631 likes | 1.4k Views
บทที่ 12 โพลิ เมอร์. Polymers. การจัดเรียงตัวของโพลิเมอร์. Polymer เป็นวัตถุอินทรีย์ มีโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ เกิดจากการรวมตัวกันของดมเลกุลขนาดเล็ก ของธาตุ C, N, O, H, S, Si, F and Cl เป็นต้น เกิดจากการสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ และ ในห้องปฏิบัติการ. Monomer 1 nm. Polymer chain 0.1-1 um.
E N D
บทที่ 12โพลิเมอร์ Polymers
การจัดเรียงตัวของโพลิเมอร์การจัดเรียงตัวของโพลิเมอร์ • Polymer เป็นวัตถุอินทรีย์มีโมเลกุลขนาดใหญ่ที่ เกิดจากการรวมตัวกันของดมเลกุลขนาดเล็ก ของธาตุ C, N, O, H, S, Si, F and Cl เป็นต้น • เกิดจากการสังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ และ ในห้องปฏิบัติการ Monomer 1 nm Polymer chain 0.1-1 um
ลักษณะโมเลกุลของ Polymer มี 3 แบบ • เป็นสายยาว (Linear polymer chain) 10-100 nm
(b) สายยาวที่มีสาขา (Branched polymer chain) 10 nm
Polymerization • กระบวนการสังเคราะห์โพลิเมอร์ เป็นกระบวนการที่ทำให้โมโนเมอร์ กลายเป็น โพลิเมอร์ แบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก คือ • Addition Polymerization • Condensation Polymerization
การจำแนกประเภทของโพลิเมอร์การจำแนกประเภทของโพลิเมอร์
ประเภทของพลาสติก 1. Thermoplastics • เกิดจากกระบวนการPolymerization โครงสร้างจะเป็น อสัณฐาน (Amorphous) คือโมเลกุลเดี่ยวต่อกันเป็นลูกโซ่ยาว พลาสติกชนิดนี้จะอ่อนตัวและสามารถขึ้นรูปได้เมื่ออุณหภูมิสูง
ถ้าหากลูกโซ่โมเลกุลมีการเรียงตัวขนานกันและอัดกันแน่นด้วย แรง Van der Waal’s force (ปลายของแต่ละลูกโซ่จะไม่ต่อกัน) มีความหนาแน่นสูง พลาสติกชนิดนี้จะมีสีใสเหมือนแก้ว จะเหนียว และแข็งแรง รับแรงกระแทกได้ดี • ถ้าหากแนวโมเลกุลเรียงขนานกันบางช่วง ทำให้ความหนาแน่นต่ำ แรงระหว่างโมเลกุลลดลง จะมีสีขุ่น ทึบแสง รับแรงกระแทกได้น้อย
ตัวอย่าง Thermoplastics 1. Polyethylene (โพลีเอทิลีน) เรียกย่อว่า PE มีความยืดหยุ่นดีมีทั้งแบบอ่อน และแบบแข็งได้แก่ • Low Density Polyethylene (LDPE)มีความต้านทานการกัดกร่อนดี กันความชื้นได้ดี ความแข็งแรงต่ำ และมีความยืดหยุ่นสูง นิยมใช้ในการผลิต bags, bottles, and liners. • High Density Polyethylene (HDPE)เป็นกลุ่มที่นิยมใช้มากที่สุด รับแรงกระแทกได้ดี น้ำหนักเบา ดูดซับความชื้นน้อย มีความแข็งแรงสูง ไม่เป็นพิษ บรรจุอาหารได้ • Ultra High Molecular Weight Polyethylene (UHMW PE)น้ำหนักเบา มีความแข็งแรงสูง กลึงไสได้เช่นเดียวกับไม้ ใช้ในงานเครื่องจักกลที่ทนต่อการสึกหรอ ต้านทานต่อแรงขัดสี และการกัดกร่อน
2. Polyvinyl Chlorideเรียกย่อว่า PVCไม่มีสี ย้อมสีได้ ทนต่อน้ำมัน จารบี กรด และด่าง ปกติ PVC จะแข็ง แต่เมื่อผสมสารที่ทำให้อ่อนตัวจะฉีดขึ้นรูปและปาดผิวได้ ถ้าเติมสารที่ทำให้อ่อนตัวมากจะกลายเป็น PVC อ่อน หรือหนังเทียม Ex. ท่อน้ำ, แผ่นพลาสติกบาง, แผ่นเสียง, ของเด็กเล่น
