320 likes | 568 Views
โครงการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์. (Creative Tourism). ภาพรวมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). ปัจจุบันเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของ นักท่องเที่ยว
E N D
โครงการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โครงการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)
ภาพรวมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์(Creative Tourism) ปัจจุบันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยว • ยุคสมัยแรก ที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวชายทะเล (Beach Tourism) เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเป็นหลัก • ยุคที่สอง คือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจด้านวัฒนธรรมและใส่ใจกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท่องเที่ยว • ยุคที่สาม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)
การเปลี่ยนผ่านจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของGreg Richard
นิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และเอกลักษณ์ของชุมชนหรือสถานที่นั้นๆ จากประสบการณ์ตรง หรือร่วมสร้างประสบการณ์ดีดีกับเจ้าของวัฒนธรรม หรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ ทั้งจากการพูดคุย ทดลองทำ และการใช้ชีวิตร่วมกัน • จุดสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ คือ การท่องเที่ยวที่เน้นการเรียนรู้ในด้านวัฒนธรรม โดยมีวิธีการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของนักท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญ
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก
แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มมรดกทางวัฒนธรรมแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม
แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มวิถีชีวิตแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มวิถีชีวิต
การท่องเที่ยวกลุ่มสินค้าที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างการท่องเที่ยวกลุ่มสินค้าที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง
UNESCO ได้ประกาศประเภทของวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ทั้งหมด 7 หมวดหมู่
พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทย • นักท่องเที่ยวชาวไทยมีวัตถุประสงค์หลักของการเดินทางที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อมาท่องเที่ยวพักผ่อนสอดคล้องกับการศึกษา ที่ระบุว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีจุดประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและผ่อนคลายความเครียดมากที่สุด เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันทำให้คนเราเกิดภาวะตึงเครียด และต้องการหาเวลาว่างเพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง • นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง มากกว่ามากับบริษัททัวร์ และมักจะเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงานมากที่สุด
ปัจจัย/แรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย 5 ลำดับแรก สิ่งที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเลือกใช้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ 1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง 2. นักท่องเที่ยวชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม 3. นักท่องเที่ยวได้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ 4. นักท่องเที่ยวได้รับคำแนะนำหรือการบอกต่อจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก 5. นักท่องเที่ยวเคยมาเที่ยว/ใช้บริการแล้วประทับใจ
แนวโน้มของพฤติกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของพฤติกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โครงการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวของชาวไทยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล (2553) โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า เพศชายมีแนวโน้มใช้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษามากกว่าเพศหญิง ขณะที่วัยรุ่นและกลุ่มคนเกษียณอายุใช้การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษามากกว่ากลุ่มคนทำงาน
คะแนนความนิยมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ประเมินจากการจัดลำดับของนักท่องเที่ยวชาวไทยคะแนนความนิยมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ประเมินจากการจัดลำดับของนักท่องเที่ยวชาวไทย
พฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ • นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีวัตถุประสงค์หลักของการเดินทางที่สำคัญที่สุด คือ เพื่อมาท่องเที่ยวพักผ่อน รองลงมาเดินทางมาเพื่อเยี่ยมญาติ/เพื่อนและมาประชุมสัมมนา ตามลำดับ • นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่นิยมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ/หรือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง มากกว่ามากับบริษัททัวร์ และมักจะเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงานมากที่สุด • ประเภทของกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมและสนใจ คือ ศาสนสถาน/วัด มากที่สุด รองลงมาได้แก่ พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ ตลาดน้ำ และอุทยานประวัติศาสตร์
โครงการสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มตลาดหลัก 10 ตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ปัจจัย/แรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 5 ลำดับแรก สิ่งที่จูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเลือกใช้บริการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง 2. นักท่องเที่ยวได้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่นั้นๆ 3. นักท่องเที่ยวชอบและสนใจด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม 4. นักท่องเที่ยวได้รับคำแนะนำหรือการบอกต่อจากเพื่อน/ญาติ/คนรู้จัก 5. เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน
บทสรุปกรณีศึกษา การบริหารจัดการมี 3 รูปแบบ คือ • การบริหารจัดการโดยภาคเอกชน มีเอกชนบริษัทเดียวเป็นเจ้าของ มีทั้งจุดมุ่งหมายเพื่อทำการค้าอย่างชัดเจน และ ไม่ได้มุ่งเน้นพาณิชย์โดยตรง เน้นการทำกิจกรรมเพื่อสังคม บริหารในรูปแบบของมูลนิธิไม่ใช่บริษัท • การบริหารจัดการโดยองค์กรภาครัฐ • การบริหารจัดการโดยชุมชน มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชุมชนอันเป็นสถานที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว
สรุปบทเรียนความสำเร็จที่น่าสนใจได้เป็น 5 ประเด็น • ความมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสินค้าและบริการท่องเที่ยวเป็นจุดขายสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว • ความพร้อมในการให้บริการ บุคลากร สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ • วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย • การพัฒนาตนเองไม่หยุดนิ่ง
การวิเคราะห์จุดแข็งของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์การวิเคราะห์จุดแข็งของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ • มีทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีไทย ที่ได้รับการสืบทอดมาเป็นเวลานานจนเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย • เสน่ห์ที่โดดเด่นของเอกลักษณ์ความเป็นไทย คือมีความเป็นมิตร อ่อนน้อม ยิ้มง่าย และมีหัวใจบริการ • ภาพลักษณ์ความมีชื่อเสียงด้านแหล่งท่องเที่ยว ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและสวยงามดึงดูดใจนักท่องเที่ยว
การวิเคราะห์จุดอ่อนของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์การวิเคราะห์จุดอ่อนของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ • ขาดการสร้างสรรค์สินค้าและบริการท่องเที่ยว • ขาดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน • การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขาดความต่อเนื่อง • ขาดการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว • ขาดการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจแนวคิดและลักษณะเฉพาะของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ • บุคลากรไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ข้อเสนอแนะ/แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ • ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวสร้างสรรค์การพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจน สร้างประสบการณ์ที่ประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว และกระตุ้นให้เกิดการเดินทางกลับมาเยือนซ้ำ • การนำเอาจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวมาเป็นจุดขาย และ สื่อสารไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างการรับรู้ • การพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ควรมีการสืบค้นเอกลักษณ์และ/หรืออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละแหล่งท่องเที่ยว เพื่อผนวกแนวคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มศักยภาพให้กับสินค้าและบริการท่องเที่ยวมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องคงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของพื้นถิ่นให้คงอยู่สืบไป
บรรณานุกรม รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์(Final Report) โครงการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เข้าถึงได้จาก http://marketingdatabase.tat.or.th/ewt_news.php?nid=1701&filename=index วันที่ 30 กรกฎาคม 2556
อภิชัย เฉลิมศรี ชั้นปีที่2 คณะศิลปะศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว