2.41k likes | 2.72k Views
240-101 Introduction to computer programming. บทที่ 1. Introduction to Basic Computer and Internet แนะนำคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น. วัตถุประสงค์. อธิบายความหมาย ส่วนประกอบต่างๆ และพื้นฐานขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ อธิบายระบบการทำงานและการใช้งานบริการในอินเตอร์เน็ตได้.
E N D
บทที่ 1 Introduction to Basic Computer and Internet แนะนำคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น
วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมายส่วนประกอบต่างๆ และพื้นฐานขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้ • อธิบายระบบการทำงานและการใช้งานบริการในอินเตอร์เน็ตได้
1. ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคำนวณหรือประมวลผล ที่ทำงานได้ตามโปรแกรมที่วางไว้ แล้วประมวลผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ - เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC, Personal Computer) ได้แก่ IBM PC, IBM-PC Compatible ได้รับความนิยมในยุคแรก –Macintosh มีจุดเด่นด้านงานพิมพ์
2. ส่วนประกอบของระบบการทำงานในคอมพิวเตอร์ 2.1. ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะของข้อมูลจะเป็นบิต (Bit) มาประกอบกัน ข้อมูล 1 บิตมีเพียงสองสถานะ ใช้สัญลักษณ์ 1 หรือ 0 แทน ซึ่งตรงกับเลขฐานสอง(Binary number) โดยทั่วไปข้อมูลหนึ่งตัวอักษร (Character) หรือเรียกว่า 1 ไบต์(Byte) นั้นประกอบด้วยข้อมูล 8 บิต ดังนั้นข้อมูล 1 ไบต์มีความแตกต่างกัน 28 หรือ 256 แบบ
รหัสแอสกี (ASCII, American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัสสากลที่มีขนาด 1 ไบต์ โดยรหัส ASCII ตั้งแต่ 0-127 ใช้แทนค่าตัวอักขระต่างๆ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรหัสควบคุมพิเศษอื่นๆ เช่น Enter, Backspace, Tab เป็นต้น และ รหัส 128-255 ใช้แทน Graphic Character หรือ ตัวอักษรพิเศษของภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาไทย เป็นต้น 210 Byte หรือ 1,024 Byte เรียกว่า 1 KiloByte (KB) 220 Byte หรือ 1,048,576 Byte เรียกว่า 1 MegaByte (MB) 230 Byte หรือ 1,073,741,824 Byte เรียกว่า 1 GigaByte (GB)
2.2. ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) 1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU, Central Processing Unit) 2. หน่วยความจำหลัก (Main memory) 3. หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออก (Input/Output Unit, I/O Unit) 4. บัส (Bus) 5. นาฬิกา (Clock) 6. อุปกรณ์รอบนอก (Peripheral Devices)
1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU, Central Processing Unit) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ทำหน้าที่เหมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งภายในประกอบด้วย • หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU, Arithmetic and Logic Unit) ทำงานเกี่ยวกับการคำนวณและเปรียบเทียบต่างๆ • หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการทำงานทั้งหมดภายในซีพียู • หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและผลลัพธ์ไว้ภายใน
ซีพียูจะใช้สัญญาณนาฬิกา (Clock Signal) กำหนดจังหวะการทำงาน ดังนั้นการประมวลผลคำสั่งจะเร็วหรือช้าจึงขึ้นกับความถี่ของสัญญาณนาฬิกา และขนาดข้อมูลที่ประมวลผลบน ALUด้วย 80486 ตัวประมวลผลข้อมูลขนาด 32 บิต Clock 25-33 MHz Pentium ตัวประมวลผลข้อมูลขนาด 64 บิต Clock 75 - 233 MHz เป็นต้น
