490 likes | 1.06k Views
เบาหวานขึ้นตา ( Diabetic Retinopathy). ทิฆัมพร อุทธศรี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. โครงการค้นหาภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน. ครอบคลุม 1.ตา 2.ไต 3.เท้า. งบสนับสนุนจากสปสช. 330 , 000 บาท.
E N D
เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) ทิฆัมพร อุทธศรี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
โครงการค้นหาภาวะแทรกซ้อนเบาหวานโครงการค้นหาภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน ครอบคลุม 1.ตา2.ไต3.เท้า งบสนับสนุนจากสปสช. 330,000 บาท
โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะตาบอดจากเบาหวาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ทั้งจังหวัดต้องคัดกรองให้ได้ร้อยละ 80 ภายใน สิงหาคม 2553
การดำเนินงาน ถ่ายภาพจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ห้องประชุมสิงห์ทอง รพร.เลิงนกทา ระหว่างวันที่ 14 -24 มิถุนายน 2553
เป้าหมาย อ.เลิงนกทา มีผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ.2552 จำนวนทั้งสิ้น 3,370 คน ต้องทำให้ได้ ร้อยละ 80 = 3000 คน
ขั้นเตรียมการ 1. ข้อมูล/ค่าตอบแทน 1.1 การซักประวัติ และลงข้อมูลครบถ้วน ( 5 บาท/ราย) 1.2 การวัด VA (5บาท/ราย) หมายเหตุ หมายเหตุถ้าผู้ป่วยไม่มาไม่ได้ 1.3 ค่ารถพาผู้ป่วยมา (20บาท/ราย) หมายเหตุ ทุกระยะ 1.4 ค่าตอบแทนพยาบาลที่มาพร้อมผู้ป่วย (300 บาท/วัน) 1.5 ค่าตอบแทนพยาบาลถ่ายภาพจอประสาทตา (300 บาท/วัน) 1.6 ค่าตอบแทน อสม. (100 บาท/วัน)
2 .เอกสารที่ขอความกรุณาให้เตรียมมา 1.ชื่อสกุลพร้อมรายมือชื่อของผู้ป่วยตามแบบฟอร์ม จำนวน 2 ชุด 2.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน พร้อมลงรายมือชื่อ 1 ชุด 3.อัตรากำลัง 3.1 พยาบาลที่ผ่านการอบรมการถ่ายภาพจอประสาทตา 6 คน จาก โรงพยาบาลทรายมูล/กุดชุม/ไทยเจริญและเลิงนกทา 3.2 พยาบาลจากสอ. 1 คน/สอ. (วันที่พาผู้ป่วยมา) 3.3 อสม.สอละ 1 คน (วันที่พาผู้ป่วยมา) ขั้นเตรียมการ(ต่อ)
2 .เอกสารที่ขอความกรุณาให้เตรียมมา 1.ชื่อสกุลพร้อมรายมือชื่อของผู้ป่วยตามแบบฟอร์ม จำนวน 2 ชุด 2.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน พร้อมลงรายมือชื่อ 1 ชุด 3.อัตรากำลัง 3.1 พยาบาลที่ผ่านการอบรมการถ่ายภาพจอประสาทตา 6 คน จาก โรงพยาบาลทรายมูล/กุดชุม/ไทยเจริญและเลิงนกทา 3.2 พยาบาลจากสอ. 1 คน/สอ. (วันที่พาผู้ป่วยมา) 3.3 อสม.สอละ 1 คน (วันที่พาผู้ป่วยมา) ขั้นเตรียมการ(ต่อ)
1.แผนคัดกรองตา 2.เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1 แบบฟอร์มลงรายมือชื่อผู้ป่วย 2.2 ทะเบียนบันทึกผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา
Diabetic Retinopathy(DR) เกิดจากการทำลายของเส้นเลือดที่เลี้ยงจอรับภาพ เส้นเลือดที่เลี้ยงจอรับภาพจะบวม และรั่ว ทำให้จอรับภาพบวม และเกิดเส้นเลือดงอกผิดปกติที่จอรับภาพ ทำให้มีเลือดออกในลูกตา เนื่องจากเส้นเลือดเหล่านี้เปราะและแตกง่าย ตั้งแต่ตามัว เห็นภาพซ้อน มองภาพแคบลง ไปจนถึงมองไม่เห็นไปเลย อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น
ปัจจัยเสี่ยง 1. ระยะเวลาในการเป็นเบาหวาน เป็นเบาหวานนาน 10 ปี มีโอกาสพบเบาหวานขึ้นตาได้ประมาณ 10% เป็นเบาหวานนาน 15 ปี มีโอกาสพบเบาหวานขึ้นตาได้ประมาณ 50% เป็นเบาหวานนาน 25 ปี มีโอกาสพบเบาหวานขึ้นตาได้ประมาณ 80-90% 2.การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี 3. ภาวการณ์ตั้งครรภ์ 4. โรคไต 5. โรคซีด 6.ความดันโลหิตสูง 7.ระดับไขมันในเลือดสูง
