830 likes | 975 Views
http :// www . onec . go . th / khamphorson / p22 . html.
E N D
http://www.onec.go.th/khamphorson/p22.html . . . ขอสรุปหน้าที่ของผู้ที่เป็นนิสิตนักศึกษาว่า การเป็นนักศึกษาไม่ใช่อาชีพ เป็นเวลาที่จะฝึกทางวิชาการและก็ทางจิตใจ เพื่อที่จะมีพลังแข็งแรงที่จะรับใช้ชาติ เป็นพลเมืองดี แล้วก็เป็นความหวัง และก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดว่า เมื่อได้ฝึกในทางจิตใจเป็นคนเข้มแข็งซื่อตรงและเป็นคนที่มีความปรารถนาที่จะสร้างสรรค์แล้ว จะต้องรักษาอุดมคตินี้หรือพลังนี้หรือปณิธาณนี้ไว้ตลอดชีวิต . . . พระบรมราโชวาทเนื่องในโอกาสเสด็จฯ ทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๑๔
ระบบและมาตรฐานการผลิตพืชระบบและมาตรฐานการผลิตพืช สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
แหล่งค้นคว้าข้อมูล • International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM) http://www.ifoam.org • International Organic Accreditation Service (IOAS) http://www.ioas.org • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) http://www.acfs.go.th • Conseil des Appellations Agroalimentaires du Qu bec (CAAQ) http://www.caaq.org • สหกรณ์กรีนเนท จำกัด http://www.greennet.or.th • โครงการสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร http://www.abhaibhubejhr.org
แหล่งค้นคว้าข้อมูล • บริษัทสามพรานฟู้ดส์ จำกัด http://www.healthymate.com • Southeast Asia Organic http://www.sea-organic.com • บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด(มหาชน) http://www.patumrice.com • ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ http://www.surinorganic.com • บริษัทริเวอร์แควอินเตอร์เนชั่นแนลอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด http://www.rkifood.com • องค์กรเครือข่ายมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) http://www.sathai.org • องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย (หรือ ไบโอไทย) http://www.biothai.net • ไร่ปลูกรัก http://www.thaiorganicfood.com
เกษตรอินทรีย์ • คำนิยามของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movementsหรือ IFOAM) • ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ • เน้นหลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และระบบนิเวศเกษตร • ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ • ประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคพืช และสัตว์ • หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจ-สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น
หลักการเกษตรอินทรีย์ • หลักการเกษตรอินทรีย์ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) มี 4 ข้อ 1. สุขภาพ (health) 2. นิเวศวิทยา (ecology) 3. ความเป็นธรรม (fairness) 4. การดูแลเอาใจใส่ (care)
สุขภาพ (The principle of health) • เกษตรอินทรีย์ควรส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก • Organic Agriculture should sustain and enhance the health of soil, plant, animal, human and planet as one and indivisible.
สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร • สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี • บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภคต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุขในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
นิเวศวิทยา (The principle of ecology) • เกษตรอินทรีย์ควรตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฏจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น • Organic Agriculture should be based on living ecological systems and cycles, work with them, emulate them and help sustain them.
มองเกษตรอินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต การผลิตการเกษตรต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด เช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง • การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า ต้องสอดคล้องกับวัฎจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฏจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจมีลักษณะ เฉพาะท้องถิ่นนิเวศ ดังนั้นการจัดการเกษตรอินทรีย์ จำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรมและเหมาะสมกับขนาดฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน • ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่นและสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมและกิจกรรมการเกษตร บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต แปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ
ความเป็นธรรม (The principle of fairness) • เกษตรอินทรีย์ควรตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต • Organic Agriculture should build on relationships that ensure fairness with regard to the common environment and life opportunities
ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรมทุกระดับทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าและผู้บริโภค ควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหารและช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน • การปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม • ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและบริโภคควรดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง • ความเป็นธรรมนี้รวมถึง ระบบการผลิต จำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์ต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม มีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิต
การดูแลเอาใจใส่ (The principle of care) • การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย • Organic Agriculture should be managed in a precautionary and responsible manner to protect the health and well-being of current and future generations and the environment.
เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ต้องระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม • เทคโนโลยีการผลิตใหม่ที่นำมาใช้ ต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจังโดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ ต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม • ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม • ประสบการณ์จากการปฏิบัติและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน • เกษตรกรและผู้ประกอบการควรประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม
แนวทางเกษตรอินทรีย์ • การหมุนเวียนของธาตุอาหาร • ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน • ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ • การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร • การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร • การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต
การหมุนเวียนของธาตุอาหารการหมุนเวียนของธาตุอาหาร • เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากระบบการผลิตโดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป • แนวทางการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติด้วยการใช้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของอินทรียวัตถุที่สามารถย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ ทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ปุ๋ยหมัก, การคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุ, การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน
ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน • หลักการของเกษตรอินทรีย์จำเป็นต้องหาอินทรียวัตถุมาคลุมหน้าดินเสมอไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ หรือพืชที่ปลูกคลุมดิน ทำให้ “ดินมีชีวิต” ขึ้น • ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดินมีความสมบูรณ์พืชที่ปลูกก็แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง และให้ผลผลิตสูง
ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ • นิเวศป่าธรรมชาติมีพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกันหลากหลาย มีทั้งที่พึ่งพาอาศัยกัน แข่งขันกัน หรือเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ต่างก็สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ • การทำเกษตรอินทรีย์ต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชร่วมหลายชนิดในพื้นที่และเวลาเดียวกันหรือเหลื่อมเวลากัน การปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเรียกว่า “เกษตรผสมผสาน” • การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาศัตรูพืชระบาด การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถแสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช เป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตร
การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตรการอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร • ในกลไกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลของนิเวศเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีวิต เช่น การผสมเกสร และการช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ • แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงห้ามไม่ให้ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก • แนวทางเกษตรอินทรีย์เน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศหลักการนี้ทำให้เกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรปลอดสารเคมีที่รู้จักกันในประเทศไทย แนวทางหลักในการฟื้นฟูนิเวศเกษตรคือการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ • การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศเกษตร เพราะการที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกื้อกูลและสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตทางธรรมชาติที่เกื้อหนุนต่อการทำเกษตรอินทรีย์อีกต่อหนึ่ง
การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตรการพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร • การทำเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะธรรมชาติหรือพยายามดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติและปรับระบบการทำเกษตรให้เข้ากับวิถีแห่งธรรมชาติ • กลไกธรรมชาติที่สำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร โดยเฉพาะวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน วงจรการหมุนเวียนน้ำ, พลวัตของภูมิอากาศและแสงอาทิตย์ รวมทั้งการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพาและห่วงโซ่อาหาร • เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ต้องเรียนรู้สภาพเงื่อนไขท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่ การสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์-สังเคราะห์ และทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรแต่ละรายจะได้ใช้ประโยชน์จากกลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่นอย่างเต็มที่
การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตการพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต • มุ่งให้เกษตรกรผลิตปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ ด้วยตนเองในฟาร์มให้ได้มากที่สุด กรณีที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตได้เอง (มีพื้นที่การผลิตไม่พอเพียง หรือต้องลงทุนสูง) สามารถซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ควรเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น • กระตุ้นให้เกษตรกรจัดสมดุลของวงจรธาตุอาหารในระบบที่เล็กที่สุด (ฟาร์มเกษตรกร) และมีความสอดคล้องกับระบบนิเวศของท้องถิ่น ช่วยสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของระบบการผลิตในระยะยาว • เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิคการผลิต แต่เป็นวิถีชีวิตและกระบวนการทางสังคม การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอิสระของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร
การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) • การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และผู้บริโภคทั้งในประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา • ประเทศพัฒนา เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จัดตั้งองค์กร Fair Trade เนื่องจากตระหนักถึงความล้มเหลวของระบบการค้าในปัจจุบัน ที่เอื้อประโยชน์แก่คนบางกลุ่มในสังคม หรือบริษัทใหญ่บางบริษัท ขณะที่ผู้ผลิตกลับไม่ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม • ปัจจุบันในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย, บังคลาเทศ, ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้ให้ความสนใจ
ปัญหาที่เกิดจากระบบการค้าที่ไม่เป็นธรรมปัญหาที่เกิดจากระบบการค้าที่ไม่เป็นธรรม • ระบบการผลิตเน้นปริมาณเพื่อสนองตอบความต้องการของตลาด ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เกิดผลเสียกับสภาพแวดล้อม • ระบบตลาดสินค้าเกษตร เป็นระบบที่เกษตรกรผู้ผลิตไม่สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดราคาผลผลิตอันเกิดจากหยาดเหงื่อแรงงานของตัวเอง • ต้องพึ่งพิงอยู่กับพ่อค้าคนกลาง กลไกราคาของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ • ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับไม่ครอบคลุมต้นทุนการผลิต เกิดหนี้สินเพิ่มพูนขึ้น • ปัญหาสังคม เช่น การใช้แรงงานเด็ก, การทารุณทำร้ายร่างกายลูกจ้าง, การกดค่าแรง, สวัสดิการไม่เหมาะสม หรือปัญหาด้านสุขภาพ
การค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) การค้าที่เป็นธรรม มีหลักการสำคัญคือ • เกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์มีบทบาทในการกำหนดราคาผลผลิตของตัวเองที่ครอบคลุมกับต้นทุนการผลิต ทักษะฝีมือและทรัพยากรในท้องถิ่น • รายได้เป็นหลักประกันสำหรับเกษตรกรและครอบครัวถึงความมั่นคงในการผลิต การดำเนินชีวิต เชื่อมโยงไปถึงความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น • ส่วนของผู้บริโภค การบริโภคผลิตภัณฑ์ในระบบเกษตรอินทรีย์-การค้าที่เป็นธรรม ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัย • ผู้บริโภคได้สนับสนุนให้เกิดระบบการค้าแบบใหม่ ที่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ผลิต ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของผู้บริโภค
หลักการในการดำเนินการค้าที่เป็นธรรมหลักการในการดำเนินการค้าที่เป็นธรรม • ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของการผลิต ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบ, การผลิต, การบรรจุ จนกระทั่งการขนส่ง • ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสภาพสังคม, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ผลิต โดยการให้ความเป็นธรรมในการทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งครอบคลุมไปถึงการได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม และราคาของผลผลิตที่เป็นธรรม • มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ, การเงิน, การผลิต, การตลาด ฯลฯ ซึ่งสามารถเผยแพร่ข้อมูลและตรวจสอบได้ • หญิงและชายได้รับความเท่าเทียมกันในเรื่องโอกาสการจ้างงาน • เคารพในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น • มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย • นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ • สถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย • การตลาดและการค้าเกษตรอินทรีย์ • ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ • ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Consumers) • กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย
วาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์วาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ • รัฐบาลได้ริเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา โครงการนี้มีระยะนาน 4 ปี (พ.ศ. 2549 - 2552) โดยมีเป้าหมาย- ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรลง 50% (10% ในปี 2549)- ใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีในพื้นที่ 85 ล้านไร่ (17 ล้านไร่ในปี 2549)- เกษตรกร 4.25 ล้านรายใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี (0.85 ล้านราย ในปี 2549) - เกษตรกรมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 20%- ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 100% • หน่วยงานราชการ 16 หน่วยงาน จัดทำแผนบูรณาการร่วมกันในการจัดกิจกรรมต่าง เช่น การสัมมนา การฝึกอบรม การส่งเสริมทั่วไป และการจัดตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ • กรมพัฒนาที่ดิน เป็นเจ้าภาพของโครงการนี้ ในปีงบประมาณ 2549 โครงการวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนจำนวน 1,215 ล้านบาท
นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ • การรับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ • ระเบียบข้อบังคับ มาตรฐาน และการตรวจสอบรับรอง • การตลาดส่งออก • การผลิต • ปัจจัยการผลิต • การวิจัย • การส่งเสริมการผลิต
นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การรับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ สิ่งพิมพ์และเว็บไซต์ต่างๆ ของรัฐบาล เช่น สิ่งพิมพ์ ของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร • ระเบียบข้อบังคับ มาตรฐาน และการตรวจสอบรับรอง การจัดตั้งสถาบันพืชอินทรีย์ (กรมวิชาการเกษตร) เพื่อให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน มกอช. ได้ยกร่าง มาตรฐาน "เกษตรอินทรีย์: การผลิต แปรรูป แสดงฉลากและจำหน่ายเกษตรอินทรีย" และได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีในปีพ.ศ. 2546 มีการเพิ่มเติมเนื้อหามาตรฐาน ให้ครอบคลุมเรื่องปศุสัตว์อินทรีย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 สิงหาคม พ.ศ. 2547 มกอช. ริเริ่มการให้บริการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ฉบับแรก โดยมีสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย (มกท.) ได้รับการรับรับรองระบบงานจาก มกอช. เป็นรายแรก เมื่อกลางปี พ.ศ. 2548
นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออกได้ช่วยสนับสนุนให้ ทั้งผู้ส่งออกได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศเช่น BioFach (Nurnberg) และ Natural Products Organic Asia, Singapore รวมทั้งยังได้จัดกิจกรรมให้ผู้ซื้อได้พบกับผู้ผลิต และการให้บริการด้านข้อมูลด้วย • การผลิต ในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดบางส่วนได้เริ่มโครงการเกษตรอินทรียขึ้น อาทิเช่น จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ ที่เริ่มจัดทำโครงการข้าวเกษตรอินทรีย์ หน่วยงานราชการระดับท้องถิ่นและระดับชาติหลายแห่งได้เริ่มจัดหลักสูตรอบรม เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร
นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • ปัจจัยการผลิต ไม่มีกิจกรรมใดที่เจาะจงในด้านนี้ แต่มีหน่วยงานหลายแห่งที่มีแผนในการสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรตั้งโรงงานผลิตปุ๋ย อินทรีย์ • การวิจัย หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยบางแห่งได้เริ่มให้การสนับสนุนทุน สำหรับเกษตรอินทรีย์ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นต้น แต่ไม่มีการแบ่งสรรงบหรือเป้าหมายของการวิจัยที่ชัดเจน
นโยบายรัฐเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การส่งเสริมการผลิต หน่วยงานราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะกรมวิชาการและกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดการสัมมนาและการอบรมในหลักสูตร ที่เกี่ยวกับการผลิตเกษตรอินทรีย์
สถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสถานการณ์การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย • การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยแบ่งได้ 2 ประเภท 1. เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง 2. เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐาน
เกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอง • การเกษตรแบบพื้นบ้าน โดยผลิตเพื่อบริโภคในครอบครัวเป็นหลัก อาจมีผลผลิตบางส่วนจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น • ไม่มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรับรอง หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการรับรองโดยเกษตรกรเองหรือผู้ซื้อก็ได้ เพราะผู้บริโภคมีโอกาสพบปะหรือรู้จักผู้ผลิตจึงตัดสินใจซื้อ โดยพิจารณาจากความเชื่อถือหรือไว้วางใจผู้ผลิต
เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐาน • เกษตรกรทำการเพาะปลูกโดยมีผลผลิตเหลือสำหรับขาย • จำหน่ายผ่านทั้งระบบตลาดทั่วไปหรือการตลาดทางเลือก เมื่อได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว • ผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อจากความเชื่อถือในตรารับรอง และหากได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานของต่างประเทศ • ผลผลิตจากเกษตรกรสามารถจำหน่ายในต่างประเทศ
รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ การตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จำแนกได้ 4 รูปแบบดังนี้ • การตลาดระบบสมาชิก • ตลาดนัด • การตลาดช่องทางเฉพาะ • การตลาดทั่วไป
รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดระบบสมาชิก เป็นรูปแบบการตลาดที่เก่าแก่ที่สุดของกระบวนการเกษตรอินทรีย์ ที่เชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น ระบบ TEIKEI ในประเทศญี่ปุ่น หรือระบบ Community Support Agriculture (CSA) และระบบ BOX ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ระบบตลาดนี้มีหลักการพื้นฐานว่า ผู้บริโภคตกลงกับเกษตรกรผู้ผลิต ในการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามฤดูกาล โดยผู้บริโภคจะชำระเงินล่วงหน้าให้กับเกษตรกร หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตจะถูกจัดส่งไป ณ จุดกระจายย่อยตามที่ตกลง แล้วสมาชิกผู้บริโภคที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงจะเป็นผู้มารับผลผลิตด้วยตนเอง การตลาดระบบนี้ เกษตรกรจะมีหลักประกันทาง เศรษฐกิจ และมีโอกาสในการสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภค ส่วนผู้บริโภคเองก็สามารถไป เยี่ยมเยือนฟาร์มเกษตรกร เพื่อดูการผลิต หรือช่วยเกษตรกรทำงานในฟาร์มก็ได้
รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • ตลาดนัด ตลาดนัดส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่นหรือหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด โดยมักจัดในสถานที่ที่มีผู้บริโภคอยู่หนาแน่น เช่น โรงพยาบาล ในเขตสถานที่ราชการ หรืออาจเป็นที่ว่าง ที่ผู้บริโภคสะดวกในการมาหาซื้อผลผลิต ตลาดนัดนี้มักจะเปิดเฉพาะวันที่แน่นอน แต่ไม่เปิดทุกวัน เช่น ทุกวันศุกร์ หรือวันเสาร์ โดยมากเปิดขายเพียงครึ่งวัน หรืออาจทั้งวัน โดยผู้ผลิตต้องมาจากหลากหลายกลุ่ม เพื่อได้มีผลผลิตที่หลากหลายมาจำหน่ายตลาดนัดเกษตรอินทรีย์
รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดช่องทางเฉพาะ เป็นการตลาดที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีนโยบายในด้านเกษตรอินทรีย์ อาหารสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น ร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือซูเปอร์มาร์เก็ตเกษตรอินทรีย์ การตลาดในลักษณะนี้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าการตลาดระบบสมาชิก และมีผลผลิตที่หลากหลายจากเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตเฉพาะทาง รวมทั้งอาจมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบง่ายๆ มากกว่าด้วย ตัวอย่างการตลาดเฉพาะทางในประเทศไทย คือ ร้านเลมอนฟาร์ม ร้านไทสบาย
รูปแบบตลาดเกษตรอินทรีย์ (ต่อ) • การตลาดทั่วไป ในหลายประเทศที่ตลาดเกษตรอินทรีย์ได้พัฒนาไประดับหนึ่ง จะพบว่าช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะขยายไปสู่ระบบตลาดทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโมเดิร์นเทรด ที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อความต้องการผลิตภัณฑ์เริ่มขยายตัวชัดเจน ผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดทั่วไปย่อมเห็นโอกาสในทางการค้า และปรับตัวเพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาด และสร้างภาพพจน์ให้กับหน่วยงานของตน การเข้ามาของตลาดประเภทนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันกันในตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการริเริ่มหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ รวมไปถึงการแข่งขันทางราคาด้วย
ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ • เนื่องจากพิษภัยที่ได้รับจากอาหารมีเพิ่มขึ้นทั้งสารพิษตกค้างในผักผลไม้ หรือสารเคมีที่ใส่เสริมเข้าไปเพื่อยืดอายุอาหาร เช่น ฟอร์มาลิน, บอแรกซ์ (น้ำประสานทอง/ผงกรอบ), สารฟอกขาว และสี สังเคราะห์ เป็นต้น • ในประเทศไทย มีผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์อยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์จำนวนไม่น้อยที่ระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ, ปลอดสารเคมี, ปลอดภัยจากสารพิษ และไร้สารพิษ เป็นต้น • ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความแตกต่างกับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มาตรฐานการรับรอง เพราะมาตรฐานการผลิตเหล่านี้อนุญาตให้มีการใช้สารเคมีการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีฆ่าแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อรา สารเคมีกำจัดวัชพืชและปุ๋ยเคมี
ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จำแนกเป็น 3 กลุ่ม • ผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐาน • ผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน • ผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐาน
ผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐานผลผลิตอินทรีย์ยังไม่รับรองตามมาตรฐาน • ผู้ผลิตเริ่มต้นทำการผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยอยู่ในระยะพัฒนาการผลิต • ไม่ได้สมัครขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ • มีการตรวจสอบติดตามภายในโดยกลุ่มผู้ผลิต หรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานส่งเสริมในพื้นที่
ผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยนผลผลิตอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน • พื้นที่การผลิตที่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เชื่อถือได้ • ได้รับการรับรองว่าระบบการผลิตอยู่ในระหว่าง “ระยะปรับเปลี่ยน” ซึ่งถือเป็นช่วงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของดินและช่วงสลายตัวของสารเคมีการเกษตรที่อาจตกค้างมาก่อน • โดยทั่วไป ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนของการผลิตพืชล้มลุก (ผัก/พืชไร่) จะใช้เวลา 12 - 24 เดือน • ส่วนการผลิตไม้ยืนต้นช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา 18 - 36 เดือน • หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์อาจเพิ่มหรือลดระยะการปรับเปลี่ยนได้ โดยพิจารณาจากประวัติการใช้ที่ดินก่อนหน้านั้น
ผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐานผลผลิตอินทรีย์รับรองมาตรฐาน • ผลผลิตที่ได้จากระบบการผลิตที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ สารเคมีการเกษตรและปุ๋ยเคมี • เป็นระบบที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม • พื้นที่ทำการผลิตได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และผ่านระยะปรับเปลี่ยนแล้ว
ผู้บริโภค (Organic Consumers) • จากการสำรวจโดย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มีการสำรวจค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ในการซื้อสินค้าสุขภาพ และเมื่อนำมาคำนวณแล้วคาดว่ามูลค่าการตลาดของสินค้าสุขภาพในปี 2544 เท่ากับ 3,600 ล้านบาท และคาดว่าอัตราการขยายตัวของตลาดเท่ากับร้อยละ20 โดยสินค้าสุขภาพที่คนกรุงเทพฯ นิยมซื้อคือ ข้าวสาร และผักประเภทต่างๆ • จากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดินพบว่า ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีรายได้ปานกลาง และอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป โดยภาพรวมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั้นจะเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพ มีความสนใจเรื่องทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดทั่วไป
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ • ผู้บริโภคยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์จากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาจทำให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้บริโภคได้ • ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จริงหรือไม่ เนื่องจากขาดการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนบนบรรจุภัณฑ์ มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการกำหนดตราสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากหลายหน่วยงาน • ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ยังมีราคาสูง ทำให้การบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จำกัดอยู่เฉพาะชนชั้นกลางและผู้มีรายได้สูง • ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตลาด และรูปแบบการผลิตของเกษตรกรให้ไปสู่การทำการตลาดและการทำการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีกด้วย
กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยกลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย • มูลนิธิสายใยแผ่นดินwww.greennetorganic.comส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต, การจัดการ, การตลาด และการบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม • เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกannet@ksc.th.com รณรงค์เผยแพร่นโยบายด้านการเกษตรและระบบเกษตรยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและตลาดทางเลือก • ชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และผลักดันให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจและบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยกลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย • สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ให้บริการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกรทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ ละแวกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนให้การทำเกษตรอินทรีย์เป็นที่นิยมแพร่หลาย และทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)www.acfs.go.th หน่วยงานกลางเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูปและอาหารของประเทศ
กลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยกลุ่มสนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ไทย • สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตรwww.doa.go.th เป็นหน่วยงานกลางในการวิจัยและพัฒนาพืชอินทรีย์ ดำเนินการให้การผลิตพืชอินทรีย์เป็นไปตามมาตรฐานสากล ให้การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นหน่วยงานออกใบรับรองสำหรับตลาดในประเทศไทย • กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรwww.doae.go.th ส่งเสริมและเผยแพร่การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน รวมถึงการดูแลในเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบวิธีผสมผสาน โดยเน้นการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธีเพื่อป้องกันไม่ให้มีสารพิษตกค้างในพืชผล