1 / 18

ระบบห่อหุ้มร่างกาย

ระบบห่อหุ้มร่างกาย. ระบบ ห่อหุ้มร่างกายของ คนเราประกอบด้วย ผิวหนังขนและเล็บโดยมีผิวหนังเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดมีหน้าที่หลายประการทั้งช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกป้องกันอวัยวะภายใน ป้องกันเชื้อโรคบางชนิด ป้องกันไม่ให้น้ำออกจากร่างกายมากเกินไป ป้องกันการเผา ไหม้ของแสงอาทิตย์และยังควบคุม ปริมาณ

Download Presentation

ระบบห่อหุ้มร่างกาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบห่อหุ้มร่างกาย

  2. ระบบห่อหุ้มร่างกายของคนเราประกอบด้วยผิวหนังขนและเล็บโดยมีผิวหนังเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดมีหน้าที่หลายประการทั้งช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกป้องกันอวัยวะภายใน ป้องกันเชื้อโรคบางชนิด ป้องกันไม่ให้น้ำออกจากร่างกายมากเกินไป ป้องกันการเผาไหม้ของแสงอาทิตย์และยังควบคุมปริมาณ ความร้อนหนาวของร่างกายอีกด้วย

  3. ผิวหนัง เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดซึ่งห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ปกติผิวหนังมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 16 ของน้ำหนักตัว โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่ผิวหนังมีน้ำหนังประมาณ 3 กิโลกรัม มีพื้นที่ผิวหนังประมาณ 2 ตารางเมตร และใช้เลือดมาหล่อเลี้ยงประมาณหนึ่งในสามของเลือดในร่างกาย ผิวหนังจะมีความหนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ถ้าสังเกตผิวหนังจะเห็นร่องเล็กๆเต็มไปหมด โดยเฉพาะฝ่ามือและฝ่าเท้า ร่องเหล่านี้จะมีการเรียงตัวเป็นระบบ และที่ปลายนิ้วมือจะมีลักษณะเฉพาะตัวของ แต่ละบุคคล ที่เรียกว่ารอยนิ้วมือ เนื่องจากการเรียงตัวของชั้นผิวหนัง ที่มีลักษณะเป็นคลื่นไม่ราบเรียบเสมอกัน ลายมือของ แต่ละคนไม่เปลี่ยนแปลงลายมือจึงใช้พิสูจน์บุคคลได้

  4. ผิวหนังประกอบด้วย 2 ชั้น คือ1. หนังกำพร้า เป็นผิวหนังชั้นที่อยู่นอกสุด ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิวที่เซลล์ตายแล้วเรียงตัวกันหลายชั้น มีความหนาประมาณ 0.04-1.6 มิลลิเมตร ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างเป็นแผ่นๆ เมื่อถูจะลอกออกเป็นขี้ไคล เยื่อบุผิวชั้นในสุดของหนังกำพร้าจะมีเลือดมาเลี้ยง ซึ่งเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำหน้าที่ผลิตเซลล์ผิวบุใหม่ขึ้นมาแทนที่เซลล์ที่ตายแล้วไปเรื่อยๆ 2. หนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ข้างใต้ถัดจากหนังกำพร้า มีความหนากว่าชั้นหนังกำพร้าประมาณ 14-40 เท่า ประกอบด้วยเส้นใย ของเนื้อเยื่อบุผิวมากมายหลายชนิดประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและประสานกับกล้ามเนื้อเรียบที่เรียงตัวกันอย่างซับซ้อน กว่าหนังกำพร้า ลักษณะของหนังแท้จะเป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีเส้นประสาท เส้นเลือดฝอย เส้นเลือดฝอย ท่อน้ำเหลือง อวัยวะรับความรู้สึก ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน มาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำให้ผิวหนังมีลักษณะยืดหยุ่นได้ดี ถ้ามีดบาดถึงชั้นหนังแท้จะทำให้เลือดไหลออกมา

