480 likes | 503 Views
ระบบรายงานและกลไกการเบิกจ่ายเงิน LTC. เอกสารประกอบการอบรมฟื้นฟูความรู้ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ( Care Manager : CM) 21-23 มกราคม 2562. นางจินตนา แววสวัสดิ์ สปสช.เขต 5 ราชบุรี. กรอบการพุดคุย. ส่วนที่ 1 ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 การบริหารค่าบริการ LTC ขั้นตอนการเบิกจ่าย
E N D
ระบบรายงานและกลไกการเบิกจ่ายเงิน LTC เอกสารประกอบการอบรมฟื้นฟูความรู้ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager : CM) 21-23 มกราคม 2562 นางจินตนา แววสวัสดิ์ สปสช.เขต 5 ราชบุรี
กรอบการพุดคุย ส่วนที่ 1 ประกาศ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2การบริหารค่าบริการ LTC ขั้นตอนการเบิกจ่าย ส่วนที่ 3 การใช้งาน โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ระบบรายงาน
ส่วนที่ 1 ประกาศฯที่เกี่ยวข้อง ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗ (๒) ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ (๓) ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ (แยก กทม.ออกจากประกาศ ๕๗)
ข้อ ๔ “ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า ผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่าสิบเอ็ดคะแนนหรือตามเกณฑ์การประเมินที่สำนักงานกำหนด “ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า ผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีคะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม และมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย ตัดคำออก เพื่อให้สื่อความหมายชัดเจน
ข้อ ๔ “การบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า การบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่บ้านหรือชุมชน โดยศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการ หรือสถานบริการ “การบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า การบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย ที่เป็นการให้บริการ ณ ครัวเรือน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่หน่วยบริการ หรือที่สถานบริการ ที่ให้บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยบุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปรับคำให้สื่อความหมายชัดเจน
ข้อ ๔ “ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” (Caregiver) หมายความว่า บุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่สำนักงานกำหนด “ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” (Care giver) หมายความว่า บุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือคณะอนุกรรมการอื่นภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบ ปรับคำให้สื่อความหมายชัดเจน โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด ปัจจุบันยึดตามประกาศ สปสช. เรื่องหลักสูตร และคุณสมบัติ CG (๒๗ ก.ค.๕๙)
ข้อ ๗ เงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจัดสรรแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (๒) เงินสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๓) รายได้อื่น ๆ หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ นอกจากเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตาม (๑) แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม ความเหมาะสม ซึ่งได้แสดงความจำนงเข้าร่วมและสำนักงานเห็นชอบ ได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ต้องสมทบเงิน หรือค่าบริการอื่น ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด วรรคหนึ่ง คือ (๑) – (๓) ดำเนินงานกองทุนฯ อย่างเดียว วรรคสอง คือ เงินที่ได้รับเพิ่มเมื่อดำเนินงาน LTCและเงินก้อนนี้ อปท.ไม่ต้องสมทบ