2. หน่วยความจำหลัก (Main memory) ทำหน้าที่เก็บคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และข้อมูลที่ใช้โดยหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ผลลัพธ์จากการประมวลผล • หน่วยความจำแรม (RAM, Random Access Memory) สามารถเขียนและอ่านข้อมูลได้ตลอดเวลา แต่เสียข้อมูลเมื่อขาดไฟฟ้า • หน่วยความจำรอม (ROM, Read Only Memory) อ่านข้อมูลได้เท่านั้น ข้อมูลจะไม่สูญหายแม้ปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะมีการบันทึกในตอนเริ่มต้นโดยบริษัทผู้ผลิตเท่านั้น
หน่วยความจำแคช (Cache)เป็นหน่วยความจำพิเศษ มีความเร็วสูงมาก เก็บข้อมูลที่ CPU ใช้บ่อยๆ ทำให้เสียเวลาน้อยลงในการติดต่อกับหน่วยความจำหลักซึ่งใช้เวลาในการอ่าน-เขียนข้อมูลมากกว่า
3. หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออก (Input/Output Unit, I/O Unit) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการถ่ายเทข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รอบข้างกับหน่วยประมวลผลกลางหรือ หน่วยความจำ หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกยังแบ่งเป็นหน่วยย่อยที่รับผิดชอบเฉพาะอุปกรณ์รอบนอกแต่ละอย่างซึ่งเรียกว่าพอร์ต (port)
พอร์ตรับข้อมูลเข้า (input port) ทำหน้าที่รับข้อมูลอย่างเดียว • พอร์ตส่งข้อมูลออก (output port) ทำหน้าส่งข้อมูลอย่างเดียว • พอร์ตขนาน (parallel port) รับส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิตขนานกัน • พอร์ตอนุกรม (serial port) จะรับส่งข้อมูลทีละบิตเรียงกันจนครบ 8 บิต
4.บัส (Bus) • ทำหน้าที่ถ่ายเทข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ บัสมี 3 ชนิดทำหน้าที่ต่างกันดังนี้ • บัสตำแหน่ง (address bus) ส่งสัญญาณตำแหน่งเพื่อระบุตำแหน่งของหน่วยความจำหรือพอร์ตรับส่ง • บัสควบคุม (control bus) ส่งสัญญาณควบคุมเพื่อคอยรักษาจังหวะการติดต่อระหว่างหน่วยต่างๆ • บัสข้อมูล (data bus) ส่งสัญญาณข้อมูลที่เป็นข้อมูลหรือคำสั่ง
5.นาฬิกา (Clock) ทำหน้าที่ให้จังหวะเพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์สอดคล้องกัน เป็นสัญญาณความถี่ที่แม่นยำโดยใช้ผลึกควอตซ์( quartz) เป็นต้นกำเนิด
6.อุปกรณ์รอบนอก (Peripheral Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับและหรือส่งข้อมูลจากภายนอกคอมพิวเตอร์ให้กับคอมพิวเตอร์ เช่น การป้อนข้อมูลผ่านทางคีย์บอร์ด (keyboard) การแสดงข้อมูลผ่านทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์รวมทั้งการเก็บข้อมูลภายนอกจากหน่วยความจำแรมซึ่งมีราคาแพง ไว้ในหน่วยความจำสำรอง (secondary memory หรือ Auxiliary memory) ได้แก่เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) ฟลอปปี้ดิสก์ (floppy disk) หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk)
รูปแสดงระบบของไมโครคอมพิวเตอร์รูปแสดงระบบของไมโครคอมพิวเตอร์
รูปแสดงส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรูปแสดงส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ส่วนประกอบภายในของเครื่องพีซีสามารถแยกเป็นส่วนๆ ได้แก่ แผงวงจรหลัก (Motherboard หรือ MainBoard), หน่วยประมวลผลกลาง (CPU), ช่องเสียบอุปกรณ์ภายนอก (Expansion Slot), หน่วยความจำหลัก (RAM), หน่วยความจำสำรอง (Floppy Disk, Hard Disk ,CD-ROM Drive), การ์ดแสดงผลจอภาพ (Graphic Card) ,การ์ดเสียง (Sound Card) และ ส่วนภายนอกเครื่องได้แก่ เมาส์ (mouse) ,แป้นพิมพ์ (keyboard), ลำโพง (speaker), จอภาพ (monitor) เป็นต้น