  5. หน้าที่ของผิวหนัง • 1. เป็นส่วนที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะซึ่งอยู่ภายในร่างกาย2. เป็นเครื่องสำหรับรับความรู้สึก เช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด ความหนาว3. ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย เช่น เหงื่อ เพื่อให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย4. ช่วยสกัดและขับสิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่ในต่อมของผิวหนัง เช่น ขับเหงื่อและน้ำมันออกจากร่างกาย5. ดูดซึมสารบางอย่างเข้าไปในร่างกาย เช่น ยาทาภายนอก ยาคลายกล้ามเนื้อ6. ป้องกันแสงแดดไม่ให้ผิวได้รับอันตราย7. ช่วยทำให้ความร้อนในร่างกายคงที่อยู่เสมอรักษาอุณหภูมิภาย ในร่างร่างกายให้คงที่8. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย9. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย

  6. การเสริมสร้างการทำงานของระบบผิวหนังการเสริมสร้างการทำงานของระบบผิวหนัง • 1. นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ 2. ออกกำลังกายเป็นประจำ 3. ดื่มน้ำสะอาดมากๆ4. ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน 5. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่6. สวมเสื้อผ้าที่สะอาด พอดีตัว ไม่คับหรือหลวมเกินไป7. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด8. รักษาสุขภาพอย่าให้เป็นแผล9. ทาครีมบำรุงผิวที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับวัย

  7. การดูแลรักษาผิวหนัง • ทุกคนย่อมมีความต้องการมีผิวหนังที่สวยงาม สะอาด ไม่เป็นโรคและไม่เหี่ยวย่นเกินกว่าวัย ฉะนั้นจึงควรดูแลรักษาผิวหนังตัวเอง ดังนี้1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ 2. หลังอาบน้ำแล้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาด 3. กินอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก โภชนาการ 4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 6. ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ 7.ระมัดระวังโนการใช้เครื่องสำอาง เพราะ อาจเกิดอาการแพ้ หรือทำให้ผิวหนังอักเสบ 8. เมื่อมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์

  8. ต่อมไขมัน ต่อมไขมันจะอยู่ในส่วนของหนังแท้ คือเป็นส่วนที่ถัดจากชั้นหนังแท้ จะมีเซลล์ไขมันสำหรับเก็บสะสมไขมันอยู่มาก มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประสานกันหลวมๆ ซึ่งมีหน้าที่เป็นเกาะป้องกันการสะเทือน และคล้ายกับฉนวนกันความร้อน เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อไขมันจะลดลง ทำให้ผิวหนังหดตัวและยุบลงไม่เท่ากัน ส่งผลให้ผิวหนังเหี่ยวย่น และผิวหนังเสียความยืดหยุ่นไปด้วย ปกติคนผอมผิวหนังจะเหี่ยวย่น มากกว่าคนอ้วน ปัจจุบันได้มีการฉีดสารไกลโคเจนซึ่งเป็น สารที่สังเคราะห์มาจากธรรมชาติ โดยฉีดสารไกลโครเจน เข้าใต้ผิวหนังให้หายเหี่ยวย่น แต่ผิวหนังจะคงสภาพอยู่ได้ เพียง 5-6 เดือนเพราะสารไกลโคเจนจะเสื่อมไป

  9. ไขมันที่สร้างจากต่อมไขมัน1. การอักเสบของต่อมสร้างไขมัน บริเวณของรูขุมขนที่มีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคนเรา เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ต่อมสร้างไขมันบริเวณรูขุมขนนี้ มี หน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น บางครั้งมีการสร้างไขมันมากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขนและเกิดการอักเสบ ต่อมาเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้ามา จะทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นหัวสิว หรือตุ่มหนอง จากการศึกษาพบว่าปริมาณของไขมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรุนแรงของสิว2. ตำแหน่งต้นตอที่เกิดสิว คือ ต่อมไขมัน ต่อมไขมันมีหน้าที่ผลิตไขมัน และมีท่อเปิดออกสู่รูขุมขน เพื่อให้ไขมันออกมาหล่อลื่นผิวหนังภายนอก ต่อมไขมันที่แต่ละตำแหน่งของร่างกาย มีขนาดและความหนาแน่น ไม่เท่ากัน บริเวณใบหน้าจะมีต่อมไขมันขนาดใหญ่ และหนาแน่น กว่าบริเวณอื่น เราจึงพบสิวบริเวณใบหน้าได้บ่อย

