเบื่อหน่ายมีบรรยากาศเป็นกันเอง ข้อจำกัด ผู้อภิปรายเสนอความคิดเห็นไม่เต็มที่เพราะระยะเวลาน้อย ซึ่งถ้าผู้อภิปรายมีความรู้และประสบการณ์น้อยจะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร

  43. 3. การประชุมปาฐกถาหรือการประชุมทางวิชาการ เป็นการบรรยายแบบมีวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญประมาณ 2-6 คน มีพิธีกรเป็นผู้ดำเนินการอภิปรายและสรุปการบรรยายการชุมนุมปาฐกถามีลักษณะคล้ายการอภิปรายเป็นคณะ เน้นหัวข้อวิชาเป็นสำคัญ ข้อดี ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้จากวิทยากรหลายคนหลายด้าน ไม่น่าเบื่อหน่ายเพราะฟังจากวิทยากรหลายคน การบรรยายใช้เวลาสั้นๆ ทำให้ได้เนื้อหา ตรงตามหัวข้อวิชา ข้อจำกัด วิทยากรแต่ละคนอาจบรรยายทัศนะแตกต่างกันออกไปยากแก่การ สรุปให้ตรงตามหัวข้อวิชา ผู้ฟังอาจเบื่อหน่ายถ้าวิทยากรบรรยายไม่ดี เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว วิทยากรมีเวลาจำกัด การบรรยายอาจไม่ชัดเจน

  44. 4. การสาธิต ( Demonstration ) เป็นเทคนิควิธีการฝึกอบรมที่แสดงให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เห็นจริงแล้วเกิดความเข้าใจถึงกรรมวิธี วิธีการและขั้นตินของการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติตามได้หลังจากที่ดูการสาธิตแล้ว เหมาะสำหรับการฝึกทักษะที่เป็นขั้นเป็นตอน ข้อดี เกิดความรู้ ความเข้าใจง่ายและเร็ว มีความน่าเชื่อถือสูง เป็นการเพิ่มทักษะของผู้เข้ารับการอบรมได้ดี ไม่เบื่อหน่าย สามารถปฏิบัติได้หลายครั้ง ทำให้เกิดความมั่นใจ และช่วยให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตหรือต่อการปฏิบัติงาน ข้อจำกัด ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก เหมาะกับการฝึกอบรมกลุ่มเล็กๆ ซึ่งวิทยากรต้องมีความชำนาญจริงๆ และต้องไม่ผิดพลาด

  45. 5. การสอนงาน ( Coaching ) เป็นการแนะนำให้รู้จักวิธีการปฏิบัติงานให้ถูกต้อง ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอนงานจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในงานที่มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของบริษัทหรือองค์การ เป็นผู้ที่มีความจริงใจและน่าไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ข้อดี การสอนงานเป็นเทคนิคที่ตอบสนองในเรื่องความแตกต่างของบุคคลในการเรียนรู้ผู้สอนสามารถสอนงานหรือแนะนำได้ตรงกับบุคลิกภาพและความรู้ ความสามารถของผู้เรียนได้ นอกจากผู้เรียนจะเรียนรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ข้อจำกัดในการสอนงานนั้นจะต้องใช้เวลา ซึ่งเป็นข้อจำกัดของผู้บริหาร ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมการสอนงานได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนั้นข้อจำกัดของการสอนงานที่สำคัญคือประสิทธิภาพของการสอนงานยังขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และความเข้าใจของผู้สอน

  46. เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เทคนิคการฝึกอบรมโดยใช้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การจัดการฝึกอบรมแต่ละครั้งบุคลากรฝ่ายจัดฝึกอบรมจำเป็นต้องเลือกเทคนิคหรือกลวิธีการฝึกอบรมที่ดีเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ประเภทและวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ซึ่งการพิจารณาเลือกเทคนิคการฝึกอบรมจำเป็นต้องศึกษาลักษณะและวิธีการของแต่ละเทคนิคตลอดจนข้อมูลที่มีข้อจำกัดในการเลือกเทคนิคนั้นๆ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการฝึกอบรมมีเทคนิคแต่ละประเภทดังต่อไปนี้

  47. 1. การระดมสมอง ( Brainstorming ) การระดมสมองหรือการระดมความคิด คือ การที่ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือปัญหาหนึ่งอย่างอิสระ โดยไม่มีการอภิปรายว่าความคิดที่เสนอถูกหรือผิด เหมาะสมมากน้อยเพียงใด การระดมสมองเป็นการประชุมกลุ่มเล็กไม่เกิน 15 คน ข้อดี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมโดยตรง ช่วยกันคิด ช่วยกัน เสนอทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ได้แนวทางในการ แก้ปัญหาในลักษณะต่างๆ ข้อจำกัด ได้ความคิดเห็นจำนวนมากแต่อาจมีคุณค่าน้อยและต้องจำกัดกลุ่ม ผู้เข้ารับการอบรมเพื่อให้ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น

  48. 2. การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz Session) บางครั้งเรียกว่า Buzz Group หรือ Phillip 6-6 เป็นการแบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยละ 2-6 คน เพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันในช่วงเวลาที่กำหนด มีวิทยากรคอยช่วยเหลือทุกกลุ่ม แต่ละกลุ่มต้องเลือกประธานและเลขานุการของกลุ่มเพื่อดำเนินการ

  49. 2. การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz Session) (ต่อ) ข้อดี เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน บรรยากาศเป็นกันเอง ข้อจำกัด การประชุมกลุ่มย่อยในห้องเดียวกันอาจทำให้เกิดเสียงรบกวนกัน ประธานที่เลือกได้อาจไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ ดำเนินการประชุมไม่ดี ทำให้ผู้ร่วมการประชุมขาดการแสดงความคิดเห็นบางกลุ่มอาจได้ความคิดเห็นน้อย บางกลุ่มอาจใช้เวลามากทำให้ควบคุมเวลาได้ยาก

  50. 3. กรณีศึกษา ( Case Study ) กรณีศึกษา หรือการศึกษาเฉพาะกรณี เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่นำเอากรณีหรือเรื่องราวที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ เสนอในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม สมาชิกของกลุ่มจะใช้หลักวิชาและประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาผสมผสานเพื่อวิเคราะห์กรณีที่ยกมา กรณีศึกษา เหมาะสำหรับการฝึกอบรมทางกฎหมาย การบริหารงาน และการฝึกอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของมนุษย์

More Related