440 likes | 637 Views
กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมปศุสัตว์ การประชุมขับเคลื่อนและสรุปผลสำเร็จการดำเนินงานปี ๒๕๕๖ และชี้แจงแผนเงิน/แผนงานปี ๒๕๕๗ วันที่ ๑๑-๑๓ กันยายน ๕๖. สรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจสอบพบและข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๖. ประเด็นความเสี่ยงสำคัญ. จากการตรวจพบในการเข้าตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖
E N D
กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมปศุสัตว์ การประชุมขับเคลื่อนและสรุปผลสำเร็จการดำเนินงานปี ๒๕๕๖ และชี้แจงแผนเงิน/แผนงานปี ๒๕๕๗ วันที่ ๑๑-๑๓ กันยายน ๕๖ สรุปผลการตรวจสอบข้อตรวจสอบพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๖
ประเด็นความเสี่ยงสำคัญประเด็นความเสี่ยงสำคัญ • จากการตรวจพบในการเข้าตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ • จากการตอบแบบสำรวจระบบการควบคุมภายใน การปฏิบัติงานของหน่วยงาน • จากการให้คำปรึกษา / หารือ
การเบิกจ่าย-เงิน • นำค่าใช้จ่ายของปีก่อนมาเบิกจ่ายในปีปัจจุบัน • ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมือได้รับใบแจ้งหนี้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด) • ระเบียบการเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๗ “ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณของปีนั้นไปจ่าย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจ่ายในปีงบประมาณนั้นได้ทัน ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณของปีถัดไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นต้องไม่เป็นการก่อหนี้ผู้พันเกินกว่างบประมาณที่ได้รับอนุมัติ และให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด”
การเบิกจ่าย-เงิน • นำค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานราชการมาเบิกจากทางราชการ หรือเป็นรายการที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้เบิกได้ • เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับบ้านพักข้าราชการที่มีผู้พักอาศัยซึ่งต้องเป็นรับผิดชอบเอง มาเบิกจากทางราชการไม่ได้
การเบิกจ่าย-เงิน เบิกค่าใช้จ่ายผิดประเภท นำค่าใช้จ่ายงบลงทุนมาเบิกจากงบดำเนินงาน ค่าวัสดุ • การจัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะคงทน แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด ไม่เกิน 5,000 บาท (เบิกจากงบดำเนินงาน ค่าวัสดุ ได้) • การจัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะคงทน แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด เกิน 5,000 บาท (เบิกงบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ )
การเบิกจ่าย-เงิน • การเพิ่มประสิทธิภาพ (up grade) คอมพิวเตอร์ในเครื่องเดียว ถ้ารวมกันทุกรายการเกิน ๕,๐๐๐ บาท ต้องเบิกจ่ายจากงบลงทุน (งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์) • รายการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ครุภัณฑ์ ที่มีวงเกิน 5,000 บาท (งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์) • รายการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 50,000 บาท (งบลงทุน ค่าที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง)
การเดินทางไปราชการและเข้ารับการฝึกอบรมการเดินทางไปราชการและเข้ารับการฝึกอบรม • มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่เหมาะสม ใช้ระยะเวลามากเกินความจำเป็น • เป็นการเดินทางที่กระทรวงการคลังไม่ถือเป็นการเดินทางไปราชการชั่วคราว ที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ • การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา ที่ผู้จัดออกค่าใช้จ่ายให้ แต่นำมาเบิกเกินสิทธิ์ โดยขาดการสอบทาน
การเบิกจ่าย-เงิน • มีการแก้ไขใบขออนุญาตเดินทาง เพิ่มเติม หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว เช่นเปลี่ยนแปลง วันที่เดินทาง ผู้ร่วมเดินทาง • ระยะเวลาในการเดินทางที่ขอเบิกเงินไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ • การขออนุญาตใช้รถในการเดินทางไม่ตรงกับการเดินทางไปราชการจริง
การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ของมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ถูกต้อง • ปริญญาตรี ปวส.เอกชน ระเบียบกำหนดให้เบิกครึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลัง กำหนด แต่นำมาเบิกทั้งหมด โดยไม่หารครึ่งก่อน
การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่ารักษาพยาบาล เกินสิทธิ์ • ไม่ได้ทำการตรวจสอบ สิทธิ์การเบิกจ่ายค่า รักษาพยาบาล ตามรหัสค่าบริการสาธารณสุข ที่กระทรวงการคลังกำหนด ทำให้มีการเบิกเงินเกินกว่าที่กำหนดให้เบิกจ่ายได้
การเบิกจ่ายเงิน • การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ไม่จัดทำการออกใบสั่งซื้อในระบบ GFMIS (PO) เพื่อวางฎีกาจ่ายตรงให้แก่ผู้ขาย ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ของส่วนราชการ • เบิกผิดศูนย์ต้นทุน • เจ้าหนี้เรียกเก็บเงินเกินกว่าบริการที่ได้รับ หน่วยงานขาดการสอบทานเอกสารหลักฐานก่อนเบิกจ่ายเงิน
การเบิกจ่ายเงิน • การเสนอเซ็นเช็คไม่ได้แนบใบสำคัญประกอบรายการทุกครั้ง มีความเสี่ยงต่อจ่ายเงินที่ไม่มีรายการค่าใช้จ่ายจริง • จ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่ติดตามใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายแนบประกอบใบสำคัญคู่จ่ายให้ครบถ้วน • ไม่ได้ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว”รับรองการจ่ายเงินตามที่ระเบียบกำหนด เสี่ยงต่อการนำมาเบิกซ้ำได้
การเบิกจ่ายเงิน • บันทึกรายการก่อหนี้ผูกพัน/ขอเบิกเงินในทะเบียนคุมเงินประจำงวดตอนสิ้นเดือน ทำให้ไม่ทราบยอดวงเงินที่สามารถใช้จ่ายได้ที่แท้จริง • การเบิกจ่ายเงินไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามภารกิจของกิจกรรมนั้นๆ • ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์โทรเลข ไม่ได้จ่ายตรงเข้าบัญชีผู้มีสิทธิ์รับเงินโดยตรง ตามที่ระเบียบฯกำหนด เว้นแต่กรณีมีการจ่ายเงินสมทบก็ให้สามรถจ่ายเป็นเช็คได้
การเบิกจ่าย-เงิน หลักฐานการจ่ายเงิน • การจัดเก็บเอกสารหลักฐานใบสำคัญคู่จ่ายล่าช้า ไม่เรียบร้อย เสี่ยงต่อการสูญหาย หลักฐานการเบิกจ่าย ไม่ครบถ้วน ซึ่งหน่วยงาน จะต้องส่งเงินคืนคลังเท่ากับจำนวนเงินตามใบสำคัญที่สูญหาย
การเบิกจ่าย-เงิน สาเหตุการปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง • การตรวจสอบความถูกต้อง และครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายว่า เป็นไปตามระเบียบฯที่กำหนดไม่เคร่งครัด ทำให้มีการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน • เจ้าหน้าที่ ไม่ติดตาม ศึกษาและทำความเข้าใจในระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง • เบิกจ่ายเงินตามระเบียบที่ยกเลิกไปแล้ว
การเบิกจ่าย-เงิน • สาเหตุการปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ขาดการควบคุม อย่างเพียงพอ • ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมเงินงบประมาณ /เงินประจำงวดส่วนจังหวัด เพี่อใช้ในการควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับ ตามต้นทุนกิจกรรม ทำให้ไม่ทราบว่าในแต่ขณะมีเงินงบประมาณแต่ละกิจกรรมคงเหลือสามารถเบิกจ่ายได้อยู่เท่าไหร่ เสี่ยงต่อการเบิกจ่ายเงินเกินกว่างบประมาณที่ได้รับ เบิกค่าใช้จ่ายไม่สอดคล้องกับภารกิจและไม่สามารถบริหารงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การใช้ใบเสร็จรับเงิน • ยกเลิกใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่มีใบเสร็จรับเงินฉบับสีขาว ซึ่งเป็นฉบับที่ต้องให้ผู้ชำระเงิน แนบประกอบ (ใบเสร็จรับเงินฉบับที่ยกเลิกต้องให้ติดคงไว้ในเล่มให้ครบชุด ทั้งต้นฉบับและสำเนาทุกฉบับ) • ใบเสร็จรับเงินกรมปศุสัตว์ (กปศ.๑๔) สูญหาย
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง • ไม่ได้บันทึกรายการรับจ่ายเงิน ในระบบ GFMIS ภายในที่เกิดรายการ ทำให้รายงานทางการเงินในระบบ ไม่ตรงกับเอกสารหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง • รายงานเงินคงเหลือประจำวัน ที่ส่งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ไม่ตรงกับเงินคงเหลือในระบบ GFMIS
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง • ทุกสิ้นวันไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเงินรายได้ที่จัดเก็บว่าครบถ้วนถูกต้อง กับเอกสารหลักฐานและรายงานในระบบ และลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้าย ทำให้มีความเสี่ยง ต่อเงินของทางราชการ สูญหาย ขาดบัญชี
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง • รายได้แผ่นดิน นำส่งเงินล่าช้า ไม่เป็นไประยะเวลาตามระเบียบ กำหนด • ขาดการสอบทานความถูกต้องของรายงาน การจัดเก็บและนำส่งเงินรายได้แผ่นดินจากระบบ GFMIS เป็นประจำทุกสิ้นเดือน กับรายการรับและนำส่งเงินที่หน่วยงานดำเนินการ