2.3. คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (Software Computer) ระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ ประกอบด้วยสองส่วนสำคัญได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) • ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งมองเห็นได้ จับต้องได้ • ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ ที่นำไปใช้กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้แก่ 1. ระบบปฏิบัติการ (OS, Operating System) เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นโปรแกรมหลักที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และเป็นพื้นฐานสำหรับการทำงานของโปรแกรมอื่นๆ เช่น DOS ( Disk Operating System ), MS-Windows, Windows95, Unix, OS/2 เป็นต้น
2. โปรแกรมประยุกต์ใช้งาน (Application Program) เป็นโปรแกรม ต่างๆ ที่ใช้เพื่อทำงานตามที่ต้องการ ซึ่งจัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ • โปรแกรมสำหรับการสร้างหรือพัฒนาโปรแกรม (Compiler Program) • โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) • โปรแกรมสำหรับการทำงานด้านเอกสาร • โปรแกรมที่จัดการงานด้านฐานข้อมูล (Database Program)
โปรแกรมที่จัดการข้อมูลที่เป็นตาราง (Spread Sheet) • โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์ • โปรแกรมประยุกต์เฉพาะด้านหรือเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program )
3. พื้นฐานการใช้งานอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นกลุ่มเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน ผู้เป็นสมาชิกในอินเตอร์เน็ตจะมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail Address) เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) กับสมาชิกอื่นได้ทั่วโลก หรือติดต่อโต้ตอบกันผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ นอกจากนี้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังสามารถอ่านข่าวจากกระดานข่าวเครือข่ายที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่งมาจากทั่วโลก การขอถ่ายโอนข้อมูลจากศูนย์บริการเครือข่าย และการค้นหาข้อมูลจากเครือข่ายเป็นต้น
สมาคมอินเตอร์เน็ต (Internet Society) ซึ่งมีผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไปเป็นสมาชิก โดยมีส่วนที่ใช้ติดตั้งอินเตอร์เน็ตดังนี้ -เลขที่อยู่อินเตอร์เน็ต (Internet Address) -ชื่อเครื่องในอินเตอร์เน็ต -ระบบชื่อโดเมน (Domain name system) -ที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic-mail address) -ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต -การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต -อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต
4. บริการในระบบอินเตอร์เน็ต ประเภทของการให้บริการสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 2. ขนถ่ายแฟ้มข้อมูล 3. การใช้โปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น 4. บริการค้นหาแฟ้มข้อมูล 5. กลุ่มสนทนาและข่าวสาร 6. บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW)
บทที่ 2 Introduction to C Programmingแนะนำการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี
หัวข้อ 1. แนะนำภาษาซีเบื้องต้น 2. อินพุทและเอาท์พุท 3. เครื่องหมายดำเนินการ
1. แนะนำภาษาซีเบื้องต้น • ตัวแปรในภาษาซี • การเขียนคำอธิบายในภาษาซี • กลุ่มคำในภาษาซี • ตัวแปรในภาษาซี • ตัวประมวลผลก่อน • คำสั่งและนิพจน์ • อินพุทและเอาท์พุท
2. อินพุทและเอาท์พุท • บทนำ • ASCII • ฟังก์ชันแสดงผลข้อมูล • ฟังก์ชันรับค่าข้อมูล • ฟังก์ชันอื่นๆ ที่ใช้ในการรับค่าและแสดงผลข้อมูล
3. เครื่องหมายดำเนินการ • ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ • ตัวดำเนินการสัมพันธ์และตัวดำเนินการตรรกะ • ตัวดำเนินการประกอบ • ตัวดำเนินการบอกขนาด • ตัวดำเนินการแบบมีเงื่อนไข • ลำดับการทำงานก่อน-หลังของตัวดำเนินการ • การเปลี่ยนแปลงค่าผลลัพธ์เป็นตัวแปรชนิดใหม่
