570 likes | 698 Views
การเบิกจ่าย. ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ. ขอบเขตเนื้อหา. ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ. รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด. หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ. หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง. รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง.
E N D
การเบิกจ่าย ค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ
ขอบเขตเนื้อหา • ลักษณะของรายจ่ายที่เบิกเป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ • รายจ่ายลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ที่ได้กำหนด หลักเกณฑ์ไว้ในกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีและ หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง • รายจ่ายลักษณะใดที่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวง การคลัง และรายจ่ายใดที่ไม่ต้องขอทำความตกลงกับ กระทรวงการคลัง
กฎหมายและระเบียบการคลังกฎหมายและระเบียบการคลัง 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. กฎหมายเงินคงคลัง 3. กฎหมายวิธีการงบประมาณ 4. กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 5. ระเบียบการบริหารงบประมาณ 6. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง 7. ระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำส่งคลังของ ส่วนราชการ 8. ระเบียบเงินทดรองราชการ
การเบิกเงินงบประมาณ • ประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว • ได้รับอนุมัติวงเงินประจำงวดแล้ว • มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือ ผู้มีสิทธิ • หนี้นั้นถึงกำหนดหรือใกล้ถึงกำหนดต้องจ่ายเงิน
จำแนกงบประมาณรายจ่าย • รายจ่ายงบกลาง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจทั่วไปเบิกจ่าย
จำแนกงบประมาณรายจ่าย • รายจ่ายของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ - งบบุคลากร - งบดำเนินงาน - งบลงทุน - งบเงินอุดหนุน - งบรายจ่ายอื่น
รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้รายจ่ายที่เบิกจ่ายได้ กฎหมาย ระเบียบ กระทรวงการคลัง อนุมัติให้จ่ายได้ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง
หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทน ฯลฯ - ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด - ถัวจ่ายภายในวงเงินประจำงวด - เบิกจ่ายตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังฯ (ข้อ 53) เจ้าของงบประมาณจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี อนุญาตให้จ่ายได้หรือตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมายของเงินค่าตอบแทน เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฎิบัติงานให้ทางราชการ
รายจ่ายประเภทค่าตอบแทนรายจ่ายประเภทค่าตอบแทน ความหมาย : เงินที่จ่ายตอบแทนให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้แก่ทางราชการ ลักษณะ • เงินเดือน • นอกเหนือเงินเดือน • นอกเวลาราชการปกติ • นอกเหนืองานในหน้าที่ • เงินเพิ่มรายเดือน
ระเบียบ กค. ว่าด้วยค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน ของข้าราชการ และลูกจ้างประจำฯ 2547 ที่ กค 0409.6/ว 46 ลว. 7 เม.ย. 47 ที่ กค 0409.6/ว 56 ลว. 12 พ.ค. 47 หลักเกณฑ์ 1. ข้าราชการได้เงินเดือน + ตำแหน่ง ให้ได้ค่าตอบแทน เท่ากับเงินตำแหน่ง เว้น ระดับ 7 2. ข้าราชการที่ได้เงินเดือนระดับ 8 8ว หรือเทียบเท่า ให้ได้รับ 3,500 บาท 3. ข้าราชการ 1-7 - เงินเดือนยังไม่เต็มขั้น - เงินเดือนเต็มขั้น
(1) มีขั้นเหลืออยู่ 1.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 2% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง (2) มีขั้นเหลืออยู่ 1 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 4% ของอัตราเงินเดือนฯ (3) มีขั้นเหลืออยู่ 0.5 ขั้น ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 6% ของอัตราเงินเดือนฯ (4) ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนฯ 4. หากได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงินตอบแทนพิเศษตามระเบียบ พ.ศ. 2544 และได้ปรับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้ว ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนเพิ่ม 8% ของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูง 5. หากพ้นหรือเลื่อนอันดับหรือตำแหน่ง ให้งดจ่ายเงินค่าตอบแทน
ระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 ผู้มีสิทธิ • ข้าราชการพลเรือน • ข้าราชการทหาร ไม่รวมถึงนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมและทหารกองประจำการ • ข้าราชการตำรวจไม่รวม พลตำรวจสำรอง • ลูกจ้างประจำ
เกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเกณฑ์การจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 1,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ แล้วต้องไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท ถ้าเงินเพิ่มฯ รวมกับเงินเดือนฯ แล้วไม่ถึง 7,700 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มฯ เพิ่มขึ้น เมื่อรวมกับเงินเดือนฯ เป็น 7,700 บาท สำหรับกรณีผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งและได้รับเงินตอบแทนพิเศษอัตราร้อยละ 2, 4, 6 และ 8 ของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2544 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2547 แล้วแต่กรณี ให้นำเงินค่าตอบแทนดังกล่าวมารวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูงอันดับหรือตำแหน่งก่อน หากมีจำนวนไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท ถึงจะมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
