400 likes | 767 Views
การประชุมเชิงปฏิบัติการ และให้ความรู้เกณฑ์รายรหัส หมวด 6 การจัดการกระบวนการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ( PMQA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. PMQA. วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2554 ห้องประชุม... ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. PMQA. Public Sector Management Quality Award. TQA.
E N D
การประชุมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้เกณฑ์รายรหัสการประชุมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้เกณฑ์รายรหัส หมวด 6 การจัดการกระบวนการ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PMQA วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2554 ห้องประชุม... ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
PMQA Public Sector Management Quality Award TQA Thailand Quality Award MBNQA Malcolm Baldrige National Quality Award
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ ตัวชี้วัดที่ 11 (น้ำหนัก ร้อยละ 20) “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)” • คำอธิบาย: • การดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามตัวชี้วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา จังหวัดได้ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Fundamental Level) จำนวน 4 หมวด ได้แก่ หมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 และหมวด 4 • สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. ยังคงมุ่งเน้นเพื่อผลักดันให้จังหวัดปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง โดยวัดความสำเร็จของการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในหมวดที่เหลือจำนวน 2 หมวด ได้แก่ หมวด 5 และหมวด 6 รวมทั้ง ให้ความสำคัญกับการ “รักษา” ระบบการบริหารจัดการที่ดีที่จังหวัดได้ดำเนินการมาแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาองค์การตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า (Progressive Level: PL) ที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ต่อไป 3
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ สาระสำคัญของแนวทางดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 มีความแตกต่างเพียง 3 ประการ ดังนี้: ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน ทั้ง 7 หมวด เนื่องจากจังหวัดจะต้องได้รับการตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบบริหารจัดการในขั้น Progressive Level ที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ต่อไป ตัวชี้วัดผลลัพธ์ของหมวด 7 เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้ง 6 หมวด ซึ่งจังหวัดจะเลือกจากตัวชี้วัดแนะนำมาหมวดละ 1 ตัวชี้วัด เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ของกระบวนการ และเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่จังหวัดต้องผลักดันการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบกับตัวชี้วัดที่เลือกในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 นี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจรับรองการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ของหมวดที่ดำเนินการที่จังหวัดได้คัดเลือกมาในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (แบบฟอร์ม 4.2) และส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ให้คะแนนความครบถ้วนตามตัวชี้วัดย่อย 15.3.3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 แล้ว สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ขอยกเลิกการให้คะแนนผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ดังกล่าว เนื่องจากได้มากำหนดเป็นตัวชี้วัดในหมวด 7 ซึ่งสะท้อนผลลัพธ์ของกระบวนการที่ครอบคลุมทุกหมวดแล้ว
มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ ข้อแนะนำ : • การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้องค์การได้ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้น แม้ในหมวดที่จังหวัดได้ดำเนินการผ่านเกณฑ์ฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 ไปแล้วก็ตาม จังหวัดควรให้ความสำคัญกับการ “รักษา” ระบบบริหารจัดการที่ดีดังกล่าวให้ต่อเนื่อง เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบบริหารจัดการในขั้น Progressive Level ที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ต่อไป • ขอบเขตการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระดับจังหวัด ให้ดำเนินการเป็นภาพรวมจังหวัดที่ครอบคลุมทุกส่วนราชการประจำจังหวัดที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค และให้ครอบคลุมถึงทุกหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดของส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆ ด้วย
เกณฑ์ PMQA ระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL) เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับก้าวหน้า เป็นเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์การได้ปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเป็นกรอบการประเมินที่สามารถบ่งชี้ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และสะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาของส่วนราชการโดยเฉลี่ยเป็นระดับที่กระบวนการสัมฤทธิ์ผล ดังนี้ • มีกระบวนการ/ระบบที่มีประสิทธิภาพและทำอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับกิจกรรมในหัวข้อที่ประเมิน (Approach) • กระบวนการ/ระบบ เป็นที่เข้าใจยอมรับ และมีบทบาทสนับสนุนกระบวนการ/กิจกรรมในกิจกรรมด้านนี้ (Deployment) • องค์กรมีการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการ/ระบบของกิจกรรมด้านนี้ และมีการปรับปรุงให้กระบวนการ/ระบบให้ดีขึ้น (Learning) • กระบวนการ/ระบบเกี่ยวกับกิจกรรมด้านนี้สอดรับ สนับสนุนกิจกรรมระดับสำคัญขององค์กรที่ระบุไว้ในภารกิจ/ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Integration)
กรอบแนวคิดที่สำคัญ 3 ประการ เกณฑ์ PMQA ระดับก้าวหน้า (Progressive Level : PL) • Systematic คือ ความเป็นระบบของกระบวนการต่างๆ ของส่วนราชการที่จะทำให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการไปได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร • 2) Sustainable คือ การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น มุ่งเน้นในการนำกระบวนการที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบไปสู่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของส่วนราชการ • 3) Measurable คือ การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการ รวมทั้งใช้ในการศึกษาเทียบเคียง (Benchmark) เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาส่วนราชการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ลักษณะสำคัญขององค์กร หมวด 1,2,3,5,6 และหมวด 7 หมวด 4
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ P : ลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และความท้าทาย 5. การมุ่งเน้น ทรัพยากรบุคคล 2. การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ 1. การนำองค์กร 7. ผลลัพธ์ การดำเนินการ 3. การให้ความสำคัญ กับผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. การจัดการ กระบวนการ 4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
วงจรคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐวงจรคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
Roadmap การพัฒนาองค์การ 2552 2554 2553 5 1 2 กรมด้านบริการ 6 3 4 • เน้นความสำคัญกับผู้รับบริการ โดยออกแบบกระบวนงานและพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 1 3 กรมด้านนโยบาย 6 2 5 • เน้นความสำคัญของยุทธศาสตร์และการนำไปปฏิบัติ โดยมีระบบการวัดผลการดำเนินการที่เป็นระบบ 2 1 5 จังหวัด 3 4 6 • เน้นความสำคัญของฐานข้อมูลในการผลักดันยุทธศาสตร์ภายใต้ระบบการนำองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 1 3 2 Successful Level สถาบันอุดมศึกษา 6 4 5 • เน้นความสำคัญของการกำหนดทิศทางองค์กรที่ชัดเจน และการพัฒนาบุคลากรเพื่อเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระดับพื้นฐาน (Fundamental Level) “ระดับพื้นฐาน” หมายถึงกระบวนการเริ่มได้ผล • มีกระบวนการ/ระบบที่มีประสิทธิภาพและทำอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับ กิจกรรมในหัวข้อที่ประเมิน (Approach) • กระบวนการ/ระบบ เป็นที่เข้าใจยอมรับ และเริ่มมีบทบาทสนับสนุน กระบวนการ/กิจกรรมในกิจกรรมด้านนี้ (Deployment) • องค์กรเริ่มมีการประเมินประสิทธิผลของกระบวนการ/ระบบของกิจกรรมด้านนี้ อาจมีการปรับปรุงให้กระบวนการ/ระบบให้ดีขึ้นบ้าง (Learning) • กระบวนการ/ระบบเกี่ยวกับกิจกรรมด้านนี้สอดรับ สนับสนุนกิจกรรมระดับ สำคัญขององค์กรที่ระบุไว้ในภารกิจ/ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ (Integration)
1. Continuous improvements 2. Breakthroughs 3. Standardization Continuous improvements Breakthroughs Standardization
เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในระดับพื้นฐาน (Fundamental Level) • มีแนวทาง (มีระบบ) • มีการนำไปใช้จริง • เริ่มเกิดผล • มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง • มีการพัฒนา • มีความก้าวหน้า • เริ่มบูรณาการกับระบบงานอื่น ๆ โดยสรุป • ประกอบด้วย 7 หมวดรวม 47 ประเด็น • แต่ละประเด็นเป็นการมุ่งเน้นกระบวนการและระบบงานพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อตอบสนองประเด็นต่าง ๆ ของ พรฎ. ต่าง ๆ • จังหวัดต้องดำเนินการในแต่ละประเด็นให้ครบในทุกข้อและทุกหมวด