ข้อ ๑๐ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข (๒) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น จากนิยามหน่วยงานสาธารณสุข ดังนั้น อบต./เทศบาล จัดอยู่ใน (๑) ส่วนจะดำเนินการได้แค่ไหน (สร้างเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู รักษาปฐมภูมิเชิงรุก) ให้ดูตามภารกิจของ อบต./เทศบาล *(๒) ทำได้แค่การจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค*
ข้อ ๑๑ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ ๗ วรรคสอง ให้สนับสนุนแก่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการหรือสถานบริการเพื่อจัดบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อปี ตามชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่กำหนดในเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตามโครงการที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอนุมัติ วรรคแรก ว่าด้วยการจ่ายเงิน LTC โดยจ่ายให้ ศูนย์ฯ/หน่วยบริการ/สถานบริการ *เท่านั้น*เพื่อจัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์*เฉพาะสิทธิหลักประกัน (บัตรทอง , UC)เท่านั้น* บริการที่จัดนั้น ดูแลต่อปี คือ 12 เดือน นับจากวันที่ระบุไว้ในข้อตกลง โดยประกาศฯ ๖๑ ให้ อนุฯ LTC อนุมัติโครงการได้เลย ไม่ต้องผ่านชุดใหญ่
ข้อ ๑๑ กรณีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงนอกเหนือจากวรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง และใช้ชุดสิทธิประโยชน์การบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมาเทียบเคียงโดยอนุโลม ทั้งนี้ ตามโครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ วรรคสอง เขียนเพื่อให้ผู้ที่มีภาวะพึ่ง (ผู้สูงอายุสิทธิอื่น, ผู้ที่มี ADL เท่ากับหรือน้อยกว่า 11) ได้รับการดูแลแบบ LTC โดยใช้ชุดสิทธิประโยชน์แบบ LTC ก็ได้ แต่ให้ใช้เงินจากกองทุนตำบล โดยการอนุมัติของคณะกรรมการกองทุน *หมายเหตุ เงินกองทุนตำบล อนุมัติโดยคณะกรรมการ เงิน LTC อนุมัติโดย อนุฯ LTC อำนาจการอนุมัติพิจารณาตามแหล่งเงิน
ข้อ ๑๘ ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งชื่อ“คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” ประกอบด้วย (๑) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บริหารอื่น เป็นประธานอนุกรรมการ ที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย (๒) ผู้แทนกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวนสองคน เป็นอนุกรรมการ (๓) หัวหน้าหน่วยบริการประจำที่จัดบริการสาธารณสุขในท้องถิ่น เป็นอนุกรรมการหรือผู้แทน (เช่น โรงพยาบาลอำเภอ) (๔) สาธารณสุขอำเภอหรือผู้แทน เป็นอนุกรรมการ กองทุนที่ดำเนินงาน LTC จะต้องตั้งคณะอนุฯ LTC เพราะจะต้องเป็นผู้อนุมัติโครงการ LTC โดยในประกาศฯ ๖๑ กำหนดให้ตั้งได้เท่านี้ ไม่เหมือนประกาศฯ ๕๙ ที่ใช้คำว่าอย่างน้อย
ข้อ ๑๘ (๕) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิที่จัดบริการสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการ ในท้องถิ่น (เช่น รพ.สต.) (๖) ผู้จัดการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการ (๗) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นอนุกรรมการ (๘) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ (๙) เจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุด เป็นอนุกรรมการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย และผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๑๙ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีอำนาจหน้าที่ พิจารณาอนุมัติโครงการ แผนการดูแลรายบุคคล รวมถึงค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแลรายบุคคลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หน่วยบริการ หรือสถานบริการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ที่สำนักงานกำหนด ปัจจุบันยึดตามประกาศ สปสช. เรื่องหลักเกณฑ์การสนับสนุนศูนย์ฯ(๒ มี.ค.๖๐)