วิธีการเบิก • ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด • การเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ งบบุคลากร ลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจำตามรหัสหมวดรายจ่ายย่อย ที่กระทรวงการคลังกำหนด • เงินค่าตอบแทนพิเศษรวมเงินเดือน หรือค่าจ้าง มีเศษสตางค์ ให้ปัดทิ้ง • การจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว มีเศษสตางค์ให้ปัดทิ้ง
เงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลา
“เงินตอบแทน” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ปกติ โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงานหรือโดยลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอก ที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้นนอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน และหรือโดยลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัดหรือกะและ ได้ปฏิบัติงานนั้นนอกผลัดหรือกะของตน”
“การปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หมายความว่า การปฏิบัติงานประจำตามหน้าที่ปกติของ ข้าราชการในส่วนราชการนั้น ๆ ซึ่งจัดให้มีการปฏิบัติงานผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตลอด 24 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน ดังกล่าวถือเป็นเวลาราชการปกติของ ข้าราชการผู้นั้น ทั้งนี้ การปฏิบัติงานในผลัดหรือกะหนึ่ง ๆ ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาหยุดพัก)”
ต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ให้ให้พิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบและ วิธีการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน กรณีที่มีราชการจำเป็นเร่งด่วนต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ให้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยไม่ชักช้า และให้แจ้งเหตุแห่ง ความจำเป็นที่ไม่อาจขออนุมัติก่อนได้
ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนนอกเวลาราชการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลา ราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทาง ไปราชการนั้นเสร็จสิ้นหรือเสร็จสิ้น การฝึกอบรมในแต่ละวันและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน
การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในวันทำการ ให้มีสิทธิเบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 50 บาท การปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
กรณีมีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานซึ่งเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานเป้นครั้งคราวหรือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้หน่วยงานปฏิบัติมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนและมีลักษณะเร่งด่วน เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการหรือประโยชน์สาธารณะ หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการติดต่อกัน โดยให้มีสิทธิเบิกเงินตอบแทนเป็นรายครั้งไม่เกินครั้งละ 7 ชั่วโมง ในอัตราชั่วโมงละ 60 บาท
การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหลายช่วงเวลาภายในวันเดียวกันให้นับเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทุกช่วงเวลารวมกัน เพื่อเบิก เงินตอบแทนสำหรับวันนั้น การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนอื่นของทางราชการสำหรับการปฏิบัติงานนั้นแล้ว ให้เบิกได้ทางเดียว
กระทรวงการคลังกำหนดแบบฟอร์มประกอบการเบิกจ่าย ซึ่งส่วนราชการอาจกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมจากแบบฟอร์มได้ตามความเหมาะสม
เบี้ยประชุมกรรมการ ยกเลิก 1. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2523 2. พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมและค่าตอบแทนที่ปรึกษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง พ.ศ. 2523 3. มติ ครม. กำหนดเงินสมนาคุณรายเดือน • พ.ร.ฎ. เบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 • มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
คณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมคณะกรรมการคณะอนุกรรมการที่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม แต่งตั้งโดย • (1) ก.ม. /ประกาศพระบรมราชโองการ • (2) ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนฯ ประธานวุฒิสภา • (3) คณะรัฐมนตรี/รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ครม. • (4) นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล • (5) คณะกรรมการ • คณะกรรมการ (1) – (4) • คณะอนุกรรมการ (1) – (5)
ลักษณะเบี้ยประชุม กรรมการ (1) รายเดือน: • แต่งตั้งโดย ก.ม. ประกาศพระบรมราชโองการ • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสูง กำหนดนโยบายซึ่งมีผลกระทบ ต่อการบริหาร เศรษฐกิจ สังคม - รายชื่อและอัตราตามที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - แต่งตั้งโดย กม. ประกาศพระบรมราชโองการ นอกจาก (1) - โดยประธานรัฐสภาประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา • โดย ค.ร.ม. นายก หรือ ร.ม.ต. ซึ่งได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม.