3. Polypropyleneเรียกย่อว่า PPมีคุณสมบัติคล้ายกับ PE แต่ทนความร้อนได้สูงกว่า แต่เปราะที่อุณหภูมิต่ำ ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ได้จากกระบวนการ polymerization ของ Propylene (C3H6) สัญลักษณ์การนำกลับมาใช้ใหม่ Propylene
4. Acrylonitrile-Butadiene-Stryreneเรียกย่อว่า ABS เหนียว ทนต่อการกระแทกได้ดีความต้านแรงดึงสูง ใช้ทำใบพัดลม หมวกกันน็อค อุปกรณ์สุขภัณฑ์ 5. Polymethylmethacrylateเรียกย่อว่า PMMA หรือ plexiglass ทนแดด ทนต่อบรรยากาศ แข็งและเหนียว รอยแตกไม่แหลมคม จึงนิยมนำมานำแผ่นแก้วนิรภัย ฝาครอบไฟท้าย ไฟเลี้ยวยานยนต์
โพลิสไตรีน(Polystyrene: PS) • Polystyrene was discovered in 1839 by Eduard Simon • มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
2. Thermosetting Plastics • เกิดจากการนำโมเลกุลเดี่ยวชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดมาทำปฎิกิริยาแยกน้ำออก ภายใต้ความดันและอุณหภูมิ เรียกว่า ‘Polycondensation’ • ปลายของโซ่โมเลกุลชนิดนี้จะยังสามารถทำปฏิกิริยาได้อีก และกลายเป็นไฮโมเลกุลรูปตาข่าย 3 มิติไขว้กัน จะทำให้ได้พลาสติกที่มีพันธะที่แข็งแรง และคงรูป หลังจากการเย็นตัว
เมื่อได้รับความร้อนจะยืดหยุ่น แต่ถ้าสูงเกินไป หรือนานเกินไป จะทำให้โมเลกุลขาดจากกัน และแข็งเปราะ ไม่สามารถขึ้นรูปได้
ตัวอย่าง Thermosetting Plastics • Unsaturated Polyesterเรียกย่อว่า UPไม่มีสี ผิวเป็นมันเงา มีทั้งที่ยืดหยุ่นได้ และแข็งเปราะ Ex. ชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ และตัวเรือ • Epoxy Resinเรียกย่อว่า EPไม่มีสี และมีสีออกเหลืองเหมือนน้ำผึ้ง แข็งและเหนียว จับเกาะวัสดุทุกชนิด ทนการกัดกร่อนได้ดีมาก Ex. ชิ้นส่วนเครื่องบิน กาว • Polyurethaneเรียกย่อว่า PURโปร่งใส สีเหลืองเหนียว และอ่อนเหมือนยาง Ex. โพรียูลีเทนแข็งใช้ทำเฟือง เปลือกรองเพลา โพรียูลีเทนอ่อนใช้ทำ ฟองน้ำเฟอร์นิเจอร์ โพรียูลีเทนเหลวใช้ทำเคลือบเงา
Plastics Manufacturing process 1. การฉีดพลาสติก (Plastic Injection molding) ใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วน หรือชิ้นงานจากเม็ดพลาสติก Injection moulding vdo
การอัดรีด (Extrusion) • สำหรับขึ้นรูปพลาสติกอ่อน ใช้ขึ้นรูปท่อ แผ่น หรือรูปพรรณต่างๆ
die Extruded metal Extrusion Extruded product
เป่าขึ้นรูป(Blow moulding) • สำหรับทำถุงพลาสติก ขวด และถัง Injection blow moulding vdo
Elastomer ยางจัดเป็น พลาสติกยืดหยุ่น(Elastic hydrocarbon polymer) มีความยืดหยุ่นและความเหนียวสูง แต่ความยืดหยุ่นจะลดลงเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า -72 C ยางมี สอง ประเภท คือ • ยางธรรมชาติ (Natural rubber) ได้จากต้นพืช • ยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber) ได้จากกระบวนการ Polymerization
ยางธรรมชาติ (Natural Rubber, NR) • ส่วนมากได้จากยางพารา สายพันธุ์ Hevea Braziliensis มีต้นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ • น้ำยางสด (Latex) เมื่อกรีดออกมาจากต้นมีเนื้อยางแห้ง 30%โดยน้ำหนัก แขวนลอยอยู่ในน้ำ • ยางธรรมชาติที่มีขายในท้องตลาด มี 2 รูปแบบ คือ น้ำยาง และ ยางแห้ง Website สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร http://www.rubberthai.com/