ข้อ ๒๑ ให้กรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และคณะทำงาน ได้รับค่าตอบแทนในการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่น ให้บุคคลภายนอก และเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เข้าร่วมประชุม มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการประชุม ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวงเงินของข้อ ๑๐ (๔) ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองให้เป็นไปตามเอกสารหมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ วรรคสอง ในประกาศฯ ๖๑ กำหนดเพิ่มเติมให้ได้รับค่าตอบแทนในการประชุม รายละเอียดตามเอกสารหมายเลข ๑
๑. การรับเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ แนบท้ายประกาศฯ ๑.๑ บรรดาเงินรายรับเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๗ วรรคหนึ่ง ให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพ ที่เปิดบัญชีกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพ...(ระบุชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)” ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับเงินตามข้อ ๗ วรรคสอง เปิดบัญชีกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยใช้ชื่อบัญชีว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพ...(ระบุชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” แยกออกจากบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพตามวรรคหนึ่ง วรรคหนึ่ง บัญชีเงินกองทุนตำบล วรรคสอง บัญชีเงิน LTC
๒. การจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ๒.๔ การจ่ายให้ผู้มีสิทธิรับเงินที่เป็นหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น ให้หัวหน้าของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นนั้น เป็นผู้รับเงิน หากไม่สามารถมารับเงินได้ด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้รับเงินแทนก็ให้กระทำได้ ทั้งนี้ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่ชัดเจน ๒.๕ การจ่ายให้ผู้มีสิทธิรับเงินที่เป็นองค์กรหรือกลุ่มประชาชน ให้ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรหรือกลุ่มประชาชน ไม่น้อยกว่าสองคนขึ้นไปเป็นผู้รับเงิน
๔. กรณีหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงาน ๔.๑ เมื่อได้รับเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ภายใต้โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ทั้งนี้ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามระเบียบที่หน่วยงานนั้น ๆ ถือปฏิบัติ ๔.๒ เก็บหลักฐานการจ่ายเงินจากบัญชีไว้เพื่อการตรวจสอบ หน่วยงานต่างๆ ให้ใช้ระเบียบหน่วยงานนั้นๆ ในการรับเงิน เก็บรักษาเงิน จ่ายเงิน
๔. กรณีหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงาน ๔.๓ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ให้จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และรายงานการจ่ายเงินตามโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนทราบและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บไว้เพื่อการตรวจสอบ ๔.๔ กรณีที่มีเงินเหลือจากการดำเนินงาน ให้นำเงินที่เหลือส่งคืนกองทุนหลักประกันสุขภาพ เว้นแต่เงินสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หากดำเนินการตามโครงการและแผนการดูแลรายบุคคลแล้ว ให้ถือเป็นทรัพย์สินของหน่วยงาน การส่งรายงานเมื่อสิ้นโครงการเป็นสิ่งสำคัญ มีผลผูกพันตามข้อตกลง เงินที่รับกองทุนตำบล หากสิ้นโครงการแล้วเหลือ ต้องส่งคืน เงิน LTC หากดูแลครบตาม Care Plan แล้ว ไม่ต้องส่งคืน และให้ตกเป็นทรัพย์สินของหน่วยงานนั้นๆ เอาไปใช้อย่างไร ก็แล้วแต่ระเบียบหน่วยงานนั้นๆ
ส่วนที่ 2- การบริหารค่าบริการ LTC - ขั้นตอนการเบิกจ่าย
