500 likes | 1.04k Views
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก. พ.ศ.2546. จัดทำโดย นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ นางอโนชา ชีวิตโสภณ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. บทนำ.
E N D
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 จัดทำโดย นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และ นางอโนชา ชีวิตโสภณ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
บทนำ • เป็นกฎหมายใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2546 • มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วันนับแต่วันประกาศ ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2547 • เป็นกฎหมายรองรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา53 และ 80 เรื่องการคุ้มครองเด็ก เยาวชนและครอบครัว • เป็นกฎหมายที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของ สหประชาชาติซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี
บทนำ (2) • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 53 และมาตรา 80 กำหนดให้รัฐคุ้มครองเด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัวจากความรุนแรงและการปฏิบัติอื่นไม่เป็นธรรม และส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงชาย และความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและชุมชน โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลเด็ก ให้สามารถดำรงชีพได้สมกับความเป็นมนุษย์ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด
บทนำ (3)อนุสัญญาสิทธิเด็ก ค.ศ.1990ประเทศไทยเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2535 มุ่งคุ้มครองเด็ก 4 ประการ 1.สิทธิในการอยู่รอด 2.สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง 3.สิทธิในการพัฒนา 4.สิทธิในการมีส่วนร่วม
เจตนารมณ์ของกฎหมาย • วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อเด็กให้เป็นรูปธรรมและชัดเจน • ผู้ปฏิบัติต่อเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ต้องปฏิบัติอยู่ในมาตรฐานขั้นต่ำของ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก มาตรา22-29
หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก • 1. สร้างกลไกการบังคับใช้กฎหมายขึ้นใหม่ ได้แก่ • 1.1 มีคณะกรรมการผลักดันทั้งระดับชาติและระดับจังหวัด • 1.2 กำหนดพนักงานเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 30 และมาตรา 66-67
หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (2) • 1.3 มีผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในเขตพื้นที่โดยตำแหน่งตามมาตรา 24 • (1) ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ • (2) ผู้ว่า กทม. และผู้ว่าจังหวัด • (3) นายอำเภอ และปลัดอำเภอ • (4) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (3) • 1.4 มีผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กซึ่งปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งเพื่อกำกับดูแลเด็กเฉพาะรายตามมาตรา 48
หลักการสำคัญตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (4) • 2. วางมาตราฐานในการปฏิบัติต่อเด็ก หมวด 2 :มาตรา 22-29 ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 26 หรือ 27 มีโทษอาญาตามมาตรา 78 และ 79 • 3. มีกองทุนคุ้มครองเด็ก หมวด 8 :มาตรา 68-77 • 4. มีระบบควบคุมสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน (รับเลี้ยงเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี + จำนวน 6 คนขึ้นไป) • 5. มีมาตรการในการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา หมวด 7 :มาตรา 63-67
การปฏิบัติต่อเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 2 มาตรฐาน • มาตรฐานทางอาญา ผู้ไม่ปฏิบัติมีโทษทางอาญา เช่น มาตรฐานตาม มาตรา 26 และ มาตรา27 • มาตรฐานทางปกครอง ผู้ไม่ปฏิบัติไม่มีโทษทางอาญา แต่อาจทำให้เจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องมีอำนาจเข้าไปดูแลเด็กโดยแนะนำ ช่วยเหลือ ตักเตือนจนถึงส่งตัวเด็กเข้าสถานคุ้มครองสวัสดิภาพต่าง ๆ เช่น มาตรา29
โครงสร้างมีทั้งสิ้น 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 88 มาตรา • หมวดที่ 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก • หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อเด็ก • หมวดที่ 3 การสงเคราะห์เด็ก • หมวดที่ 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก • หมวดที่ 5 ผู้คุ้มครองเด็กสวัสดิภาพเด็ก
โครงสร้าง (2)มีทั้งสิ้น 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวมทั้งสิ้น 88 มาตรา • หมวดที่ 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู • หมวดที่ 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา • หมวดที่ 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก • หมวดที่ 9 บทกำหนดโทษ
คำจำกัดความ • เด็ก คือ บุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่รวมผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส • นักเรียน คือ เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและ อาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน • นักศึกษา คือ เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือของเอกชน
ศาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก • มาตรา 5 บัญญัติว่า หมายถึง ศาลเยาวชนและครอบครัว คดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมาสู่ศาล 2 ประเภท คือ • คดีอาญา คือ ตามบทกำหนดโทษใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กกำหนดโทษรวม 9 มาตรา ได้แก่ มาตรา 78 ถึง มาตรา 86 • คดีทางปกครอง คือ กรณีไม่มีโทษทางอาญาแต่บัญญัติให้นำคดีมาสู่ศาล 5 มาตรา ได้แก่ มาตรา 38, 42, 43, 46 และ 73
หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ • ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ • 1. กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อ ร่างกายหรือจิตใจเด็ก • 2. จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน • 3. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตน ไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยง ต่อการกระทำผิด
หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ (2) • 4. โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว • 5. บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็น เครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือ กระทำอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ (3) • 6. ใช้ จ้างหรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อการพัฒนาการของเด็ก • 7. บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการ ของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
หัวใจสำคัญของคดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กคือ มาตรา 26 ซึ่งมีสาระสำคัญ 10 ประการ ดังนี้ (4) • 8. ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า • 9. บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด • 10. จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็กเว้นแต่ ปฏิบัติทางการแพทย์
คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก • มี 9 มาตรา • 1. มาตรา 78 กรณีฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติต่อเด็กรวม 10 ประการ ตาม มาตรา 26
คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (2) • 2. มาตรา 79* กรณีฝ่าฝืนบทบัญญัติห้ามโฆษณาหรือ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กหรือผู้ปกครองทางสื่อมวลชนตามมาตรา 27* กรณีผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้ปกครองเด็กเปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุล ภาพหรือข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเด็กหรือผู้ ปกครองตามมาตรา 50* กรณีผู้ปกครองสวัสดิภาพ ผู้ปฏิบัติงานในสถาน เลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์ ฯลฯ ทำร้าย กักขัง ทอดทิ้ง ลงโทษเด็กรุนแรงตามมาตรา 60
คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (3) • 3. มาตรา 80* กรณีขัดขวางไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะที่สงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็ก หรือสถานที่อยู่อาศัยของผู้ปกครองตามมาตรา 30(1) หรือ (5) * กรณีไม่ส่งเอกสารหรือส่งเอกสารเท็จต่อเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 30(4)* กรณีไม่ยอมให้ถ้อยคำหรือให้ถ้อยคำเท็จ ต่อเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 30(3)
คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (4) • 4. มาตรา 81 กรณีฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลที่ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือใกล้ตัวเด็กตามมาตรา 43 • 5. มาตรา 82 กรณีจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 52 • 6. มาตรา 83 กรณีเจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก ฯลฯ ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก
คดีอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก (5) • 7. มาตรา 84 กรณีกระทำการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์โดยไม่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 55 • 8. มาตรา 85 กรณีกระทำการยุยงส่งเสริมให้นักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบโรงเรียนตามมาตรา 64 • 9. มาตรา 86 กรณีไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการเข้าในสถานที่หรือยานพาหนะเพื่อตรวจสอบการ ฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบของนักเรียนหรือ นักศึกษา
โทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กส่วนใหญ่โทษไม่หนักเพราะมุ่งคุ้มครองมากกว่าลงโทษ • มี 3 ระดับ • 1. จำคุกไม่เกิน6 เดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคือกรณีมาตรา 79 • 2. จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคือกรณีมาตรา 78 , 85 • 3. จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคือกรณีอื่นทั้งหมด
คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี • 1. มาตรา 38 กรณีปลัดกระทรวงหรือผู้ว่า ราชการจังหวัดสั่งให้เด็กเข้ารับการสงเคราะห์โดยผู้ปกครองไม่ยินยอมหรือไม่เห็นด้วยเรื่องกำหนดระยะเวลาหรือผู้ปกครองขอรับเด็กไปดูแลแต่ได้รับการปฏิเสธ ผู้ปกครองต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 120 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง
คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (2) • 2. มาตรา 42 กรณีส่งเด็กไปสถานแรกรับระหว่างการสืบเสาะและพินิจครบ 7 วันแล้วแต่ยังหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมไม่ได้ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการร้องขอขยายเวลาต่อศาลได้โดยรวมเวลาที่ขยายแล้วต้องไม่เกิน 30 วัน
คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (3) • 3. มาตรา 43 กรณีไม่มีการฟ้องคดีแต่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าทารุณกรรมเด็ก เจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการร้องให้ศาลออกคำสั่งห้ามกระทำโดยศาลมีอำนาจสั่งให้ตำรวจับกุมมากักขังได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน
คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (4) • 4. มาตรา 46 กรณีผู้ปกครองไม่เห็นด้วยที่ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เด็กเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพหรือเจ้าหน้าที่กำหนดให้เด็กทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ผู้ปกครองไม่เห็นค้วยมีสิทธินำคดีสู่ศาลภายใน 120 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง
คดีปกครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กมี 5 กรณี (5) • 5. มาตรา 73 กรณีศาลมีคำสั่งให้จ่ายเงินเพื่อการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็กรวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์เด็ก