กระบวนการปั่นเหวี่ยง + เติมสารเคมีกันบูด น้ำยางสด 30%wt น้ำยางข้น 60%wt 1. น้ำยาง (Latex): ได้จากการนำน้ำยางสดมาผ่านกระบวนการเหวี่ยงแยกน้ำออกโดยมีเนื้อยาง 60%โดยน้ำหนัก เรียกว่า น้ำยางข้น • ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้น ได้แก่ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ลูกโป่ง จุกนม ที่นอน เบ้าหล่อปูนพลาสเตอร์ เป็นต้น
2. ยางแห้งได้จากการนำน้ำยางมาเติมกรดฟอร์มิก ทำให้เนื้อยางจับตัวและแยกตัวออกมาจากน้ำ แล้วจึงทำการไล่ความชื้นออก ได้แก่ 2.1 ยางแผ่น ( Rubber Sheet)แบ่งเป็น ยางแผ่นรมควัน และยางแผ่นไม่รมควัน ยางแผ่นไม่รมควัน ตากแดด น้ำยางเจือจาง 12-18% เติมกรดค่า pH 5.1-4.8 ให้แข็งตัว รีดน้ำออก ด้วยลูกรีด ล้างน้ำ ให้สะอาด ยางแผ่นรมควัน อบรมควัน 50-70c 3 วัน
ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet, RSS) มี 5 ชั้นคุณภาพ ใช้มากที่สุดคือ ชั้นที่ 3 ผลิตภัณฑ์ของยางแผ่นรมควัน เช่น ยางล้อรถยนต์ สายพาน ท่อน้ำ รองเท้า อะไหล่รถยนต์ เป็นต้น
2.2 ยางเครฟ (Crepe Rubber) • เป็นยางที่ได้จากการนำเศษยางไปรีดด้วยเครื่อง Creping machine แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้ง • สีของยางจะเข้ม และมีความบริสุทธิ์แตกต่างกัน
อบให้แห้ง ทำให้เป็น ก้อนเล็ก 2-3 มม. ทำความสะอาด อัดเป็นแท่งมาตรฐาน 330*670*170 มม. น้ำยาง หรือยางแท่ง 2.3 ยางแท่ง (Technically classified rubber) ยางแท่งจะมีคุณภาพสม่ำเสมอมากกว่ายางแผ่น และยางเครฟ แต่ราคาจะสูง
โครงสร้างของยางธรรมชาติโครงสร้างของยางธรรมชาติ โครงสร้างเป็นโมเลกุลตาข่าย ชื่อเคมี คือ cis-1, 4 polyisoprene monomer
สมบัติทั่วไปของยางธรรมชาติสมบัติทั่วไปของยางธรรมชาติ ข้อดี • มีความยืดหยุ่นสูง • มีความเหนียวติดกันได้ดี • มีความต้านทานแรงดึงสูงโดยไม่ต้องใช้สารเพิ่มเสริมแรง • มีความต้านทานการฉีกขาดทั้งที่อุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิสูง • มีความต้านทานการขัดถูดี • เป็นฉนวนไฟฟ้า • มีความร้อนสะสมต่ำ เหมาะเป็นผลิตภัณฑ์ยางขนาดใหญ่
ข้อเสีย • ไม่ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียม, กรดไนตริก, กรดกำมะถันเข้มข้น • มีช่วงอุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ -55 C ถึง 70 C • มีความต้านทานแรงกดต่ำ • มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดรอยแตกร้าว • หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำนานจะเกิดการเสื่องสภาพ
การใช้งาน (Applications) • ทนต่อแรงดึงสูง ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เช่น ถุงมือยาง ลูกโป่ง ยางรัดของ ที่นอนยางพารา เป็นต้น • มีการสะสมความร้อนต่ำ เหนียวติดกันดี ยางรถบรรทุก, ยางล้อเครื่องบิน, ยางกันกระแทกเรือ เป็นต้น • ทนต่อการฉีกขาดสูงทั้งที่อุณหภูมิต่ำและสูง ยางกระเป๋าน้ำร้อน แบบพิมพ์ปูนพลาสเตอร์ เป็นต้น
กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำยางกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง วิธีการผลิตจะขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ • การจุ่มแบบพิมพ์ (Dipping Process) • การผลิตยางยืด (Treading Process) • การผลิตยางฟองน้ำ (Foaming Process) • การหล่อเบ้าพิมพ์(Casting process)
สารเคมีสำหรับผลิตภัณฑ์จากน้ำยางสารเคมีสำหรับผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง • สารเคมีที่ใช้ผสมลงไปในน้ำยางเป็นตัวช่วยในกระบวน การแปรรูป ให้ยางมีขอบเขตการใช้งานกว้างขึ้นและเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น • แต่อย่างไรก็ตามหลักการสำคัญควรใช้สารเคมีน้อยที่สุดเพื่อให้เหลือสารเคมีที่ตกค้างในผลิตภัณฑ์ให้น้อยที่สุด • โดยทั่วไปแล้วควรล้างผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วยน้ำร้อน เพื่อเป็นการปลอดภัยต่อผู้อุปโภคสารเคมีสำหรับผสมน้ำยางประกอบด้วย1. สารช่วยความเสถียร 2. สารวัลคาไนซ์ 3. สารกระตุ้นปฏิกิริยา 4. สารเร่งปฏิกิริยาคงรูป 5. สารป้องกันยางเสื่อมสภาพ 6. สารตัวเติม7. สารที่ทำให้เกิดเจล 8. สารช่วยให้ยางมีสีสวย
1. การจุ่มแบบพิมพ์ (Dipping Process) • แบบพิมพ์จะผลิตด้วยวัสดุเซรามิกส์, แก้ว หรืออะลูมิเนียม • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือยาง รองเท้าบูธยางไม่มีตะเข็บ ลูกโป่ง จุกนม ถุงยางอนามัย เป็นต้น ทำความสะอาดแบบพิมพ์ จุ่มแบบพิมพ์ลงในน้ำยาง จนน้ำยางฉาบแบบพิมพ์สม่ำเสมอ ถอดผลิตภัณฑ์ ออก จากพิมพ์ น้ำยาง + สารเคมี ยกแม่พิมพ์ขึ้นช้าๆ ล้างทำ ความสะอาด อบยางให้แห้ง และคงรูป
2. การผลิตยางยืด (Treading Process) • เป็นการนำน้ำยางมาผสมสารเคมีแล้วให้ไหลไปตามท่อเล็กๆไปยังอ่างกรด (ทั่วไปนิยมใช้กรดอะซิตริกเข้มข้น 15-55%) เพื่อให้ยางจับตัวกัน จากนั้นดึงยางออกเป็นเส้นด้าย ล้างกรดออกด้วยน้ำ จากนั้นนำไปอบยางให้แห้ง และอบคงรูป • ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยางยืดขอบกางเกง เป็นต้น น้ำยาง ตู้อบแห้ง 85-95 C ตู้อบให้คงรูป 135-145 C อ่างน้ำ อ่างกรด
3. การผลิตยางฟองน้ำ (Foaming Process) • ยางฟองน้ำจะมีรูพรุน ระบายอากาศได้ดี สามารถกดหรือบิดโดยไม้เสียรูป เช่นที่นอน เบาะเก้าอี้ หมอนหนุน เป็นต้น หลักการผลิตยางฟองน้ำ • การทำให้ยางเกิดฟองอากาศขนาดต่างๆด้วยวิธีทางกลหรือเคมี • การทำให้น้ำยางที่เป็นฟองแล้วเปลี่ยนสถานะเป็นเจล(Gel) • การอบยางให้คงรูป
4. การหล่อเบ้าพิมพ์ (Casting process) • ผลิตภัณฑ์เช่น ตุ๊กตา ลูกบอล หน้ากาก หรือ หุ่นยาง ได้จากเป็นการเทน้ำ ยางที่ผสมสารเคมีแล้วลงในเบ้าที่ทำจากเซรามิกส์ หรืออะลูมิเนียม เมื่อยางจับตัวกันแล้วจึงถอดเบ้าออก • ผิวด้านนอกจะเหมือนกับแบบพิมพ์
Vulcanization • เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิด Cross-linking Elastomer โมเลกุลขึ้น โดยการเติม Sulfur (หรือ เติม peroxide-based substance) เพื่อให้เกิดพันธะอะตอมระหว่างโพลิเมอร์ เพื่อให้ได้ยางแท่งที่มีความแข็งแรง ทนต่อสารละลาย และมีความทนทานต่อการใช้งาน และสภาพแวดล้อม • กระบวนการนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Curing
