1 / 13

สรุปความสอดคล้องระหว่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์โรงเรียน ตัวบ่งชี้ และโครงการ

สรุปความสอดคล้องระหว่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์โรงเรียน ตัวบ่งชี้ และโครงการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการโรงเรียน กันทรารมณ์ ปีงบประมาณ 2562. 10. กลยุทธ์ระดับแผนงาน ( 10 โครงการ) โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

mstrickland
Download Presentation

สรุปความสอดคล้องระหว่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์โรงเรียน ตัวบ่งชี้ และโครงการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปความสอดคล้องระหว่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลยุทธ์โรงเรียน ตัวบ่งชี้ และโครงการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการโรงเรียนกันทรารมณ์ ปีงบประมาณ 2562

  2. 10. กลยุทธ์ระดับแผนงาน (10 โครงการ) • โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 • โครงการพัฒนาระเบียบวินัย ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ • โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • โครงการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 • โครงการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครู • โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา • โครงการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ • โครงการพัฒนาระบบงานด้วยระบบคุณภาพ • โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา • โครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

  3. กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 • มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน • โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 • เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การทำงานและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เท่าทันการใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ • ตัวบ่งชี้ที่ 1ผู้เรียนมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการทำงานร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการเชิงนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม • ตัวบ่งชี้ที่ 2ผู้เรียนมีทักษะการปรับตัว รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก มีเป้าหมายการเรียนรู้ เป้าหมายชีวิตการทำงาน การประกอบอาชีพ และกำกับดูแลตนเองด้วยความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย • ตัวบ่งชี้ที่ 3ผู้เรียนมีผลงานการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ การออกแบบ สื่อสาร นำเสนอ แลกเปลี่ยนผลงานตามความถนัดและความสนใจ เผยแพร่และนำไปใช้จริงตรงตามความต้องการของชุมชน • ตัวบ่งชี้ที่ 4ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสาร อ่าน เขียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างประเทศที่ 2 และความสามารถในการคิดคำนวณตามเกณฑ์ของแต่ละระดับชั้น • ตัวบ่งชี้ที่ 5ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ มีสุนทรียภาพ และสามารถป้องกันตนเองจากภัยสังคม • ตัวบ่งชี้ที่ 6ผู้เรียนมีความเข้าใจ ใช้สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการเข้าถึงองค์ความรู้เพื่อการเรียนรู้ การสื่อสาร การดำเนินชีวิต และมีจริยธรรมในการใช้สื่อ

  4. กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน 2) โครงการพัฒนาระเบียบวินัย ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ การทำงานและด้านศีลธรรม เป็นไปตามคุณลักษณะตามหลักสูตรสถานศึกษาและค่านิยม 12 ประการ ตัวบ่งชี้ที่ 7ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ การทำงานและด้านศีลธรรม เป็นไปตามคุณลักษณะตามหลักสูตรตลอดจนค่านิยม 12 ประการ ตามที่สถานศึกษากำหนด ตัวบ่งชี้ที่ 8ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและมีความภูมิใจในท้องถิ่นบนความแตกต่างกันของวัฒนธรรม เห็นคุณค่าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย แสดงออกได้อย่างเหมาะสม

  5. กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 • มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน • 3) โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและนำผลการประเมินระดับชาติมาปรับปรุงพัฒนาตามกลุ่มศักยภาพผู้เรียน • ตัวบ่งชี้ที่ 9ผู้เรียนมีความก้าวหน้าด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่าง ๆ ตามหลักสูตร มีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ • ตัวบ่งชี้ที่ 10ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และคะแนนเฉลี่ยผลการสอบวัดระดับชาติ (O-net) ระดับชั้นม.3 และระดับชั้น ม.6 ในสาระการเรียนรู้มีพัฒนาการสูงขึ้น

  6. กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู • มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • 4) โครงการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 • เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รองรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ Active Learning ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร • ตัวบ่งชี้ที่ 21ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามกระบวนการ Active Learning ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร • ตัวบ่งชี้ที่ 22ครูมีการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ Active Learning การศึกษาและสร้างองค์ความรู้ (IS) บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ (STEM) โดยยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น • ตัวบ่งชี้ที่ 23ครูมีเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่อิงมาตรฐานและตัวชี้วัด • ตัวบ่งชี้ที่ 24ครูมีบันทึกผลการเรียนรู้ และวิจัยในชั้นเรียนที่แสดงศักยภาพ ทักษะ ความรู้ และคุณลักษณะนิสัยเป็นไปตามเกณฑ์ของตัวชี้วัดรายวิชา ในแต่ละกลุ่มศักยภาพของผู้เรียนที่นำผลย้อนกลับไปปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง • ตัวบ่งชี้ที่ 25ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ Project based Learning ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลิตงานอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานความพอเพียง • ตัวบ่งชี้ที่ 26ครูมีทักษะในการใช้สื่อ เทคโนโลยี ในการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรรายวิชา • ตัวบ่งชี้ที่ 27ครูสามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร และการจัดการเรียนการสอน