ลักษณะเบี้ยประชุม (ต่อ) อนุกรรมการ (1) รายเดือน: • คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการที่ได้รับรายเดือน • มีหน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญพิเศษ • ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังกำหนด (2) รายครั้ง : - คณะอนุกรรมการนอกจาก (1) • อ.ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม ให้ได้รับเฉพาะ บุคคลต่างส่วนราชการและบุคคลภายนอก
อัตราเบี้ยประชุม • รายเดือน - ตามรายชื่อและอัตราที่ ร.ม.ต. คลังประกาศกำหนด - ได้รับเฉพาะเดือนที่เข้าร่วมประชุม • รายครั้ง - กรรมการ ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท - อนุกรรมการ ” 500 บาท - ประธานเพิ่ม 1 ใน 4 - รองประธานเพิ่ม 1 ใน 8 - เลขานุการไม่เกิน 1 คน ผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน
ที่ปรึกษาคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมเช่นเดียวกับกรรมการ และเฉพาะที่ปรึกษาซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยกฎหมาย/ประกาศพระบรมราชโองการ
ต้องมีกรรมการ อนุกรรมการ มาประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จึงจะเป็นองค์ประชุมและ มีสิทธิเบิกเบี้ยประชุม
ระเบียบ กค. ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2549 “ค่าใช้จ่าย” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน เบิกจากงบดำเนินงานในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ค่าสาธารณูปโภคหรืองบรายจ่ายใดที่เบิกจ่ายในลักษณะเดียวกัน
ค่าใช้จ่ายที่กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือ มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เฉพาะ ให้เบิกจ่ายได้ ตามที่กำหนด เช่น • ประกันภัยทรัพย์สิน • ค่าเช่ารถยนต์ • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง • ค่าเบี้ยประชุม • ค่าใช้จ่ายในการรับรองชาวต่างประเทศ
ค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศค่าใช้จ่ายในการประชุมระหว่างประเทศ • ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม • ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน • ค่าเครื่องแต่งตัวข้าราชการที่เดินทางไปราชการ ต่างประเทศชั่วคราว • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับศพข้าราชการและลูกจ้างประจำ ของทางราชการ ซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่าง เดินทางไปราชการ
ค่าใช้จ่ายที่เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงค่าใช้จ่ายที่เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง • ตามที่กฎหมายกำหนด • สัญญาอนุญาโตตุลาการ • คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ • คำสั่งหรือคำพิพากษาศาล
ค่าใช้จ่ายที่เบิกตามระยะเวลาและอัตรา ที่กระทรวงการคลังกำหนด • ค่าสินไหมทดแทนกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้กระทำละเมิด
ค่าเช่าอาคารและที่ดินรวมค่าบริการอื่นเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราดังนี้ค่าเช่าอาคารและที่ดินรวมค่าบริการอื่นเบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราดังนี้ • ค่าเช่าอาคารเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่เกิน ต.ร.ม. ละ 500 บาท/เดือน ถ้าเกินเบิกได้วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน • ค่าเช่าที่ดินเพื่อใช้ในราชการ จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน หากมีความจำเป็นต้องเบิกจ่ายเกินกว่าอัตรา ที่กำหนด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าของงบประมาณ ในอัตราไม่สูงกว่าอัตราท้องตลาด
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามภารกิจปกติหรือตามนโยบาย ของทางราชการ อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ • การจ้างเอกชนดำเนินงาน • ค่าวัสดุ • การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ • ค่าสาธารณูปโภค ยกเว้น ที่จ่ายแทนข้าราชการ
การจัดประชุมราชการ • ค่าตอบแทนล่าม • ค่าโล่ ของรางวัล และของที่ระลึก • ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินของทางราชการ • ค่าของที่ระลึกมอบให้ชาวต่างประเทศ
ที่ กค 0502 / ว 101 ลว. 10 ก.ค. 2533 • จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันในหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและ วัสดุ หรือ หมวดอื่นๆ ที่เบิกจ่ายในลักษณะหมวดดังกล่าว • กรณีที่ไม่มี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ ค.ร.ม. หรือ รายการที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้จ่ายในเรื่องนั้นๆ ไว้แล้ว • ดุลยพินิจ หนส.ราชการอนุมัติจ่ายได้ เท่าที่จ่ายจริง จำเป็น ประหยัด ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหน่วยงาน
ที่ กค 0526.5 / ว 28596 ลว. 5 ส.ค. 2540 • ค่าใช้จ่ายในหมวดค่าตอบแทน ฯลฯ หรือหมวดอื่น ฯลฯ ให้เป็นไปตามการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ • การมอบหมาย เป็นไปตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 • ค่าใช้จ่ายที่ หน. ส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ไม่สามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาต • ต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่หลักโดยตรงตามกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายจาก ค.ร.ม.
การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชนการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างเอกชน ดำเนินงานของส่วนราชการ ( กค 0526.5 / ว 131 ลว. 28 ธ.ค. 2541) • กรณีไม่มีผู้ปฏิบัติงาน & เป็นงานโครงการใหม่ • มีผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถแล้วเสร็จตามกำหนด - ปริมาณงานมาก - ตำแหน่งว่าง / ยุบเลิก
ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.6/ว 86 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 • ไม่ถือเป็นการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ • ไม่ถือเป็นการจ้างแรงงาน ไม่มีนิติสัมพันธ์ในฐานะ “นายจ้าง – ลูกจ้าง” ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคม • มุ่งผลสำเร็จของงานที่จ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด อาจจ้างเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ • ค่าตอบแทนอื่น ๆ เงินค่าล่วงเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ควรกำหนดไว้ในสัญญาจ้าง • ส่วนราชการผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุม บังคับบัญชา มีเพียงอำนาจ ในการตรวจตรางาน สั่งปรับปรุงแก้ไขไม่อยู่ในระเบียบ ข้อบังคับ ของลูกจ้างของส่วนราชการ
การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐการประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤษภาคม 2548และวันที่ 21มิถุนายน 2548 เห็นชอบหลักเกณฑ์การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐและอนุมัติหลักการให้ทางราชการต้องจัดให้มีการประกันภัยภาคบังคับตาม พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
หลักเกณฑ์ 1. ถือหลักประกันตนเองเว้นแต่สถานที่ราชการที่มีคลังเก็บสิ่งของหรือโรงงานที่อาจมีความเสียหายมาก เมื่อเกิดอัคคีภัย ประกันภัยได้ 2. ประกันอัคคีโรงงานหรือที่เก็บพัสดุของรัฐวิสาหกิจที่มีความเสี่ยง 3. สถานที่ราชการในต่างประเทศซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาล
4. รถยนต์ของสำนักงานในต่างประเทศ 4.1 รถยนต์ส่วนกลางและรถยนต์ประจำตำแหน่ง ให้ทำประกันแบบคุ้มครองบุคคลที่ 3 หรือ ตามกฎหมายประเทศนั้น ๆ 4.2 สำหรับภาคสมัครใจ ทำได้หากสถานราชการ ไม่ปลอดภัย มีการปล้นจี้ โจรกรรมรถยนต์ในอัตราสูง 4.3 ให้สถานฑูต สถานกงสุล ที่อยู่ในประเทศที่ติด ชายแดนประเทศไทยทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยในประเทศไทย
5. รถยนต์ของสำนักงานในประเทศ - รถราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ภาคบังคับ ส่วนราชการต้องจัดทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ ภาคสมัครใจ พิจารณาตามความจำเป็น เหมาะสมกับภารกิจ เสนอ คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
6. หากจะประกันภัยทรัพย์สินอื่น ๆ ให้เสนอ คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัย ทรัพย์สินของรัฐ องค์ประกอบ ปลัดกระทรวง ประธานกรรมการ ผู้แทน สำนักงบประมาณ กรมการประกันภัย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด กรมธนารักษ์ กรรมการและเลขานุการ
การเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการการเช่ารถยนต์มาใช้ในราชการ (ที่ นร 0504/ว 195 ลว. 7 ส.ค. 2546) - สัญญาเช่า 5 ปี - ใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเช่าตามที่ กค. กำหนด - เบิกจ่ายจากหมวดค่าใช้สอย ระบุรายการค่าเช่ารถ - ขอผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตาม ม. 23 พรบ. วิธีงบประมาณ พ.ศ.2502