Vulcanization ยางธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลง คือเมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนนุ่มและเมื่อเย็นตัวลงจะแตกง่าย ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย แต่ถ้านำยางธรรมชาติไปเผารวมกับกำมะถันโดยมีตัวเร่งปฏิกิริยายางทำปฏิกิริยากับกำมะถันในที่อุณหภูมิสูงกว่าจุดหลอมเหลวของกำมะถัน จะได้ยางมีสภาพคงตัวในอุณหภูมิต่าง ๆ ดีขึ้น และยืดหยุ่นได้มากขึ้น ปฏิกิริยาระหว่างยางกับกำมะถันเรียกว่า ปฏิกิริยาวัลคาไนเซชัน ( vulcanization ) กรรมวิธีนี้จะได้ยางที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น และทนความร้อนได้ดีกว่าเดิม
Vulcanization ปกติยางธรรมชาติ เมื่อได้รับความร้อนจะเหนียวและอ่อนตัว แต่มื่ออุณหภูมิต่ำจะแข็งและเปราะ ฉะนั้นจึงต้องปรับคุณภาพของยางธรรมชาติ ก่อนนำมาทำยางรถยนต์ โดยการวัลคาไนเซชัน และเติม - ซิลิกา ซิลิเกต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของยาง - ผงถ่าน เพื่อช่วยป้องกันการสึกกร่อน และทนต่อแสงแดดที่จะทำลายโครงสร้างของพอลิเมอร์ในยาง
Additives • Fillers:สารเพิ่มความแข็งแรง เช่น glass fibers, Graphite • Plasticizer:สารเพิ่มความยืดหยุ่น • Lubricants:สารหล่อลื่น • Pigment:สี • Flame retardant:สารป้องกันการติดไฟ • Stabilizer:สารกันเสีย เพิ่มอายุการใช้งาน • Antistate:สารลดการเกิดประจุไฟฟ้า
ยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber)
ยางสังเคราะห์ (Synthetic rubber) • ยางสังเคราะห์เป็นยางที่ได้จากการสังเคราะห์จากปฏิกิริยาเคมี polymerization โดยมีขั้นตอน ดังนี้ • สังเคราะห์โมโนเมอร์ยางจากอุตสาหกรรมปิโตเคมี • นำโมโนเมอร์มาต่อกัน
พอลิบิวตาไดอีน มอนอเมอร์ คือ บิวตะไดอีน หรือ 1,3 บิวตะไดอีน ถ้าหากผ่านกระบวนการ วัลคาไนเซชัน ยังมีความยืดหยุ่นน้อยกว่ายางธรรมชาติใช้เป็นยางรถยนต์ได้ • พอลิคลอโรพรีน หรือ นีโอพรีน มอนอเมอร์ คือ คลอโรพีน สลายตัวยากทนไฟ ทนต่อสภาพที่สัมผัสกับน้ำมันเบนซินหรือ ตัวทำละลายอินทรีย์ได้ดี • ยางSBR คือ ยางสไตรีน • บิวตาไดอีน จัดเป็นพวกยางโคพอลิเมอร์ มอนอเมอร์ คือ สไตรีน กับ บิวตาไดอีน ยางชนิดนี้ทนต่อการขัดถู เกิดปฏิกิริยากับ น้ำได้ยากกว่ายางธรรมชาติ ยืดหยุ่นต่ำ ใช้เป็นส่วนผสมในการทำยางรถยนต์
ยางโพลีไอโซพรีน (Cis-1,4-Polyisoprene, Isoprene rubber, IR) • เป็นยางสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างเคมีคล้ายยางธรรมชาติ แต่ทนการฉีกขาดได้ต่ำกว่า • สามารถใช้แทนยางธรรมชาติ แต่ราคาจะสูงกว่า • ใช้กันมากในอุตสาหกรรม เนื่องจากมีคุณสมบัติสม่ำเสมอ สิ่งเจือปนน้อย สีสม่ำเสมอ
ยาง สไตรีน-บิวตาดีน (Styrene-Butadiene Rubber, SBR) • เป็นยางสังเคราะห์ที่ใช้กันมากที่สุด • ราคาไม่แพง • ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ ท่อยาง • ผสมกับยางชนิดอื่นเพื่อผลิต ยางรถยนต์ขนาดเล็ก