  7. กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู • มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • 5 ) โครงการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครู • เพื่อพัฒนาศักยภาพและจรรยาบรรณทางวิชาชีพครูโดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ • ตัวบ่งชี้ที่ 28 ครูมีการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครูและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีแผนการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูเป็นรายบุคคล (ID PLAN) ผ่านกระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) • กลยุทธ์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพถานศึกษาสู่มาตรฐานสากล • มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้ผู้บริหารสถานศึกษา • 5 ) โครงการพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครู • เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าสมรรถนะวิชาชีพครูและสนับสนุนสวัสดิการครูให้ตรงความต้องการเป็นรายบุคคล • ตัวบ่งชี้ที่ 18โรงเรียนมีแผนการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู สวัสดิการเป็นรายบุคคล และมีการบันทึกข้อมูลผลงานเชิงประจักษ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานรายปี

  8. กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามกลุ่มศักยภาพนักเรียน • มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้ผู้บริหารสถานศึกษา • 6) โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา • เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารองรับกลุ่มศักยภาพผู้เรียน มีระบบงานแนะแนวและจัดวางเส้นทางศึกษาต่อสู่การประกอบอาชีพ • ตัวบ่งชี้ที่ 11โรงเรียนมีแผนการเรียนรองรับเป้าหมายชีวิตของกลุ่มศักยภาพผู้เรียนสู่เส้นทางการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ • ตัวบ่งชี้ที่ 12โรงเรียนมีระบบแนะแนวการศึกษา แนะแนวอาชีพ และแนะแนวทักษะชีวิต และจัดทำระเบียนสะสม และแฟ้มสะสมผลงานเส้นทางการศึกษาต่อสู่การประกอบอาชีพ (Career Path fort folios)

  9. กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามกลุ่มศักยภาพนักเรียน • มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้ผู้บริหารสถานศึกษา • 7) โครงการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ • เพื่อจัดหาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ แหล่งเรียนรู้ สิ่งอำนวยความสะดวก ในการเข้าถึงความรู้และแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ตัวบ่งชี้ที่ 13โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ สิ่งอำนวยความสะดวก รองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและนักเรียน • ตัวบ่งชี้ที่ 14โรงเรียนมีห้องปฏิบัติการ ห้องสืบค้นความรู้ ที่มีระบบเทคโนโลยีการเข้าถึงความรู้ แหล่งเรียนรู้ และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ • ตัวบ่งชี้ที่ 15โรงเรียนจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ยึดโยงกับบริบทชุมชนและท้องถิ่น

  10. กลยุทธ์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพถานศึกษาสู่มาตรฐานสากล • มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้ผู้บริหารสถานศึกษา • 8) โครงการพัฒนาระบบงานด้วยระบบคุณภาพ • เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การจัดการความรู้ (KM) การวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และระบบประกันคุณภาพ ระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน • ตัวบ่งชี้ที่ 16โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพในการบริหารจัดการครอบคลุมภารกิจทุกด้าน และมีการจัดการความรู้ (KM) เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ • ตัวบ่งชี้ที่ 17โรงเรียนมีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และมีระบบการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา ที่สะท้อนความก้าวหน้าของพันธกิจ เป้าประสงค์

  11. กลยุทธ์ที่ 4 ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาสู่มาตรฐานสากล • มาตรฐานที่ 4 ระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล • 9) โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา • เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การจัดการความรู้ (KM) การวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และระบบประกันคุณภาพ ระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน • ตัวบ่งชี้ที่ 29 โรงเรียนใช้ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อยกระดับการจัดการคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและครบองค์ประกอบ

  12. กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา • 10) โครงการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน • เพื่อพัฒนาภาคีเครือข่ายความร่วมมือสถาบันการศึกษา สถานประกอบการ กลุ่มอาชีพอิสระและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดความต้องการและสนับสนุนการจัดการศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกประสบการตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • ตัวบ่งชี้ที่ 19โรงเรียนมีระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณะกับบุคคลหน่วยงาน ชุมชน ท้องถิ่นที่แสดงความพึงพอใจในการเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือ • ตัวบ่งชี้ที่ 20โรงเรียนมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถานประกอบการ กลุ่มอาชีพอิสระ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดความต้องการการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

More Related