การจัดซื้อจัดจ้าง • ขาดการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง พบการจัดซื้อบ่อยครั้งมาก ทำให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการจัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารการขอเบิกจ่ายเงินใบสำคัญคู่จ่าย และต้องบันทึกรายการควบคุมพัสดุ หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนไม่มีเวลาพัฒนาตัวเองไม่มีเวลาศึกษาทำความเข้าใจในระเบียบที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง • ขาด Spec ไม่ระบุราคาจัดซื้อครั้งก่อนหรือราคาที่จัดซื้อครั้งสุดท้ายใน ระยะเวลา ๒ ปี ตามรายการที่กำหนดไว้รายงานขอซื้อขอจ้างข้อ ๒๗ ขอระเบียบพัสดุ และขาดคู่เทียบราคา • เข้าลักษณะการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง โดยเฉพาะ ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุวิทยาและการแพทย์
การจัดซื้อจัดจ้าง การสอบราคา • ไม่มีส่งเอกสารไปยังผู้ประกอบอาชีพโดยตรง ตามระเบียบพัสดุ • กำหนดวันเปิดซองสอบราคา ทับซ้อนกับวันที่กำหนดให้ยื่นซองวันสุดท้าย
หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญาหลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา • กรณีหลักประกันซอง/หลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันธนาคาร ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคารสาขาผู้ออกหนังสือค้ำประกันรับทราบและยืนยันมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
การจัดซื้อจัดจ้าง • การจ้างไม่ติดอากร ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด • แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ครบตามระเบียบ ตั้งคนที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นกรรมการตรวจรับ • แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ/งานจ้าง แบบถาวร (ต้องแต่งตั้งเป็นครั้ง ๆไป)
การรับประกันความชำรุดบกพร่องการรับประกันความชำรุดบกพร่อง • การรับประกันความชำรุดบกพร่อง ในงานก่อสร้าง เพียง ๑ ปี • มติ ครม.กำหนด ให้งานจ้างก่อสร้างต้องรับประกันความชำรุดบกพร่อง ไม่น้อยกว่า ๒ ปี • การจ้างก่อสร้าง หมายรวมถึง งานเคลื่อนย้ายอาคาร งานดัดแปลง งานต่อเติม งานรื้อถอน งานซ่อมแซม ซึ่งส่วนราชการเห็นว่ามีความสำคัญจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งผู้ควบคุมงาน
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • การบันทึกรายการวัสดุ ครุภัณฑ์ไม่เรียบร้อย • วัสดุรับมาจ่ายหมด ไม่มีของคงเหลือ แต่ของจริงเหลือจำนวนมาก ทำให้ขาดการควบคุม เสี่ยงต่อการสูญหาย เสียหาย • ระบบการจัดเก็บวัสดุ ไม่ใช้ระบบ เข้าก่อน ออกก่อน หรือหมดอายุก่อนเบิกจ่าย เพื่อป้องกันวัสดุ เก่าเก็บเสื่อมคุณภาพ ก่อนเบิกใช้ โดยเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ หมดอายุ เสื่อมสภาพ ใช้ไม่ทัน
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • กรณี ที่เบิกจ่ายวัสดุจากพัสดุกลางให้ส่วน/ฝ่าย ทั้งจำนวน แต่ไม่ได้จัดทำบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายวัสดุ บันทึกรายการรับ-จ่ายไม่ถูกต้อง ทำให้วัสดุขาดการควบคุม สูญหาย หมดอายุ • ไม่มีระบบการควบคุมดูแลการเข้า-ออก สถานที่จัดเก็บวัสดุของบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อวัสดุขาดบัญชี ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ขาดการตรวจความถูกต้องของบัญชีหรือทะเบียนคุมวัสดุ กับของจริงเป็นครั้งคราว • ตอนสิ้นปีงบประมาณ ไม่มีการปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในระบบ GFMIS ตามจำนวน/รายการ วัสดุคงเหลือจริง
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ • รหัสครุภัณฑ์ ไม่ได้ติด/เขียนติดตัวครุภัณฑ์ไว้ถูกต้องครบถ้วน ทำให้ทรัพย์สินขาดการควบคุม เสี่ยงต่อการ สูญหาย • ขาดการตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนคุม กับของจริงเป็นครั้งคราว • คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุคงเหลือประจำปี ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบจริง
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนรายการครุภัณฑ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ (เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานงาน สภาพคงทนถาวร แต่ราคาไม่เกิน 5,000 บาท) ขึ้นทะเบียนไม่หมด (ดังนั้นหน่วยงานจะเบิกค่าวัสดุสิ้นเปลือง ที่ต้องใช้กับเครื่องนั้นไม่ได้) • มีครุภัณฑ์ชำรุดรอจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ดำเนินการขออนุมัติจำหน่าย บางส่วนหาซากไม่เจอ เป็นภาระของหน่วยงาน