การประเมิน หมวด 1-6ADLI Integration I PDCA Alignment Approach A Learning L Result Plan Check/Share/Act Deployment D Do
หมวด 6 การจัดการกระบวนการ
การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PM 1 PM 1 จังหวัดต้องกำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่าจากยุทธศาสตร์ พันธกิจ และความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของส่วนราชการ หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (PM)
A PM 1 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • กำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่าจาก ยุทธศาสตร์ พันธกิจ และความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • จังหวัดควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่ากระบวนการที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามพันธกิจ ยุทธศาสตร์ของจังหวัดหรือไม่ ซึ่งอย่างน้อยหลักเกณฑ์ในการกำหนดกระบวนการที่สร้างคุณค่า ต้องประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ พันธกิจ ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PM 2 PM 2 จังหวัดต้องจัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่าจากความต้องการของผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อกำหนดด้านกฎหมาย และข้อกำหนดที่สำคัญที่ช่วยวัดผลการดำเนินงาน และ/หรือปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (PM)
A D PM 2 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • จัดทำข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่าจากoความต้องการของผู้รับบริการ • oความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • oข้อกำหนดด้านกฎหมาย • oประสิทธิภาพของกระบวนการ • oความคุ้มค่าและการลดต้นทุน • การกำหนดตัวชี้วัดของกระบวนการที่สร้างคุณค่า
L PM 2 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • มีการติดตามผลของตัวชี้วัดของกระบวนการ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการ • การดำเนินการตาม PM 2 ต้องให้เจ้าของกระบวนการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดที่สำคัญ และตัวชี้วัดกระบวนการรวมถึงการออกแบบกระบวนการ จึงจะทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จ
การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PM 3 PM 3 จังหวัดต้องออกแบบกระบวนการจากข้อกำหนดที่สำคัญใน PM 2 และนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สำคัญมาประกอบ การออกแบบกระบวนการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและปรับปรุงกระบวนอย่างต่อเนื่อง หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (PM)
A D PM 3 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • แสดงวิธีการออกแบบกระบวนการที่มาจากข้อกำหนดที่สำคัญของกระบวนการที่สร้างคุณค่า • แสดงปัจจัยอย่างน้อย 2 ปัจจัยดังต่อไปนี้ในการออกแบบ • o องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ เปลี่ยนแปลงไป • o ขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติงาน • o การควบคุมค่าใช้จ่าย • o ปัจจัยเรื่องประสิทธิภาพและประสิทธิผล • มีการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการและการนำไปปฏิบัติ
L PM 3 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • มีการตรวจสอบกระบวนการที่สร้างคุณค่าเพื่อวิเคราะห์หาจุดที่ควรปรับปรุง โดยการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการ หรือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันของผู้ปฏิบัติงาน • กระบวนการที่สร้างคุณค่าทุกกระบวนการ ต้องออกแบบกระบวนการ โดยนำปัจจัยที่กำหนดไว้มาใช้ในการออกแบบ (การออกแบบอาจหมายถึงการกำหนดขั้นตอนของกระบวนงานที่ชัดเจน ) และเมื่อออกแบบแล้วต้องสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ และสร้างระบบการควบคุมกระบวนการด้วย
การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PM 4 PM 4 จังหวัดต้องมีระบบรองรับภาวะฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อการจัดการกระบวนการ เพื่อให้ส่วนราชการจะสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (PM)
A L D PM 4 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • มีแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อป้องกับผลกระทบกับการจัดการกระบวนการในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน(อาจพิจารณาความครอบคลุมของแผนประกอบด้วย เช่น อย่างน้อยควรมี แผนที่เกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติ สาธารณภัยต่าง ๆ) • สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนสำรองฉุกเฉินรับทราบถึงแนวทางปฏิบัติ • มีการทบทวนเพื่อปรับปรุงแผนสำรองฉุกเฉินให้เหมาะสมทันสมัยอยู่เสมอ