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีภาวะพึ่งพิง (กลุ่มติดบ้านติดเตียง) ได้รับบริการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ที่เชื่อมโยง กับบริการทางสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ผู้มีสิทธิขอรับบริการ 1.ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2.มีภาวะพึ่งพิง (กลุ่มติดบ้านติดเตียง) คะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน
โอนค่าบริการ LTC 100,000 บาท+เพิ่มเติม(ตามจำนวนเป้าหมาย) สำหรับหน่วยบริการประจำ ปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงาน ลงทะเบียนผู้สูงอายุและบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ทุกสิทธิ ที่มีภาวะพึ่งพิง s ตรวจสอบ/ติดตาม 1 โปรแกรม LTC (Web base) 3 สปสช. เมื่อให้บริการครบ 9 เดือน ยืนยันกลุ่มเป้าหมายประเมิน ADL และบันทึกข้อมูล หน่วยบริการประจำ บันทึกยืนยันบุคคลในพื้นที่ บันทึกผลการพิจารณา CP จัดทำข้อตกลงและโอนค่าบริการ 2 โอนค่าบริการ LTC สำหรับให้บริการ ในกลุ่มเป้าหมายแก่ อปท. หน่วยบริการปฐมภูมิ (เหมาจ่าย5,000 บ./คน/ ปี) อปท. คณะอนุกรรมการ LTC อนุมัติโครงการ และค่าใช้จ่ายตาม CP ภายใน 15 วัน หลังได้รับ CP จากหน่วยจัดบริการ ให้บริการตาม CP และรายงานผลการจัดบริการ 4 6 5 สถานบริการ จัดทำข้อตกลง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ จุดเริ่มต้น สำรวจ/คัดกรอง/แบ่งกลุ่ม 3 จัดทำ CP และเสนอต่อคณะอนุกรรมการ LTC ภายใน 30 วันหลังลงทะเบียนในโปรแกรม กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป/ มีชีวิต/ สิทธิหลักประกันสุขแห่งชาติ/คะแนน ADL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11 กรณีไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ใช้งบกองทุนฯท้องถิ่น : การโอนงบ
ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปีงบประมาณ 2562 บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน (916.80 ล้านบาท) กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สิทธิ UC มีภาวะพึ่งพิง คะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน กลุ่มเป้าหมาย 152,800 คน 3.สำหรับ อปท.(กทม.) (25 ล้านบาท) 1.หน่วยบริการประจำ (นอก กทม.) (150 ล้านบาท) 2.สำหรับ อปท.(นอก กทม.) (741.80 ล้านบาท) จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2561 จ่ายแบบเหมาจ่ายให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่เข้าร่วมดำเนินการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนในอัตรา 5,000 บาทต่อคนต่อปี จ่ายแบบเหมาจ่ายให้หน่วยบริการประจำในพื้นที่ที่เข้าร่วมดำเนินการ เแห่งละ 100,000 บาทโดยจ่ายตามจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และสามารถปรับจ่ายเพิ่มเติมแบบขั้นบันไดตามจำนวนเป้าหมายได้ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์โดยเชื่อมโยงกับบริการทางสังคม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เหมือนปี61 ปี 62 เน้นการปรับประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ
1.แผนภูมิตัวอย่างหน่วยบริการประจำที่เข้าร่วมดำเนินการ LTC หน่วยบริการประจำ/หน่วยจัดบริการและอปท. 1.สำรวจ ผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ทุกสิทธิ (อายุ<60ปี) แบ่งกลุ่ม ประเมินความต้องการด้านสาธารณสุขฯ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ประกาศฯ ปี พ.ศ.2561 กลุ่ม 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 กลุ่ม 4 2.ลงทะเบียน ลงทะเบียนผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง ทุกสิทธิ ในโปรแกรม LTC 3.ผู้สูงอายุ ทำ CP CP กลุ่ม 3 CP กลุ่ม 4 CP กลุ่ม 1 CP กลุ่ม 2