1. แนะนำภาษาซีเบื้องต้น ภาษาซีเป็นภาษาที่ทำงานได้อย่างกว้างขวาง เข้าใจง่าย เขียนง่าย ตลอดจนมีคำสั่งที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้เขียนที่จะสามารถเรียกใช้ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมควรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในกฏเกณฑ์เหล่านั้นให้ดีเสียก่อน ก็จะทำให้สามารถนำภาษาซีมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กฏเกณฑ์ของเครื่องมือที่ใช้เขียนโปรแกรมภาษาซีของแต่ละผู้ผลิต จะมีข้อแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน
1.1 รูปแบบการทำงานของภาษาซี ในภาษาซีจะเขียนโปรแกรมโดยการเรียกใช้แต่ละชุดของโปรแกรมที่เรียกว่า ฟังก์ชัน (Function) หรือในโปรแกรมภาษาอื่นอาจจะเรียกว่า โปรแกรมย่อยหรือชุดคำสั่งย่อย (Procedure) นั่นเอง ฟังก์ชันเหล่านี้จะมีชื่ออะไรก็ได้ กี่ฟังก์ชันก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องมี 1 ฟังก์ชันที่ชื่อ main เพื่อให้โปรแกรมเริ่มทำงานที่ฟังก์ชันนี้
1.1 รูปแบบการทำงานของภาษาซี จากตัวอย่าง จะแสดงให้เห็นว่า ภาษาซีสามารถมีได้หลายฟังก์ชัน แต่จะมีฟังก์ชันหลัก คือ ฟังก์ชัน main ในการควบคุมการทำงานของโปรแกรมว่าให้ทำฟังก์ชันใดบ้าง แต่ถ้าโปรแกรมขนาดเล็กไม่มีการทำงานที่ซับซ้อน อาจจะไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชันอื่นๆ มีฟังก์ชัน main เพียงฟังก์ชันเดียวก็ได้
1.2 ฟังก์ชันในภาษาซี ฟังก์ชันในภาษาซีแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ฟังก์ชันที่เป็นโปรแกรมหลักหรือฟังก์ชันหลักที่ถูกกำหนดให้มีเพียงฟังก์ชันเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ ฟังก์ชัน main สำหรับฟังก์ชันในส่วนที่ 2 เป็นฟังก์ชันที่ไม่ใช่ฟังก์ชันหลัก ซึ่งมีกี่ฟังก์ชันก็ได้
โครงสร้างทั่วไปในฟังก์ชันโครงสร้างทั่วไปในฟังก์ชัน 1.2.1 ส่วนหัวของฟังก์ชัน (Heading)เป็นส่วนที่นิยามชื่อฟังก์ชัน กำหนดชนิดและจำนวนตัวแปรที่ใช้ส่งผ่านค่าเข้าออก มีรูปแบบดังนี้
โครงสร้างทั่วไปในฟังก์ชันโครงสร้างทั่วไปในฟังก์ชัน เช่น int main(char) หมายถึง ฟังก์ชัน main มีการรับพารามิเตอร์ชนิดเป็น char และมีการส่งค่ากลับออกมาเป็นชนิด int
1.2.2 ส่วนกลุ่มคำสั่ง (Compound Statements) ส่วนนี้จะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย • ส่วนกำหนดตัวแปร (Variable Declaration) ใช้สำหรับกำหนดตัวแปรเพื่อใช้งานในฟังก์ชัน • ส่วนคำสั่ง (Statement) ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ เรียงกันไป แต่ละคำสั่งต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; เสมอ • เครื่องหมาย { } เครื่องหมายนี้ทำหน้าที่กำหนดขอบเขตของกลุ่มคำสั่งในฟังก์ชัน
ส่วนหัวของฟังก์ชัน (Heading) { ส่วนกำหนดตัวแปร (Variable Declarations) ส่วนคำสั่ง (Statements) }
1.3 การคอมไพล์และลิงค์โปรแกรมในภาษาซี การสร้างโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ขึ้นมาโปรแกรมหนึ่ง ในภาษาซีมีขั้นตอนดังนี้ 1. สร้างตัวโปรแกรมที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า ซอร์สไฟล์ (Source file) โดยมีนามสกุลเป็น .c หรือ .cpp ขึ้นมาก่อน โดยใช้โปรแกรมที่สามารถเขียนไฟล์ที่เก็บอักขระ (Editor) ใดๆ ก็ได้ อักษรหรืออักขระใดๆ นั้น จะต้องอยู่ในรูปแบบของการโปรแกรมภาษา (ขั้นตอนนี้คือการสร้างโปรแกรมที่เป็นภาษามนุษย์นั่นเอง)