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ขาดการบันทึกควบคุมการซ่อมแซมบำรุงสินทรัพย์นั้นๆ ทุกครั้ง และไม่ได้แนบประวัติการซ่อมแซมประกอบการพิจารณาสั่งซ่อมบำรุงทุกครั้ง • การรับโอน/การโอนครุภัณฑ์จากหน่วยงานอื่น ไม่มีเอกสารหลักฐาน และไม่ได้ดำเนินการโอนรายการ ในระบบ GFMIS ให้ครบถ้วน ถูกต้อง
รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้รถราชการ และการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง • ไม่ขออนุญาตใช้รถ/ ขออนุญาตเฉพาะไปต่างจังหวัด แต่มีการใช้รถและเติมน้ำมันเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีเนื้องานที่เป็นภารกิจราชการอย่างชัดเจน • การบักทึกการใช้รถ ไม่เรียบร้อย ไม่ครบถ้วน ระยะทางไม่สอดคล้องกับพื้นที่เดินทาง และการเดินทางจริง พบว่ามีการใช้รถเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถหาภารกิจการปฏิบัติงานมาชี้แจงได้ • ไม่บันทึกประวัติการซ่อมแซมรถราชการ ลงบ้างไม่ลงบ้าง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ • สั่งซ่อมรถโดยไม่เคยตรวจสอบประวัติการซ่อม ครั้งก่อน
รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง • ไม่ได้จัดทำสมุดบันทึกการเบิก-จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง • ไม่มีการสำรวจและกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถทุกคัน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการควบคุมการเบิกจ่ายเชื้อเพลิง
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗(ฉบับร่างแผนการตรวจสอบ ฯ) ๑. ตรวจสอบการดำเนินงานหน่วยงาน /โครงการ จำนวน ๑๔เรื่อง/ชุดรายงาน ประกอบด้วย
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • การสอบทานการประเมินผลการวางระบบควบคุมภายใน กรมปศุสัตว์ (รายงานแบบ ปส.) สำหรับปีสิ้นสุด ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ ตามระเบียบฯ สตง. และตามที่กำหนดตามเงื่อนไข ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” จำนวน ๑ เรื่อง/ชุดรายงาน (พย.๕๖)
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • การตรวจสอบรับรองงบการเงิน กองทุนสวัสดิการ กรมปศุสัตว์ (รับรองงบการเงินของกองทุนฯ ให้สำนักงาน กพ.) จำนวน ๒ ชุดรายงาน ๑. การตรวจสอบรับรองงบการเงิน กองทุนสวัสดิการ กรมปศุสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๕ ๒. การตรวจสอบรับรองงบการเงิน กองทุนสวัสดิการ กรมปศุสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๖
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • ตรวจสอบการ เบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ที่ดำเนินการในส่วนกลาง ๑ เรื่อง/ชุดรายงาน • ตรวจสอบการด้านการดำเนินงาน ตามแผนงาน/โครงการ จำนวน ๒ เรื่อง/ชุดรายงาน (ปรับเปลี่ยนตามความเพียงพอของงบประมาณที่ได้จัดสรร)
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • ตรวจสอบหน่วยงานในส่วนภูมิภาค • เป็นหน่วยที่เข้าทำการตรวจสอบในครั้งก่อน ตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป • ประเมินจากผลการสำรวจระบบการควบคุมภายใน การปฏิบัติงาน • นโยบายผู้บริหาร/ เรื่องร้องเรียนฯ
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • โดยดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆ ดังนี้ • ด้านการเงิน • ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ • ด้านการปฏิบัติงาน
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • โดยดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆ ดังนี้ (ต่อ) ๔. ด้านผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด ๕. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ๖. ด้านประสิทธิภาพในการบริหารด้านๆต่างของหน่วยงาน
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ ๒.สรุปผลการตรวจสอบ และติดตามผลการแก้ไขปรับปรุงตามข้อตรวจพบ ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ ตามรายงานผลการตรวจสอบ ของ สตง./ ตรวจสอบภายในจังหวัด / ตรวจสอบภายใน กระทรวงเกษตรฯ ที่เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์ (ประมาณ ) ๒๕ ชุดรายงาน
แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ ๓. การให้คำปรึกษาแนะนำทั่วไป แก่ผู้บริหารและหน่วยรับตรวจ ๔. ปฏิบัติงานภารกิจอื่นๆตามที่อธิบดี มอบหมาย