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าใช้จ่ายงบ LTC ปีงบประมาณ 2562 1.หน่วยบริการประจำที่เข้าร่วมดำเนินการ LTC (จ่ายแบบเหมาจ่ายแห่งละ 100,000 บาท) ขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้ จัดทีมหมอครอบครัว ร่วมกับอปท. หน่วยจัดบริการ • ดำเนินการคัดกรองผู้สูงอายุและบุคคลมีอายุต่ำกว่า 60 ปี ทุกสิทธิ ตามแบบประเมิน ADL แล้วแบ่งผู้สูงอายุและบุคคล < 60 ปี ทุกสิทธิ ออกเป็น 4 กลุ่ม และประเมินความต้องการด้านสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2561) • ลงทะเบียนข้อมูลผู้สูงอายุและบุคคลที่มีภาวะพึงพิง (บุคคล < 60 ปี )ทุกสิทธิ ในโปรแกรม LTC • จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล ( Care Plan:CP) เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยจัดบริการส่ง CP ให้กองทุนฯท้องถิ่น เพื่อประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณ LTC ต่อไป
2.ขั้นตอนดำเนินงาน LTC (เสนอขอรับงบประมาณ)
2.ขั้นตอนดำเนินงาน LTC (ดำเนินงานตามแผนการดูแลรายบุคคล)
3.ขั้นประเมินผล LTC (ดำเนินงานตามแผนการดูแลรายบุคคล)
๑. อปท.ที่ยังไม่ได้ใช้เงิน LTC ปี ๕๙ - ๖๐ และ ๖๑ สามารถใช้เงินได้หรือไม่ คำตอบ: อปท.สามารถใช้เงินที่ได้รับโอนในปีงบประมาณ ๕๙,๖๐ และ๖๑ ได้ เนื่องจาก หนังสือแสดงความจำนง หน้า ๒ วรรคแรกกล่าวว่า “ถ้าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิได้บอกเลิกหนังสือแสดงความจำนง ให้ถือว่าเวลาดำเนินงานตามหนังสือแสดงความจำนงนี้ขยายออกไปอีกทุกๆ หนึ่งปีงบประมาณ” ๒. แล้วอปท.ต้องทำอย่างไร คำตอบ: ๑.ประสานให้หน่วยจัดบริการบันทึกรายชื่อผู้สูงอายุเข้าโปรแกรม LTC เลือก “ไม่ขอรับงบปีปัจจุบัน” ๒.อปท.เข้าไปยืนยันข้อมูลผู้สูงอายุในโปรแกรม LTC แล้ว พิมพ์รายชื่อผู้สูงอายุเพื่อขออนุมัติต่อ คณะอนุกรรมการ LTC ต่อไป ๓.ประสานให้หน่วยจัดบริการ จัดทำ แผนการดูแลรายบุคคล (CP)ตามรายชื่อผู้สูงอายุ ข้อ ๒ ๔.คณะอนุกรรมการ LTC พิจารณาและอนุมัติโครงการ แผนการดูแลรายบุคคล (CP)รวมถึงค่าใช้จ่าย ตามแผนการดูแลรายบุคคล (CP)เท่านั้นตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยระยะเวลาดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุ ต้องครบ ๑๒ เดือน ๕. อปท.จัดทำข้อตกลงการจัดบริการฯกับหน่วยจัดบริการ เมื่อหัวหน้าหน่วยงานลงนามทั้งสองฝ่ายแล้ว ๖. อปท.โอนเงินให้หน่วยจัดบริการแล้วเรียกใบเสร็จรับเงินจากหน่วยจัดบริการ
แผลกดทับ ผู้ป่วยมีปัญหาบางครั้งกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้ 3.ต้องการผ้าอ้อมอนามัยสำเร็จรูปและที่นอนลม ครอบครัวต้องการสนับสนุนผ้าอ้อมอนามัยสำเร็จรูป ต้องระบุปัญหา
๑. อปท.ที่ยังไม่ได้ใช้เงิน LTC ปี ๕๙ - ๖๐ และ ๖๑ สามารถใช้เงินได้หรือไม่ คำตอบ: อปท.สามารถใช้เงินที่ได้รับโอนในปีงบประมาณ ๕๙,๖๐ และ๖๑ ได้ เนื่องจาก หนังสือแสดงความจำนง หน้า ๒ วรรคแรกกล่าวว่า “ถ้าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิได้บอกเลิกหนังสือแสดงความจำนง ให้ถือว่าเวลาดำเนินงานตามหนังสือแสดงความจำนงนี้ขยายออกไปอีกทุกๆ หนึ่งปีงบประมาณ” ๒. แล้วอปท.ต้องทำอย่างไร คำตอบ: ๑.ประสานให้หน่วยจัดบริการบันทึกรายชื่อผู้สูงอายุเข้าโปรแกรม LTC เลือก “ไม่ขอรับงบปีปัจจุบัน” ๒.อปท.เข้าไปยืนยันข้อมูลผู้สูงอายุในโปรแกรม LTC แล้ว พิมพ์รายชื่อผู้สูงอายุเพื่อขออนุมัติต่อ คณะอนุกรรมการ LTC ต่อไป ๓.ประสานให้หน่วยจัดบริการ จัดทำ แผนการดูแลรายบุคคล (CP)ตามรายชื่อผู้สูงอายุ ข้อ ๒ ๔.คณะอนุกรรมการ LTC พิจารณาและอนุมัติโครงการ แผนการดูแลรายบุคคล (CP)รวมถึงค่าใช้จ่าย ตามแผนการดูแลรายบุคคล (CP)เท่านั้นตามเอกสารหมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยระยะเวลาดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุ ต้องครบ ๑๒ เดือน ๕. อปท.จัดทำข้อตกลงการจัดบริการฯกับหน่วยจัดบริการ เมื่อหัวหน้าหน่วยงานลงนามทั้งสองฝ่ายแล้ว ๖. อปท.โอนเงินให้หน่วยจัดบริการแล้วเรียกใบเสร็จรับเงินจากหน่วยจัดบริการ