2. คอมไพล์เลอร์ของภาษาซี (C Compiler) จะทำการแปลงซอร์สไฟล์ จากอักขระใดๆ ให้เป็นรหัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้เก็บไว้ในอีกไฟล์หนึ่งเรียกว่าไฟล์วัตถุประสงค์ (Object file) ที่มีนามสกุล .obj (ขั้นตอนนี้เรียกว่า การคอมไพล์ เป็นการแปลงภาษามนุษย์เป็นภาษาเครื่องนั่นเอง) 3. ตัวเชื่อม (Linker) จะทำการตรวจสอบว่าในโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้น มีการเรียกใช้งานฟังก์ชันมาตรฐานใด จากห้องสมุดของภาษาซี (C Library) บ้างหรือไม่ ถ้ามี ตัวเชื่อมจะทำการรวมเอาฟังก์ชันเหล่านั้นเข้ากับไฟล์วัตถุประสงค์ แล้วจะได้ไฟล์ที่สามารถทำงานได้ โดยมีนามสกุลเป็น .exe (ขั้นตอนนี้เรียกว่า การลิงค์ เป็นการรวมฟังก์ชันสำเร็จรูปเข้าไป แล้วสร้างไฟล์ที่ทำงานได้)
ตัวอย่าง 1. สร้างซอร์สไฟล์ที่มีข้อความ ที่เก็บโปรแกรมภาษาซี ดังนี้ #include <stdio.h> void main(void) { printf(“Hello World”); } แล้วเก็บไว้ในไฟล์ชื่อ 1.c 2. ใช้คำสั่งเพื่อเรียกให้คอมไพล์เลอร์ของภาษาซีทำงาน โดยคอมไพล์เลอร์จะทำการแปลงอักขระจากซอร์สไฟล์ ให้เป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ จะได้ไฟล์ชื่อ 1.obj
3. ใช้คำสั่งเพื่อเรียกให้ตัวเชื่อมของภาษาซีทำงาน ตัวเชื่อมจะทำการรวมไฟล์ห้องสมุดที่ชื่อ stdio.h เข้ามา (ตามข้อความ #include …)แล้วสร้างไฟล์ที่สามารถทำงานได้ชื่อ 1.exe **หมายเหตุคำว่า printf ในตัวโปรแกรม คือฟังก์ชันมาตรฐานหนึ่งที่พิมพ์ข้อความออกทางหน้าจอ โดยขั้นตอนและวิธีการทำงานของฟังก์ชัน printf จะอยู่ในไฟล์ห้องสมุดชื่อ stdio.h ดังนั้น ถ้าตัวเชื่อมไม่ทำการรวมไฟล์ห้องสมุดที่ชื่อ stdio.h เข้าทำ จะทำให้ไม่สามารถเรียกใช้งานฟังก์ชัน printf ได้เลย
1.4 โครงสร้างของโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซี • โครงสร้างของโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีแบ่งย่อยได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ • 1.4.1 ส่วนเรียกใช้ไฟล์อื่นๆเป็นส่วนที่บอกให้คอมไพล์เลอร์ไปดึงไฟล์อื่นที่กำหนดมาแปลร่วมด้วย ไฟล์เหล่านี้อาจจะเป็นไฟล์มาตราฐานที่มีให้แล้วในภาษาซี หรือเป็นไฟล์ที่เขียนขึ้นมาใหม่ก็ได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .h • 1.4.2 ส่วนกำหนดชื่อในโปรแกรมเป็นส่วนที่ใช้กำหนดค่าคงที่ ตัวแปรและค่าอื่นๆที่ต้องการ • 1.4.3 ส่วนคำสั่ง จะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ หรือฟังก์ชันอื่นๆ ที่ใช้ในการทำงานของโปรแกรม
ตัวอย่างโครงสร้างโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซี ดังรูปที่ 2.2 #include <stdio.h> ส่วนเรียกใช้ไฟล์อื่น char a; ส่วนกำหนดชื่อ int main(void) { a = 23; printf(“Hello World”); ส่วนคำสั่ง return a; }
Output ผลที่จากการรันโปรแกรม จะได้ข้อความบนหน้าจอว่า Hello World
1.5 รูปแบบคำสั่งในภาษาซี รูปแบบคำสั่งในภาษาซี มีกฏเกณฑ์ในการเขียนคำสั่ง ดังนี้ 1. คำสั่งทุกคำสั่งต้องเขียนด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ เช่นคำสั่ง printf , scanf , for 2.ทุกคำสั่งจะใช้เครื่องหมาย ; แสดงการจบของคำสั่ง เช่น printf(“Hello”); 3. การเขียนคำสั่ง จะเขียนได้แบบอิสระ(Free Format) คือ สามารถเขียนหลายๆคำสั่งต่อกันได้ เช่น printf(“Hello”); printf(“Goodbye”); a = 95; หมายเหตุแต่เพื่อความเป็นระเบียบและอ่านง่าย ควรจะเขียน 1 คำสั่งต่อ 1 บรรทัด
1.6 การเขียนคำอธิบาย(Comment) ในภาษาซี ภาษาซีนิยมการเขียนข้อความอธิบายการทำงานในส่วนต่างๆของโปรแกรมเพื่อให้เข้าใจและอ่านโปรแกรมง่ายขึ้น การเขียนอธิบายจะใช้เครื่องหมาย /* และ */ คร่อมข้อความที่ต้องการอธิบาย ดังนี้ /* …….ข้อความที่ต้องการอธิบาย…….*/ แต่ถ้าต้องการเขียนอธิบายหลายๆบรรทัดจะเขียนได้ดังนี้ /* ……………………………………… ………. ข้อความที่ต้องการอธิบาย………. …………………………………………..*/