  10. ต่อมเหงื่อต่อมเหงื่อในร่างกายมีประมาณ 2-4 ล้านต่อม กระจายอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นริมฝีปาก ต่อมเหงื่อมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ต่อมเหงื่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่บริเวณรักแร้ รอบหัวนม และจมูกส่วนนอก โดยปกติร่างกายจะหลั่งเหงื่อแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ต่อมเหงื่อทำหน้าที่หลั่งเหงื่อเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย การหลั่งเหงื่อเป็นการตอบสนองต่อร่างกาย เมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการออกกำลังกายหรือร่างกายได้รับความร้อน เพื่อให้การปรับความสมดุลของร่างกาย ถ้าร่างกายไม่หลั่งเหงื่อจะเกิดภาวะอ่อนเพลีย และถ้าร่างกายหลั่งเหงื่อมากเกินไปจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกายเหงื่อเป็นของเหลวที่ประกอบ ด้วยน้ำ เกลือโซเดียมคลอไรด์ เป็นองค์ประกอบหลัก การหลั่งเหงื่อ ออกจากร่างกายนอกจากได้รับความร้อนแล้ว ยังเกิดจาก ความกลัว ตกใจ ตื่นเต้น ก็จะทำให้เกิดการหลั่งเหงื่อมากขึ้น

  11. ต่อมเหงื่อของคนเราแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ1.ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ที่ผิวหนังทั่วทุกแห่งของร่างกาย ยกเว้นที่ริมฝีปากและที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหงื่อเหล่านี้ติดอยู่กับท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุดต่อมเหงื่อขนาดเล็กนี้สร้างเหื่อแล้วขับถ่ายออกมาตลอดเวลา เนื่องจากมีการระเหยไปตลอดเวลาเช่นกัน 2.ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ ไม่ได้มีอยู่ทั่วร่างกาย พบได้เฉพาะบางที่ ได้แก่ ที่รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก จมูก ที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหล่านี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก และจะเปิดที่รูขนใต้ผิวหนัง ปกติจะไม่เปิด โดยตรงที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมชนิดนี้จะทำงานตอบสนองต่อการ กระตุ้นของจิตใจ สารที่ขับถ่ายจากต่อมชนิดนี้มักมีกลิ่นด้วยซึ่ง ก็คือกลิ่นตัวนั่นเอง

  12. เล็บ ( Nails) เล็บเป็นอวัยวะที่ปกคลุมร่างกาย เล็บประกอบด้วย แผ่นเล็บซึ่งเป็นส่วนของเซลล์ที่ตายแล้ว และส่วนของผิวหนังที่ปกคลุมส่วนต้นของแผ่นเล็บไว้ และเนื้อเยื้อที่อยู่ใต้แผ่นเล็บซึ่งยึดติดแน่นกับแผ่นเล็บ เล็บจะมีการงอกใหม่ตลอดเวลา อัตราการยาวของเล็บโดยเฉลี่ยยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรต่อเดือนสำหรับเล็บมือ ส่วนเล็บเท้าจะยาวประมาณ 1มิลลิเมตรต่อเดือน การเจ็บป่วย การขาดสารอาหาร โรคระบบเลือด หรือเส้นประสาท การกินยาเคมีบำบัด การติดเชื้อราที่เล็บจะทำให้เล็บยาวช้าลง