PM 4 I ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของระบบรองรับภาวะฉุกเฉินต่อการดำเนินการตามพันธกิจหลักของส่วนราชการว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง • จังหวัดส่วนใหญ่มักมีแผนสำรองฉุกเฉิน แต่ขาดเรื่อง การสื่อสารให้คนในองค์กรรับทราบ นอกจากนี้ต้องมีการนำแผนสำรองฉุกเฉินมาทบทวน ให้เหมาะสมทันสมัยเสมอ
การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PM 5 PM 5 จังหวัดต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน โดยมีวิธีการในการนำมาตรฐานการปฏิบัติงานดังกล่าวให้บุคลากรนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลตามข้อกำหนดที่สำคัญ หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (PM)
A D PM 5 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • แสดงรายชื่อกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุนที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหาร • คัดเลือกกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุนไม่น้อยกว่า 50% มาจัดทำมาตรฐานงาน • มาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างน้อยควรประกอบด้วย WorkFlow และมาตรฐานคุณภาพงาน • แสดงวิธีการที่ส่วนราชการนำมาตรฐานการปฏิบัติงานไปสู่การปฏิบัติ โดยการเผยแพร่มาตรฐาน การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน การมีระบบติดตามมาตรฐานงานเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
L PM 5 I ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานเพื่อการปรับปรุงกระบวนการ • มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรือมีระบบต่าง ๆ ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามข้อกำหนดของกระบวนการ • สามารถอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างหมวด 6 กับระบบ อื่น ๆ ได้
PM 5 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • คู่มือการปฏิบัติงานต้องประกอบด้วย Workflow และมาตรฐานงานหรือมาตรฐานคุณภาพงาน (ข้อกำหนดใน เชิงคุณภาพ)
ตัวอย่างแบบฟอร์มการออกแบบกระบวนการตัวอย่างแบบฟอร์มการออกแบบกระบวนการ ชื่อกระบวนการ..........................................................................ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ................................................... No Yes No Yes จุดเชื่อมต่อระหว่างขั้นตอน (เช่น กรณีการเขียนกระบวนการ ไม่สามารถจบได้ภายใน 1 หน้า) การตัดสินใจ ทิศทาง/ การเคลื่อนไหว ของงาน จุดเริ่มต้น และ สิ้นสุดของกระบวนการ กิจกรรมและ การปฏิบัติงาน
ตัวอย่าง1 การออกแบบกระบวนการ ชื่อกระบวนการ......กระบวนการรับหนังสือภายนอก.................ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ... ร้อยละของเอกสารที่รับได้ภายใน 2 วัน............ ลงทะเบียนรับ ตรวจสอบหนังสือเบื้องต้น เสนอ ผอ.สลธ. จัดส่งหนังสือไปยัง สำนักที่เกี่ยวข้อง สำนักเจ้าของเรื่อง ลงรับเอกสาร เสนอ ผอ.สำนัก เจ้าของเรื่อง
การออกแบบกระบวนการ ตัวอย่าง2 ชื่อกระบวนการ......กระบวนการจัดทำแผนงานโครงการ.................ตัวชี้วัดที่สำคัญของกระบวนการ... ร้อยละข้อผิดพลาดในการจัดทำแผนงานโครงการ ศึกษาวิเคราะห์ แนวทางการดำเนินงาน จัดทำแผนงานโครงการ เสนอ ผู้บริหารเพื่ออนุมัติโครงการ No Yes จัดซื้อจัดจ้าง
การดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 PM 6 PM 6 จังหวัดต้องมีการปรับปรุงกระบวนการที่สร้างคุณค่าและกระบวนการสนับสนุน เพื่อให้ผลการดำเนินการดีขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด การทำงานซ้ำ และความสูญเสียจากผลการดำเนินการ หมวด 6 การจัดการกระบวนการ (PM)
A D PM 6 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • แนวทาง/ วิธีการปรับปรุงกระบวนการ • แนวทาง/วิธีการในการป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด การทำงานซ้ำ และลดการสูญเสีย เช่นการบริหารความเสี่ยงของกระบวนการ • วิธีการสื่อสารมาตรฐานการปฏิบัติงานให้บุคลากรทราบ เช่น การประชุม หนังสือเวียน • ตัวอย่างกิจกรรม/ โครงการในการปรับปรุงกระบวนการ
L PM 6 ประเด็นการตรวจจะพิจารณา จาก... • หลักฐานการทบทวนกระบวนการ เช่น การประชุมคณะทำงาน การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการทบทวนกระบวนการ • เป็นการแสดงตัวอย่างการปรับปรุงกระบวนการที่สร้างคุณค่าอย่างน้อย 1 กระบวนการ และ กระบวนการสนับสนุน อย่างน้อย 1 กระบวนการ ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถทำให้ผลการดำเนินการดีขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด การทำงานซ้ำ และความสูญเสียจากผลการดำเนินการ (แต่ใน RM6 ต้องปรับปรุง 3 กระบวนการ)
หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ (Result Management) ให้ส่วนราชการเลือกจากตัวชี้วัดแนะนำมาดำเนินการ หมวดละ 1 ตัวชี้วัด
ถาม-ตอบ อ. ปิยะ มณีวงศ์ 081-342-6394 E-mail :kpi1081009@hotmail.com