๓.กรณีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเสียชีวิตต้องทำอย่างไร ๓.กรณีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเสียชีวิตต้องทำอย่างไร 1.กรณีเสียชีวิตก่อนส่งแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ให้หน่วยจัดบริการ หาผู้สูงอายุที่มีภาวะพิงพึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพรายใหม่แทน บันทึกในโปรแกรม LTC เลือก “ลงทะเบียนแบบทดแทน”แล้วดำเนินการพิจารณาและอนุมัติต่อไป 2.กรณีเสียชีวิตภายหลังส่งแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแผนการดูแลรายบุคคลและค่าบริการเหมาจ่ายตามชุดสิทธิประโยชน์แนบท้ายประกาศคณะกรรมการฯ พ.ศ.2561 อปท.ยังไม่ได้จัดทำข้อตกลงบริการและโอนเงินสนับสนุนให้หน่วยจัดบริการ หน่วยจัดบริการต้องหาผู้สูงอายุที่มีภาวะพิงพึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพรายใหม่แทน บันทึกในโปรแกรม LTC เลือก “ลงทะเบียนแบบทดแทน”แล้วดำเนินการพิจารณาและอนุมัติต่อไป
๓.กรณีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเสียชีวิตต้องทำอย่างไร (ต่อ) 3. กรณีเสียชีวิตภายหลังที่หน่วยจัดบริการได้รับเงินสนับสนุนเพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ จากอปท.แล้ว • หน่วยจัดบริการ สรุปแผนการดูแลรายบุคคลของผู้สูงอายุที่เสียชีวิต แล้วรายงานการเสียชีวิตผู้สูงอายุที่มีภาวะพิงพึ่งรายใหม่ให้อปท.ทราบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจ่ายค่าจ้างเหมาบริการรายเดือนของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพิงพึ่ง ( Care Giver) พร้อมจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลผู้สูงอายุรายใหม่ที่ขอทดแทน จนครบจำนวนเดือน ทั้งนี้หากไม่กระทบต่อค่าจ้างเหมาของ CG และไม่มีผู้สูงอายุรายใหม่ ถือเป็นอันสิ้นสุดการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุที่เสียชีวิตรายนั้น • อปท. นำเข้าการประชุม คณะอนุกรรมการ LTC เพื่ออนุมัติ ต่อไป
๔. หน่วยจัดบริการไม่มี CM สามารถขอรับงบประมาณ LTC ได้หรือไม่ คำตอบ : ได้ โดยขอให้ CM พื้นที่ใกล้เคียงมาทำแผนการดูแลรายบุคคล (CP) ให้ และ มอบหมายให้บุคลากรสาธารณสุขพื้นที่นั้นดูแลการปฏิบัติงานของ CG แทน หากผู้สูงอายุมีการปัญหาด้านสุขภาพหรือเปลี่ยนแปลงต้องแจ้งให้ CM ทราบ เพื่อประเมินสภาพและปรับแผนการดูแลรายบุคคล (CP) ต่อไป ๕. หน่วยจัดบริการไม่มี CM สามารถเบิกค่าใช้จ่าย ได้หรือไม่ คำตอบ : ได้ โดยเบิกค่าใช้จ่ายตามแผนการดูแลรายบุคคล (CP) ตามที่ CM ระบุใน CP ได้
๖. เมื่อดำเนินการครบ ๑๒ เดือนแล้วต้องทำอย่างไร คำตอบ : หน่วยจัดบริการต้องรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการจ่ายเงิน ตามโครงการ และ แผนการดูแลรายบุคคล ( CP) ที่ได้รับการอนุมัติต่อคณะอนุกรรมการ LTC ถือเป็นอันสิ้นสุด และเก็บไว้เพื่อการตรวจสอบ และบันทึกผลการประเมิน ADL ของผู้สูงอายุในโปรแกรม LTC ๗. เงินเหลือต้องคืนกองทุน LTC หรือไม่ คำตอบ : ไม่ต้องคืน เนื่องจากเงินกองทุน LTC เป็นการจ่ายแบบเหมาจ่ายค่าบริการ/ราย/ปี และ เป็นเงินหมวดหมุนเวียน เงินที่เหลือจึงตกเป็นเงินบำรุงของหน่วยจัดบริการต่อไป ๘. เงินเหลือในบัญชีกองทุน LTC ต้องทำอย่างไร คำตอบ : หากเงินเหลือในบัญชีเพียงพอในการใช้งบประมาณในปีถัดไป สามารถไม่ขอรับงบประมาณ ในปีนั้นได้
ตัวอย่างแบบรายงานผลการดำเนินงาน ระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
1.การลงทะเบียนและตรวจสอบการได้รับงบประมาณจาก สปสช. ความหมายของสีและตัวอักษร ตัวอักษรสีแดง : เสียชีวิต ตัวอักษรสีเขียว : มีสิทธิรับงบ LTC ตัวอักษรสีฟ้า : ไม่เข้าเงื่อนไขการรับงบ LTC เช่น อายุไม่ถึง 60 ปี, สิทธิอื่น, หรือADL>11 ตัวอักษรสีดำ : รอการยืนยันจากอปท. CP : ผู้สูงอายุรายนี้ได้รับบริการตาม CP แล้วไม่สามารถขอรับงบใหม่ได้หากยังไม่ครบการให้บริการ 9 เดือน : ผู้สูงอายุได้รับการโอนเงินจากสปสช.แล้วไม่สามารถแก้ไขข้อมูลและขอรับงบประมาณในปีนั้นได้ ปลดล็อค : แสดงว่าผู้สูงอายุรายนั้นได้มีการยืนยันจากอปท.แล้ว หากยังไม่มีการโอนเงินสามารถแก้ไขข้อมูลได้แต่โอนเงินแล้วสัญลักษณ์ปลดล็อคจะหายไปและไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ไม่พบข้อมูล : ไม่มีรายชื่อผู้สูงอายุอยู่ในฐานทะเบียนสปสช. ให้แจ้งเพิ่มรายชื่อได้ที่ 1330 กด 5 กด 3
นางจินตนา แววสวัสดิ์ 090 – 197 -519-4 jintana.w@nhso.go.th Id line: jtn_w