  13. หน้าที่ของเล็บ1. ป้องกันอันตรายที่เกิดต่อนิ้วส่วนปลาย2. รับความรู้สึก ทำให้ระบบ Tactile discrimination ดีขึ้น3. ทำให้นิ้วมือสามารถหยิบจับสิ่งของได้ดี โดยเฉพาะสิ่งของที่มีขนาดเล็ก4. เป็นอาวุธของร่างกายอย่างหนึ่งตามธรรมชาติในการขีด ข่วน เพื่อต่อสู้อันตราย5. เล็บนิ้วเท้าช่วยในการเคลื่อนไหวของเท้าได้ดียิ่งขึ้น

  14. ขนหรือผม (Hairs)ขนเป็นส่วนที่ปกคลุมอยู่ตามร่างกายถ้าปกคลุมอยู่ที่ศีรษะเรียกว่าผมขนหรือผมจะมีรูขุมขนซึ่งเป็นที่อยู่ของขนที่เจริญมาจากหนังกำพร้าที่ยื่นลงไปในชั้นหนังแท้ขนหรือผมจะมีสีความหนาบางขึ้นอยู่กับเชื้อชาติอายุเพศและพันธุกรรมเส้นขนหรือเส้นขน

  15. หน้าที่ของผมคือ1. ป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียความร้อน2. ป้องกันไม่ให้ผิวหนังได้รับอันตราย3. ผมในบางตำแหน่ง เช่น ขนตา ขนคิ้ว ขนรูจมูก จะช่วยป้องกันอวัยวะเหล่านั้นจากอันตราย นอกจากนี้ ผมบนศีรษะยังช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดทำลายผิวหนังบนศีรษะ4. เป็นอวัยวะรับความรู้สึกชนิดหนึ่ง ซึ่งในรูขุมขนจะมีเส้นประสาทมากมายที่รับความรู้สึก เมื่อมีแรงกดบนผม5. เป็นตัวนำสารออกจากร่างกายเช่นไขมัน และเหงื่อ 6. เป็นส่วนสำคัญต่อบุคลิกลักษณะของร่างกาย ช่วยดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม

  16. ขนและรูขมขนรูขุมขนเป็นส่วนของหนังกำพร้า และหนังแท้ที่ยื่นลึกเข้าไปถึงเนื้อใต้ผิวหนังประกอบเป็นท่อล้อมรอบนากขน ขนมี 3 ชนิด ชุดแรกเป็นขนที่มีลักษณะละเอียดอ่อน ไม่มีสี และขนชุดที่สอง เกิดขึ้นแทนชุดแรกบริเวณที่มีขนอ่อน เช่นขนตามลำตัว ส่วนขนชุดที่สามเป็นขนที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยร่น มีลักษณะหยาบ สีเข้ม ขึ้นมาทดแทนขนชุดที่สอง ในบางบริเวณ เช่น ขนตา ขนรักแร้ ขนจมูก ขนที่หน้าอก ขนที่คาง ขนที่หัวเข่าเป็นต้น

  17. หน้าที่ของขน1.ป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียความร้อน ป้องกันไม่ให้ผิวหนังเป็นอันตราย ส่วนขนตา ขนคิ้ว ขนรูจมูก จะช่วยป้องกันอวัยวะเหล่านั้นจากอันตราย และผมยังช่วยป้องกันนไม่ให้แสงแดดทำลายหนังศีรษะ2 เป็นอวัยวะรับความรู้สึกสัมผัสชนิดหนึ่ง ซึ่งในรูขุมขนมีเส้นประสาทที่รับความรู้สึกจำนวนมาก เพื่อรับแรงสัมผัสผ่านมากับขน3. เป็นตัวนำสารออกจากร่างกาย เช่นไขมัน เหงื่อ และเกลือแร่ต่างๆ4.รูขุมขนมีบทบาทสำคัญต่อการรักษาความสมดุลของร่างกาย การขยาย ของแผลการคืนสภาพของสีผิวที่หายจากการเป็นแผล หรืออาการแพ้ที่ผิวหนัง5. ขนหรือผมเป็นส่วนสำคัญ ต่อบุคลิก ช่วยให้ดูดี สวยงาม

  18. ผู้จัดทำ นางสาวมาริษา ขจรพฤกษ์ ศษ/ท 53A

More Related