อาการ • การมองเห็นอาจปกติหรือเริ่มมีอาการตามัวเนื่องจากจอประสาทตาบวม • ในรายที่เป็น มากขึ้นมีเส้นเลือดผิดปกติงอกมากอาจจะแตกได้ง่ายจะเห็นเป็นจุด ๆ หรือมองไม่เห็นเลยถ้าเลือดออกมามาก
TheClassification of DR แบ่งเป็น 3 ระยะ 1.Non Proliferative DR (NPDR) เป็นระยะแรกจะพบมีจุดเลือกออก 2.Proliferative DR (PDR)เป็นระยะที่จอตาขาดเลือดไปเลี้ยงและร่างกายหลั่งสารกระตุ้นให้มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่เปราะแตกง่าย เกิดภาวะเลือดออกในน้ำวุ้นตาและเกิดพังผืดดึงจอประสาทตาให้ลอกหลุด ทำให้ตาบอดได้ 3. Diabetic macular edema บริเวณจุดรับภาพบวม ทำให้การมองเห็นลดลง
dot/blot blot dot
การรักษา • การฉายแสงเลเซอร์ (Retina Photocoagulation) • การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตา (Intravitreal pharmacologic injection) • การผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy)
1. การฉายแสงเลเซอร์ (Retina hotocoagulation) การรักษาโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในระยะ PDR นี้ แสงเลเซอร์จะถูกฉายลงบนจอประสาทตาโดยตรง เป็นบริเวณกว้างและเฉพาะจุดที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ที่ผิดปรกติ ทำให้เส้นเลือดที่ผิดปรกติเหล่านี้หายไป โรคสงบและหยุดลุกลามได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการฉายแสงเลเซอร์ต่อเนื่องกันหลายครั้ง จึงจะสามารถควบคุมโรคได้
การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตา (Intravitreal pharmacologic injection) ได้แก่ ยากลุ่ม steroid เพื่อรักษาโรคจุดกลางรับภาพจอประสาทตาบวมจากเบาหวาน มีข้อดีคือ ในรายที่ตอบสนองต่อยาได้ดี การมองเห็นจะกลับคืนมาได้เกือบเท่าหรือเท่าปรกติ โดยไม่มีผลทำลายจอประสาทตาบางส่วนเหมือนการฉายแสงเลเซอร์ แต่มีข้อจำกัดคือ ยามีฤทธิ์อยู่ได้ชั่วคราวเฉลี่ย 3-4 เดือน และต้องทำการฉีดด้วยเทคนิคปลอดเชื้อในห้องผ่าตัด รวมทั้งอาจมีผลข้างเคียงของยา หรือภาวะแทรกซ้อนจากวิธีการฉีดเหมือนกับการผ่าตัดอื่นๆได้
3. การผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy) ในกรณีที่โรครุนแรงจนมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา และ/หรือมีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตาหลุดลอก หรือมีจุดกลางรับภาพจอประสาทตาบวมเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการฉายแสงเลเซอร์หรือยาฉีด จะต้องให้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดน้ำวุ้นตา จอประสาทตา เพื่อพยายามยับยั้งโรคและป้องกันไม่ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
การป้องกัน • ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่าร้อยละ80 การดูแลตัวเองที่ดีจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาได้ • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ระดับปกติ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ • ตรวจกับจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจตาอย่างละเอียด จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนหรือสามารถขจัดปัญหาทางตาได้ตั้งแต่เริ่มแรก และถ้าพบว่าเบาหวานขึ้นตาแล้ว ต้องกลับไปตรวจเป็นระยะๆ • ถ้ามีอาการตามัว ควรไปพบจักษุแพทย์ทันที